วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจไทยวันนี้ จะไปต่ออย่างไร จาก ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสาร หรือ ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจ การจะ วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย จาก ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสาร เพื่อหา แนวโน้มทางเศรษฐกิจไทย ได้นั้น คงต้องกลับไปถึงพื้นฐาน นั่นคือ ภาพรวมของ “โครสร้างทางเศรษฐกิจ” บางท่านอาจคิดว่าตนเองมีความมั่นคงสูง มีเงินเดือนเพียงพอ ในระยะสั้น แม้ว่า เศรษฐกิจของประเทศไทย จะเป็นอย่างไร แต่จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจ covid-19 จาก สถานการณ์โควิด ที่ส่งผลกระทบในระยะสั้น แต่ เป็นวงกว้างมากกว่า ทั้งด้านการท่องเที่ยว ส่งออก นำเข้า เกษตรกร การบริโภค ธุรกิจ บริษัท การลงทุน หุ้น การหางาน การจ้างงาน .. ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs).. ทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้น อยู่ดีๆ ก็ตกงาน พักงาน ว่างงาน จำเป็นต้อง ลงทะเบียนว่างงาน ลงละเบียนคืนเงิน รับเงินประกันสังคมคืน ลงทะเบียนรับเงิน รับเงินคืน หรือจำเป็นต้องใช้เงินจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ชิมช้อปใช้ และ เราจะไม่ทิ้งกัน หรือ มีหนทาง หรือ มาตรการใดไหมที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจประเทศไทยของเราได้
วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?
การจะ วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย จาก ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสาร หรือ ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจ เพื่อหา ทิศทาง อนาคต หรือ แนวโน้มทางเศรษฐกิจ ได้นั้น คงต้องเริ่มมองกลับไปถึงพื้นฐาน นั่นคือ ภาพรวมของ “โครสร้างทางเศรษฐกิจ” ของประเทศเสียก่อน
หลังจากนั้นจึงเริ่มมอง สภาวะทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ พฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer Behavior) ในปัจจุบัน ภายในประเทศ เพื่อเริ่มทำความเข้าใจ จากนั้น การเริ่มมองถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยง หรือ SWOT Analaysis เพื่อทำให้เราสามารถวางแผนการเติบโตของประเทศได้นั่นเอง
เอาหล่ะ ไปเริ่มศึกษากันเลย ..
- Dark Mode เขาทำมาเพื่ออะไรกันนะ?
- วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?
- ชิมช้อปใช้ .. มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?
เข้าใจ “โครงสร้างทางเศรษฐกิจ” ของประเทศไทย ก่อน “วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย”
สามารถอธิบายให้คนทั่วไป เห็นภาพอย่างง่ายที่สุด ด้วย โครงสร้าาง GPD ของประเทศไทย ตามข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี 2561 เราจะได้สัดส่วน เป็นดังนี้
GDP = C + I + G + ( X – M )
GDP = 49% + 23% + 16% + (67%-56%)
จากสมการ GDP : Gross Domestic Product : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า หรือที่เราได้อ่านตามข่าวสาร หรือ บทความต่างๆว่า “โครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย” พึ่งพาภาค การส่งออก (Exporting) และ การท่องเที่ยว (Tourism Businesses) เป็นหลัก จากตัวเลขสูงถึง 67%
โดย ภาคการส่งออก จะประกอบไปด้วย 1.สินค้าอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ สินค้าโภคภัณฑ์ (Commudities) เช่น ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ 2. วัตถุดิบขั้นต้น-ขั้นกลาง เช่น แร่เหล็ก แร่ต่าง อัญมณีต่างๆ เป็นต้น 3. สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหรัง เป็นต้น .. ส่วนในภาค การท่องเที่ยว เช่น ร้านอาหาร โรงแรม เป็นหลัก และหมวดสินค้าอื่นๆ
จะเห็นว่า สิ่งเหล่านี้ ล้วนส่งออกใน “เชิงปริมาณ” ทั้งสั้น ทำให้เราต้องเผชิญกับ อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate) หรือ ปัญหาด้านราคา ที่ผันผวนเมื่อถึงรอบฤดูกาล (Sessional Pricing) หรือ รอบวัฏจักร (Business Cycle)
ซึ่งสัดส่วนที่เยอะไม่แพ้กัน คือ การบริโภคของคนในประเทศ หรือ Consumption คือ 49% และ กิจกรรมการลงทุนภายในประเทศ หรือ Investment คือ 23 % ซึ่งมีสัดส่วนที่ สูงรองลงมาจาก ภาคการส่งออก แต่ ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ในประเทศมากกว่า
ซึ่งในกรณีที่ภาคการส่งออกมีปัญหา ชะลอตัว ซึ่งที่ต้องพึ่งพาต่อไป ก็คือ การบริโภคภายในประเทศ และ ภาคการลงทุนของธุรกิจ
แล้วคิดว่าสถานการณ์ตอนนี้มันเกิดอะไรขึ้นกับ “เศรษฐกิจไทย”?
เอาหล่ะ มาต่อกันเลย .. แล้ว ปัจจุบัน ภาคการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเป็นอย่างไรบ้าง? ..
ยกตัวอย่าง มุมๆหนึ่งแล้วกันในความเป็นจริงแค่ 1 มิติ คือ “เงิน และ BigData ไหลออก” โดยไม่รู้ตัว .. ทำไมรู้สึก “กำลังซื้อ” ลดลง ทำไมรู้สึก “เงินในระบบ” น้อยลง หรือ “จับจ่ายได้”น้อยลง
จากสมการ GDP = C+I+G+(X-M)
1. ในมุมผู้ใช้ (มนุษย์เงินเดือน) (การใช้จ่ายของผู้คน – Consumption) ซึ่งเป็นสัดส่วน 49 %
สมมติ เงินเดือนขั้นพื้นฐาน เริ่มต้ม 15,000.- บาท
ค่าบริการดูภาพยนต์ 420 THB/เดือน
ค่าบริการฟังเพลงแบบ Streaming 150 THB/เดือน
ค่าบริการ แอพลิเคชั่น หรือโปรแกรม ที่ใช้ในการทำงาน 199 THB/เดือน หรือมากกว่า
ค่าเติมเกมส์ 100 THB/เดือน
ค่าบริการจัดส่งสินค้าและอาหาร 30THB/ออร์เดอร์
สัก 5 ชิ้นต่อเดือน 150 THB/เดือน ซึ่งปัจจุบัน การซื้อของตรงจาก ต่างประเทศ สะดวกกว่าเมื่อก่อน
รวมถึง ค่าบริการรับส่งคน ค่าบริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลออนไลน์ ฯลฯ
รวมๆขั้นต่ำ ยอดค่าใช้จ่าย ต่อ 1,020.- คน/เดือน (+-) เท่ากับ 6.8% ของเงินเดือน
สมมติ 1 ล้านคน เท่ากับ 1,020 ล้านบาทต่อเดือน ที่ “เงินไหลออก” ที่ยังไม่รวมค่าบ้าน ค่ารถ ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าที่ต้องผ่อนอื่นๆ
แล้วคนจะเอา “กำลังซื้อ” (Purchasing Power) มาจากไหนได้มากมาย เผลอๆ ของที่อยู่ในประเทศ หรือ ร้านอาหารทั่วไป ก็มีโอกาส ผู้ซื้อจะไม่ซื้อ ทำให้ยอดขายลดลง ซ้ำเติมไปอีก เนื่องจากผู้ซื้ออาจจะไม่มีกำลังซื้อแล้ว หมดไปกับค่าใช้จ่ายในต้นเดือนหรือ กำลังซื้ออาจจะเพียงพอเฉพาะค่าใช้จ่ายจำเป็นเท่านั้น หรือ ซื้อในสิ่งของจำเป็น หรือ ที่เต็มใจจ่าย เต็มใจเป็นหนี้มากกว่า
(อาจจะได้เห็นข่าว ว่า อัตราหนี้ครัวเรือน เพิ่มสูงขึ้น ↑ ตัวเลขที่น่าตกใจ คือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือน ต่อ GDP อยู่ที่ระดับประมาณ 70% แสดงให้เห็นว่า ผู้คนบริโภคผ่านการก่อหนี้มากกว่านั่นเอง หรือ คนยอมเป็นหนี้มากขึ้นนั่นเอง ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้มากเท่าที่ควร)
ส่วนสินค้าที่ไม่จำเป็นสำหรับเขา เขาไม่ได้สนใจ หรือ ที่ผู้ซื้อไม่อยากได้นี่ โอกาสในการซื้อขายจะลดลงไปด้วยครับ
และมันจะไม่ใช่แบบ “อุ้ย ซื้ออันนี้กินด้วยดีกว่า อันนี้ก็น่ากิน ซื้ออันนี้ติดไปด้วยดีกว่า ซื้อไปฝากพี่คนนี้ดีกว่า”
(เอาตรงๆ เขาก็มีสิทธิที่จะไม่เลือกนั่นแหละ)
ซึ่งอาจทำให้ ธุรกิจ ต้องทำโฆษณาหนักมาก หรือ อาจต้องเปลี่ยนพฤติกรรม (เช่น ฟรีค่าบริการในตอนแรก ให้ใช้จนเคยชินและขาดไม่ได้ จากนั้นค่อยเก็บเงิน – Freemium คืออะไร? ดีอย่างไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน) ก็ต้องใช้งบประมาณและค่าใช้จ่ายสูงไปอีก ดุเดือดครับ เช่น จะทำยังไงให้คนย้ายมาซื้อของคุณ? ของคุณดีกว่ายังไงอ่ะ? บริการเป็นอย่างไร?
ซึ่งถ้าจะให้คนเข้ามาด้วยเวลาอันสั้น ก็จะไปเข้าถัดไป คือ ข้อ 2. ด้านล่างอีก
ภาพรวมมันจึงดูลดลงเป็นธรรมดาครับ
อ่านเพิ่มเติม:
–ธุรกิจ Freemium Model รายได้มาจาก Premium Users มากที่สุดจริงหรือ?
–Lazada vs Shopee ศึก 11.11 และ 12.12 บอกอะไรเรา? มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
2.ในมุมผู้ประกอบการ (การลงทุนในตลาดออนไลน์ – Investment) ซึ่งเป็นสัดส่วน 23 %
– ลงทุนในงบ โฆษณาลงออนไลน์ จัดโปรโมชั่น สร้างการรับรู้ สมมติขั้นต่ำ 10,000 บาท ต่อธุรกิจต่อเดือน
– ลงขายใน แพลตฟอร์มต่างประเทศ สมมติ หักค่าธรรมเนียม 3-7% ต่อเดือน
– ลงทุนใน ระบบบริการหลังบ้าน จัดการข้อมูล พื้นที่จัดเก็บ Cloud สำหรับ BigData
– ลงทุนใน โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล (Digital Infrastucture)
สมมติ SME 2 แสน ธุรกิจ เป็นเงิน 2,000 ล้านบาทต่อเดือน
ยอดขาย 1 ล้านบาทต่อเดือน ได้ค่าธรรมเนียมรายละ 30,000.- รวม 6,000 ล้านบาทต่อเดือน
.. รวม 8,000 ล้านบาทต่อเดือน ที่ “เงินไหลออก”
แค่นี้ก็ หมื่นล้านบาทต่อเดือนแล้ว ใช่ครับ เงินไหลไปต่างประเทศทันทีคร่าวๆ ปีละ “แสนล้าน” หรือมากกว่า ไม่ได้มาหมุนวนใน ระบบเศรษฐกิจในประเทศ
ลงทุนไปต่างๆมากมาย ธุรกิจทำโฆษณา โปรโมชั่นไป คนจะเอากำลังซื้อที่ไหนมาซื้อ ไม่มีกำลังซื้อ ธุรกิจก็ไม่ประสบความสำเร็จ โฆษณาไม่ประสบความสำเร็จ ผลตอบแทนไม่งอกเงย ล้มหายตายจากไป ยิ่งเจอพฤติกรรมการบล็อคโฆษณา Blocked Ads ไปอีก โฆษณาไปก็ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย เรียบร้อยไปอีก
แต่เงินได้เข้ากระเป๋าใครบางคนไปแล้ว
ยังไม่รวม นโยบายภาครัฐ (การใช้จ่ายของภาครัฐ) (G) , การส่งออก การท่องเที่ยว (X,M)
อ่านเพิ่มเติม:
–อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร
–Work From Home Platform | “แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน” สัญชาติไทย
–การบริหารเงินสด-สภาพคล่อง สำคัญอย่างไรกับชีวิต-ธุรกิจ-การลงทุน?
–พระราชกำหนด กู้เงิน หลักล้านล้านบาท รัฐบาล กู้เงินจากสถาบันการเงินใดได้บ้าง
“เงินบาทแข็งค่า” แต่ทำไมไม่ได้รู้สึกว่า “เศรษฐกิจ” ดีเลย
ประชาชนรู้สึกว่า เงินบาทแข็งค่า ต้องแสดงว่า เศรษฐกิจดีขึ้นสิ แต่เอ๊ะ ทำไมไม่เห็นได้อะไรขึ้นมา เงินในกระเป๋าก็ไม่เพิ่มขึ้นเลย
แถม เงินที่แข็งค่าขึ้นมา ยังมีข่าวออกมาว่า ไปทำให้ภาคการส่งออกและท่องเที่ยว (X) มีปัญหาซ้ำเติมเข้าไปอีก ทำไมนะ? ..
การที่ ค่าเงินบาท (THB) แข็งแกร่ง ยืน 1 ได้ เพราะ ณ ปัจจัยคงที่ เม็ดเงินลงทุน (Funds Flow) ไหลเข้ามาพัก ใน ตลาดการเงิน (Financial Market) หรือ ตลาดหุ้น (Stock Market) หรือ หุ้น (Stocks) ขนาดใหญ่ ก่อนเป็นอันดับแรก (ขออนุญาตเรีกยว่า “แข็งเทียม”) กล่าวคือ มีผู้ที่สนใจ หรือ นักลงทุน อยากถือ “เงินบาทไทย” ในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้เงินบาทไม่ได้แข็งค่า หรือ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จาก ภาคการส่งออกและท่องเที่ยว หรือ X ในสมการ GDP (ขออนุญาตเรีกยว่า “แข็งแท้”) ซึ่งเป็นมูลค่าธุรกิจ ถือเป็นสัดส่วนที่สูที่สุด ซึ่งมีส่วนทำให้ค่าเงินบาทจะมีมูลค่ามากขึ้น
ในทางกลับกัน การที่เงินบาทแข็งเทียมแบบนี้ ยังส่งผลต่อภาคการส่งออกโดยตรงอีก โดยผู้ประกอบการในภาคส่งออก ที่เป็นรายย่อย หรือ ไม่ได้มีความรู้ทางการเงินมากนัก อาจจะลำบากมากขึ้น เพราะ อาจะไม่ได้ประกันปิดความเสี่ยงค่าเงิน หรือ อาจเผชิญสถานการณ์ที่ฝั่งลูกค้าชะลอการสั่งซื้อไปก่อนแล้ว
บางคนบอก เป็นอย่างนี้ก็ดีสิ เงินบางแข็งค่า บริษัท หรือ ธุรกิจ จะได้นำเข้าเครื่องจักรมาลงทุนต่อ ไปเที่ยวต่างประเทศสบายใจ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ ก็อาจจะยิ่งส่งผลซ้ำเติมสถานการณ์เข้าไปอีก เพราะ เมื่อธุรกิจลงทุน หรือ นำเข้าเครื่องจักรมาในสภาวะแบบนี้ อาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น ก็อาจจะทำให้ธุรกิจมีปัญหา หรือแม้แต่การไปเที่ยวต่างประเทศ ก็อาจจะยิ่งเป็นการนำเงินออกจากประเทศ ซึ่งจริงๆ กิจกรรมในทุกมิติก็ควรจะสมดุลกันมากกว่า ไม่ควรหนักไปทางใดทางหนึ่ง รวมถึงเรื่อง ราคาน้ำมัน ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันในประเทศ เพิ่มขึ้นอีก สินค้าราคาสูง รายได้ไม่เพิ่ม กำลังซื้อลดลง
อ่านเพิ่มเติม:
–เงินบาทแข็งค่า – เงินบาทอ่อนค่า ใครถูกใจสิ่งนี้
SWOT Analysis วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย
จุดแข็ง (Strengths) ของ เศรษฐกิจไทย
– สถาบันการเงินไทย มีเสถียรภาพมากๆ หลังจากวิกฤติทางการเงินในปี 4250 การดำเนินนโยบายต่างๆของ ธนาคารกลาง หรือ แบงค์ชาติ รัดกุมกว่าในอดีตมาก ซึ่งธนาคารพาณิชย์ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายฯ มีการกำหนดมาตรการอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน การคงสำรอง หรือ นโยบายต่างๆอื่นๆ ซึ่งสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการลงทุนในตลาดเงิน จึงทำให้ มีกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ สนใจเข้ามาลงทุนในตลาดเงินของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ ตลาดหุ้น หรือ ตราสารทางการเงินอื่นๆ
จึงถือว่ายังแข็งแกร่ง จนทำให้เราจะเห็นข่าวว่า แบงค์ชาติเอง ต้องออกมาดำเนินนโยบางอย่างที่เห็นกัน เพราะ สถานการณ์แบบนี้อาจจะส่งผลดีกับคนที่อยู่ในตลาดเงิน แต่อาจจะส่งผลไม่ดีกับ ตลาดสินค้าและบริการอื่นๆ เช่น ภาคการส่งออก เป็นต้น
– สินค้าเกษตร อาหารและ น้ำ ที่ถือว่าเป็น ทองคำ การที่ประเทศในทรัพยากรต่างๆที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ย่อมดีกว่า ประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการดำรงชีพ เช่น อาหารและน้ำ บางประเทศ เป็นประเทศเล็กๆ ไม่มีทรัพยากรอะไรเลย ต้องสั่งนำเข้าอาหารและน้ำจากต่างประเทศ
ข้อจำกัด (Weaknesses) ของ เศรษฐกิจไทย
– สินค้าขั้นต้นและชั้นกลาง กล่าวคือ เป็นการผลิตสินค้าอย่างง่าย ไม่มีมีการใส่สิ่งที่เราก็อาจจะเคยได้อ่าน ได้ยินกันมาบ่อยๆว่า “นวัตกรรม” จริงๆนวัตกรรมไม่ใช่อะไรที่ต้องเป็นเทคโนโลยีก็ได้ เพียงแค่ “ความคิดสร้างสรรค์” หรือ “วิธีการใหม่ๆ” ก็ถือว่าเป็น นวัตกรรมแล้ว ทำให้เผชิญกับปัญหาด้านราคา ที่ไม่สามารถกำหนดราคาได้ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เพราะ การส่งออกของเรา ยังเป็นการส่งออกแบบสินค้าขั้นต้น ขั้นกลาง เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มอีกที
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย เช่น ประเทศ A ส่งแร่เหล็ก หรือ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ 10 หน่วย ไปยังประเทศ B จากนั้น ประเทศ B ก็นำรายการต่างๆเหล่านี้ไปประกอบเป็นสินค้า เครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ต่างๆ ใส่สิ่งที่เราคุ้นเคยกันที่ที่เรียกว่า องค์ความรู้ (Know-How) ความลับทางการค้า (Trade Secret) หรือ สิทธิบัตร (License, Patent) ได้ออกมา 100 หน่วย เพื่อนำกลับมาขายให้ประเทศ A ในราคา 10 เท่า และก็ ซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศ A ต่อ
– ทรัพยากรมนุษย์ จริงๆ แม้ว่าในยุคที่เครื่องจักร หรือ เทคโนโลยี AI สามารถทำหลายๆ สิ่งแทนมนุษย์ได้ก็จริง หรือ หลายๆ คนอาจจะเกรงว่า ตนจบมาใหม่ จะตกงาน ไม่มีงานทำ หรือ AI และ เครื่องจักร เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้แทน แต่ก็มีหลายอย่างที่ AI ทำไม่ได้ คือ Soft Skills ต่างๆ ความฉลาดทางอารมณ์ ทักษะการพูดโน้มน้าว การเข้าอกเข้าใจผู้อื่น (Emphaty) ความสามารถในการปรับตัว เอาตัวรอด (Adaptability) เป็นต้น
และมองว่า ทุกๆอย่าง ยังต้องอาศัยมนุษย์มาคอยควบคุมดูแล และจัดการอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ต้องการ “แรงงานที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยี” นั้นๆมากขึ้น มากกว่า และงานไม่ได้หายไปไหน แค่เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นรูปแบบใหม่เท่านั้นเอง ทำให้ในหลายๆ องค์กร หลายๆตำแหน่งยังคงขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือ ผู้ที่เข้าใจ เพื่อที่จะเข้ามาทำงานในตำแหน่งนั้นๆอยู่
ดังนั้น ทุกๆคนจึงควรเตรียมความพร้อมในการพัฒนาตนเองไปสู่ความพร้อม หรือ หน่วยงานรัฐเข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมด้านนี้มากขึ้น เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา มากกว่า การไปกลัวว่ามันจะมาแย่งงานเรา และอยู่เฉยๆโดยที่ไม่ทำอะไรเลย หรือ ยังอยู่แบบเดิมเพื่อรอให้เทคโนโลยีมันมาตลบหลังเรา
โอกาส (Opportunities) ของ เศรษฐกิจไทย
– สถานีกลางบางซื่อ หรือ Bansue Centric Station เป็นการสร้างจุดศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดิงทาง (Muti-Interjunction) ในหลายๆ ช่องทาง เพื่อรองรับการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และ นโยบายการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยว นักลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
– การเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้วยสัดส่วนที่สูงกว่า 49% เป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่า เรามีกำลังซื้ออยู่พอสมควร แต่ มันอาจจะเป็นกำลังซื้อที่ทำให้เงินไหลออกไปบ้าง หรือ กระจุกตัวบ้าง ยังคงเชื่อมั่นในการสร้างเติบโตจากภายในประเทศก่อน การวางรากฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็งจึงเป็นเรื่องสำคัญ ด้วยบริการที่ทันสมัยในการซื้อขายแลกเปลียนสินค้า บริการต่างๆ หรือ สินค้าที่มีมูลค่าสูง เพื่อดึงให้เงินยังหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพราะหากมีปัจจัยภายนอกมากระทบ ภาพรวมของประเทศก็ยังสามารถเดินต่อไปได้มากกว่า และเมื่อการเติบโตในประเทศดีพร้อมแล้ว ก็ถึงเวลา นำเงินเข้าประเทศเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศไปพร้อมๆกัน
ความเสี่ยง (Threats) ของ เศรษฐกิจไทย
– ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นประเทศแรกในอาเซียน ประชากรไม่เกิดใหม่เลย ประชากรลดลง นั่นหมายถึง “กำลังแรงงาน” ที่จะสร้าง “การเติบโตของประเทศ” “ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ” ในมิติใหม่ๆ ยิ่งมีน้อยลงๆ ซ้ำเติมเข้าไปอีก หากยังไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และนี่คือ โจทย์ใหม่ของธุรกิจต่างๆครับ ว่าจะทำอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม:
–บำนาญ-สวัสดิการ ของ งานราชการ-บริษัท อาจมีปัญหา เราเตรียมตัวอย่างไร?
– โรคระบาด (อัพเดต มีนาคม 2563) โรคระบาด เป็นกรณีที่เกิดจากปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่อาจใช้มาตรการป้องกันและเยียวยาได้ และ ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยโดยตรง ตัวอย่างเช่น โควิด19 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2019-2020 เป็นต้น จะส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทย
อ่านเพิ่มเติม:
–ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
–ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม ได้รับผลกระทบอะไร?
โดยสรุป : หลังจาก “วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย” แล้ว “ประเทศไทย” และ “เศรษฐกิจไทย” จะไปต่ออย่างไรดี?
คงต้องอธิบายว่าประเทศไทย อาจจะกำลังเจอ เงินเฟ้อพร้อมๆกับเงินฝืด “Stagflation” เงินเฟ้อจากปัจจัยภายนอก และเงินฝืดจากปัจจัยภายใน
เช่น “เงินเฟ้อ” (Inflation) จาก ราคาน้ำมัน ทำให้ราคาสินค้า ราคาสินทรัพย์ต่างๆเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้กำลังซื้อลดลง ไหนจะ ค่าเงินบาท (THB) ที่ไม่ได้แข็งขึ้น หรือ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการส่งออก ในทางกลับกัน ยังชะลอการส่งออก และ เงินฝืด จากกำลังซื้อลดลง ความมั่นใจหดหาย เศรษฐกิจชะลอตัว การจ้างงานลดลง อัตราการว่างงานเพิ่ม หนี้ครัวเรือนเพิ่ม ผนวกกับ ประเทศไทย กำลังจะสังคมเข้าสู่ผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ โอกาสที่จะสร้างการเติบโตใหม่ๆให้กับประเทศก็เริ่มยากขึ้น
ปัญหาแบบ Stagflation แบบนี้ ต้องใช้เวลาแก้นาน เพราะ เหมือนต้องแก้ทีละอัน แก้ทีละอย่าง (Trade-Off) ซึ่งมันก็หนักพอๆกัน
และบอกตรงนี้ว่า ไม่มีทฤษฏีไหนสามารถใช้กับสถานที่ไหน หรือ ประเทศไหนได้อย่างสมบูรณ์ (Absolutely) อาจจะต้องผสมผสานวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหา
หากถามในเชิงความเห็นจากมุมองเรา เราจะแนะนำแบบนี้
– สร้างการเติบโตจากธุรกิจ Digital Platform หรือธุรกิจบริการภายในประเทศ ให้ภาครัฐผ่านร่างฯ เปิดโอกาส หรือปล็อคล็อคให้บริษัทของไทย ได้มีโอกาสก้าวขึ้นมาเช่นนี้บ้าง เพื่อให้ไทยเติบโตและมีส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมที่มูลค่าตลาดสูงเช่นนี้ได้ เป็นประเทศเทคโลโลยีบ้าง ให้มีบริษัทสัญชาติไทย หรือ บริษัทของไทยถือหุ้นในสัดส่วนมากกว่า เพื่อให้บริษัทไทยมีศักยภาพแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน เพราะ หากแข็งแกร่ง เราย่อมขยายไปยัง CLMV ได้ในเบื้องต้น เพราะเชื่อว่า ประเทศไทย มี Start-Up หรือ ผู้เชิยวชาญในสายอาชีพที่เกิดใหม่มากมาย รอโอกาสที่จะได้โลดแล่นในระบบเศรษฐกิจอยู่เช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม:
–อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร
–Work From Home Platform | “แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน” สัญชาติไทย
–SMEs vs Startup ต่างกันอย่างไร? คือ อะไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
เพิ่มเติม : ธุรกิจความบันเทิง (Entertainment Businesses) ของประเทศไทยเอง มีโอกาสสร้างรายได้และขายลิขสิทธิ์ไปได้ทั่วโลก รวมถึง ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวได้เช่นกัน ถือเป็นหนึ่งสิ่งที่ควรผลักดันอย่างมาก เหมือนโมเดลธุรกิจของ เกาหลี (Korea) และ ญี่ป่น (Japan) ประสบความสำเร็จมาก่อนหน้านี้ อาทิ ซีรีส์ หรือ ซีรีย์ ศิลปิน เกมส์ แอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์มต่างๆ เป็นต้น ที่สามารถสร้างยอดขายได้ทั่วโลก ไม่เพียงแต่ในประเทศตนเองเท่านั้น
– สร้างการลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้น ภาคเอกชน มีสัดส่วน การโฆษณา ผ่าน ตัวกลาง ภายในประเทศมากขึ้นกว่า การสาดลงไปใน แพลตฟอร์ม (Platform) เดียว หันมา ผ่านตัวกลาง หันมาสนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจในประเทศเพิ่มขึ้น
– การเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ประชาชนคนไทย ร่วมกันกินของไทย สินค้า OTOP ใช้บริการของไทยในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ทั้งสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงบริการดิจิตอลต่างๆ ธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) สัญชาติไทย แต่มันก็ต้องมาจากคุณภาพของบริการด้วย เพื่อให้เงินหมุนเวียน เพราะ ปัจจุบันหลักการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจ ทำได้ยากขึ้น มีตัวกลางมากมายที่ทำให้เม็ดเงินลงไปไม่ถึงเศรษฐกิจระดับล่าง
อ่านเพิ่มเติม:
–Influencer Marketing กับ เศรษฐกิจไทย
– สินค้าเกษตรสร้างมูลค่าสูงเพื่อส่งออก ดึงเงินเข้าประเทศ ประเทศไทยมี ทองคำและน้ำมันบนดิน คือ สินค้าเกษตร แต่เราเน้นปริมาณมากไป รวมถึง “อาหาร” เป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก และใครๆก็ต้องอยากกินของดีๆ อาหารดีๆ สินค้า OTOP แต่ละเมือง แต่ละจังหวัด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน มีการรับรอง และควบคู่ไปกับเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งมีการพูดกันอย่างแพร่หลายในเรื่องของ “ความมั่นคงและยั่งยืนทางอาหารและน้ำของโลก”
อ่านเพิ่มเติม:
–กล้วยตาก : ภูมิปัญญา สู่ อาหารว่างทางเลือกที่ควรมีติดบ้านและสินค้าส่งออก
– ศูนย์กลางภูมิภาค ฮับการท่องเที่ยว (Travel Centric Hub) ฮับบริการการรักษาพยาบาล (Medical Centre Hub) ฮับพักผ่อนหน่อยใจ (Aging Society) หรือ บริการพิเศษอื่นๆ เช่น ต้องมาไทยถึงจะได้กิน ได้ใช้ เพื่อดึงคนมาในประเทศ ดึงมาเงินเข้าประเทศ รวมถึง การสร้าง สถานีกลางบางซื่อ เพื่อรองรับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม:
–สถานีกลางบางซื่อ สร้างเสร็จแล้วมีประโยชน์อย่างไร
– พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คิดว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทุกประเทศ คือ “ทรัพยากรคน” และ “การศึกษา” ทำอย่างไรก็ได้ให้คนมีการศึกษาที่ดี แล้วเรื่องอื่นๆทุกเรื่อง ในมิติอื่นๆ มันจะพัฒนาและดีขึ้นตามมาเอง เช่น แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) แนวคิดการหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ แนวคิดการใช้ทรัพยากรให้มีมูลค่า เกิดประโยชน์สูงสุด สูญเสียน้อยที่สุด การบริหารจัดการพื้นที่ จัดสรรอะไรต่างๆ ความรู้ในการรักษาสุขภาพ ความคิดในการอยู่ร่วมกัน จิตสำนักในด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะดูวัดผลยากให้รูปของ “ตัวเลข” แต่หลายๆประเทศก็ดำเนินนโยบายและประสบความสำเร็จได้ในชั่วอายุคนเดียว บางประเทศไม่ถึง 15 ปี
เพิ่มเติม : สังคมไทยเคยมี Soft Skills เป็นพื้นฐานเลย ทุกวันนี้ธุรกิจสมัยใหม่ให้คุณค่าและฝึกฝนกันมาก .. ถ้าวันนี้สังคมเรายังมีอยู่ มันจะเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งเลยในการเติบโต แต่หลายๆ อย่างที่เคยมี ถูกปัจจัยหลายๆเปลี่ยน ทำให้สิ่งเหล่านี้จางหายไป และกลายเป็นว่าต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนามันขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อสร้างจุดแข็งอีกหนึ่งข้อในการพัฒนาประเทศ
หมายเหตุ : บทความนี้ เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวมุมมองหนึ่งในการวิเคราะห์เท่านั้น และยังเป็นเพียงมิติเดียว ณ ปัจจัยอื่นๆ คงที่เท่านั้น ในความเป็นจริงทุกๆอย่างจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
หากต้องการนำไปอ้างอิงประกอบการศึกษา สามารถทำได้ โดยผู้อ่านสามารถค้นหาบทความอื่นๆจากหลายๆแหล่งที่มาเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน รวมถึงการศึกษาไม่มากก็น้อย
อ้างอิง:
–โครงสร้าง GDP ประเทศไทย
–Stagflation
–Pantip Topic:39098560
–Pantip Topic:39169743