อยาก รักษ์โลก ทำไมมันลำบากจังครับ
Q : อยากรักษ์โลก ทำไมมันลำบากจังครับ
ผมกำลังจะเปิดร้านขายข้าวแกง ราดข้าว 35.- 2อย่าง40.- กับข้าว35.- ใส่ถุง ใส่กล่อง ไม่ได้คิดตังเพิ่ม ทางร้านพยายามใช้วัสดุ รักษ์โลก ไม่ว่าจะเป็น กล่อง หลอด หรือถุงพลาสติก ซึ่งราคาวัสดุ รักษ์โลก นี้ราคาค่อยข้างสูงกว่าวัสดุทั่วไปหลายเท่า อีกอย่างนึงผมเองก็พยายามคงคุณภาพอาหารตามจรรยาบรรณพ่อครัว แต่คือ แถวที่ผมขายนั้น แม่ค้า ตลาดนัด ขายกับข้าว25.-(ไม่รวมข้าว) จึงทำให้อาหารของผมดูแพงไปเลย
บางทีผมก็ทะเลาะกับทางบ้าน เค้าชอบว่าผมจรรยาบรรณสูงส่ง จะเอาตัวไม่รอด แต่ผมก็อยากที่จะทำเพื่อโลกบ้าง อย่างเพิ่งว่าผมจะเอากำไรเยอะนะครับ ผมโดนค่าเช่าที่20,000.-บาทต่อเดือนแล้วก็แบกอะไรหลายๆอย่างพอสมควร ที่มาตั้งกระทู้ก็อยากถามความเห็นชาวพันทิป ว่าคิดเห็นอย่างไร ไม่มีผิดถูกนะครับ ผมอยากมองในมุมมองต่างๆของผู้คน ไม่ใช่ว่าถ้าไม่รักษ์โลกแล้วจะผิด ใจผมอยากตรวจสอบตลาดว่ากระแสรักษ์โลกในท้องตลาดมาความเคลื่อนไหวแค่ไหน จะมีกระแสแค่ไหนที่คนจะยอมจ่ายแพงกว่า
ย้ำนะครับว่า อย่าต่อว่าคนที่มาแสดงความเห็นว่า ให้ใช้วัสดุแบบปรกติ ผมอยากได้ความเห็นจากหลายๆมุมมอง ผมกลัวคนที่ไม่เห็นด้วยจะไม่กล้ามาแสดงความเห็น ไม่มีใครผิดครับ ผมเชื่อเสมอว่าทุกคน รักษ์โลก ถ้าเค้าเลือกได้ แต่บางคนมันเลือกไม่ได้ครับ บางคนยอมจ่ายเพิ่ม 5.-บาทได้ กับบางคน 5.- อยากทำอะไรได้หลายอย่าง
- สถานีกลางบางซื่อ สร้างเสร็จแล้วมีประโยชน์อย่างไร
- การบวชพระ 26 วัน เราได้อะไรกลับมาบ้าง?
- อยาก “รักษ์โลก” ทำไมมันลำบากจังครับ
การตลาด “เจาะกลุ่มคนเหงา” .. โอกาสทางธุรกิจที่น่าจับตา
A : แจมเพย์ได้แสดงความเห็นต่อเรื่อง รักษ์โลก ไว้ดังนี้
มองว่า เอาเท่าที่เราไหวครับ ก็ใช้ของทั่วไปก็ได้
ถ้าลูกค้าไม่เอาถุง ก็ “ลดราคา” ไปครับ หรือ “ให้แต้มสะสม” “สิทธิประโยชน์” นี่ก็ถือว่า เป็นนโยบายจูงใจให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมครับ บ.ใหญ่ๆเขาก็ทำแบบนี้เช่นกัน การทำธุรกิจ เราต้องคิดถึงความยั่งยืนของตัวเองด้วยครับ ผมก็ไม่รับถุง ใช้แก้วกาแฟ Personal ไปซื้อ
แต่มองว่า ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจ และมองเรื่องรักษ์โลก ต้องดูว่าคนกลุ่มไหนเข้าใจครับ เราขายคนกลุ่มไหน สถานที่ที่ขาย ราคาเราประมาณไหน การ “เพิ่มราคา” กับคนบางกลุ่ม บางสินค้า อาจไม่ส่งผลต่อความตัองการที่เพิ่มขึ้นครับ แต่การ “ลดราคาและให้สิทธิประโยชน์” ยังใช้กับทุกกลุ่มได้เสมอ
จบคำแนะนำครับ
** แต่ลึกๆ โดยส่วนตัวมองว่า ถ้าเป็นเรื่องขยะพลาสติก หรือ สิ่งแวดล้อม
การรณรงค์จากภาครัฐ และความร่วมมือของประชาชานให้คนในประเทศทิ้งขยะให้ถูกต้อง แยกขยะ
ถึงจะไม่ใช่วัสดุชีวภาพ รักษ์โลกหรืออะไร
(หรือบางครั้งเราแยกแล้ว คนทิ้ง เอาไปทิ้งรวมกัน)
และส่งกลับเอกชน บ.ที่ผลิต นำขยะไป recycle เอากลับมาผลิตซ้ำ
(ไม่แน่ใจว่า บางอันอาจจะเอามาผลิตซ้ำไม่ได้)
จะช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุดและมีประโยชน์มากกว่า **
ต้องเรียนตามตรง เพราะ ถึงเราไม่ใช้ บ. เขาก็ไม่ได้เลิกผลิตครับ เขาก็ผลิตออกมาทุกวัน เราแก้ได้อย่างที่บอกไปข้างต้น
คุณจะไปทำลายธุรกิจใครต่อใครอย่างง่ายดายได้อย่างไร ถ้ายังไม่มีสิ่งใดมาทดแทน หรือ มา Disrupt
เพราะในส่วน บรรจุภัณฑ์บรรจุไบโอพลาสติก สำหรับบรรจุอาหารชั้นในหรือเกี่ยวเนื่อง
ถึงในระดับสเกลห้องทดลองจะทำได้แล้ว แต่ในระดับสเกลอุตสาหกรรมยังไม่สามารถทำให้เสถียรเป็นสเกลเชิงพานิชย์ได้ครับ
(ถุงพลาสติกภายนอกอาจจะทำได้แล้ว แต่บางอย่างก็ยังทำไม่ได้)
เรื่องนี้ภาครัฐก็เข้ามาช่วยแก้ได้ด้วยการเพิ่มภาษี บ. ที่ผลิตและไม่นำกลับมา re-cycle หรือ
และ ลดภาษีให้กับ บ.ใหม่ๆที่สามารถทำสิ่งทดแทนได้ หรือ นำวัสดุของตนเองกลับมาผลิตใหม่ จะ 5ปี 10ปี ก็ว่าไปครับ
อย่างที่ จขกท.ว่า ผู้ประกอบการเขาพร้อมใช้ และพร้อมรักษ์โลกครับ แค่มันยังไม่มีให้ใช้ บางครั้งเอามาใช้แล้วมีปัญหาการบรรจุก็มี ทำให้การผลิตมีปัญหาล่าช้า มีปัญหากับลูกค้า จึงจำเป็นต้องใช้พลาสติกแบบเดิมไปก่อน
คุณไม่รับถุง ไม่รับหลอด แต่อาหารบรรจุหลายๆอย่างยังจำเป็นต้องใช้พลาสติก เพราะยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้
คุณกินอาหารเหลือ ก็เป็นมลพิษเช่นกัน
คุณเปิดแอร์ ก็เป็นมลพิษ
คุณใช้พลังงานน้ำมันก็เป็นมลพิษ พลังงานไฟฟ้าก็มลพิษ
คุณลดการพิมพ์กระดาษและน้ำหมึก แต่ไปเก็บข้อมูลดิจิตอลแทน ก็ต้องใช้เซิฟเวอร์ ก็ต้องใช้สินแร่หายาก ก็ต้องขุดเป็นมลพิษอีก
บลาๆ
“ทุกการกระทำของมนุษย์และสัตว์เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหมดครับ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม”
จึงบอกให้ทำเท่าที่ไหว “ทางสายกลาง”
ใช้แก้วส่วนตัวบ้าง ไม่เอาถุงบ้าง ช่วยได้เท่าที่เราช่วย
เราสบายใจ ไม่ไปว่าใครว่าต้องทำแบบฉันก็พอครับ
และโดยความเห็นส่วนตัวอย่างที่บอกไปใน ** ครับ
มันอาจจะดูขัดใจคนอ่าน แต่มันคือเรื่องจริงครับ ..
หวังว่าความเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ครับ 🧡