การตลาด เจาะกลุ่มคนเหงา .. โอกาสทางธุรกิจที่น่าจับตา
การตลาด “เจาะกลุ่มคนเหงา” .. โอกาสทางธุรกิจที่น่าจับตา
การทำ “การตลาด” เจาะกลุ่ม “คนเหงา” คืออะไร? .. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) เผยข้อมูลงานวิจัย พบว่า ..คนเหงา ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 26.75 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับประชากรไทยทั้งหมด 66.41 ล้านคน จะอยู่ที่ 40.3.% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมากทีเดียว ถือว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ได้เช่นกัน
และนั่นก็เป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้ที่ทำ นักธุรกิจ นักการตลาด หรือ ผู้ประกอบการ SMEs จึงควรให้ความสนใจสนใจศึกษา พฤติกรรมกลุ่มคนเหล่านี้ (Consumer Behavior) ให้มากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้คน หรือ “คนเหงา” อาจจะไม่ได้บอกกับเราโดยตรงว่า ตัวเองว่าเป็นคนเหงา รู้สึกเหงา แต่ ให้ผู้อ่านสังเกตง่ายๆจาก นิยาม “คนเหงา” ที่ได้จากการสำรวจ ว่ามีลักษณะ ดังนี้
.. “ความเหงา เป็นภาวะทางอารมณ์ ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน สาเหตุมาจากการเผชิญสถานการณ์บางขณะ ซึ่งแตกต่างไปจากความต้องการของตนเอง ประกอบกับมีสถานการณ์เข้ามากระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเหงา เช่น เพื่อน หรือคนรักไม่มีเวลาให้ การขาดผู้รับฟังปัญหา รวมถึงความรู้สึกไม่เป็นหนึ่งเดียวกับสังคม” ..
หลังจากนั้น ..ให้มองต่อยอดไปถึง “พฤติกรรมและวิธีการ” ที่กลุ่มคนเหงาเหล่านี้ใช้ในการจัดการความเหงาของตัวเอง หรือ อยากหา วิธี(How-to) รวมถึง กิจกรรมต่างๆ (Activities) เพื่อแก้เหงา ซึ่งเราอาจจะได้แนวคิด (Concept) หรือ มุมมอง (Outlook) ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด สินค้าและบริการ (Goods and Services) ของเราให้สามารถ ตอบสนองกับความต้องการ ของกลุ่มคนเหล่านี้ได้อย่าง “เข้าใจและเข้าถึง” มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ข้อมูลงานวิจัยการตลาดในกลุ่มคนเหงา ในประเทศไทย ของวิทยาลัยฯ ที่พบว่าร้อยละ 40.4 หรือราว 1 ใน 3 ของกลุ่มสำรวจประสบภาวะความเหงาในระดับสูง โดยช่วงอายุที่มีแนวโน้มความเหงาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 23 – 40 ปี ครองอันดับสูงสุดถึง ร้อยละ 49.3 เยาวชนวัยเรียน อายุระหว่าง 18 – 22 ปี ร้อยละ 41.8 และ วัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 41 – 60 ปี ร้อยละ 33.6 ในขณะที่กลุ่มผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี กลับประสบภาวะความเหงาเพียง ร้อยละ 24.5 เนื่องจาก มีความพร้อมด้านการจัดการอารมณ์ (Soft Skills) และ รายได้ (Net Incomes) เพื่อใช้ในการประกอบ “กิจกรรมแก้เหงา” เพิ่มสูงขึ้น ตามอายุที่เพิ่มขึ้น
- แจมเพย์ (Jampay) เปิดพื้นที่ให้ธุรกิจต่างๆ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ฟรี!
- Social Media Marketing – 1 วินาทีมีค่าขนาดไหนกันนะ?
- Cashback หรือ เครดิตเงินคืน คืออะไร? ยิ่งช้อป! ยิ่งได้เงินคืน! เขาทำได้อย่างไร?
เริ่มวิเคราะห์พฤติกรรมที่ (อาจ) เป็นไปได้ของ “กลุ่มคนเหงา” เพื่อเป็นประโยชน์ด้าน “การตลาด”
หากเก็บตัวอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง มีโอกาสที่จะอยู่บน “โลกออนไลน์” (Online-Ecosystem) มากขึ้น ซึ่งตัวเลขที่ปรากฏออกมา คือ ผู้คน (Users/Audiences) ใช้เวลาส่วนมากอยู่ในโซเชียลถึง 44.8% ส่งผลมีโอกาสอยู่ในพื้นที่ชุมชนใดๆ (Communities) เนื้อหา (Contents) ที่ตนเองชอบอย่างใดอย่างหนึ่งมากขึ้น กล่าวคือ ใช้เวลาอยู่ในพื้นที่ที่ตนเองชอบมากขึ้น (↑) เช่น ชอบการดูซีรีย์ หนัง ก็จะดูแต่ ซีรีย์ (Series) ซึ่งใช้เวลาส่วนมากอยู่ในแพลตฟอร์ม (Platforms) นั้นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ (Useful) ทางด้าน “การตลาด” (Marketing) ทั้งสิ้น
1. สินค้าและบริการ (Goods/Services) จัดส่งถึงที่ (Delivery)
ด้วย วิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ แบบ “สังคมเมือง” (Urban Lifestyles) ที่บีบให้ผู้คนส่วนใหญ่ ต่างต้องพักอยู่ในที่อยู่อาศัยแบบ ห้องพักรายเดือน หอพัก คอนโดมิเนียม (Condominium) ซึ่งตั้งอยู่รอบนอก หรือ นอกเขตเมือง ส่งผลโดยตรงต่อการเดินทาง ทำให้ต้องที่ใช้เวลานานมากขึ้น จากที่อยู่อาศัย หรือที่พัก เพื่อเข้ามาที่ทำงาน ที่ อาคารสำนักงาน (Offices/ Buildings) ที่กระจุกตัวอยู่ใน ใจกลางเมือง ศูนย์กลางของเมือง (Centric) ในตอนเช้า และกลับออกไปในตอนเย็นในเวลาๆพร้อมกัน
ความตึงเครียด (Stress) จากการทำงาน บวกกับ “การอยู่ตัวคนเดียว” (Lonely Feelings) บางครั้ง หรือ บางปัจจัย (Factors) อาจจะทำให้ต้องแยกกันอยู่ระหว่างคนรัก หรือ บางปัจจัยก็อาจจะทำให้ผู้คนได้พบเจอคนที่ใช่สำหรับตัวเองยากขึ้น หาแฟน หาเพื่อนคุย ยากขึ้น สำหรับคนที่โสด รวมไปถึง บางครั้ง ไม่มีใครให้รับฟังสิ่งที่เจอมาแต่ละวัน หรือ หากเป็นโสดอยู่แล้ว ก็จะรู้สึกว่า ถ้ามีแฟนก็ไม่อยากหาภาระ หรือ ความทุกข์ใจ ความกังวลใจเพิ่ม
หากมองใน ข้อมุลเบื้องลึก (Insights) ลงไป คือ .. การได้กลับห้อง คือ สถานที่ที่ทำให้รู้สึกปลอดภัน (Safe Zone) เป็นสถานที่ของฉัน เป็นสถานที่ส่วนตัว คือที่ “ชาร์จพลัง”
ยกตัวอย่างเรื่องราวให้เห็นภาพ .. “ในระหว่างเดินทางในเย็นวันศุกร์ ฉันอยากใส่หูฟัง เพื่อที่จะฟังเพลง ที่ฉันอยากฟังมาทั้งวัน ฉันอยากจะถึงห้องของฉันให้ไวที่สุด ที่ที่ฉันไม่จำเป็นต้องเช็ตผม แต่งหน้า อยากใส่แค่เพียงชุดบอล ชุดนอนกินข้าวเย็น ฉันจะแก้ผ้า ทำตัวตามสบายๆ เดินไปรอบห้องของฉัน จะเปิดหนังที่ฉันชอบ สั่งอาหาร ง่ายๆมากิน พร้อมกับดูซีรีย์ เรื่องโปรดที่ดูค้างไว้ นอนบนเตียง สั่งซื้อของออนไลน์ ให้มาสั่งฉันในเย็นวันพรุ่งนี้” เพราะการจะเดินทางไปซื้อที่ร้านค้าบ่อยๆ ก็คงจะไม่มีเวลาจัดห้อง ซักผ้า หรือพักผ่อนใดๆ
ดังนั้น บริการ (Services) ที่ตอบสนองกลุ่มคนเหล่านี้ได้ อาทิ
– บริการจัดส่งอาหารถึงที่
– บริการช็อปปิ้ง แบบเก็บเงินปลายทาง COD จัดส่งถึงที่
– คนที่จะรับจ้างออกไปซื้อของตามคำสั่ง
– ผู้ให้บริการรับชมภาพยนตร์แบบรายเดือน Streaming TV
– ผู้ให้บริการฟังเพลงแบบรายเดือน Streaming Music
– เกมส์บนสมาร์ทโฟน หรือ Moblie Game
2. บริการพื้นที่ชุมชนออนไลน์ (Online Communities Platforms)
– Streaming or Live Platforms
ระบบ ผู้สนับสนุน (Supporters) หรือ สมาชิกแบบเสียค่าใช้จ่าย (Paid Memberships) อย่างที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เช่น Twitch และ ชุมชน Discord ซึ่งเติบโตจากธุรกิจ Gaming .. โดยทาง Facebook และ YouTube กำลังจัดทำระบบนี้เช่นกัน “แฟนตัวยง” (Top Fans) ผู้สนับสนุน +1 , ผู้สนับสนุน +2 ไปจนถึง +6 แสดงถึง “เลเวลของผู้ใช้” (Level of Users) เหมือนลำดับ เลเวลของผู้ใช้ ซึ่งระบบนี้ก็ไม่ใช่พึ่งมีขึ้นมาบนโลก แต่มีมานานแล้ว ในระบบเว็บบอร์ดต่างๆ แต่ทำไมมันถึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหล่ะ ..
เจาะ Insights .. จริงๆทำไมคนถึง “กล้า” และ “เต็มใจ” สนับสนุน (Support) หรือ เป็นสมาชิก “แบบเสียค่าใช้จ่าย” ..
1. “ใช้จ่ายเพื่อสิ่งที่ตนเองชอบ” มากขึ้น ..เพราะ ไม่ต้องนำเงินไปจับจ่ายใช้สอยอย่างอื่น เช่น อาจจะไม่ต้องไปเข้าสังคมข้างนอก แบบ Face-to-Face ซึ่งวิธีนี้เป็นการสังคมของเขารูปแบบหนึ่งของเขา
2. “คนเราต้องการการเป็นที่ยอมรับ” ..หากกล่าวถึงการเข้าสังคม ช่องทางนี้อาจจะเป็นการเข้าสังคม และในสังคมนี้ เขาได้รับการยอมรับจากสตรีมเมอร์ (Streammers) รวมถึงผู้ใช้ (Users) คนอื่นๆ
เช่น “พี่ Jampay ผู้สนับสนุนเลเวล +10 ได้เข้ารับชมแล้ว” ก็จะมีการกล่าวทักทายกัน มีสังคมของตัวเองในอีกรูปแบบหนึ่ง แทนการออกไปมีสังคมกับข้างนอก ที่ต้องพบเจอหน้ากันจริงๆ ซึ่งเขาอาจจะเข้าสังคม Face-to-Face แบบนั้นไม่เก่ง เท่ากับ การเข้าสังคมแบบนี้
– ชุมชน Pantip.com
ชุมชนออนไลน์ ที่ให้บริการ พื้นที่ สำหรับคนที่มีความชอบ ความหลงใหลในเรื่องเดียวกัน ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยน พบปะ พูดคุย แสดงความคิดเห็นระหว่างกัน ซึ่งคนที่ชอบพูดคุยในเรื่องเดียวกัน ก็จะอยู่ในห้องเดียวกัน เช่น ห้องสินธร ห้องสีสม เป็นต้น
จนบางครั้งเราอาจจะได้เห็นคำพูดประมาณว่า “ทำไมมีอะไรคนมักจะไปถามในพันทิป” .. นึกถึง Insights ให้ลึกลงไปอีก ก็คงจะพอตอบคำถามได้ว่า .. ผู้ที่ตั้งกระทู้ บางครั้งอาจจะทราบคำตอบในใจอยู่ก่อนแล้ว แต่ก็ตั้งคำถามไป เผื่ออย่างน้อย อาจจะได้รับคำตอบ ซึ่งอาจจะเหมือน หรือ แตกต่างจากความเห็นของตนเอง ที่เป็นมุมมองที่กว้างขึ้น จากหัวข้อเดียวกันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ความเห็นคนรอบตัวอย่างเดียวนั่นเอง เหมือนการ หาเพื่อน หาเพื่อนคุย หรือ หาคนกลุ่มเดียวกัน นั่นเอง เป็นการเข้าสังคมออนไลน์รูปแบบหนึ่ง
– ชุมชนของ YouTuber
ขอยกตัวอย่างง่ายๆ คลิปวิดีโอ “จุ๊ตับสด” ที่ ครีเอทเตอร์ (Creators) ทำการซอย (หั่น) ตับสด เครื่องในสด และเนื้อสดของวัว หลังจากนั้นทำการปรุงน้ำจิ้มที่เรียกว่า “แจ่วขม” ที่ผสมพริก ดีวัว เพี้ยะวัวต้ม “ใส่มากขมมาก ขมหวาน” และที่ขาดไม่ได้คือ ผงชูรส (ผงนัว) “ใส่หลายแซ่บหลาย”
หลังจากนั้นก็กินไปทีละคำจนหมด เป็นเวลาร่วม 20 กว่านาที ตลอดคลิปก็มีการพูดคุย เชิญชวนให้ผู้ชม “มากินข้าวนำกันเด้อพี่น้อง” มีเสียงซู๊ดปาก มีการแนะนำผักแกล้มที่ได้จากไร่นาของตนเอง
ให้คุณผู้อ่านทายเล่นๆว่า .. มี ยอดคนดู (Viewers) กี่คน … ใช่แล้วครับ 3 แสนวิวต่อคลิป ที่สำคัญกว่านั้น ตลอด 3 เดือน ก็ทำคลิปซอยจุ๊ หรือ กินอาหารพื้นบ้าน (Local Foods) แบบเดิมเฉลี่ยอาทิตย์ละครั้ง อาจจะเป็นคลิปวิดีโอกินที่นา กินกับญาติ กินกับใครหลายคน
หากมอง Insights ลึกๆ .. บางครั้งคนเราก็ “ต้องการเพื่อน” ทานข้าวในมื้อเย็น ต้องการคนที่คุยด้วย ต้องการใครสักคนที่เป็น “ตัวแทนของเพื่อน” “ครอบครัว” หรือ “คนรัก” ที่อาจจะพอช่วยให้การรับประทานมือเย็นไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป .. และรู้สึกเหมือนได้มีเพื่อนจริงๆ ทั้งที่อยู่เพียงหน้าจอเท่านั้น
ทำไมต้อง Google และ Wongnai? .. ก็เพราะ รู้สึกอยากถามใครสักคน แน่นอนจะเข้าบริการ กูเกิล (Google) เพื่อถาม “ข้อมูล” ต่างๆ
เพราะ ลึกๆ แก่นแท้บริการของ กูเกิล ที่แก้ปัญหา หรือ Pain Point ของคนทั่วไปได้ย่างดีเยี่ยมนั้น คือ “การให้ความรู้สึกที่ปลอดภัย” รู้สึกว่าเรามีเพื่อน รู้สึกไม่โดเดี่ยว
บางครั้งเราไม่กล้าเดินเข้าไปใช้บริการใน สินค้าหรือบริการ (Goods and Services) นั้นๆ แต่เราจะทำการ “กูเกิล” หรือ “วงใน” ก่อนเพื่อกันความประหม่า เพื่อความแน่ใจก่อนตัดสินใจ เพื่อความรู้สึกไม่อยากขายหน้า
แตกประเด็นนี้ อ่านเพิ่มเติม : Google และ Wongnai ให้คุณค่าอะไรกับเราบ้าง?
3. สัตว์เลี้ยง
เมื่อมีการเลี้ยง “สัตว์เลี้ยง” ต่างๆ .. ย่อมต้อง “อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง” บ่อยครั้งที่เราอาจจะเคยได้เห็นโพสต์ หรือ คอนเท็นต์ประมาณว่า “อาหารตัวเอง 50 บาท อาหารแมว 120 บาท ที่ตัดเล็บตัวเอง 20บาท ของแมว 1,000 บาท”
เป็นเพราะว่า ผู้ที่เลี้ยงก็อยากจะดูแลสัตว์เลี้ยงของตนให้ดี จนบางคนก็อาจจะมีคำพูดติดตลกเรียกตัวเองว่า “เป็นทาส”ของมัน นั่นเอง ดังนั้น เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ย่อมมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์เลี้ยงที่ได้รับประโยชน์ อาทิ
– การซื้อ-ขาย ตัวสัตว์เลี้ยง
– อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง
– อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง
– เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง
– การักษาพยาบาลสัตว์เลี้ยง
– ธุรกิจกำจัดขน อาบน้ำ ทำความสะอาด
– ธุรกิจประกันสัตว์เลี้ยง
หากมองให้ลึกถึง Insights กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะ “ต้องการเพื่อน” หรือ ตัวแทนของเพื่อน ที่ไม่ทำให้ตัวเองรู้สึก “เหงา” จนเกินไป มีตัวแทนในการได้รับความรัก การดูแลจากตน ได้เห็นพัฒนาการและการเติบโต หรือ ได้รับความรักกลับคืนจากสัตว์เลี้ยง รู้สึกผ่อนคลายเมื่อสัตว์เลี้ยงมาอ้อน หรือ ได้ลูบได้เล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือ บางครั้งก็ได้เล่า “ระบาย” อะไรบางอย่างให้สัตว์เลี้ยง ซึ่งถือว่าเป็น ผู้ฟังที่ดีฟัง ช่วยให้ผู้เลี้ยงรู้สึกดีขึ้น
และแน่นอนธุรกิจที่อาจจะเติบโตขึ้นมาได้อีกหนึ่งธุรกิจ คือ “ธุรกิจบริการทำความสะอาดบ้าน” ห้องพัก คอนโด ที่อยู่อาศัย แบบ Delivery ที่เชื่อถือได้ เช่น บริการจัดหาแม่บ้าน หรือ ธุรกิจอุปกรณ์ทำความสะอาดที่สามารถใช้งานง่ายขึ้น ตามมาเป็นเส้นใยเครือข่ายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Relatived Business) เพราะบางครั้งเจ้าสัตว์เลี้ยง ก็มีสิ่งที่มันทิ้งไว้จากตัวมันเอง หรือ จากความซุกซนของมันเอง หรือ กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจากเจ้าสัตว์เลี้ยงนั่นเอง
4. การท่องเที่ยว (พื้นที่ชุมชน Offline)
ขีดเส้นใต้ : “ไม่มีใครสามารถอยู่บนโลกออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน”
แล้วกลุ่ม คนเหงา เขาน่าจะไปที่ไหนกันนะ? .. คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจะเป็นพื้นที่ ที่สามารถให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าไปใช้บริการเพียงคนเดียวได้ แต่ก็มีผู้อื่นมาใช้บริการด้วย
อาจจะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเกินไป ให้รู้สึกว่ามีผู้คนอยู่รายล้อมรอบตนเอง บางครั้งในวันหยุดก็อยากออกไปข้างนอกเพื่อเสพบรรยากาศ เพื่อทำให้ตัวเองผ่อนคลายมากขึ้น ฟื้นฟู เติมเต็มความรู้สึกตัวเองมากขึ้น ออกไปเจอคนอื่นๆมากขึ้น เพื่อ คลายความเหงา
ซึ่งธุรกิจที่มีโอกาสได้รับผลในด้านดี อาทิ
– ธุรกิจการเดินทางแบบประหยัด อาทิ สายการบินแบบประหยัดโลว์คอสต์ (Low-Cost Airline) รสทัวร์ รถไฟแบบตู้นอนอุตราวิถี (Ultra Express Railway)
– โรงแรม ที่พัก แบบกึ่งบ้านกึ่งโรมแรม แบ่งสัดส่วน (Hostel)
– สินค้าที่สามารถพกพาได้อย่างสะดวก (Anywhere AnyTime Products)
– บริการเช่ารถ (Car-Rental Services)
– สถานที่ในชุมชน พื้นบ้าน (Local Village) ที่สวยงาม และมีความเป็นเอกลักษณ์ (Cultures) หรือ ที่เป็นธรรมชาติ (Nature Traveling)
– ร้านคาเฟ่ (Cafe)
– พื้นที่สำหรับทำงาน อ่านหนังสือ ประชุม แบบใช้ร่วมกันกับผู้อื่น (Co-Working Space)
– ร้านอาหาร สำหรับคนเดียว
– บาร์ (Bars)
มอง Insights .. นอกจากจะ “โสด” หรือ “เหงา” แล้ว สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก โดยส่วนมากมักจะเกิดในช่วงวัยทำงานขึ้นไป ที่ไม่สามารถนัดรวมพลกลุ่มได้อย่างที่หวัง อาจจะด้วยภาระหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป การที่ไม่สามารถหาวันหยุดที่ตรงกันได้
หรือ อาจจะตกลงกันไว้ในตอนแรกแล้วพอถึงวันไปก็เกิดล่มขึ้นมา จึงเกิดเป็นการเที่ยวแบบคนเดียวมากขึ้น ซึ่งก็ส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจบริษัททัวร์ที่อาจจะได้รับความนิยมน้อยลง
และอีกเหตุผลหนึ่ง เนื่องด้วยในอดีตที่ผ่านมา .. ผู้คนไม่สามารถเข้าถึง แหล่งข้อมูล (Big Data) ได้ง่ายขนาดนี้ .. ว่าที่พักเป็นอย่างไร สถานที่จะไปเป็นอย่างไร เดินทางอย่างไร อะไรอร่อย ต้องทำตัวอย่างไร แต่ปัจจุบัน ทุกอย่างสามารถเข้าถึงได้ สามารถวางแผนและตัดสินใจได้เอง ก็สามารถเดินทางไปเที่ยวคนเดียวได้เหมือนกัน แถมยังคล่องตัวกว่า สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา .. การเที่ยวคนเดียว (Backpackers) หรือ Alone Trip จึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม : วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร? และ ขายของออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ ..ทำไมถึงยากขึ้น?
โดยสรุป คนเราทุกคนอาจจะมีมุมที่เรารู้สึกเหงา รู้สึกโดดเดี่ยวซ่อนอยู่ในตัวอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการความรู้สึกเหล่านั้น ว่าเราจะใช้วิธีการใดในการจัดการความเหงาเหล่านั้น และ คนเราก็ไม่สามารถอยู่ในโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลา การพยายามที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นอีกโจทย์ที่ท้าทายของ นักการตลาด (Marketing Officers) สมัยใหม่ ที่จำเป็นต้อง “ศึกษาและเข้าใจ” เพื่อให้สามารถสร้างสินค้าและบริการที่ดี ให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนเหงาเหล่านี้ ที่มีสัดส่วนที่สูง และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
อ้างอิง :
-วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
-การตลาดเจาะกลุ่มคนเหงา