การสร้างแบรนด์ (Branding) ด้วย Content Marketing มีวิธีเขียนคอนเทนต์ที่ดีอย่างไร รวมถึงมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ตัวอย่าง เนื้อหาที่น่าใจและแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ อ ถูกปิดกั้นการมองเห็น จากแพลตฟอร์ม

การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing ทำอย่างไร? มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?

ผู้อ่านเองคงเคยได้ยิน ได้อ่านผ่านตากันอยู่บ่อยครั้ง เกี่ยวกับคำว่า “Branding” หรือ “การสร้างแบรนด์” แต่ หลาย ๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่า “การสร้างแบรนด์”  จะเป็นการทำ “สินค้าและบริการ” ภายใต้ “ตราสินค้า” (Brand) ของตนเอง เช่น การทำแบรนด์เสื้อผ้า การทำแบรนด์เครื่องสำอางค์ ขึ้นมาใหม่เป็นของตนเองเท่านั้น

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในปัจจุบัน การทำสินค้าภายใต้แบรนด์ของตนเอง สามารถทำได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เพราะ มีบริษัทที่เป็น “บริษัท/โรงงานผู้รับจ้างผลิตตามความต้องการ” (Original Equipment Manufacturer หรือ OEM ) อยู่ทั่วไป ที่ใครๆก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าได้ไม่ยากเย็นนัก เช่น แบรนด์เครื่องสำอางค์ แบรนด์อาหารเสริม แบรนด์เสื้อผ้า แบรนด์อาหาร แบรนด์ขนม เป็นต้น

และหวังเพียงแค่ การสร้างการรับรู้ และจดจำ “อัตลักษณ์ หรือ สัญลักษณ์ของแบรนด์” (Logo) หรือ “โฆษณา” (Advertising) สินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักเพียงเท่านั้น หลังจากที่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง โดยหวังว่าจะเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และมียอดขายเพิ่มมากขึ้น

แต่มันจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ แล้วการสร้างแบรนด์ทำได้อย่างไรบ้าง แล้วมันจะยาก จะง่ายอย่างไรบ้าง .. ไปเริ่มกันเลยยย


สารบัญ

การสร้างแบรนด์ คืออะไร
Content Marketing คืออะไร
การสร้าง “Great Content” หรือ “เนื้อหาที่มีประโยชน์” ทำอย่างไร?
ข้อดี ของ การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing และ Great Contents
ข้อเสีย หรือ ข้อจำกัด ของ การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing และ Great Contents
ตัวอย่าง “คอนเทนต์” ที่ประสบความสำเร็จ ของ Jampay Thailand
โดน “แพลตฟอร์ม” ปิดกั้นการมองเห็น ลดการมองเห็น จำกัดการมองเห็น ทำอย่างไร แก้ไขอย่างไรดี? (ความรู้เพิ่มเติม)
ข้อสรุป: “การสร้างแบรนด์” ด้วย “การตลาดด้วยเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์”


ความหมาย “การสร้างแบรนด์” (Branding) คือ อะไร?


ความหมายของคำนี้ ในมุมมองของ #แจมเพย์ คือ ..

การสร้างแบรนด์ (Branding) คือ การสร้าง “คุณค่า” (Values) ให้กับ “บริษัท” หรือ “ธุรกิจ”  หรือ “สินค้าและบริการ” ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ ผู้คนที่เป็น “กลุ่มเป้าหมาย” (Target Group) “กลุ่มลูกค้า” (Customers) หรือแม้แต่ “ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าของเราในอนาคต” (Lookalike Customers) สามารถ “รับรู้” (Awareness) รวมถึง “จดจำ” และ “นึกถึงเป็นอันดับแรก” (Resonance) ต่อแบรนด์นั้นๆได้ทันที

ในความเป็นจริง การสร้างแบรนด์ ต้องริเริ่มตั้งแต่ คุณเริ่มคิดที่จะทำธุรกิจต่างๆ อย่างรอบด้าน และคิดมาอย่างดีที่สุดแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น ..

1.การตั้งชื่อแบรนด์ หรือ ตราสินค้า (Brand/Product Name)

ตัวอย่าง .. ทำไมต้อง Jampay (แจมเพย์)? .. เพราะ มาจากคำ 2 คำ คือ “Jam” และ “Pay” ที่ชุมชนของเรา ต้องการสื่อความหมายถึง “การร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์สู่สังคม” (Jam Session & Pay for Social)

ซึ่งเป้าหมายของเรา ต้องการมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในแขนงอื่น ๆ อีกในอนาคต รวมถึงตามหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามา “ร่วมกัน สร้างสรรค์” ชุมชนแจมเพย์ของเรานั่นเอง ให้ตรงกับแนวคิดหลักของแบรนด์ และสอดคล้องกับความตั้งใจของเรานั่นเอง

2.การเลือกสี เพื่อ การสร้างแบรนด์ (Color Branding)

ทำไมต้องเป็น “สีเหลืองส้ม” ? .. เพราะ หมายถึง การกล้าเสี่ยง การผจญภัย ความสนุกสนาน ความท้าทาย เพื่อระบุตัวตนของแบรนด์ ว่า แบรนด์มีลักษณะแบบไหน และใช้สีเป็นสิ่งที่สื่อความหมายแทน

3.อัตลักษณ์ สัญลักษณ์ของแบรนด์ (Logo and Brand Identity)

ทำไมต้องเป็นรูปนี้ ? .. เพราะ มาจากการนำตัว “J” และ ตัว “P” ของชื่อ Jampay มารวมกัน ให้เกิดเป็น “เครื่องหมายความไม่มีที่สิ้นสุด” (Infinity Symbol) และ “นาฬิกาทราย” (Hourglass) แสดงถึง “การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด” และ “ความสามารถในการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา”

4.”คำโปรย” หรือ “ประโยคพ่วง” ที่บ่งบอกตัวตนของแบรนด์ (Tagline)

แล้วทำไมต้องเป็น “Evergreen Content Publisher” ? .. เพื่อต้องการวาง “ตำแหน่งทางการตลาด” (Brand Positioning) ของ “Jampay” ว่าเราเลือกอยู่ตรงไหนของตลาด

Jampay Thailand | Evergreen Content Publisher เพื่อเป็นตอกย้ำว่า .. เรา “แจมเพย์” เลือกสร้างสรรค์ “เนื้อหาที่เป็นประโยชน์อยู่เสมอแม้เวลาผ่านไป” (Evergreen Content) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

5.การวางแนวทางการดำเนินธุรกิจหรือองค์กรที่ดี (Coperate Governance)

นโยบายหลักของ แจมเพย์ .. มุ่งเน้นการเพิ่ม “การเข้าถึง” (Reach) และ “การรับรู้แบรนด์” (Brand Awareness) ชุมชนของเราผ่าน “การค้นหาโดยตรง” (Organic Search)  ด้วยความรู้ ความเข้าใจใน “การทำเนื้อหาที่เป็นมิตรและเหมาะสมต่อการค้นหาและเครื่องมือค้นหา”  (Search Engine Optimization : SEO) ของ บทความ “เนื้อหาที่เป็นประโยชน์อยู่เสมอ” (Evergreen Content) โดยอาศัยความรู้เรื่อง “การตลาดเชิงเครื่องมือค้นหา” (Search Engine Marketing : SEM) รวมถึงความรู้ด้าน “การตลาดดิจิตอล” (Digital Marketing)

เพื่อลดการพึ่งพาสัดส่วน การทุ่มงบประมาณในด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Advertising Expenses) มากจนเกินไป

และ เพื่อวางนโยบายบริหารงบประมาณ (Financial Management) และ บริหารความเสี่ยง (Risk Management) รวมถึง วางนโยบายเพื่อความยั่งยืนขององค์กร (Sustainable Policies) เป็นต้น

6.อื่นๆ (Others)


Content Marketing คือ อะไร?


“คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง” (Content Marketing) หรือ “การตลาดด้วยเนื้อหา” เป็นสิ่งที่อาจจะดูซับซ้อน เข้าใจยากไปสักหน่อย แต่ถ้าเราลองอธิบายให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ การโพสต์เนื้อหาสาระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาข้อความสั้นๆ คำโฆษณา บทความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ เสียงบรรยาย เป็นต้น

ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ “แบรนด์” (Brand) หรือ “สินค้าและบริการ” (Good and Services) ของเราทั้งทางตรง และทางอ้อม ผ่าน “ช่องทาง” (Communities) ของเรานั่นเอง

ทั้งนี้ การโพสต์ขายของ ใน Facebook และ Instagram หรือ โพสต์ขายสินค้า ในช่องทาง “สื่อสังคมออนไลน์” (Social Media) ก็ถือว่า เป็น “การบอกเล่าด้วยเนื้อหา” อย่างหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อมี คำว่า “Marketing” หรือ “การตลาด” เข้ามาเกี่ยวข้อง แสดงว่า ต้องอาศัย “เทคนิคทางการตลาด” หรือ “ความรู้ความเข้าใจในด้านการตลาด” เพิ่มเข้ามาด้วยเช่นกัน

ในการช่วยส่งเสริม “เนื้อหา” หรือ คอนเทนต์ (Content) นั้นๆให้ประสบความสำเร็จในการสื่อสารทางการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แล้ว Content Marketing เกี่ยวข้องอย่างไรกับการสร้างแบรนด์?

การทำ “Content Marketing” หรือ “การตลาดด้วยเนื้อหา” เป็นวิธีส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้ “แบรนด์’ สามารบอกเล่า อธิบาย สอดแทรก และตอกย้ำ “เรื่องราวของแบรนด์ หรือ สินค้าและบริการ” (Brand/Products Story-Telling) ให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

รวมถึง “เอกลักษณ์ของแบรนด์” (Brand Identity) ผ่าน “เนื้อหาต่างๆ” (Contents) ที่ถูกถ่ายทอด และเผยแพร่ ผ่านช่องทางต่างๆของแบรนด์นั้นๆ นอกเหนือจากหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์ที่ได้กล่าวไปแล้ว เพื่อส่งมอบ “คุณค่า” (Value) บางอย่าง ไปยังใครบอกคนนั่นเอง

 



การสร้าง “Great Content” หรือ “เนื้อหาที่มีประโยชน์” ทำอย่างไร?


เมื่อพูดถึง “การสร้างสรรค์เนื้อหา” (Content Creation) ก็มักจะมีคำถามที่ยอดนิยมมากๆตามมา ว่า “แล้วเราจะสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีประโยชน์ได้อย่างไร” (How to create great content.) หรือ “จะทำคอนเทนต์อย่างไรให้ปัง” “จะทำคอนเทนต์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ”

เพราะแน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคอนเทนต์ที่เราคิดจะทำ หรือ ที่ทุกคนต้องการจะนำเสนอนั้น จะประสบความสำเร็จไปเสียทั้งหมด อาจจะมีบางจุดที่ยังบกพร่อง โดย สำหรับ “แจมเพย์” (Jampay) .. มองว่า

“Great Content” หรือ “เนื้อหาที่มีประโยชน์” หรือจะอยู่เหนือกาลเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามเนื้อหานี้ก็ยังคงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ผู้ชม ผู้ฟัง หรือ กลุ่มเป้าหมาย อยู่เสมอ หรือที่ถูกเรียกว่า “Evergreen Content”

เพราะ ในมุมมอง และชุมชนของแจมเพย์ “คอนเทนต์” (Content) คือ “สินค้าและบริการ” (Goods and Services) กล่าวคือ เรานำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้คน

ดังนั้น กระบวนการคิดหลัก รวมถึงสร้างสรรค์เนื้อหาต่าง ๆ จึงยึดแนวทางการออกแบบสินค้าและบริการเป็นหลัก ดังนี้

1. สังเกตเนื้อเรื่อง ที่มองว่ามีโอกาสเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ (Focus The Topic)

เริ่มต้นจากการที่ เรา “แจมเพย์” ต้องมองให้ออก ผ่านการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวว่า เนื้อหาใดบ้างที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน และยังมีโอกาสเป็นที่สนใจต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง หรือ อาจจะนานกว่านั้น รวมถึง เมื่อเวลาผ่านไป อาจจะได้รับความสนใจอีกครั้ง

และเมื่อเราทำบทความแล้ว จะมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อคนจำนวนมากได้ โดยที่เราลงทุนลงแรงทำด้วยความใส่ใจเพียงครั้งเดียว

2. เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (Empathy, Understanding Our Audiences)

ทำความเข้าใจว่า “กลุ่มเป้าหมาย” (Audiences) ในที่นี้คือ “ผู้อ่าน” (Visitors) ที่มีแนวโน้มจะเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าว ว่า เป็นกลุ่มเป้าหมายใด มีขนาดของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับไหน

รวมไปถึงมองให้ลึกไปถึง “ปัญหา” (Pain Point) ที่กลุ่มเป้าหมายอาจจะพบเจอ และทำความเข้าใจต่อไปถึง “ประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย” (Consumer Experience) และ “พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย” (Consumer Behaviors)

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราได้แนวทางในการเขียนบทความ หรือ เนื้อหา รวมถึงคอนเทนต์ประเภทอื่นๆได้ค่อนข้างชัดเจนมาก ว่าเราจะพูดถึงเรื่องใดบ้าง จะอธิบายเรื่องใดก่อน ต่อด้วยเรื่องอะไรเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจเรื่องนี้ก่อน แล้วต่อด้วยเรื่องนี้ เพื่อทำให้เนื้อหา หรือ บทความ ได้ทำหน้าที่ของมัน

3.จัดเตรียมเนื้อหา และส่งมอบคุณค่าที่มากกว่า (Deliver More Value)

จาก 2 ข้อด้านบน เมื่อเราทำความเข้าใจสิ่งต่างๆเรียบร้อยแล้ว การดำเนินการจัดทำเนื้อหานั้นจะไม่ยากเลย มันจะถูกกำหนดแบบร่างด้วยแนวทางที่เราได้ทำการวางแผนไว้ก่อนหน้านี้ ว่าเราจะพูดถึงอะไร แล้วสิ่งที่เราพูด “ตอบโจทย์”  รวมถึง “ให้แง่คิดอย่างรอบด้าน” แก่กลุ่มเป้าหมายแล้วหรือยัง

“แจมเพย์” มีแนวคิดและดำเนินการ โดยทำทุกอย่างด้วยความใส่ใจทุกรายละเอียด ค้นหา รวบรวม ตัั้งใจทำในครั้งเดียว ..และให้เนื้อหาสามารถมีประโยชน์ได้เป็นระยะเวลานานต่อไป ซึ่งจะทำให้แจมเพย์เป็นที่รู้จัก และเป็นที่จดจำจากผู้คนเพิ่มขึ้นในระยะยาว รวมถึงสร้างเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนของแจมเพย์ให้ผู้อ่านหรือผู้เยี่ยมชมได้ทราบว่า .. “เมื่อเข้ามาแล้ว ต้องได้อะไรที่มากกว่ากลับไป”


ข้อดี ของ การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing และ Great Contents

  • มองในมุม “แพตฟอร์ม” .. แพลตฟอร์มต้องการให้ผู้คนอยู่ในแฟลตฟอร์มมากขึ้น นานขึ้น ดังนั้น เนื้อหาใดที่ดึงผู้คนไว้ในแพลตฟอร์มได้มากกว่า ย่อมได้รับการแสดงผลมากกว่านั่นเอง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ .. การปรับเปลี่ยนนโยบายของแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น การลดการมองเห็น (Reach) หรือ การทดลองซ่อนจำนวนผู้ที่กดไลก์และแชร์ (Hide Like & Share Lists) เพื่อผลักดันให้ผู้คนในแพลตฟอร์มหันมาเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากขึ้นนั่นเอง เพราะหากบนนิวส์ฟีดแต่เนื้อหาที่ไม่น่าสนใจ ไม่เป็นประโยชน์มากจนเกินไป ผู้คนก็อาจจะใช้เวลาอยู่ในแพลตฟอร์มนั้นๆน้อยลง หรือ อาจจะกดข้าม ไม่สนใจเลื่อนผ่าน คอนเทนต์ เป็นต้น จึงเป็นหน้าที่ของ “ผู้สร้างสรรค์” (Creators) ที่ต้อง ริเริ่ม ปรับปรุง พัฒนาเนื้อหาของตนเองอยู่เสมอ แต่หากคุณมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าต่อผู้อื่น คุณอาจจะเผชิญกับความเสี่ยงเหล่านั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • ในมุม “ผู้คน” หรือ “ผู้ใช้งาน” ในปัจจุบัน ผู้คนต้องการเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับตัวเองมากขึ้น ต้องการเรียนรู้มากขึ้น มากกว่าการรู้เรื่องของผู้อื่น เช่น การบทความดี ๆ อ่านในช่วงเวลาว่าง หาหนังสือดี ๆ สักเล่ม หรือ หาพอดแคสต์ (Podcast) ฟังระหว่างเดินทาง เป็นต้น ทำให้มีโอกาสที่ผู้คนจะ “ค้นหา” (Search) ผ่าน “เครื่องมือค้นหา” (Search Engine) มาเจอเนื้อหาของคุณ แต่ปัจจุบัน คำว่า “เจอ” ยังไม่พอให้คุณสามารถประสบความสำเร็จได้ แต่ คุณต้องทำให้ผู้คนที่ผ่านเข้ามาเป็น “ลูกค้าประจำ” (Lead/Return Users) ให้ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละแบรนด์ ทั้งนี้ เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ย่อมได้เปรียบ และดึงดูดผู้คนไว้ได้มากกว่า
  • มองในมุม “ธุรกิจ” ของคุณ เนื้อหาที่มีประโยชน์จะส่งเสริมภาพลักษณ์ของคุณ เพราะ เนื้อหาของคุณเป็นประโยชน์กับทุกคน ไม่เพียงแต่กลุ่มลูกค้าของคุณ ซึ่งมีโอกาสที่คุณจะได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ยอดขายที่เพิ่มขึ้น รวมถึง หากคุณสามารถทำให้เนื้อหานั้นมีประโยชน์ได้เป็นระยะเวลานาน เพื่อให้ สอดคล้องกับแนวคิด “ทำน้อย ได้มาก” กล่าวคือ ลงทุนลงแรงทำอย่างใส่ใจเพียงครั้งเดียว แต่สามารถสร้างประโยชน์จากสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้หลายครั้ง ซึ่งก็จะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจ และสร้างการรับรู้และการจดจำแบรนด์ได้อย่างไม่จำกัดด้วยนั่นเอง
  • ในอนาคตอันใกล้ “ไลก์และแชร์” (Like & Share) ของแพลตฟอร์มต่างๆ จะถูกลดความสำคัญลง ทำให้เนื้อตาต่างๆถูกวัดกันที่ “คอนเทนต์คุณภาพ” เท่านั้น เป็นโอกาสที่ดีของผู้ที่ทำคอนเทนต์เชิงคุณภาพอยู่แล้ว และแน่นอนว่า การสร้างแบรนด์ ย่อมมีส่วนสำคัญอย่างมากที่คุณต้องคำนึงถึงด้วย เพราะ ถ้ากลุ่มเป้าหมายของคุณจดจำคุณได้ในทันทีว่า สิ่งนี้ คือ “คอนเทนต์ของคุณ” หรือ “มันเป็นเอกลักษณ์ของคุณเลยแบบนี้” โดยที่ยังไม่ต้องดูรูปโปรไฟล์ หรือ ข้อมูลอื่นๆประกอบ แบรนด์ของคุณย่อมได้เปรียบกว่าให้สถานการณ์แบบนั้นนั่นเอง

ข้อเสีย หรือ ข้อจำกัด ของ การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing และ Great Contents

  • ในมุม “แพลตฟอร์ม” .. แพลตฟอร์มต้องการให้ผู้คนอยู่ในแฟลตฟอร์มมากขึ้น แต่ พื้นที่ในการแสดงผล มีจำนวนจำกัด อาทิ Google ที่แสดงผลการค้นหาเพียงแค่ ประมาณ 10 อันดับ แต่ ผู้คนทั่วไปอาจจะมองหาเพียงแต่ 3-5 อันดับด้านบนสุดเท่านั้น ถึงแม้ว่าคุณจะพยายามอย่างหนักแล้วก็ตาม แต่บางครั้งคุณอาจจะกำลังแข่งขันกับทีมผู้เชี่ยวชาญขององค์กรระดับต้นๆของประเทศอยู่ เพราะฉะนั้น จึงมีปัจจัย กฏเกณฑ์ และ ความท้าทาย มากมายที่คุณควรใส่ใจและผ่านมันไปให้ได้ แต่ท้ายที่สุด การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ มันย่อมมีประโยชน์เสมอ
  • ไม่สามารถใช้ผลงานชิ้นเดียวกันนี้ได้กับทุกแพลตฟอร์มเสมอไป การสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เป็นผลงานชิ้นเอกเป็นเรื่องที่ยากพอตัวอยู่แล้ว และเมื่อคุณได้มันออกมาแล้ว คุณอยากจะเผยแพร่ชิ้นงานไปในทุกแพลตฟอร์มเลย แต่บางครั้ง เรายังต้องคำนึงถึงแนวทางในการเผยแพร่ผลงานของเราด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ บางเนื้อหา บางรูปภาพ มีเนื้อหาที่จำเป็นครบถ้วน โดยอาจจะเป็นมิตร (Friendly) กับ Google และ YouTube มากกว่า Facebook และ Instagram ในเรื่องของการโพสต์รูปภาพที่มีข้อความมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของเนื้อหาที่เราต้องการเผยแพร่ หรือทางด้าน Twitter ที่สามารถโพสต์ข้อความได้จำนวนจำกัด ก็อาจทำให้เนื้อหาของเราที่ต้องการสื่อสารออกไปไม่ครบถ้วน เป็นต้น ดังนั้น แค่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ต้องมีการวางแผนสำรองเพื่อรองรับไว้ด้วยเช่นกัน
  • มองในมุม “ธุรกิจ” ผู้ที่เชี่ยวชาญจริงๆมีจำนวนจำกัด หรือ บางครั้งต้องจัดตั้งทีมโดยเฉพาะ หรือ บางองค์กรจ้างบุคคลภายนอก หรือ บริษัทตัวแทน (Agency) ให้การสร้างสรรค์เนื้อหาต่างๆ เช่น ทีมการตลาดิจิตอล (Digital Team) อาจต้องอาศัยการวางแผนจาก “Head of Digital” หรือ “Strategic Planner” ความสามารถจาก “Content Creator” ร่วมมือกับ “Graphic Designer” และ “Video Editor” อีกทั้ง “SEO Manager” ยังต้องคำนึงถึง “Digital Marketing” และ “Ads Bidable” ด้วย เป็นต้น นอกจากการ “สร้างสรรค์ชิ้นงาน” ต้องมีผู้คนมากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วยังส่งทำให้ “ต้นทุนต่อหน่วย” (Cost per Unit) ของการผลิตคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อส่งมอบไปถึงมือกลุ่มเป้าหมาย อาจจะอยู่ในระดับที่สูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ .. หรือบางครั้ง บริษัท หรือ แบรนด์ ที่จ้างบริษัทตัวแทนในการดูแลจัดการภาพรวมด้านการตลาดทั้งหมด ก็อาจจะพบเจอกับทิศทางการดำเนินงานและผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของตนเอง ก็อาจจะทำให้เสียทั้งเวลาและเสียทั้งเงินทุนไปพร้อมกันนั่นเอง
  • ในมุมของ “ทีมผู้สร้างสรรค์” หรือ “บริษัทตัวแทน” บางครั้งการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีประโยชน์ ให้สนุกเพลิดเพลินแต่ยังสามารถได้ประโยชน์ และทำออกมาให้เป็นไปตามแนวทางบริษัทของลูกค้า อาจจะยากกว่ามาก ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ บางครั้งเราต้องการสร้างสรรค์เนื้อหาสาระให้สนุกเพลิดเพลิน จนบางครั้งอ้างอิงอารมณ์ความรู้สึกมากจนเกินไป อาจจะทำให้เนื้อหานั้นกลายเป็นความบันเทิงไปมากกว่า หรือ ยังไม่สื่อถึงสินค้าและบริการเท่าที่ควร ก็ต้องมีการแก้ชิ้นงานกันจนกว่าจะได้ชิ้นงานที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากๆเช่นกัน จนบางครั้ง บางชิ้นงานต้องมีการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ของชิ้นงาน (Pitching) โดยแต่ละบริษัทตัวแทนทำการแข่งขันกัน เพื่อให้บริษัท หรือ แบรนด์ เลือกตนเป็นบริษัทตัวแทนที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโปรเจ็คนั้น ๆ สินค้านั้น ๆ
  • มองในมุมของ “ภาพรวมของตลาด” ที่ใครๆ ก็สามารถเข้ามาเป็นคู่แข่งของคุณทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ตลอดเวลา นอกจากคุณจะต้องคำนึงการความใส่ใจและรายละเอียดต่างๆของการสร้างสรรค์ผลงานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงคู่แข่งในตลอดทั้งหมดของคุณในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วยว่า เนื้อหาของคุณแตกต่างอย่างไร? ทำไมทุกคนต้องใช้บริการจากสินค้าและบริการของคุณ? เนื้อหาของคุณที่คุณทำออกมาให้อะไรกับกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าคนอื่นอย่างไร? แล้วตอนนี้แบรนด์ของคุณแข็งแกร่งแค่ไหนแล้วเมื่อเทียบกับรายอื่นๆ?
  • ในมุมของ “ผู้คน” เนื้อหาที่เป็นประโยชน์และมีการนำเสนอเนื้อหาที่มากเกินไป บางครั้งก็อาจจะส่งผลด้านลบ เพราะ มีโอกาสที่ผู้คนจะใช้เวลาอยู่กับเนื้อหานั้นน้อยลง ซึ่งส่งผลเสียต่อ “คอนเทนต์” หรือ “เนื้อหา” ของคุณแน่นอน
  • โดยในมุม “โดยรวมกว้างๆ” การทำเนื้อหาที่มีประโยยชน์ของตนเอง ย่อมได้เปรียบกว่า หรือ หากจะพูดให้พูดอ่านเห็นภาพได้ทันที เช่น Netfilx, YouTube Original, VIU Original เป็นต้น ย่อมมีโอกาสสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรมากกว่า เพราะ หากสิ่งที่ผู้คนหรือกลุ่มลูกค้าชอบ เป็นเนื้อหาที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ทำให้เราสามารถดึงดูดกลุ่มคนเหล่านั้นให้เป็นฐานลูกค้าของเราได้ รวมถึง ลดความเสี่ยงให้การพึ่งพาเนื้อหาจากผู้ผลิตรายอื่นมากเกินไป หรือ ผู้เผยแพร่ที่นำเสนอเนื้อหาของผู้อื่นมากเกินไป อาจจะได้รับผลกระทบมากกว่า ผู้เผยแพร่ที่เริ่มหันมาผลิตเนื้อหาต่างๆของตนเองเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมทั้งความแข็งแกร่งและภาพลักษณ์แบรนด์ของเรายิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้น ผู้ที่นำเสนอเนื้อหาที่ไม่แตกต่างจากผู้อื่น หรือ ด้อยกว่าผู้อื่น สิ่งเหล่านั้น อาจจะส่งผลด้านลบกับแบรนด์ได้เช่นกัน

อ่านบทความเพิ่มเติม:
SEO และ Organic Search ข้อดี-ข้อเสีย ต่อ ธุรกิจ SMEs


ตัวอย่าง “คอนเทนต์” ที่ประสบความสำเร็จ ของ Jampay Thailand

1. ชิมช้อปใช้ .. มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?

การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing ทำอย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?,

  • Target Group: นักเรียน/นักศึกษา, กลุ่มผู้ที่ต้องการศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสีย ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ รวมถึง ผู้ที่สนใจเรื่อง “ชิมช้อปใช้” เพิ่มเติม
  • Consumer Experience, Pain Point: นักเรียน/นักศึกษา ทำการบ้าน-รายงานส่งอาจารย์, ผู้ที่ต้องการศึกษาว่า มีข้อ-ข้อเสียอย่างไร ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ, ประชาชนทั่วไปย่อมอยากทราบว่าจริงๆแล้วโครงการมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
  • Values of Evergreen Content: เป็นการวิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ มองอย่างรอบด้านถึง ข้อดี-ข้อเสีย รวมถึงวิเคราะห์เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้คน ดังนั้น บทความจึงมีอายุที่ยืนยาวกว่า รวมถึงได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไว้ด้วยเช่นกัน

2. วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?

  • Target Group: นักเรียน/นักศึกษา  นักลงทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ รวมถึง ผู้ที่สนใจเรื่อง “สถานการณ์เศรษฐกิจไทย” เพิ่มเติม
  • Consumer Experience, Pain Point: นักเรียน/นักศึกษา ทำการบ้าน รายงานส่งอาจารย์, นักลงทุน นักธุรกิจที่ต้องการทราบสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ
  • Values of Evergreen Content: เป็นการวิเคราะห์ถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มองสถานการณ์ต่างๆอย่างรอบด้าน มิใช่การคาดการณ์แนวโน้มประจำปี ดังนั้นบทความจึงมีอายุที่ยืนยาวกว่า รวมถึงได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไว้ด้วยเช่นกัน

3. วางแผนการเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างไร?

  • Target Group: ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงาน (First Jobbers), มนุษย์เงินเดือน (Salaryman)
  • Consumer Experience, Pain Point: อยากเริ่มออมเงิน วางแผนการเงิน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร และเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับผู้คนส่วนใหญ่
  • Values of Evergreen Content: มีผู้คนที่ต้องการเริ่มวางแผนการเงินเพิ่มขึ้นเสมอ และเป็นการให้แนวคิดเชิงคุณภาพมากกว่า วิธีการ ทำให้เนื้อหามีอายุยืนยาวมากกว่า

4. Solo Travel in Tokyo, Japan DAY1-9 (มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในอนาคต) โดย Project #Jampay.PainPoint

การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing ทำอย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?,

  • Target Group:  ผู้ที่ต้องการไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น หรือ ต่างประเทศ เป็นครั้งแรก
  • Consumer Experience, Pain Point:  ชื่อ Project ชัดเจนว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Pain Point ของคน ต้องเตรียมตัวอย่างไร? ทำอย่างไร? ต้องทำอะไร? ไม่ควรทำอะไร?
  • Value of Evergreen Content : ผู้คนที่ต้องการวางแผนไปเที่ยวต่างประเทศใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเสมอ และนอกเหนือจะได้ทราบการเตรียมพร้อมต่าง ๆ แล้ว ยังได้แนวคิดมุมมองด้านธุรกิจจาก “การเดินเที่ยวชม” (Sightseeing) ของแจมเพย์อีกด้วย เป็นสิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับมากกว่า เมื่ออ่านเนื้อหาของแจมเพย์ จึงไม่ใช่บทความท่องเที่ยวธรรมดาทั่วไป และ ถือว่าเป็น “เนื้อหาต้นฉบับ” (Original Content) ที่นอกเหนือจากการบทความด้านธุรกิจ การตลาด และการลงทุนเพียงอย่างเดียว ชิ้นแรกของแจมเพย์

โดน “แพลตฟอร์ม” ปิดกั้นการมองเห็น ลดการมองเห็น จำกัดการมองเห็น ทำอย่างไร แก้ไขอย่างไรดี? (ความรู้เพิ่มเติม)


เป็น “ปัญหา” (Pain Point) ของผู้คนทั่วไปว่า .. “เปิดการมองเห็น … อย่างไร” หรือ ” โดน .. จำกัดการมองเห็น ทำอย่างไรดี?” หรือ “แก้ .. ปิดกั้นการมองเห็น หรือ วิธีแก้โดนปิดการมองเห็น” เป็นต้น

โดยปกติ “แพลตฟอร์ม” (Platform) จะจำกัด “การเข้าถึง” (Reach) ซึ่งหากเรามี “ยอดผู้เข้าชม” (Viewers) ที่ประมาณ ร้อยละ 1-3  ต่อ จำนวนผู้ติดตาม ทั้งหมด (Followers) ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีแล้ว

หรือ หากให้อธิบายใช้เข้าใจอย่างง่ายๆ สมมติว่า คุณมี “รายชื่อเพื่อน” (Friends List) ประมาณ 3,000-5,000 คน การมองเห็น หรือ ผู้ที่มองเห็น “โพสต์ต่างๆ” (Posts) ของคุณ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 90-150 คนต่อคอนเทนต์เท่านั้น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว

ยกตัวอย่าง สมมติว่าคุณมีเพื่อนใน Facebook 3,000 คน การดู “สตอรี่” (Stories) จะอยู่ที่ประมาณ  30-90 คน ถือว่าอยู่ในระดับปกติมากแล้ว

ดังนั้น การจะวัดความเป็น “ผู้ทรงอิทธิพล” (Influencer) ในความหมายของ “การตลาด” (Marketing) ควรคำนึงถึงตัวเลขเหล่านี้ด้วย เพราะ “ยอดผู้ติดตาม” หรือ “ยอดไลก์” อาจจะถูกลดความสำคัญลงในอนาคต .ในทางเดียวกัน ผู้ที่มีเคยมีผู้ติดตามจำนวนมาก ปัจจุบัน อาจไม่มี “อิทธิพล” (Influence) กับคนอื่นๆจริงๆก็ได้

รวมไปถึง “การเข้าถึง” (Reach) ที่ลดลงเหลือ ร้อยละ 0 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะ แพลตฟอร์มต้องการให้คุณเคยชินกับ “การเข้าถึง” เยอะๆ ด้วยแนวนิดแบบ “Freemium Model” และ “อำนาจผูกขาด” (Monopoly Power)

และเมื่อถูกลด “การเข้าถึง” (Reach) ลง คุณจะต้องหาวิธีเพิ่มการเข้าถึงของช่องทางของคุณ และวิธีที่ไม่พ้นในการเพิ่มการเข้าถึงช่องทางของคุณ นั่นก็คือ “การซื้อโฆษณา” (Advertising) นั่นเอง

ตัวอย่างภาพสตอรี่ที่นำมาให้ดูนี้ คือ สตอรี่ส่วนตัวของเรา (ขออนุญาตปิดทับเป็นชื่อ Jampay แทน เพื่อความเป็นส่วนตัว) ที่มีผู้ติดตามไม่เยอะมากนัก จากรูปจะเห็นได้ว่า มี “ยอดผู้ชม” (Viewers) 444 คน ซึ่งเป็น “การเข้าถึงโดยธรรมชาติ” (Organic Reach) ทั้งสิ้น จาก “รายชื่อเพื่อน” (Friends List) 3,000 คน คิดเป็น ร้อยละ 14.8 ก่อนที่สตอรี่จะครบ 24 ชั่วโมง

ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลข “การมีส่วนร่วมต่อโพสต์” (Engagement) ที่อยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับความยากในการทำการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน

เราเริ่มมองเห็นอะไรบางอย่างแล้ว ว่ามีหลักการและเทคนิคที่เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง แต่ขอให้เวลาในการศึกษาเพิ่มเติมอีกสักหน่อย แต่สำหรับใครที่อ่านแล้วเข้าใจทันที ก็สามารถไปทดลองใช้ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ เราได้ให้ความเห็นไว้ในหัวข้อ “ข้อดี” แล้วว่า “คอนเทนต์” ที่มีประโยชน์และมีคุณภาพเท่านั้น จะสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะแบบนี้

อ่านเพิ่มเติม : ขายของออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ .. ทำไมยากขึ้นเรื่อยๆ?Freemium คืออะไร? ดีอย่างไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน

5.การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing ทำอย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? (มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในอนาคต)

  • Target Group: ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs), นักเรียน/นักศึกษา, ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการทำการตลาด
  • Consumer Experience, Pain Point: ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับ Branding และ การทำ Content Marketing เพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างแบรนด์ด้วยตนเอง
  • Value of Evergreen Content : เป็นบทความที่ให้ “แนวคิด” (Mindset) ที่เป็นประโยชน์ ให้มองไปถึง “เชิงคุณภาพ” มากกว่า การแนะนำให้พึ่งพาเพียง “วิธีการ” หรือ “วิธีลัด” และ “การทุ่มเงินงบประมาณ”

 


ข้อสรุป: “การสร้างแบรนด์” ด้วย “การตลาดด้วยเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์”


เราเชื่อว่า การสร้างสรรค์ “คอนเทนต์ที่ดี” (Great Content) จะทำให้สิ่งที่เรากำลังทำยั่งยืนมากกว่า

ส่วน “เทคนิคการเขียนคอนเทนต์” ให้ประสบความสำเร็จใช้อะไร เราเองก็บอกไม่ได้แน่ชัดนักหรอก เพราะเราไม่เชี่ยวชาญขนาดนั้น
แต่เอาเป็นว่า เราจะเล่ายกตัวอย่าง เรื่องราวของเราเองแล้วกัน เป็นกรณีศึกษา (Case Study) รวมถึงเป็นกำลังใจให้ผู้อ่านทุกท่าน อาจต้องใช้เวลาเล่าย้อนความกันไปไกลนิดหน่อย

“นักเขียนอิสระ NONAME” จาก พิษณุโลก ที่เป็นใครก็ไม่รู้ ด้วยนโยบายที่ไม่ได้ต้องการ “ทุ่มต้นทุนที่เป็นตัวเงิน ซื้อโฆษณามากนัก” โดยจะเน้น “Organic Search” ให้มากที่สุด และดึงผู้เข้าชมไว้ด้วย “คุณภาพของเนื้อหา”

จะใช้เพียง 1 สมอง 2 มือ ของตัวเอง ไม่ได้จ้างทีมงาน แต่ ได้รับคำปรึกษาเรื่องการดูแลเว็บไซต์จากเพื่อนคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น “ต้นทุนที่เป็นตัวเงิน” ของเรา จะน้อยกว่าคนอื่นมาก

แต่เราอาศัยความตั้งใจ การวางแผนทุกอย่างตั้งแต่เริ่มแรก ความใส่ใจในรายละเอียดต่างๆขององค์กรทั้งหมดว่า เราอยากให้องค์กรของเราเป็นแบบไหน

อาศัยต้นทุนใน “ความเข้าใจด้าน Pain Point และ Experience ของคน” อาศัยต้นทุน “ความเข้าใจเรื่อง Digital Marketing” อาศัยต้นทุน “ความเข้าใจในเรื่อง Business (ถ้าเราเป็นเขา)” อาศัยต้นทุน “ความเข้าใจในการมองรอบด้าน ไม่ใช่แค่ด้านเดียว” อาศัยต้นทุน “ความเข้าใจในเรื่องต้นทุนการเงิน” อาศัยต้นทุน “ความเข้าใจในเรื่อง ..ทำน้อยได้มาก” อาศัยต้นทุน “ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืน”

การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing ทำอย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?,

ทำให้บทความของเรา สามารถขึ้นมาอยู่ตำแหน่งอันดับ 1 บนเครื่องมือค้นหา อย่าง Google (กูเกิล) ประเทศไทยได้ (ณ ขณะนี้)

ตอนนี้อยากรู้ว่า ตัวเราจะผลักดันองค์กรของเราไปได้ไกลแค่ไหน อนาคตของ “แจมเพย์” (Jampay) จะเติบโตไปเป็นอะไรได้บ้าง น่าสนุกดีนะ

วันนี้ “รายได้” อาจจะไม่มีเลย แต่เราสนุกและทำมันด้วยความตั้งใจที่ดี .. เราให้ความสำคัญกับการลงทุนในความรู้ความสามารถของตัวเอง เพราะ มันคือ “ประสบการณ์ที่มีค่า” ของเรา ที่เรามีติดตัวเอาไว้ มันคือ ทักษะในการ Management ของเรา ที่เราได้เรียนรู้ มันคือ Softskills และ Entrepreneurship ของเรา เราได้ประหยัดรายจ่ายลงเยอะเหมือนกัน เพื่อสิ่งที่กำลังทำอยู่

สิ่งที่อยากบอกจริงๆ ก็คือ .. ในยุคปัจจุบัน แม้ “การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน” (Disruption) กันง่ายๆ ก็จริง แต่คำว่า “วิกฤติ” หรือ “วิกฤต” (Crisis) ย่อมมี “โอกาส” (Oppotunities) เสมอ

โอกาสที่รายใหญ่ หรือ รายเล็กๆ อาจจะมีโอกาสเท่ากัน โอกาสที่ไม่ทุ่มเงินโฆษณา ก็อาจจะได้ผลลัพธ์เท่าคนที่ทุ่มเงิน โอกาสที่ยอดไลก์ ยอดแชร์ จะถูกลดความสำคัญ เหลือแต่ “คุณภาพ”

เราลงมือทำ และพิสูจน์มันด้วยตัวเองให้ทุกคนเห็นแล้ว ดูสิ เราเป็นใครก็ไม่รู้ แฟนเพจ 500 ไลก์ ไม่มีทีมงาน ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย หรือ มีศัพท์เทคนิคอะไรมากมายเลย

แต่ บทความสามารถขึ้นอันดับ 1 ด้วยการทำทุกอย่างคนเดียว ด้วยหลักคิดว่า .. ใครจะอ่านบ้าง? แล้วเขาอยากรู้อะไร? แล้วเราจะให้อะไรที่มากกว่าผู้เขียนคนอื่น? รวมถึงใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ และรักษาคุณภาพของเราไว้เสมอ

ที่นี้ ก็เหลือแค่ว่า เราจะ “รักษามาตรฐาน” (Standards) ของเราอย่างไร? สร้าง “ลูกค้าประจำ” (Lead/Return Users) หรือ “ฐานผู้ชม” (Audiences) อย่างไร? เป็นเรื่องที่น่าสนุกมากๆ

ซึ่งเราเน้นย้ำกับคนอื่นเสมอๆ ซึ่งมันง่ายมาก คือ .. ขอให้ทำ “สินค้าและบริการ” (Goods and Services) รวมถึง “เนื้อหา” (Contents) ให้มี “คุณภาพ” (Quality) เพราะสุดท้าย ทุกอย่างถูกตัดสินใจด้วยคุณภาพ แล้วผู้คนก็จะให้คุณค่ากับสิ่งที่คุณทำเพิ่มขึ่นเรื่อยๆเอง

“เข้าใจความต้องการของลูกค้าและส่งมอบสิ่งที่มากกว่าให้เขา” และ “พัฒนาอยู่เสมอ” ยังไงก็อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์ และเรื่อง “ออนไลน์-ออฟไลน์” เป็นเรื่องรอง แต่เชื่อมโยงกัน ไม่มีใครอยู่บนออนไลน์ได้ 24 ชม. 7 วัน.

อ่านเพิ่มเติม:
SEO และ Organic Search ข้อดี-ข้อเสีย ต่อ ธุรกิจ SMEs


 

“ตอนที่คุณยังเป็นแค่ใครก็ไม่รู้ ไม่ได้เป็นที่รู้จัก เวลาคุณพูด หรือ แนะนำอะไร ผู้คนจะบอกว่า คุณไร้สาระและไม่ฟังสิ่งที่คุณพูด แม้มันจะมีประโยชน์ก็ตาม .. แต่พอคุณประสบความสำเร็จ แม้ว่าคุณจะพูดไปมั่วๆ หรือพูดไปโดยไม่มีความหมาย ผู้คนก็ยังคิดว่า คุณทิ้งปริศนา หรือ คำใบ้อะไรให้ได้ขบคิด” (จำข้อความต้นฉบับและผู้ที่กล่าวไม่ได้ แต่จำเนื้อหาได้ขึ้นใจ)

 

หมายเหตุ : บทความนี้ เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวมุมมองหนึ่งในการวิเคราะห์เท่านั้น หากต้องการนำไปอ้างอิงประกอบการศึกษา สามารถทำได้ โดยผู้อ่านสามารถค้นหาบทความอื่นๆจากหลายๆแหล่งที่มาเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน รวมถึงการศึกษาไม่มากก็น้อย 

อ้างอิง:
การตลาดด้วยเนื้อหา

ผู้สนับสนุนบทความนี้

Sponsorships, Jampay, Jampay Thailand, แจมเพย์, แจ่มใส, jamsai, jamplay