ตลาดหุ้น ไทย (Set index) หรือ หุ้น ไทย ร่วงรุนแรง ผันผวน แบบนี้ .. นักลงทุนระยะยาว แบบ แจมเพย์ รับมืออย่างไร? บางท่านอาจคิดว่าตนเองมีความมั่นคงสูง มีเงินเดือนเพียงพอ แม้ว่า เศรษฐกิจของประเทศไทย จะเป็นอย่างไร แต่จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจ covid-19 จาก สถานการณ์โควิด ทั้งด้านการท่องเที่ยว ส่งออก นำเข้า สกุลเงิน เกษตรกร การบริโภค ธุรกิจ บริษัท การหางาน การจ้างงาน .. ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs).. ทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้น อยู่ดีๆ ก็ตกงาน พักงาน ว่างงาน จำเป็นต้อง ลงทะเบียนว่างงาน ลงละเบียนคืนเงิน รับเงินประกันสังคมคืน ลงทะเบียนรับเงิน รับเงินคืน หรือจำเป็นต้องใช้เงินจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ชิมช้อปใช้ และ เราจะไม่ทิ้งกัน แน่นอนว่าย่อมกระทบ ตลาดหุ้น หุ้น การลงทุน การเงิน เงินสด ตลาดเงิน สินทรัพย์ หนี้สิน
“ตลาดหุ้น” (Stock Market) และ “หุ้น” (Stock) ที่ ผันผวน แบบนี้ .. นักลงทุนระยะยาว แบบ แจมเพย์ รับมืออย่างไร?
เป็นธรรมดาของการลงทุนใน “หุ้น” (Stocks) ที่บางครั้ง ตลาดหุ้นร่วงหนัก ทั้งตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศ หรือในบางครั้งที่ ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง จนเกิดคำถาม เกิดการหาข่าว เช่น “หุ้น วันนี้เป็นอย่างไร?” “ราคา หุ้น” “ทำไมหุ้นตก” “สาเหตุหุ้นตกวันนี้” “วิเคราะห์หุ้นไทยวันพรุ่งนี้” “เก็บหุ้นตัวไหนดี” “หุ้น vi แนะนำ” หรือ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม การตัดสินใจ ที่จะแสดงออกมาสู่ตลาดหุ้น และบรรยากาศการลงทุน เป็นต้น
แน่นอนว่า หุ้น มีความผันผวนสูง และ มีความเสี่ยงสูง ราคาหุ้นมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้น-ลง อยู่ตลอดเวลาเมื่อเปิดทำการสำหรับการซื้อขาย
แต่ ทั้งนี้ ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น มีทั้ง ส่วนต่างราคา (Capital Gain) และ ปันผล (Dividend Yield) ดังนั้น ไม่ว่าผู้อ่านจะ เป็นนักลงทุนระยะยาวหรือไม่ก็ตาม ต้องถามตัวเองให้ชัดก่อนว่า เป้าหมายของเราคืออะไร เราต้องการผลตอบแทนแแบใด (อ่านเพิ่มเติม: หุ้น คืออะไร? แล้วเราจะได้อะไรจากการเล่นหุ้นบ้าง?)
แล้วนักลงทุนระยะยาว (ฉบับแจมเพย์) มีวิธีคิด วิธีรับมือเหตุการณ์หุ้นร่วงรุนแรงแบบนี้ อย่างไร? ไปติดตามกันเลยย …
- ลงทุนอะไรดี เงินเฟ้อขนาดนี้
- หุ้น เล่นยังไง? .. วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเจ้าการลงทุนตัวนี้กัน
- หุ้น คืออะไร? แล้วเราจะได้อะไรจากการเล่นหุ้นบ้าง?
แนวทางการลงทุน ใน ตลาดหุ้น ของนักลงทุนระยะยาว เบื้องต้น (ฉบับแจมเพย์)
- อ่าน รายงานประจำปี (Annual Report) และ ทำความเข้าใจ ภาพรวม-สัดส่วนธุรกิจ (Business Overview)
- วิเคราะห์ งบการเงิน (Financial Report) และ อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ (Financial Ratio)
- คัดสรรหุ้น วางแผนการลงทุน (Investment Planning) อย่างถี่ถ้วน มองไปในระยะยาว
- ตรวจสอบ ผลตอบแทนของการลงทุน อย่างสม่ำเสมอ เปรียบเทียบ (Benchmark) กับ ตลาดและผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม :
–เลือกหุ้น ให้เหมือนเลือกคู่ชีวิต (สำหรับนักลงทุนแบบ VI)
–ส่องหุ้น จากอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยม (สำหรับมือใหม่!)
–ราคาทองคำ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอะไรได้บ้าง?
ตลาดหุ้น หรือ เศรษฐกิจโลก ผันผวนหนัก .. เรารับมืออย่างไร?
สำหรับ แนวทางการพิจารณาในสถานการณ์ที่ผันผวนเราใช้วิธีคร่าวๆ ดังนี้ (ฉบับ แจมเพย์)
- ตรวจสอบ ตัวเลขทางการเงิน (Financial Ratio) พื้นฐาน (Fundamental) และตัวชี้วัดต่างๆ (Indicators)
- วิเคราะห์ หุ้นรายตัว ราคาหุ้น ราคาตลาด และ ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ
- บริหารความเสี่ยง (Risk Management) บริหารจัดพอร์ตการลงทุน (Portfolio Management)
- เตรียมรับมือ เหตุการณ์วิกฤติ (Crisis Management) ในกรณีที่แย่ที่สุด (Worst-Case Scenario)
- มองไปที่เป้าหมายระยะยาว (Long-Term Vision) ยึดถือในเป้าหมาย (Focus on the goals)
ตัวอย่าง (Case Study) จากสถานการณ์จริง ตอน ตลาดหุ้นไทยร่วงหนัก
เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2563 ตลาดหุ้นไทย หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เปิดช่วงเช้า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) เปิดด้วยตัวเลข ประมาณ – 90 กว่าจุด และ ปิดช่วงเย็น ประมาณ – 108.63 จุด ดัชนีประมาณ 1255.94 จุด หลุด 1,300 จุด
ตลาดหุ้น เปิดทำการ ช่วงเช้า (10.30-12.30 น.)
- ประเมินก่อนว่า ตลาดหุ้น น่าจะลงจากหุ้นตัวไหน กลุ่มอุตสาหกรรมใดมากที่สุด เมื่อทราบแล้ว ก็ประเมินสถานการณ์ว่าจะกระทบอะไรต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง หรือกระทบอะไรเราบ้าง แน่นอนว่าการรับรู้ภาพรวมของตลาดจากแต่ละคนย่อมต่างกันออกไป จากข่าวสาร ประสบการณ์ รวมถึง หุ้นที่ตนเองมีในพอร์ต
- ตรวจสอบพอร์ตการลงทุนของตนเอง ว่า หุ้นรายตัว ตัวไหน ได้รับผลกระทบบ้าง ผลกระทบมากน้อยขนาดไหน
- ประเมินหุ้นรายตัว ตามกฏที่ตนเองตั้งไว้ว่า ตอนนี้ควรรอก่อน (Hold) หรือ เข้าซื้อเพิ่ม (Buy) และ หากจะซื้อเพิ่มตัวไหนบ้าง (นโยบายของเรา ไม่มีขายทิ้งถ้ากิจการไม่ได้มีปัญหา หรือ เลิกกิจการ)
- อ่านรายงานทางการเงิน พื้นฐานต่างๆ อย่างคร่าวๆ รายตัวกับหุ้นทั้งหมดที่เรามีในพอร์ต เช่น เรามี 15 ตัว เราก็จะดูทั้งหมด 15 ตัว
- คัดสรรหุ้น ที่เราควรจะซื้อรายตัว ว่ามีทั้งหมดกี่ตัว คำนวณช่วงราคาที่เราพอใจ กำหนดจำนวนที่ต้องซื้อ และ จำนวนเงินสดที่ต้องเตรียม (เราไม่ซื้อด้วยเงินทั้งหมดที่มี ทำการแบ่งซื้อตามจำนวนที่จะซื้อในแต่ละครั้งก่อน เพื่อกันเป็นเงินสดสำรอง)
- คงเงินสดสำรองไว้เผื่อกรณีแย่ที่สุด (Worst-case Scenario) หรือ สถานการณ์ไม่เป็นอย่างที่คิด
ก่อนเวลาเปิดทำการ ช่วงบ่าย (12.30 – 14.00 น.)
- เตรียมเงินโอนเข้าพอร์ตตามจำนวนที่ได้วางแผนไว้ ก่อนเวลาเปิดทำการในช่วงบ่าย
- ทบทวนตารางปัจจัยต่างๆ ที่ได้คำนวณไว้ทั้งหมดอีกครั้งว่า เราประเมินหุ้นที่ต้องการซื้อในครั้งนี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามเหตุผล และกฏของเรา
- ตรวจสอบไฟล์ตารางรายชื่อหุ้นอย่างง่ายที่ทำขึ้นอีกครั้ง เพื่อเตรียมส่งรายการสั่งซื้อ (Order) ตามจำนวนที่ได้วางไว้ เพื่อป้องกันการสั่งซื้อที่ขาดตกหล่น และ ความผิดพลาดจากมนุษย์ (Human Errors) ของตัวเราเอง การทำรายการตรวจสอบ (Checklist) ไว้ เป้นสิ่งจำเป็น
ตลาดหุ้น เปิดทำการ ช่วงบ่าย (14.30-16.30 น.)
- ทำการคีย์รายการสั่งซื้อตามที่ได้วางแผนไว้
- ก่อนตลาดปิดทำการประมาณ 15 นาที ตรวจสอบอีกครั้งว่าเราบรรจุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ กล่าวคือ รายการสั่งซื้อของเรา ที่เราตั้งจำนวนและราคาหุ้นไว้ เกิดการ Match หรือไม่
- หากไม่สามารถซื้อได้ ก็ทำการซื้อในวันถัดไป หรือ ไม่ก็ถือเงินสดรอไว้เฉยๆ (Hold)
วิธีแก้พอร์ตการลงทุน หากหุ้นตก ติดดอย หรือ ติดลบ ขาดทุน .. เราวิธีรับมือ มีวิธีแก้ไขอย่างไร
ในช่วงเวลาที่ หุ้นตก พอร์ตติดลบหนัก นักลงทุนอาจจะรู้สึกเครียด จนขาดสติได้ จะซื้อเพิ่ม (Buy) ถือต่อ (Hold) หรือ ขายทิ้ง (Sell) และอาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด หรือ มองข้ามสิ่งที่ควรจะคำนึงถึงไป มองภาพรวมในเชิงลบไปเสียทั้งหมด
ดังนั้น เราจะแนะนำไปแล้วตามหัวข้อด้านบนว่า .. บริหารความเสี่ยง (Risk Management) บริหารจัดพอร์ตการลงทุน (Portfolio Management) กล่าวคือ การเลือกหุ้นให้มีความหลากหลายในแง่ของกลุ่มธุรกิจ และ อุตสาหกรรม (Industries) จะช่วยป้องกันไม่ให้พอร์ตการลงทุนของรับได้รับผลกระทบมากนัก
อ่านเพิ่มเติม : เลือกหุ้น ให้เหมือนเลือกคู่ชีวิต (สำหรับนักลงทุนแบบ VI) และ ส่องหุ้น จากอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยม (สำหรับมือใหม่!)
รวมถึง เตรียมรับมือ เหตุการณ์วิกฤติ (Crisis Management) ในกรณีที่แย่ที่สุด (Worst-Case Scenario) กล่าวคือ การเตรียมเงินสดสำรองไว้ โดยอาจจะกำหนดวงเงินตามที่ตนเองพอใจ เช่น 5-10% ของสินทรัพย์ทั้งหมด เป็นต้น
โดยการทำดังกล่าว
แต่ หากทำทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว แต่พอร์ตหุ้นของเรายัง ติดดอย ติดลบ และขาดทุนหนัก เราอาจจะต้องทำการตรวจสอบหุ้นรายตัวของเราอีกครั้งเพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือ เราอาจจะประเมินว่า ภาพรวมของตลาดตอนนี้เป็นอย่างไร การกระทำต่อตลาดหุ้นเป็นอย่างไร มีกิจกรรมทางการเงินใดบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
หรือ อาจแสดงให้เห็นว่า หุ้นที่เราเลือกมานั้น มีผลการดำเนินการที่แย่กว่าภาพของเฉลี่ยของตลาด (Underperformance) ดังนั้น เราอาจจะต้องทำการตรวจสอบหุ้นรายตัวของเราอีกครั้งเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ดังนั้น เราก็ควรจะวางแผนสำรอง (Back-Up Plan) สำหรับกรณีที่แย่ที่สุด (Worst-Case Scenario) ของตัวเราเอง เราจะยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ ดังนี้
วิธีแก้ไขหรือรับมือ หากหุ้นตก ติดตอย พอร์ตติดลบ หรือ ขาดทนหนัก (สำหรับนักลงทุนระยะยาว)
1. ถามตนเอง ด้วยเป้าหมายในระยะสั้น และระยะยาว ของการลงทุนในหุ้น (Focus the Goal)
เป้าหมายของเราคืออะไร? ถามตัวเองให้ชัดก่อนว่า เราหวังสิ่งไหน ส่วนต่างราคา (Capital Gain) หรือ ผลตอบแทนปันผล (Dividend Yield) แล้วอะไรที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้น หรือ อะไรที่ไม่มีผลกับเรา เมื่อเราได้คำตอบที่อบอวลอยู่ในใจแล้ว ให้เราเริ่มถามตัวเองในข้อถัดไป
2. ประเมินสถานการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นของพอร์ตหุ้นตนเอง (Create Your Own Checklist and Action Plan)
ให้กลับขึ้นไปอ่านหัวข้อ “ตัวอย่าง (Case Study) จากสถานการณ์จริง ตอน ตลาดหุ้นไทยร่วงหนัก” ซึ่งเป็นวิธีที่เราทำจริง ว่าเรา มีวิธีวางแผนอย่างไร มีวิธีการทำอย่างไร มีวิธีรับมือ หรือ แก้ไขหากเกิดกรณีที่แย่ที่สุดอย่างไร
เพื่อนๆ ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของตนเองได้
3.ทดสอบจิตใจของคุณ (Peace of Mind) กับ สภาวะที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นอยู่เป็นประจำ
- ข่าวลือ ข่าวสารจากแหล่งที่มา หรือ ผู้มีอิทธพลต่อความคิดของคุณ (Influencers) ต่างๆ เช่น สำนักข่าว แฟนเพจดัง เป็นต้น มีผลกับ สภาพจิตใจ บรรยากาศในการลงทุน รวมถึงการตัดสินใจของคุณแค่ไหน
- คุณสามารถเห็น หุ้น แต่ละตัว บวก 50 เปอร์เซนต์ (%) หรือ หุ้นติดลบ 50 (%) ได้หรือไม่
- คุณทนเห็น กรณีที่ซื้อหุ้นแล้วหุ้นตกใส่หน้า หรือ ขายหุ้นแล้วเด้งใส่หน้า ได้หรือไม่
- คุณทนเห็นพอร๋ตหุ้นโดยรวมของคุณ กำไรหรือขาดทุนทางตัวเลข ได้มากน้อยแค่ไหน
- คุณมีความเด็ดเดี่ยวต่อเป้าหมายของคุณมากแค่ไหน
ถ้าทำได้ตามข้อที่กล่าวมาข้างต้น ประเมินแล้วว่าหุ้นของคุณไม่ได้รับผลกระทบ หรือ อาจได้รับผลกระทบในวงจำกัด หรือมั่นใจว่าสามารถฟื้นตัวได้ ให้ปิดจอ ทุกอย่างคือจบตั้งแต่ข้อนี้ แล้วไปทำอย่างอื่น แต่ถ้าหากคุณทำไม่ได้ รู้สึกคันไม้คันมืออยากทำอะไรสักอย่าง ให้ไปข้อถัดไป
หรือ หากคุณมีเงินสดในมืออยู่แล้ว และ มองเห็นว่าเป็นโอกาสในการเข้าซื้อสะสมหุ้นที่ดี มูลค่าถูก ให้ไปดำเนินการในข้อสุดท้าย
4.ขายหุ้นออกมาบางส่วน ในกรณีที่คุณไม่มีเงินสด (Take Profit/Cut Loss for Cash)
โดยอาจขายทิ้งหุ้นออกมาบางส่วนเพื่อถือเงินสด หากมั่นใจว่า หุ้นที่เราเลือกมาเป็นหุ้นที่อาจจะมาผิดทาง หรือ อาจจะเลือกผิด หรือเป็น หุ้นเน่า หรือ แม้แต่หุ้นที่มีส่วนต่างราคาสูงเกินไป หรือ แพงเกินไปสำหรับเราแล้ว
โดยอาจจะแบ่งขายที่ละ ร้อยละ 10 (%) ของจำนวนที่มีทั้งหมด และกำหนดความคาดหวังต่อการขายครั้งนี้ให้ชัดเจนว่า เราจะป้องกันความสุญเสียที่กี่เปอร์เซ็นต์ เช่น ราคาลง 10% คุณจะขายเพื่อป้องกันความเสี่ยง และอยู่ในและ ต้องการกำไรที่กี่เปอร์เซ็นต์
เพราะ การที่เรากำหนดความพึงพอใจในสัดส่วนที่เราต้องการ นอกจากจะเป็นการสร้างวินัยที่ดัแล้ว ยังช่วยไม่ให้เราสุญเสียมากจนเกินไป
แต่ถ้าหากคุณมีเงินสดสำรองในมืออยู่แล้ว คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องดำเนินการในข้อนี้มากเท่าไหร่ แต่คุณสามารถไปดำเนินการในข้อถัดไป
5.เพิ่มสัดส่วนหุ้นที่ผลการดำเนินงานดีกว่าภาพรวมของตลาด (Increase Outstanding Performance Stock)
เมื่อได้เงินสดมาแล้ว อาจจะนำเงินสดเหล่านั้น ไปเก็บสะสมหุ้นรายตัวตัวใหม่ ที่มีผลการดำเนินงานที่ดีมากกว่าภาพรวมของตลาด ที่เป็นหุ้นที่จะช่วยให้พอร์ตของเรามีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น และสามารถฟื้นตัวจากสภาวะวิกฤติ หรือ เหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ได้เร็วกว่าหุ้นตัวอื่นๆในตลาด ตรงนี้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจส่วนบุคคลพอสมควร
สรุป: เพียงเท่านี้ พอร์ตหุ้น หรือ พอร์ตการลงทุนของคุณก็จะอยู่รอดปลอดภัยได้ในทุกสถานการณ์ หรือหากต้องเผชิญสภาวะวิกฤติต่างๆ ก็จะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าผู้อื่น แต่สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งพื้นฐานที่อ่านดูเหมือนจะทำง่าย แต่ในความจริงเป็นแล้วน้อยคนนักที่จะสามารถทำได้ เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน
อ่านเพิ่มเติม: –ฝึกลงทุนระยะยาว ด้วยเกมออนไลน์ (How To)
สรุป แนวทางการลงทุน ใน ตลาดหุ้น สำหรับ นักลงทุนระยะยาว ตามแบบของ แจมเพย์
เราใช้ กระบวนการคิด เชิงนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ เปรียบเทียบว่า เราไม่มีทางทิ้งบริษัท หรือ วันนี้เรายังไม่ได้เลิกกิจการนี้ ไม่มีทางทำอะไรที่เสี่ยงเกินไปจนอาจพาบริษัทไปเจ๊ง ไม่มีทางให้ตัวเราสูญเสียเกินกว่าที่ควร จะไม่มีทางทิ้งพนักงานของเราในยามวิกฤติแบบนี้
แล้วเราต้องทำอย่างไรเพื่อรับมือ หากเราเป็นคนเดียวที่ตัดสินใจได้ หากเราเป็นผู้นำขององค์กร และ การตัดสินใจของเรา มีผลกับบริษัท
ดังนั้น การตัดสินใจของเราต้องละเอียดรอบคอบ คิดรอบด้าน และต้องไม่ใช้อารมณ์ในการด่วนตัดสินอะไรเกินไป อยู่บนเหตุผล ต้องทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด หรือ ทำให้ส่งผลเชิงลบต่อเราน้อยที่สุด ในที่นี้คือ “พอร์ตการลงทุน” ของเราเอง
นักลงทุนระยะสั้น แบบ เทรดหุ้น (Trader) หรือ Day-Trader หล่ะ?
สำหรับนักลงทุนประเภท เทรดเดอร์ (Trader) หรือ เทรดรายวัน (Day-Trader) ต้องการ ส่วนต่างราคา (Capital Gain) ในการสร้างผลตอบแทน หรือ หากำไรจากการซื้อขาย จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการขึ้น-ลงของราคา หากราคาลงไปมากกว่าที่ตนซื้อก็อาจสูญเสียได้
ดังนั้นการที่ราคาเปลี่ยนแปลงมากๆ ย่อมมีผลกับการตัดสินใจได้ เพราะ ส่งผลต่อผลตอบแทนของตนเอง เช่น ข่าวลือ ข่าวหุ้น สถานการณ์ต่างๆ เส้นกราฟที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : –หวย (Lotteries) หุ้น (Stocks) การเทรด (Tradings) มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร?
แต่ สำหรับเรา (นักลงทุนระยะยาว) จะมองคนละมุมมองกัน สิ่งต่างๆ ข้างต้นจึงอาจจะมีผลต่อเราไม่มากนัก ไม่มีผลต่อเราเลย และ ปัจจัยแวดล้อมที่เราใช้ดูก็ต่างกันออกไป จึงจะเป็นการติดตามผลการลงทุนของตนเองด้วย “วิธีการคนละแบบ” หรือ “ตัวชี้วัดคนละตัว” นั่นเอง
แล้วถ้าหาก ตลาดหุ้น ร่วงหนัก ไปกว่านี้หล่ะ?
- Trade-off Decision การตัดสินใจเลือกแล้วทางเลือกหนึ่งแล้ว นั่นหมายถึง เราตัดสินใจเลือกที่จุดนี้แล้วบนเหตุผลต่างๆ เราสามารถยอมรับผลของการตัดสินใจได้ว่าผลดี-ผลเสียเรายอมรับได้ไหม ทางเลือกอื่นๆย่อมเป็นทางเลือกที่เราไม่ได้เลือก การเสียใจ-เสียดายไม่ช่วยอะไรมากนัก ยังมีโอกาสให้เราได้ฝึกฝนอีกมาก
- Back-up Plan เรายังมีเงินสดสำรองเผื่อในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงการลงทุนอย่างอื่น หรือเผื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์อย่างอื่น ที่เราบริหารพอร์ตเอาไว้ตามสัดส่วนที่ตนเองมี หากผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นอยู่ระดับที่ไม่น่าพอใจในระยะเวลานั้น ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนรวมทั้งหมดของเราจะอยู่ในระดับที่ดี
ประโยชน์ที่เราได้รับ จากการฝึกฝนตัวเอง ในช่วงที่ตลาดหุ้นร่วงหนัก
- Complex-Problem Solving มีสติมากขึ้น มีเหตุผลมากขึ้น ใจนิ่งมากขึ้น คิดรอบด้านมากขึ้น
- Decision during Crisis Scenario ตัดสินใจอย่างไตร่ตรองอย่างดีที่สุด ภายใต้สภาวะกดดันที่สุดได้
- Management Skills เราได้ประโยชน์จากการฝึกฝนตัวเองบ่อยๆ และได้ใช้ทักษะที่จำเป็นในการบริหาร
- Long-Term Vision and Focus on Goals ผลการดำเนินงาน และผลตอบแทนโดยรวม ที่สูงขึ้นในระยะยาว (Outstanding Performance) รวมถึงการทบต้นของเม็ดเงินที่ลงทุน และ โฟกัสที่เป้าหมายในระยะยาวของเรา ไม่ไขว้เขว
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นบทความต้นฉบับ และเป็นเพียงแนวคิด มุมมอง และวิธีการส่วนตัว หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อื่น รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ผู้อ่านควรศึกษาให้เข้าใจก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง และผู้อ่านควรศึกษาจากข้อมุลในหลายๆแหล่งที่มาประกอบการตัดสินใจ และวางแนวทางของตนเอง
อ้างอิง:
–Settrade