ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม (Social Security Office: SSO) มีปัญหา ได้รับผลกระทบอะไร? ประกันสังคม เจ๊ง หรือ ขาดทุน ลงทุน ใน ตลาดหุ้น หุ้น ไทย ต่างประเทศ เจ๊งหรือไม่ จนไม่มีเงินมาจ่ายเราจริงหรือไม่ ..ในสถานการณ์โควิด19 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ กองทุนประกันสังคม รวมถึง สิทธิประกันสังคม ลงทะเบียนว่างงาน เงินประกันสังคม เงินเยียวยา เงินชราภาพ ผู้ประกันตน ทำไมล่าช้า เกี่ยวข้องกับ ผู้ ประกันตน คือ .. ผู้คนจำนวนมาก ทั้ง ผู้ประกันตน ยื่นประกันตน ว่างงาน ประกันสังคม มาตรา 33 ผู้ประกัน ตนเอง ประสังคม มาตรา 39 มาตรา 40 .. เงิน ประกันตน ว่างงาน ประกัน ชราภาพ วันนี้แจมเพย์จะเล่าให้ฟัง

ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม (อาจ) ได้รับผลกระทบอะไร?

จากการที่แจมเพย์ได้ วิเคราะห์ในบทความ “บำนาญ-สวัสดิการ ของ งานราชการ-บริษัท อาจมีปัญหา เราเตรียมตัวอย่างไร?” แม้ว่า กองทุนประกันสงคม หรือ สถาบันการเงินเพื่อระบบบำเหน็จ บำนาญ และสวัสดิการของประชาชนอื่นๆ อาจจะมีปัญหาในระยะยาว จากหลายๆ ปัจจัยที่อาจส่งผลในอนาคต

แต่ในระยะสั้น สถาบันการเงิน อาทิ กองทุนประกันสังคม ยังคงมีเงินสดมากเพียงพอสำหรับจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิกอยู่เช่นเดิม อาทิ สิทธิประโยชน์ประกันสังคมโดยรวม สิทธิประโยชน์ประกันสังคม กรณีว่างงาน เป็นต้น

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำไมประชาชนยังคงไม่ได้เงินตามสิทธิของตน อาจเกิดมาจากปัจจัยใดได้บ้าง แล้วในความเป็นจริง กองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม มีอัตราส่วนเงินสดสำรองจ่ายเท่าไหร่ ขาดทุนจริงหรือไม่ แจมเพย์ จะเล่าให้ฟัง ..


สารบัญ
(สามารถคลิกเพื่อนำทางไปยังหัวข้อดังกล่าว)

สำนักงานประกันสังคม หรือ กองทุนประกันสังคม มีเงินสดหรือสินทรัพย์อยู่เท่าไหร่
เงินของกองทุน ประกันสังคม มีเพียงพอ จ่ายสิทธิประโยชน์ แก่ผู้ประกันตน หรือไม่?
ทำไม กองทุนประกันสังคม ต้องลงทุน .. ทำไมถึงคืนเงินไม่ได้ ทำไมไม่จ่ายดอกเบี้ย หรือ ปันผล หรือ ปล่อยกู้แก่สมาชิก
สำนักงานประกันสังคม อาจได้รับ ผลกระทบอะไรจากสถานการณ์ โควิด 19 (Covid-19)
โดยสรุป: ประกันสังคม ลงทุนจนขาดทุน หรือ เงินหาย เงินหมดแล้ว จริงหรือไม่


สำนักงานประกันสังคม หรือ กองทุนประกันสังคม มีเงินสดหรือสินทรัพย์อยู่เท่าไหร่

จากข้อมูล รายงานผลสถานะการลงทุนกองทุนประกันสังคม Q3/2019 ปี 2562 ภายในเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th) ระบุว่า เงินกองทุนสะสมของกองทุนประกันสังคม ใน เดือน กันยายน ปี 2562 อยู่ที่ 2.17 ล้านล้านบาท

และจากตัวเลข งบแสดงสถานะทางการเงินกองทุนประกันสังคม ปี 2560 (Financial Report) ของ สำนักงานประกันสังคม ในปี 2560 แสดงให้เห็นว่า สำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน มีสินทรัพย์หมุนเวียน อยู่ที่  5.19 แสนล้านบาท และ หนี้สินหมุนเวียนอยู่ที่ 8.8 พันล้านบาท และมีตัวเลข รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย หรือ หากเป็นงบการเงินของ ธุรกิจ หรือ บริษัท เรียกว่า “กำไรสุทธิ” (Net Profit) เท่ากับ 4.12 หมื่นล้านบาท (2560)

รายได้ส่วนใหญ่ (2560) มาจาก “ดอกเบี้ยรับ” จำนวน 40.7 หมื่นล้านบาท แสดงให้เห็นว่า กองทุนประกันสังคม ลงทุนอยู่ในรูปของ การลงทุนที่มี่ความเสี่ยงต่ำ มากกว่า การลงทุนความเสี่ยงสูงอื่นๆ อาทิ เงินฝากระยะสั้น เงินฝากประจำระยะยาว พันธบัตรัฐบาล ตราสารหนี้ถือจนครบกำหนด หุ้นกู้ เป็นต้น และยังมีสัดส่วน สินทรัพย์ส่วนทุนยังไม่ได้จัดสรร เปรียบเทียบได้กับ “กำไรสะสม” ในกองทุนมากถึง 4.49 แสนล้านบาท

และถึงจะใช้ข้อมูลย้อนหลัง 1 ปี สัดส่วนการลงทุนในเงินลงทุนระยะยาวแต่ละอย่างของกองทุนเทียบจะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นการถือครองระยะยาว และสามารถมี ผลตอบแทน หรือ ดอกเบี้ยรับเข้ามาได้ในระยะเวลาหลายปีเช่นกัน

ซึ่งเวลาเราดูอัตราส่วนทางการเงินอย่างง่าย จาก งบการเงิน ให้เราดูที่ “สินทรัพย์หมุนเวียน”เทียบกับ “หนี้สินหมุนเวียน” จะบ่งบอก สภาพคล่อง (Liquidity) กับ ความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้น ซึ่งในความหมายของ กองทุนประกันสังคม คือ “สิทธิประโยชน์” เช่น กรณีว่างงาน หรือ สิทธิประโยชน์อื่นๆ เป็นต้น ที่จำเป็นต้องมีเพียงพอจ่ายต่อสมาชิก หรือ ผู้ประกันตน

อ่านเพิ่มเติม:
ส่องหุ้น จากอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยม (สำหรับมือใหม่!)


เงินของกองทุน ประกันสังคม มีเพียงพอ จ่ายสิทธิประโยชน์ แก่ผู้ประกันตน หรือไม่?


ประกันสังคม,

จากหัวข้อก่อนหน้านี้ แจมเพย์ ได้อธิบายไปบ้างแล้วบางส่วนว่า กองทุนประกันสังคม ยังคงมีเงินสดเพียงพอในระยะสั้น สำหรับจ่ายแก่สมาชิก หรือ ผู้ประกันตน ทีนี้ เรามาดูตัวเลขที่ กองทุนประกันสังคมเผยแพร่กันบ้าง

จากตัวเลขที่ปรากฏ หากในสถานการณ์ปกติ กองทุนประกันสังคม ยังจะสามารถมี อัตราส่วน หรือ สัดส่วนเงินสดเพียงพอ สำหรับจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิก อัตราส่วนเงินสำรอง (Reserve Ratio) ของเงินสิทธิประโยชน์โดยรวม อยู่ในช่วง 1-2 เท่า ตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น และ เงินสำรองกรณีว่างงาน ในปี 2563 เท่ากับ 20.74 เท่า

แสดงให้เราเห็นว่า กองทุนประกันสังคม มีเงินสดสำรองเพียงพอสำหรับการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิก หรือ ผู้ประกันตนได้อย่างไม่น่ามีปัญหาแต่อย่างใด แม้ว่าในระยะยาว กองทุนประกันสังคม จะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง จากปัจจัยด้านประชากรที่ลดลง ส่งผลทำให้ ผู้ต้องการใช้สิทธิจะมีมากกกว่า ผู้สมทบนั่นเอง ซึ่งได้อธิบายไว้ในบทความก่อนหน้านี้


ทำไม กองทุนประกันสังคม ต้องลงทุน .. ทำไมถึงคืนเงินไม่ได้ ทำไมไม่จ่ายดอกเบี้ยหรือปันผล หรือ ปล่อยกู้แก่สมาชิก

ทำไมกองทุนประกันสังคมต้องลงทุน

กองทุนประกันสังคม หรือ กองทุนเพื่อสวัสดิการอื่นๆ อาศัย “เงินสมทบ” จากสมาชิกที่หักทุกเดือน หรือ ผู้ประกันตน รวมกับ นายจ้าง และรัฐบาล มาบริหารและสร้างผลตอบแทน ซึ่งหากไม่นำไปลงทุนให้เงินสมทบของสมาชิกเพิ่มพูน งอกเงยขึ้นมา จะไม่ต่างอะไรกับ “แชร์ลูกโซ่”  ที่นำเงินสมาชิกคนหนึ่ง มาให้สมาชิกอีกคนหนึ่งเท่านั้น ไม่นานเงินสมทบของสมาชิกก็จะหมดลง เพราะมีภาระหนี้สิน คือ การจ่ายค่าสิทธิประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องมีมากเพียงพอต่อความต้องการ

จากตัวเลขในรายงาน แสดงให้เห็นว่า กองทุนประกังสังคม ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ย อยู่ที่ ร้อยละ 5 ต่อปี ด้วยตัวเลขเม็ดเงินลงทุนมากมายขนาดนี้ การได้ผลตอบแทนเท่านี้ ถือว่า มากเพียงพอสำหรับบริหารค่าใช้จ่ายของกองทุนได้อย่างไม่ติดขัด

นอกประเด็น: ในบทความเรื่อง “ผลกระทบของโควิด19” เราได้อธิบายไว้ว่า อาจเกิดการระบาดของแชร์ลูกโซ่ การพนันออนไลน์ หรือ การหลอกลวง ให้ลงทุนที่การันตีได้รับผลตอบแทน 100% 200% หรือ 300% แจมเพย์ อยากจะเตือนสติว่า อย่าหลงเชื่อ แม้นักลงทุนระดับโลก ยังต้องการผลตอบแทนเพียง ร้อยละ 5-10 ของเงินลงทุนเท่านั้น ก็มากเพียงพอแล้ว หากเทียบกับเงินลงทุน ของนักลงทุนรายใหญ่ ที่ระดับเม็ดเงินหลักล้านล้านบาท คงไม่มีใครเอาเงินมหาศาลขนาดนี้มาเสี่ยงให้เจ็บตัวเล่นๆ แน่นอน  ดังนั้น หากต้องการลงทุนแบบยั่งยืนจริงๆ ให้ดูแนวทางการลงทุนของกองทุนต่างๆ ประกอบได้   

อ่านเพิ่มเติม:
กองทุนประกันสังคม ซื้อหุ้นแพง จนขาดทุน จริงหรือไม่?

ทำไมกองทุนประกันสังคมไม่จ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผลแก่สมาชิก

กองทุนประกันสังคม จ่ายผลตอบแทนสมาชิก หรือ ผู้ประกันตน ในรูป “สิทธิประโยชน์” อาทิ สิทธิประกันสังคม กรณีว่างงาน เงินชดเชยต่างๆ เงินค่ารักษาพยาบาล เงินสงเคราะห์ บำเหน็จ บำนาญ หรือ สวัสดิการอื่นๆ เป็นต้น ในสัดส่วนที่เหมาะสม เมื่อผู้ประกันตน ส่งเงินเข้ากองทุนตามเกณฑ์ที่กำหนด ในสถานการณ์ปกติ ซึ่งถือเป็น ค่าใช้จ่ายของกองทุนฯ

จะแตกต่างจากสถาบันการเงินอื่นๆ ที่นำเงินของทุกท่านไปลงทุนต่อเช่นกัน แต่ จ่ายผลตอบแทนในรูปตัวเงิน เช่น ดอกเบี้ย หรือ เงินปันผล เป็นต้น แต่ท่านจะไม่ได้รับสวัสดิการอื่นๆ

ซึ่งสวัสดิการ มีสัดส่วนผู้รับสิทธิประโยยชน์ในแต่ละช่วงเวลา เช่น กรณีว่างงาน กรณีรักษาพยาบาล หรือ การจ่ายบำเหน็จ ทำให้กองทุนสามารถกำหนด วางแผน บริหารจัดการเงินสดสำรองให้เพียงพอตามสัดส่วน แต่ การจ่ายดอกเบี้ยหรือปันผล ต้องจ่ายให้แก่สมาชิกทุกท่านอยู่เสมอ หลักสิบล้านคนอยู่ตลอดเวลา

ลองนึกภาพว่า สมาชิกทุกคนได้รับทั้งสวัสดิการและผลตอบแทนในรูปตัวเงิน ประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานของกองทุนประกันสังคม จะสามารถดำเนินไปได้นานเพียงใด ดังนั้น กองทุนประกันสังคม จึงไม่สามารถบริหารในรูปแบบเดียวกับ สถาบันการเงินอื่น หรือ รูปแบบสหกรณ์ได้

อ่านเพิ่มเติม:
สหกรณ์ออมทรัพย์ มีความเสี่ยง-ได้รับผลกระทบ หรือไม่ อย่างไร?

ทำไมกองทุนประกันสังคมถึงคืนเงินแก่สมาชิกก่อนกำหนด อายุ 55 ปีไม่ได้

สถาบันการเงินต่างๆ ยกตัวอย่าง สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับ ประกัน ไม่ว่าจะเป็น บริษัทประกันชีวิต ประกันภัย (Insurances) จะมีการจ่ายเบี้ยประกันทุกปี และ จะได้รับเงินคืนรวมกับผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ สิทธิประโยชน์ หรือ กองทุนเปิด ที่สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ และ กองทุนปิด ที่สามารถไถ่ถอนได้เมื่อครบกำหนด

หรือแม้แต่ ธนาคาร ที่เราฝากเงิน อาทิ บัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน เวลาเราต้องการจะถอนเงิน เจ้าหน้าที่จะถามว่า ทำไมเราจึงอยากถอนเงินในส่วนนี้ เพราะ บางครั้ง บางสาขาของธนาคารยังต้องรอให้มีคนมาฝากเงินเข้าระบบก่อน โดยจะสอบถามว่า มีลูกค้าท่านใดมาฝากเงินบ้าง และให้บริการเพื่อนำเงินเข้าระบบก่อน เป็นต้น

เช่นกัน การลงทุนในกองทุนประกันสังคม จะได้ผลตอบแทนที่การลงทุนที่ดีที่สุด คือ “บำนาญชราภาพ” เมื่อผู้ประกันตนถือจนครบกำหนด ตอนอายุ 55 ปี และส่งเงินสมทบกองทุนฯ มาไม่น้อยกว่า 180 เดือน โดยจะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้ หากไม่ถึงเกณฑ์จะได้รับเป็น “เงินบำเหน็จชราภาพ” พร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนจากส่วนเงินทุนของเรา

ลองนึกภาพว่า กองทุนประกันสังคม หรือ สำนักงานประกันสังคม มีภาระค่าใช้จ่ายทั้ง สิทธิประโยชน์ในรูปสวัสดิการ มีทั้งภาระการจ่ายดอกเบี้ยหรือปันผลแก่สมาชิกทุกท่าน และ มีภาระต้องเตรียมเงินสดสำรองไว้ ให้เพียงพอกับสมาชิกที่อาจขอถอนเงินออกจากระบบไปใช้จ่ายก่อน

จะส่งผลให้ และประสิทธิภาพและผลการดำเนินการของกองทุนประกันสังคมจะเป็นอย่างไร และจะดำเนินการได้ต่อไปยาวนานเท่าใด

สมมติว่า นำเงิน 2.1 ล้านล้านบาท มาแจกประชาชน สมมติ คิดจากสมาชิกทุกมาตรา ประมาณ 18 ล้านคน ได้คนละ 115,000 บาท ประชาชนเรียกร้องขอถอน ร้อยละ 50 ก็จริง แต่บางท่านมีเงินสะสมมากกว่านั้น

แต่กลับกัน หากกองทุนฯ ลงทุนเม็ดเงินส่วนนี้ไว้ระยะยาว กองทุนฯ จะมีดอกเบี้ยรับเข้ามาทุกปี สามารถนำดอกเบี้ยนั้น มาจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิกได้ในระยะยาว โดยที่เงินต้นของกองทุนฯ ไม่ลดลง

กลับกับ เมื่อแบ่งผลตอบแทนจากการลงทุนบางส่วนเพื่อจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิก ยังสามารถมีเงินสดเหลือจาก ผลตอบแทนบางส่วน ที่สามารถนำไปลงทุนต่อได้ และ มีบางส่วนที่สามารถเก็บไว้เป็นกำไรสะสมได้ด้วยนั่นเอง

หากแจกเงินคืนสมาชิกทุกคนจนหมด .. แล้วกองทุนประกันสังคมต้องทำอย่างไรต่อ เพราะ กองทุนถูกออกแบบมาให้เป็นโมเดลนำเงินทุกท่าน เงินสมทบจากนายจ้าง เงินสมทบจากรัฐบาลมาลงทุน แล้วทะยอยจ่ายสิทธิประโยชน์ส่วนรวมตามสัดส่วน  แล้วระบบบำเหน็จ บำนาญ สวัสดิการต่างๆ ของสมาชิกผู้ประกันตน จะทำอย่างไรต่อไป

ประชาชบจับจ่ายใช้สอย กลายเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าเป็นรายได้ของรัฐ ไม่กลับมาเข้ากองทุนประกันสังคมอีก กองทุนประกันสังคมต้องล่มสลายลงไป รวมถึงไปกระทบภาพรวมของระบบการเงินของประเทศ เพราะ สถาบันการเงินอื่นๆ ที่กองทุนประกันสังคมลงทุนอยู่ ก็ต้องหานำเงินสดมาคืนให้สำนักงานประกันสังคมนำมาจ่ายคืนให้แก่ผู้ประกันตน

ลองคิดต่อในอีกกรณี หากรัฐบาลกู้เงินไปจาก กองทุนประกันสังคม หรือ สถาบันการเงินอื่นๆ ด้วยวิธีออกพันธบัตรรัฐบาล แล้วนำไปดำเนินนโยบายต่างๆ จะแจกเงิน เพื่อหวังภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ดำเนินการอะไรก็ตาม แต่สุดท้ายต้องนำเงินต้นมาคืนพร้อมผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยแก่ สำนักงานประกันสังคม สถาบันการเงินอื่นๆ  เลือกแบบไหนดีกว่ากัน ให้คำตอบมันอยู่ในใจทุกท่าน

ทำไมไม่ให้เรากู้เงินปลอดดอกเบี้ยจากของเราเอง 

แจมเพย์ ได้วิเคราะห์ไว้ในบทความ “ผลกระทบจากโควิด 19 ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย” ว่า ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนจะลดน้อยลงหลังจากเหตุการณ์นี้

เพราะ แม้ว่าเหตุการณ์จะกลับไปอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ไม่ใช่ว่า การจ้างงาน และ ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติแบบทันที ต้องใช้เวลาฟื้นฟูระยะหนึ่ง บางธุรกิจเจ็บหนัก เงินทุนและกำไรหดทาย ก็อาจจะยังไม่สามารถกลับมาจ้างงานเพิ่มได้ทันที หรือ ยังไม่สามารถดำเนินการอะไรได้แบบสถานการณ์ปกติ

การที่ให้ประชาชนกู้เงินไปตอนนี้ เป็นความเสี่ยงอย่างมาก เพราะ อาจก่อให้เกิด “หนี้สูญ” ได้มากกว่าเหตุการณ์ปกติ สำนักงานประกันสังคม ต้องแบกรับต้นทุนทางการเงินไว้เอง ติดตาม เร่งรัด หนี้สินที่เกิดขึ้นให้ครบตามจำนวน ซึ่งอาศัยระยะเวลา และ เสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุนสร้างผลตอบแทน

ดังนั้น กองทุนประกันสังคม จึงบริหารแบบสหกรณ์ไม่ได้ ซึ่งแม้แต่สถาบันการเงินอย่าง ธนาคาร ยังปล่อยกู้ได้ยากมากขึ้นกว่าเดิมในช่วงเวลานี้

ซึ่งจะแตกต่างกับ สถาบันการเงินที่เป็น ธนาคาร และจะแยก บริษัทประกันภัย-ประกันชีวิต เป็นบริษัทย่อย แยกออกจากธุรกิจธนาคาร แยกการดำเนินการระหว่างกัน แต่ยังคงถือหุ้นระหว่างกัน แต่ กองทุนประกันสังคม ไม่จำเป็นต้องทำลักษณะดังกล่าวแบบบริษัทเอกชน เพื่อแบกรับต้นทุนทางการเงินทั้งหมดไว้ ให้เป็นความเสี่ยงแก่การบริหารงานและผลประโยชน์ของสมาชิกนั่นเอง

เงินของเรา เงินเดือนของเรา ที่ถูกหักนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ร้อยละ 5 (%) นำไปทำอะไรบ้าง (อัพเดต พฤษาคม 2563)

เงิน, หัก, เงินเดือน, เงินประกันสังคม, คู่มือผู้ประกันตน, ผู้ประกันตน, มนุษย์เงินเดือน, วัยทำงาน, พนักงาน, บริษัท, ธุรกิจ, ว่างงาน, ประกันสังคม, สำนักงานประกันสังคม, กองทุน, กองทุนประกันสังคม, SSO, SocialSecurityOffice, Jampay, JampayThailand, แจมเพย์, ผู้ประกันตน คือ, หัก เงิน ประกันสังคม, ยื่น ประกันตน, ประกันสังคม มาตรา 33, 750 บาท ประกันสังคม,

  • กองทุนประกันสุขภาพ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย ร้อยละ 1.5 (%)
  • กองทุนว่างงาน ร้อยละ 0.5 (%)
  • กองทุนชราภาพและสงเคราะห์บุตร ร้อยละ 3 (%)

จากข้อมูล คู่มือผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคม ปี 2562 กล่าวคือ หากผู้ประกันตน หรือ แรงงาน ถูกหักนำส่ง ที่อัตราสูงสุด ร้อยละ 5 (%) ของฐานเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน เท่ากับ 750 บาทต่อเดือน จากรายงาน เท่ากับว่า 1.เงินจำนวน 225 บาทถูกนำส่งเข้า กองทุนประกันสุขภาพ 2.) เงินจำนวน 75 บาท ถูกนำส่งเข้า กองทุนว่างงาน และ 3. เงินจำนวนอีก 450 บาท ถูกนำส่งเข้า กองทุนชราภาพ ของ กองทุนประกันสังคม เป็นต้น

นายจ้าง หรือ บริษัท ต้องจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคม แก่ลูกจ้างตามสัดส่วนเดียวกัน เช่นเดียวกัน รวมถึง จากข้อมูล ประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบ เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๑ นายจ้างหรือบริษัท นำส่งเงินสมทบ เข้า กองทุนเงินทดแทน ในกรณีอันเนื่องมาจากการทำงาน โดยถูกกระจายสัดส่วนเงินสมทบ แยกไปตามกรณี อาทิ ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับอันตราย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และ ตาย เป็นต้น และ รัฐบาลสมทบอีก ร้อยละ 2.75 (%)

โดย สำนักงานประกันสังคม และกองทุนประกันสังคม ทำหน้าที่เป็น บริษัทแม่ (Holding Company) ที่มี บริษัทย่อย (Subsidiary) หรือ กองทุนย่อยๆ (Funds) และทำหน้าที่นำเงินที่ได้รับมาไปลงทุน สร้างผลตอบแทน จัดพอร์ตการลงทุน (Investment Portfolio Management) ภายในกองทุนของตนเอง และจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ในส่วนนั้นๆ โดยไม่นำเงินจากกองทุนส่วนอื่นๆ มาจ่ายสิทธิประโยชน์ระหว่างกัน

ซึ่ง ปี 2563  มีมติให้ปรับลดอัตรา ส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ทั้งจากฝั่ง ผู้ประกันตน หรือ แรงงาน ร้อยละ 5 เหลือเพียง ร้อยละ 1  กล่าวคือ จากจำนวนเงิน 750 บาทต่อเดือน เหลือเพียง 150 บาทต่อเดือน และฝั่งนายจ้าง หรือ ธุรกิจ จากร้อยละ 5 เหลือ เพียง ร้อยละ 4 เป็นต้น


สำนักงานประกันสังคม อาจได้รับ ผลกระทบอะไรจากสถานการณ์ โควิด 19 (Covid-19)


จากบทความ ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย แจมเพย์ ได้อธิบายถึง ผลกระทบ และความเสี่ยงในธุรกิจต่างๆ ที่ต้องหยุดชะงัก เลิกจ้างงาน หรือ ความผันผวน ตลาดหุ้น ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ไปบ้างแล้ว ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงในหลายมิติ กับ กองทุนประกันสังคม ที่เกี่ยวข้องทั้งในเรื่อง การว่างงาน การใช้สิทธิประโยชน์ การแปรสภาพสินทรัพย์เป็นเงินสด ผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งไม่เพียงแต่ สถาบันการเงินอย่างกองทุนประกันสังคมเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ อาจส่งผลกับสถาบันการเงินอื่นๆ ในประเทศได้ด้วยเช่นกัน

เราไปลองดูทีละปัจจัยกันดีกว่า ..

1.ผู้ต้องการใช้สิทธิจำนวนมากขึ้นแบบก้าวกระโดด จาก จำนวนคนว่างงาน ตกงาน จากพิษเศรษฐกิจ

ในเดือน มีนาคม ปี 2020 การค้นหาภายใน เครือข่ายเครื่องมือค้นหา (Search Engine) อย่าง Google และ Partners ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า สำนักงานประกันสังคม  สิทธิประกันสังคมว่างงาน และ สิทธิประกันสังคม เป็นต้น พุ่งสูงขึ้นกว่าปกติอย่างมาก

แสดงให้เห็น ความต้องการใช้ทราบข้อมูล หรือ ใช้สิทธิประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลภายในเดือนเดียว และตัวเลข เดือน เมษายน และ พฤษภาคม จากฝั่งกูเกิลยังไม่มีรายงานออกมา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ตัวเลขการค้นหาจะสูงกว่า เดือนมีนาคม เสียอีก

จากปัญหาวิกฤตโควิด19 (COVID-19) ส่งผลให้ เศรษฐกิจประเทศไทย และ เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก ทำให้มีความต้องการใช้สิทธิเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เทียบจากตัวเลขการค้นหาโดยรวมขึ้นไปถึงเกือบ 8 ล้านครั้ง จากเดิมที่อยู่ในระดับ ไม่ถึง 1 ล้านครั้ง

จากการติดตามการแสดงความคิดเห็นจากประชาชนในสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสิทธิ วิธีใช้สิทธิ และช่องทางการติดตามสิทธิของตนเองมากนัก อนุมานได้ว่า ในยามปกติ ประชาชนแทบจะไม่ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมเลย รู้แต่เพียงว่า ถูกหักเงินเดือนของตนไป

เหมือนกับคำว่า “คุณค่า” เปรียบเทียบว่า เรากำลังอยู่ในทะเลทราย และกำลังจะขาดน้ำตาย มี 2 สิ่งให้เลือก ระหว่าง “น้ำและอาหาร” กับ “เพชร” เราจะเลือกน้ำและอาหาร เพื่อเอาชีวิตรอด และไม่ให้คุณค่าเพชรที่มีมูลค่าสูงมากในยามปกติ

ในสถานการณ์นี้ การลงทุน ความมั่งคั่งระยะยาว หุ้น กองทุน สิ่งของมีค่า นาฬิกา กล้อง กระเป๋า เราต้องการขายเพื่อนำเงินสดมาประทังชีวิต และเราให้คุณค่ากับการผ่านช่วงเวลาวิกฤตแบบนี้มากกว่า

เช่นกัน เราอาจไม่เคยมองเห็นประโยชน์ของ สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ จากกองทุนประกันสังคม ก่อนหน้านี้อาจจะไม่เคยเบิกใช้มาก่อน (อนุมานจากความคิดเห็นส่วนมากที่ยังไม่รู้วิธีการใช้สิทธิ หรือ บางท่านไม่เคยใช้สิทธิเลยก็มี)

แต่ในตอนที่ยากลำบากมาก เราจะนึกขึ้นมาได้ว่า เรามีเงินส่วนนี้อยู่ มีเงินจากกองทุนประกันสังคม ที่เราสมบทบมาตลอดหลายปี และต้องการจะนำเงินส่วนนี้ออกมาใช้ พฤติกรรมนี้ ส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นว่า “ผู้คนกำลังลำบากมากจริงๆ และ กำลังจะอดตายกันจริงๆ”

รวมถึง จากตัวเลขการค้นหาที่เพิ่มขึ้นมาตลอด แสดงให้เราเห็นว่า ประเทศไทยเอง อาจมีปัญหาด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ และ ปัญหาการว่างงาน สะสมมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์โรคระบาด โดยอาศัยการดูแนวโน้มของตัวเลขการค้นหา สิทธิว่างงาน และ สิทธิประกันสังคม โดยเป็นการดูข้อมูลจากทั้งหมดที่ Google มีตั้งแต่ ปี 2016 และ อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ไม่ใช่ประชาชนทุกคนจะสามารถทำประกันสุขภาพ ประกันภัย ประกันชีวิต ด้วยตนเองได้ทุกคน

2.การแปรสภาพสินทรัพย์มาเป็นเงินสด 

ซึ่งหากใครที่ได้อ่านเรื่อง “วงจรเงินสด” ในบทความก่อน  จากบทความ “การบริหารเงินสด-สภาพคล่อง สำคัญอย่างไรกับชีวิต-ธุรกิจ-การลงทุน?” ที่แจมเพย์ ได้อธิบายไว้ จะพอเริ่มเห็นภาพว่า ระยะเวลาที่รับรู้รายได้ กับ ระยะเวลาที่รับรู้รายจ่าย ทำให้เราทราบอะไรได้บ้าง

ถึงแม้ว่า กองทุนประกันสังคม หรือ สำนักงานประกับสังคม อาจจะไม่ประสบปัญหานี้ มีวิธีการบริหารที่ดี และมีเงินสดสำรองเพียงพอ แต่ปัจจัยนี้ก็ยังเป็นปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน แต่จะยกตัวอย่างสมมติให้เห็นภาพเพื่อความเข้าใจ

ยกตัวอย่าง บริษัท แจมเพย์ โฮลดิ้ง จำกัด นำเงินสมาชิกไปลงทุนใน เงินฝากประจำ 3 เดือน แต่ บริษัท คาดการณ์ว่าต้องจ่ายผลตอบแทนสมาชิกทุกเดือน ในสัดส่วนร้อยละ 20 ของเงินลงทุน ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จำเป็นต้องบริหารให้มีกระแสเงินสดในกิจการเพียงพอ ที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้ออกไป และบริหารให้สามารถมีผลตอบแทนจากการลงทุนเข้ามาทุกเดือน หรือ อาจแบ่งผลตอบแทนเก็บไว้เป็นกระแสเงินสดในกิจการบางส่วน ก่อนนำส่วนที่เหลือไปลงทุนต่อ

หากจำนวนเงินสดไม่เพียงพอต่อสัดส่วนที่มี บริษัทฯ จะเกิดปัญหาสภาพคล่อง เพราะ เงินลงทุนส่วนอื่นๆ ของบริษัทฯ ยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอนและได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ เป็นต้น ซึ่งหากเราถอนออกมาก่อนกำหนด จะทำให้เสียโอกาสทางผลตอบแทน รวมถึง อาจกระทบกับภาพรวมระบบการเงินของประเทศ เพราะ จะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เราลงทุนอยู่จำเป็นต้องหาเงินสดมาคืนให้เราไถ่ถอนด้วยนั่นเอง

3. ปัญหาความล่าช้าจากระบบการทำงาน หรือ ขั้นตอนต่างๆ ภายในองค์กร

ในสถานการณ์ปกติ กรณีว่างงาน จำเป็นจะต้องมีการยืนยันเอกสารจากทั้งฝั่งลูกจ้าง และ นายจ้าง ว่า ผู้ประกันตนได้ว่างงานจริง และ ระยะเวลาสมทบเท่าไหร่ ว่างเหตุเพราะเหตุใด และจัดสรรเงินว่างงานให้ตามเกณฑ์ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรอเอกสารและพิจารณา

แต่ในสถานการณ์ไวรัสระบาด โควิด19 (COVID-19) ตัวเลขผู้สนที่ให้ความสนใจ เพิ่มขึ้นกว่าจำนวนปกติแบบทวีคูณ (อ้างอิงจากการค้นหา กูเกิล) หากกระบวนการพิจารณามีขั้นตอน ที่ต้องใช้เวลาอยู่ก่อนแล้ว อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการบริหารจัดการเพิ่มขึ้นไปอีก เป็นปัญหาคอขวดเหมือนการจราจรที่ติดขัด เป็นเหตุให้คิดได้ว่า กองทุนประกันสังคมไม่มีเงินมาจ่ายแก่ผู้ประกันตน

รวมถึง อาจเกิดความสับสบนะหว่าง เงินว่างงาน กับ เงินเยียวยา 5,000 บาท ของรัฐบาล ซึ่งส่งผลต่อ ความเข้าใจผิด และการที่ถนนทุกสายมุ่งตรงมาที่สำนักงานประกันสังคมอย่างล้นหลาม และเป็นตำบลกระสุนตก จากการสังเกตในสื่อสังคมออนไลน์ และการแสดงความเห็นของประชาชนทั่วไป

ซึ่ง เจ้าหน้าที่หรือพนักงาน หากไม่เคยรับมือกับสถานการณ์ลักษณะนี้ จะไม่สามารถจัดการสถานการณ์หน้างานที่เกิดขึ้นได้เลย หรือ อาจไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ตรงนี้อยู่ที่การวางแผน บริหารจัดการภาวะวิกฤติ (Crisis Management) ของแต่ละองค์กรว่า จะมีวิธี หรือ ขั้นตอนรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร จะมีวิธีประชาสัมพันธ์หรือชี้แจงอย่างไร มีวิธีการพูดอย่างไร เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน หรือ หากเป็นธุรกิจหรือบริษัท ก็เทียบได้กับลูกค้านั่นเอง


โดยสรุป: ประกันสังคม ลงทุนจนขาดทุน หรือ เงินหาย เงินหมดแล้ว จริงหรือไม่


คำตอบ คือ ไม่จริง แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาด ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ “โควิด19” (COVID-19) ดังกล่าว ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ สำนักงานประกันสังคม และ เมื่อปัญหาทั้งหมด (ข้อ 1-3) มาผสมเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นการสร้างความเข้าใจผิด ความวิตกกังวล และการสร้างความเชื่อที่ผิด การส่งต่อความเชื่อที่ผิดๆ โดยไม่มีการอ้างอิงข้อมูลใดๆ อาจส่งผลให้เกิดความวุ่นวายโดยไม่จำเป็น

แจมเพย์ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับ สำนักงานประกันสังคม และ กองทุนประกันสังคม มิได้รับผลประโยชน์ใดๆ ในการออกมาชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงแทน สำนักงานประกันสังคม แต่ แจมเพย์ ต้องการนำเสนอสิ่งที่ถูกต้อง ข้อมูลที่ถูกต้อง อะไรผิดว่าไปตามผิด การทำงานของสำนักงานเป็นไปอย่างล่าช้า ก็ต้องตำหนิเพื่อการปรับปรุง

แต่ไม่ใช่สร้างข่าว และความเข้าใจผิดที่ว่า เงินประกันสังคมหมดลง หรือ โดนโกง สำนักงานประกันสังคมล้มละลาย และ ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของผู้สมทบ สมาชิก หริอ ผู้ประกันตน ที่กลัวว่า เงินที่สะสมมาจะสูญเปล่า สำนักงานประกันสังคมจะนำไปลงทุนผิดพลาดจน ขาดทุน และ เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ที่ตนควรได้รับ

ซึ่งความวิตกกังวลเหล่านี้เอง จะเป็นตัวทำให้เกิดความต้องการถือเงินสด และ การแห่กันไปชุมชนเรียกร้องขอเงินประกันสังคมคืนมา นั่นเป็นจุดเริ่มต้นขอการล่มสลายของระบบการเงินของประเทศ ซึ่งแจมเพย์ไม่อยากเห็นเหตุการณ์แบบนั้น

แจมเพย์ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากเหตุการณ์นี้ องค์กรที่มีศักยภาพจะบรรจุสถานการณ์นี้ลงในการบริหารจัดการความเสี่ยง และ ปรับปรุงแผนบริหารและการจัดการเพื่อเตรียมความพร้อม รองรับสถานการณ์ลักษณะเดียวกันนี้อีกในอนาคต

อ่านเพิ่มเติม:
กบข. ขาดทุน? .. ผลตอบแทน กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เป็นอย่างไรบ้าง

อ้างอิง:
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
เว็บไซต์ กรมจัดหางาน ลงทะเบียนว่างงาน