การบริหารเงินสด (Cash Management) และ การบริหารสภาพคล่อง (Liquidity Management) สำคัญ ต่อ การใช้ชีวิตประจำวัน ธุรกิจ และการลงทุน อย่างไร มีข้อดีข้อเสีย .. อธิบายเรื่องประกันโควิด COVID19 สตาร์บัคส์ (Starbucks) กล้วยตาก..ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) หรือ ผู้ที่รับได้รับผลกระทบ การเยียวยา เยี่ยวยาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ .. ลงทะเบียนว่างงาน ลงละเบียนคืนเงิน ลงทะเบียนรับเงิน บัตรคนจนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เราจะไม่ทิ้งกัน เน็ตฟรี ลงทะเบียนอินเตอร์เน็ตฟรี ..
การบริหารเงินสด (Cash Management) และ การบริหารสภาพคล่อง (Liquidity Management) สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ธุรกิจ และการลงทุน อย่างไร
เงิน หรือ เงินสด (Cash) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเราทุกคน ในการใช้ชีวิตประจำวัน คนเราทุกคนทำงานก็เพื่อหาเงิน สำหรับการดำรงชีพ เลี้ยงตนเองและครอบครัว บ้างมีการลงทุนเพิ่มเติม บ้างก็มีธุรกิจส่วนตัว
แต่ยังมีผู้คนอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่เข้าใจความสำคัญในการบริหารเงินสด หรือ บริหารความสภาพคล่อง ความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรเงินสด ว่าทำไปเพื่ออะไร ทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไร หากไม่วางแผนจะเกิดผลอย่างไร รวมถึงยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไรได้บ้าง
หลาย ๆ ท่าน อาจจะประสบปัญหาขาดแคลนเงินสดสำหรับจับจ่ายใช้สอย หรือ อาจจะขาดสภาพคล่อง จนอาจต้องกู้หนี้ยืมสิน จำเป็นต้องสมัคร บัตรเครเดิต (Credit Card) บัตรกดเงินสด (Cash Card) จนอาจเกินปัญหาสุขภาพทางการเงินตามมาภายหลัง
หรือ บางธุรกิจอาจจะจำเป็นต้องกู้สินเชื่อเพื่อมาบริหารหรือเสริมสภาพคล่อง (Liquidity Loans) หรือ บริหารเงินทุนหมุนเวียน ในธุรกิจ เช่น สินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี (Overdraft Loans : O/D) เพราะ ตนเองขนาดสภาพคล่อง
แต่ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร การบริหารเงินสดมันจะสำคัญขนาดไหน และอย่างไร มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร รวมถึง มีประโยชน์ที่อะไรที่เราอาจจะคิดไม่ถึงบ้าง วันนี้ แจมเพย์จะมาเล่าพร้อมยกตัวอย่างไปติดตามกันเลย ..
- แจมเพย์ (Jampay) เปิดพื้นที่ให้ธุรกิจต่างๆ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ฟรี!
- Work From Home Platform | “แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน” สัญชาติไทย
- Dark Mode เขาทำมาเพื่ออะไรกันนะ?
สารบัญ
–การบริหารเงินสด และ การบริหารสภาพคล่อง คืออะไร
–วงจรเงินสด คืออะไร สำคัญอย่างไร
–ข้อดี และความสำคัญ ของการบริหารเงินสด เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
–ข้อดี และความสำคัญ ของการบริหารเงินสด เพื่อใช้ในการบริหารธุรกิจ
–ตัวอย่าง บริษัท หรือ ประเภทธุรกิจ ที่การบริหารเงินสด และสภาพคล่องได้ดี
–ข้อดี และความสำคัญ ของการบริหารเงินสด เพื่อใช้ในการลงทุน
–โดยสรุป: การบริหารเงินสด สำคัญอย่างไร?
การบริหารเงินสด คือ
“เงินสด” (Cash) คือ ตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถใช้เป็น “ตัวกลาง” ในการจับจ่ายใช้สอย แลกเปลี่ยน สินค้าและบริการ (Goods and Services) หรือ เทียบเคียงมูลค่า กับ สินทรัพย์อื่นๆ (Assets) ในชีวิตประจำวัน สามารถชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย รวมถึงสามารถรักษามูลค่า (Store of Value) ที่ตราไว้ได้ หรือ เป็นหน่วยในการบันทึกบัญชี
ดังนั้น “การบริหารเงินสด” (Cash Management) คือ การวางแผน จัดการ จัดสรร ที่เกี่ยวข้องกับเงินสด เพื่อให้สามารถเก็บรวบรวมเงินสดที่ได้รับมา คงเหลือเงินสดหลังจากที่ใช้จ่ายไป ให้เพียงพอต่อการใช้สอยภายใต้วงเงินที่มีอยู่ หรือ ตามงบประมาณที่กำหนดไว้ หรือ นำส่วนที่เหลือไปดำเนินการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองเพิ่มเติมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
การบริหารสภาพคล่อง คือ
“สภาพคล่อง” (Liquidity) คือ ความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์และตราสารทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ เป็น เงินสด (Cash) หากสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วกว่า เรียกว่า “สภาพคล่องสูง” (High Liquidity) ในการกลับกัน หากสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ช้ากว่า เรียกว่า “สภาพคล่องต่ำ” (Low Liquidity)
ดังนั้น “การบริหารสภาพคล่อง” (Liquidity Management) คือ การวางแผน จัดการ จัดสรร ที่เกี่ยวข้องกับสภาพคล่องของสินทรัพย์และตราสารทางการเงินต่าง ๆ เพื่อให้เราหรือผู้อื่น แน่ใจว่า เรามีศักยภาพ ความสามารถในการแปรสภาพสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ กลับมาเป็นเงินสดได้ มากน้อยเพียงใด มีประสิทธิภาพหรือไม่ หากมีความต้องการในสถานการณ์ต่าง ๆ
วงจรเงินสด (Cash Cycle) คือ อะไร มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ
- วงจรเงินสด (Cash Cycle) คือ รอบระยะเวลาโดยเฉลี่ย ของเงินสด หรือ กิจกรรมทางการเงิน ที่รับรู้ภายในกิจการ พูดให้เข้าใจง่ายที่สุด คือ รายการกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจที่เข้ามา ไปจนถึง รายการกระแสเงินสดจ่ายออกจากกิจการ มีหน่วยเป็น “จำนวนวัน” (Days) โดยเฉลี่ย
- ประโยชน์ และ ความสำคัญของ วงจรเงินสด (Cash Cycle) คือ ธุรกิจที่มีระยะเวลากิจกรรมทางการเงินที่รับเงินสดเข้ากิจการมากกว่าจ่ายออก ย่อมได้เปรียบกว่า แสดงให้เห็นว่ากิจการนั้น มีกระแสเงินสดเงินสดหมุนเวียนในกิจการเพียงพอในการบริหารและดำเนินการ
- สูตรคำนวณ วงจรเงินสด (วัน) เท่ากับ “ระยะเวลาขายสินค้า” (วัน) + “ระยะเวลาเก็บหนี้” (วัน) – “ระยะชำระเจ้าหนี้” (วัน) ยกตัวอย่าง บริษัท แจมเพย์ จำกัด มีระยะเวลาขายสินค้า 1 วัน ได้รายได้ทุก 1 วัน มีระยะเวลาจ่ายเงินเจ้าหนี้ทุก 30 วัน ดังนั้น วงจรเงินสดของ บริษัท แจมเพย์ จำกัด เท่ากับ (1)+(1)-(30) = -28 หรือ 28 วัน ในการบริหารเงินสดในกิจการ เป็นต้น
- Cash Cycle ติดลบ แปลว่าอะไร? .. แปลว่า ธุรกิจนั้นมีกระแสเงินสดเพียงพอ มีระยะเวลาในการบริหารจัดสรรเงินสดในกิจการได้มากเพียงพอ ก่อนที่จะมีรายการในการชำระเจ้าหนี้การค้า
ข้อดี และความสำคัญ ของการบริหารเงินสด เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ บุคคลธรรมดา .. “วงจรเงินสด” คือ การเปรียบเทียบรายได้ที่เป็น “เงินเดือน” กับ “รายจ่ายในชีวิตประจำวัน” ของเราเป็นอย่างไร แน่นอนว่า เรารับรู้รายได้เป็น รายเดือน (Monlty) เราต้องแน่ใจว่า รายได้จะเพียงพอต่อรายจ่ายในชีวิตประจำวันของเรา
ดังนั้น ซึ่งวิธีการบริหารเงินสด เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันของเรา วิธีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ “การวางแผนการเงิน” และ “การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย” นั่นเอง
ข้อดี คือ จะทำให้เราทราบว่า ในแต่ละเดือน ตัวเราใช้จ่ายเป็นอย่างไรบ้าง ค่าใช้จ่ายใดบ้างที่อยู๋ในสัดส่วนที่สูงที่สุด และสามารถบริหารจัดการได้
และแน่นอนว่า แม้ว่าบางครั้ง เราจะวางแผนทางการเงินมาอย่างดี แต่ก็เกิดเหตุที่ไม่คาดฝันได้เสมอ เช่น อุบัติเหตุ ปัญหาด้านสุขภาพ ความเสียหายที่จำเป็นต้องซ่อมบำรุง หรือ เหตุการณ์ร่วมสมัยอย่าง การเกิดภาวะโรคระบาด หรือ การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
และเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้น เรามีเงินสดเหลือเก็บไว้เป็นเงินสดสำรองเผื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน (Unexpected Expenses) มากน้อยแค่ไหน สามารถอยู่ได้กี่เดือน
หรือ หากมีการ ปิดเมือง ปิดห้าง รณรงค์ด้านการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เราจะมีเงินสดสำรองเพียงพอหรือไม่ หากเราต้องมีการกักตัวเองอยู่ในบ้าน บางท่านอาจจะได้รับรายได้เป็นรายวัน อาจจะขาดแคลนรายได้จนประสบปัญหา
หรือ แม้กระทั้งกรณี ถูกให้พักงานไปพลางก่อน เลิกจ้าง ตกงาน ว่างงาน แม้เราจะสามารถลงทะเบียนว่างงาน เพื่อรับเงินประกันสังคม เป็นเวลา 3 เดือน แต่ ราจะนำเงินที่ได้มาบริหารจัดการอย่างไร และหากวิกฤตมีระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป เราจะทำอย่างไร
ซึ่งหากเราไม่มีการบริหารเงินสด จัดสรรเงินสดสำรองไว้บ้าง อาจทำให้เราต้องทำการกู้เงิน จากสถาบันการเงิน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินของเราได้นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม บทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ประโยชน์ของการบริหารเงินสด
– วางแผนการเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างไร?
– เก็บเงินแสนแรก 100,000 ++ (HOW TO)
– บำนาญ-สวัสดิการ ของ งานราชการ-บริษัท อาจมีปัญหา เราเตรียมตัวอย่างไร?
– สหกรณ์ออมทรัพย์ มีความเสี่ยง-ได้รับผลกระทบ หรือไม่ อย่างไร?
ข้อดี และความสำคัญ ของการบริหารเงินสด เพื่อใช้ในการบริหารธุรกิจ
เริ่มต้นจากพิจารณาว่าธุรกิจใดบ้าง ที่มีกระแสเงินสด (Cashflow) ในกิจการอยู่ในเกณฑ์ที่ดี .. หากผู้อ่านเป็นผู้ประกอบการ ผู้อ่านต้องเริ่มพิจารณากิจการของตัวท่านเองว่า ทุกวันนี้ ท่านมีรอบของรายได้-รายรับเป็นอย่างไร และมีรอบรายจ่ายเป็นอย่างไร มีเงินสด กระแสเงินสด ในกิจการเพียงพอหรือไม่ ท่านมีวิธีการบริหารเงินสดในกิจการหรือไม่
เช่น ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหาร ชานมไข่มุก ธุรกิจขายเสื้อผ้า ธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจของเรา มีวงจรเงินสดเป็นอย่างไร เจ้าหนี้ของเราคือใคร ลูกหนี้ของเราคือใคร รายได้หลักเรามาจากไหน มาจากกลุ่มลูกค้าใดเป็นหลัก
คำถาม : ทำไมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มักขาดสภาพคล่อง จนต้องกู้ยืมเพื่อเสริมสภาพคล่องกันนะ?
ยกตัวอย่าง .. “อุตสาหกรรมการผลิตอาหารจากสินค้าเกษตร” ที่มักมี เกษตรกร (Farmers) เป็น “เจ้าหนี้การค้า” (Accounts Payable) โดยสัดส่วนที่สูงที่สุด ผู้ประกอบการบางรายมีรอบการจ่ายเป็น รายวัน (Day-Trade) ในขณะที่มี “ลูกหนี้การค้า” (Accounts Receivable) เป็นรายเดือน บางครั้งเป็นเครดิตเทอม (Credit Terms) 30-90 วัน
อธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพ ธุรกิจผลิตอาหารจากสินค้าการเกษตร บางธุรกิจต้องมีการรับซื้อวัตถุดิบหลัก (Raw Materials) กันแบบรายวัน จะไม่เหมือนกับธุรกิจผลิตอาหารอื่น ๆ ที่สามารถจัดซื้อเป็นรอบการสั่งซื้อ แล้วนำมาบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ได้
ทำให้บางครั้งต้องจ่ายให้แก่เกษตรกรทุก 3-7 วัน ซึ่งมีเกษตรกรเข้ามาจำหน่ายวัตถุดิบให้กับผู้ผลิตในทุกวัน นั่นเท่ากับว่า ผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายในทุก ๆ วันที่ต้องจ่ายออกจากิจการไป
ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตบางรายมีการจำหน่ายในลักษณะเครดิตเทอม (Terms) กับธุรกิจคู่ค้า โดยรอบการชำรำค่าสินค้าและบริการ อาจมากกว่า 30-90 วัน เป็นต้น
ทำให้วงจนเงินสดของกิจการ มีรอบการจ่ายเป็นรายวัน และมีรอบการับรู้รายรับเป็นรายเดือน หรือ รายไตรมาส ซึ่งต้องทำให้แน่ใจว่า การรับรู้รายรับเข้ามาหนึ่งรอบ จะสามารถครอบคลุมรายได้ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาก่อนที่จะมีรายรับเข้ามาใหม่ หรือ ขานสินค้ารอบใหม่ได้
โดยผู้ประกอบการบางราย มีการบริหารภาพรวมลูกค้าหลัก (Key Account Portfolio Management) บริหารความเสี่ยง (Risk Management) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีกลุ่มลูกค้าแบบห้างสรรพสินค้า ตัวแทนจำหน่าย และ มีร้านขายสินค้าของตนเอง ตามสัดส่วน
ข้อดี คือ ทำให้สามารถบริหารเงินสดและกระแสเงินสดในกิจการได้ดีกว่า ผู้ประกอบการที่ไม่มีการบริหารภาพรวมของลูกค้า หรือ มีกลุ่มลูกค้าหลักเพียงกลุ่มเดียว ..
ตรงนี้เองเป็นจุดแตกต่าง ที่ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ส่วนมาก เผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องในกิจการ เงินทุนหมุนเวียน จนจำเป็นต้องกู้สินเชื่อระยะสั้นมาเพื่อหมุนเวียนในกิจการนั่นเอง
– กล้วยตาก : ภูมิปัญญา สู่ อาหารว่างทางเลือกที่ควรมีติดบ้านและสินค้าส่งออก
– SMEs vs Startup ต่างกันอย่างไร? คือ อะไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
ตัวอย่าง บริษัท หรือ ประเภทธุรกิจ (Business Type) ที่ใช้ประโยชน์จากลักษณะธุรกิจ (Industry) รวมถึง การบริหารเงินสด และสภาพคล่องได้ดี
สตาร์บัคส์ (Starbucks) เป็น ธุรกิจรูปแบบร้านกาแฟ มีกลุ่มลูกค้าเข้ามาใช้บริการตลอดเวลาในทุก ๆ วัน การรับรู้รายได้จึงมีเข้ามาทุก ๆ วัน ในขณะเดียวกัน รอบการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่เจ้าหนี้การค้ามีระยะเวลาที่นานกว่า
เพราะ โดยปกติ การทำธุรกิจกับบริษัทคู่ค้าทางธุรกิจ เช่น วัตถุดิบสำคัญที่นำมาเป็นส่วนประกอบในการดำเนินธุรกิจ จะมีการจัดซื้อเป็นรอบตามรอบบัญชีที่กำหนดตามข้อกำหนด เช่น รอบบัญชี 30 – 90 วัน เป็นต้น
ทำให้วงจนเงินสด ของ สตาร์บัคส์ เรียกว่า ไม่ต้องเทียบสัดส่วน ดูตัวเลอย่างง่ายก็เพียงพอจะเข้าใจได้ถึงศักยภาพของการมีเงินสดในกิจการจำนวนมากได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
จากรายงานประจำปี ประจำปี 2019 พบว่า สตาร์บัคส์ มี กระแสเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (Cash and Cash Equivalents) ในปี 2018 และ 2019 เท่ากับ US$ 8,756.3 million และ US$ 2,686.6 million ตามลำดับ รวมถึง รายการลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable) US$ 693.1 million และ US$ 879.2 million ตามลำดับ ในขณะที่ รายการเจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) อยู่ที่ US$ 1,179.3 million และ US$ 1,189.7 million ตามลำดับ
ความพิเศษอย่างหนึ่งของ สตาร์บัคส์ คือ การรับรู้รายได้ (Revenues Recognition) และ วิธีการดำเนินการด้วย “บัตรใช้แทนเงินสด” (Stored Value Cards) และ Loyalty Program ที่ทำให้สตาร์บัคส์มีกระแสเงินสด (Cashflow) ในกิจการมากเพียงพอ จากการที่กลุ่มลูกค้าส่วนหนึ่งเติมเงินเข้าบัตรไว้สำรองในการใช้บริการครั้งถัดไป
โดยสิ้นสุดรอบบัญชีปี 2019 มีเม็ดเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบ ทั้งสิ้น US$125.1 million ในสาขาที่สำนักงานใหญ่บริหารเอง และ US$15.7 million ในสาขาที่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นบริหาร ซึ่งในปี 2017-2018 ถูกบันทึกบัญชีอยู่ในรายการ รายได้จากดอกเบี้ย (Interest Income)
นอกจากนัั้นยังเป็นการทำเพื่อความสะดวกสบายในการชำระเงิน และให้ สิทธิประโยชน์ (Benefits) แก่ผู้ถือบัตร (Cardholders) ด้วย ระบบ Stars ของ Starbucks Rewards
โดยตัวเลข รายรับล่วงหน้า (Deferred Revenues) นับจากมูลค่าการค้าหลายอย่าง โดยรวมถึง เม็ดเงินที่ยังไม่ได้ใช้งาน ทั้ง Store Value Card Liabilty และ ดาว (Stars) จาก Loyalty Program ของ Starbucks ทั้งสิ้น US$1,113.7 million ที่หมุนเวียนอยู่ในกิจการ ภายในรอบปี 2019
ข้อดี คือ สตาร์บัคส์ สามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนเพิ่มเพื่อสร้างผลตอบแทนต่างๆ หรือดำเนินการใดๆ ได้ในระยะสั้น และ มีเวลามากเพียงพอ ก่อนที่จะถึงรอบบัญชีที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าหนี้การค้า หรือ ลูกค้า เมื่อลูกค้าต้องการใช้งานเงินสดที่อยู่ในบัตรแทนเงินสดของตน
ที่น่าสนใจคือ “การซื้อหุ้นคืน” (Share Repurchases or Buyback) กรณีที่บริษัทต้องการทำเพื่อบริหารทางการเงิน เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกิน โดยในปี 2019 สตาร์บัคส์ (Starbucks) ทำรายการซื้อหุ้นคืน กว่า US$10,222.3 million
สถาบันการเงินต่างๆ (Financial Institution) ยกตัวอย่าง สถาบันการเงินเกี่ยวข้องกับประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ด้วยลักษณะของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมีกระแสเงินสดเข้ามาในกิจการจำนวนมาก
เราจะสามารถดูได้จากงบการเงินของบริษัทประกันต่าง ๆ ได้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ธุรกิจลักษณะสถาบันการเงิน นำเม็ดเงินที่ได้รับจากเบี้ยประกันของลูกค้าไปลงทุนต่อเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับองค์กร
ซึ่งโดยปกติ สถาบันการเงินเหล่านี้ จะมีนักวิเคราะห์ที่ทำการวิเคราะห์ว่า อัตราส่วนของเม็ดเงินที่ต้องจ่ายออกไปสำหรับผู้ถือครองกรมธรรม์เป็นร้อยละเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับปริมาณเงินสดจากเบี้ยประกันรับและเม็ดเงินลงทุนที่มีอยู่ และ วงจรเงินสด (Cash Cycle) เป็นอย่างไร สามารถดำเนินการอย่างไร สามารถออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่ลูกค้าได้หรือไม่
ยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพเพื่อความเข้าใจและการศึกษา เช่น สถานการณ์โรคไวรัสสายพันธ์ใหม่ระบาดที่เกิดขึ้น “COVID-19” ในช่วงปลายปี 2019-2020
ประชาชนวิตกกังวลหวาดกลัว และต้องการทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันโควิค เพื่อคุ้มครองตนเอง แต่เมื่อมี กรมธรรม์ “ประกันโควิดเจอจ่าย” จากสถาบันการเงินต่างๆ ออกมาจำหน่ายให้แก่ประชาชน
แสดงให้เห็นว่า สถาบันการเงินมีการประเมินแล้วว่า จำนวนผู้ที่เข้าข่ายที่ต้องตนจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ หรือ ค่าสินไหมทดแทน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะอยู่ในเกณฑ์ อยู่ในสัดส่วนที่สถาบันการเงินเหล่านี้รับได้ ทำให้ผู้เขียนเกิดความอุ่นใจขึ้นมาเล็กน้อยว่า สถานการณ์จะดีขึ้นในเร็ววัน และเราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน
อ่านเพิ่มเติม บทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ประโยชน์ของการบริหารเงินสด
– ธุรกิจ Freemium Model รายได้มาจาก Premium Users มากที่สุดจริงหรือ?
– “ตลาดหุ้น” และ “หุ้น” ที่ผันผวนแบบนี้ นักลงทุนระยะยาว รับมืออย่างไร?
– ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม ได้รับผลกระทบอะไร?
– กองทุนประกันสังคม ซื้อหุ้นแพง จนขาดทุน จริงหรือไม่?
– กบข. ขาดทุน? .. ผลตอบแทน กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เป็นอย่างไรบ้าง
– รีวิว ผลตอบแทน จากการลงทุน ด้วยกลยุทธ์ จัดพอร์ตการลงทุน H1/2020
ข้อดี และความสำคัญ ของการบริหารเงินสด เพื่อใช้ในการบริหาร การลงทุน
การบริหารสภาพคล่องของการลงทุน ปกติทั่วไปผู้อ่านอาจจะพอทราบอยู่แล้วถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง-สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ แต่วันนี้แจมเพย์จะขอลงลึก ยกตัวอย่าง สินทรัพย์บางตัว คือ “หุ้น”
กล่าวคือ ในการลงทุนในหุ้นรายตัว เราจำเป็นต้องทราบว่า หุ้นที่เราลงทุนมีสภาพคล่องที่สูงหรือต่ำมากน้อยแค่ไหน เพียงพอหรือไม่ แต่ทำไมกันนะ ..
เพราะ เราสามารถประเมินได้ว่า เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นเงินสดได้ยากหรือง่ายมากน้อยเพียงใด เช่น หากท่านเป็น นักลงทุนระยะสั้น ท่านจำเป็นต้องทราบว่าหุ้นรายตัวตัวใด มีสภาพคล่องเป็นอย่างไร
เพราะ หากท่านเข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้นแล้ว ท่านไม่สามารถขายเพื่อทำกำไรได้อย่างที่ท่านต้องการ หรือ แปรสภาพให้เป็นเงินสดเพื่อนำไปทำประโยชน์อย่างอื่นในช่วงเวลาที่เหมาะสม
แสดงให้เห็นว่า หุ้นตัวนั้นอาจจะมีสภาพคล่องน้อย กล่าวคือ มีการซื้อ-ขาย (Bid-Offer) ระหว่างวันที่น้อย และท่านจะสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า หุ้นตัวดังกล่าว ควรจะเสี่ยงเข้าไปยุ่งด้วยหรือไม่ เป็นต้น
อาจทำให้ท่านผู้อ่านเสียโอกาส เช่น นำไปลงทุนต่อในช่วงที่ท่านต้องการใช้เงินสดเพื่อลงทุน ยกตัวอย่าง ช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นร่วงรุนแรงหรือผันผวน หรือ ถือเงินสดเพื่อรอช่วงเวลาในการลงทุนต่อไป เป็นต้น
ดังนั้น ข้อดี ของการที่ผู้อ่านมีเงินสด (Cash) ในช่วงที่ผู้อ่านต้องการใช้หรือถือครองในการลงทุนเป็นสิ่งที่ดี การประเมินสภาพคล่องในการลงทุนในสินทรัพย์ใดสิทรัพย์หนึ่ง เช่น ทองคำ หุ้น ตราสารทางการเงินอื่นๆ เป็นต้น จะช่วยให้ท่านประเมินความสามารถในการแปรสภาพสินทรัพย์เป็นเงินสด และสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ่านเพิ่มเติม บทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ประโยชน์ของการบริหารเงินสด
– “ตลาดหุ้น” และ “หุ้น” ที่ผันผวนแบบนี้ นักลงทุนระยะยาว รับมืออย่างไร?
โดยสรุป: การบริหารเงินสด สำคัญอย่างไร?
การบริหารเงินสด ช่วยให้เราสามารถวางแผนในการดำเนินการต่างๆได้ย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจส่วนตัว
หรือ แม้แต่การวางแผนในการลงทุน ซึ่งการจะบริหารเงินสดให้เป็นไปตามที่เราต้องการ เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องการบริหารสภาพคล่องเสียก่อน เพื่อชี้ให้เห็นว่า ความสามารถในการแปรสภาพจากสินทรัพย์อื่นๆ เป็น เงินสด (Cash) มีมากหรือน้อยเพียงใด
สิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจและสามารถวางแผนการดำเนินการของเราให้บรรจุเป้าหมายตามที่เราต้องการได้ รวมถึงบางครั้งอาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น เราเกิดอุบัติเหตุ มีบางอย่างเสียหาย หรือ ธุรกิจจำเป็นต้องใช้กระแสเงินสดเพื่อดำเนินการอะไรบางอย่าง หรือ ตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างรุนแรง เป็นต้น
แม้ว่า บางท่านจะให้ความเห็นว่า .. “การสำรองเงินสดเป็นเรื่องของคนมีกินมีใช้ คนที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป (Middle Class) หากเป็นแรงงานหาเช้ากินค่ำ รายได้รายวัน จะนำเงินที่ไหนมาสำรอง เอาเงินที่ไหนมาเก็บ ต้องคิดถึงเรื่องปากท้องก่อนเป็นอันดับแรกมากกว่า ต่อให้ตั้งใจเก็บหอมรอมริบแค่ไหน พอเกิดอะไรขึ้นมา เงินที่เก็บมาก็ไม่เหลือ อย่างมากทำไปก็ได้แค่เท่าทุน”
เราถึงแสดงให้เห็นว่า หากเราไม่ได้มีการบริหารจัดการเงินสดหรือกระแสเงินสดของเราไว้บ้าง อาจทำให้เรามีปัญหาตามมาได้ ตรงนี้ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารเงินสดนั่นเอง
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนอยากจะบอกว่า ผู้เคยเห็นคนที่เริ่มต้นจากติดลบ กลายมาเป็นคนมั่งมีได้ กลายมาเป็นคนที่อยู่สบายไม่ลำบาก อาจจะใช้เวลานานสักหน่อย แต่เมื่อวันที่ผลลัพธ์มันออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ผลิดอกออกผล วันนั้นเราจะเห็นคุณค่าของความตั้งใจ ความมานะอดทน ความกล้าที่จะเริ่มต้นทำในสิ่งใหม่ๆ และไม่ย้อท้อต่อคำว่าโชคชะตา
หมายเหตุ: เป็นเพียงมุมมองส่วนตัว และองค์ความรู้ผ่านประสบการณ์ของผู้เขียน รวมถึงบางหัวข้อเป็นมุมมองและความคิดเห็นส่วนตัวที่เสนอแนะของผู้เขียน ผู้อ่านที่ต้องการนำไปเป็นทางเลือกในการอ้างอิงประกอบการศึกษาสามารถทำได้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และเป็นประโยชน์การศึกษาไม่มากก็น้อย
อ้างอิง:
–Annual Report 2019 Starbucks
–รายงานประจำปี 2019 บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)