หนังสือ, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ หนังสือเสียง มีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร?
หนังสือ (Paper Book), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) และ หนังสือเสียง (Audio Books) มีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร?
โดยทั่วไป ผู้คนรู้จัก “หนังสือ” (Book หรือ Paper Book) กันดีอยู่แล้ว และหนังสือมีมาตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เป็นการ “บันทึก” คำบอกเล่า หลักฐาน เหตุการณ์ เรื่องราว เนื้อหาสาระต่างๆ เป็นต้น ผ่าน การเขียน (Writing) การพิมพ์ (Printing) เพื่อเป็น เผยแพร่ (Publish) สิ่งต่างๆ รวมถึง “รักษาไว้” (Store) หรือ ที่หลายๆคนมักเรียกรวมๆว่า หนังสือ คือ “สื่อสิ่งพิมพ์” (Print Media)
ซึ่งหากมองหนังสือในเชิงธุรกิจ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ มีอยู่ด้วยกันหลายแขนง อาทิ ผู้เขียน (Writers) ผู้พิสูจน์อักษร (Proofreader) สำนักพิมพ์ (Publishing) โรงพิมพ์ (Printeries) ร้านขายหนังสือ (Book Store) ธุรกิจเกี่ยวข้องกับการขนส่งกระจายสินค้า (Logistics Businesses) เป็นต้น
จนในยุคหนึ่งที่ Amazon.com เริ่มดำเนินธุรกิจ ด้วยแนวคิดที่ว่า “ทำไมไม่ร้านขายหนังสือออนไลน์” เลย เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงโลก และทำให้ “แอมะซอนดอทคอม” เติบโตอย่างก้าวกระโดด และเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่อย่างทุกวันนี้ รวมถึง Google.com เองก็มี แท็บ “อ่านหนังสือ” และ “ขายหนังสือ” เช่นกัน
และร้านที่เติบโตมาจากการขายหนังสือเป็นเล่ม พัฒนาสู่ ผู้ให้บริการขายหนังสือออนไลน์บนเว็บไซต์ของตนเอง เช่น ร้านนายอินทร์ เว็บไซต์ Naiin.com และ ร้าน SE-ED ด้วยเว็บไซต์ Se-ed.com เป็นต้น หรือ แม้แต่ หนังสือพิมพ์ที่เรารู้จักกันดี อย่าง “มติชน”(Matichon) ก็ได้ขยายธุรกิจของตัวเองสู่ธุรกิจ “สำนักพิมพ์มติชน” (Matichon Book) ด้วยเว็บไซต์ Matichonbook.com
ในเมื่อมีการขายหนังสือเป็นเล่มบนโลกออนไลน์แล้ว ก็ต้องเกิดคำถามต่อว่า แล้วทำไมไม่ขายหนังสือที่เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ (Online Platforms) ไปซะเลยหล่ะ ส่งผลให้เกิด เว็บไซต์ขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book ตามมา
มาเริ่มกันที่ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์” หรือ “e-book” กันบ้าง หากจะให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างง่าย
Jampay อธิบายอย่างว่า .. “e-Book” (อี-บุ๊ค) คือ รูปแบบของหนังสือชนิดหนึ่ง ที่ถูกจัดทำในรูปไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้อ่านสามารถ อ่านเนื้อหาผ่าน “อุปกรณ์” หรือ “เครื่องมือ” (Devices) อาทิ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
หากมองในมุมธุรกิจ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ e-book (อี บุ๊ค) เช่น ผู้เขียน (Writters) ผู้ให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Cloud Service Platforms) ผู้ให้บริการพื้นที่จัดจำหน่ายแอพลิเคชั่น (App Stores, Play Stores) แพลตฟอร์มในการขจำหน่าย หนังสือ (Web & Application Platforms)
ตัวอย่างให้ผู้อ่านเห็นภาพ เช่น Ookbee.com ผู้ให้บริการ ร้านขายหนังสือออนไลน์ จัดจำหน่าย “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์” และ “หนังสือเสียง” บนเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งมีทั้ง หนังสือ นิยาย นิตยสาร หนังสือพิมพ์ รวมไปถึง คอร์สออนไลน์ เป็นต้น และ ขยายสู่ “บริการสั่งพิมพ์หนังสือเป็นเล่ม”
มาถึง “หนังสือเสียง” หรือ “Audio Books” กันบ้าง .. ถือเป็นสิ่งใหม่ “ทางเลือกใหม่” (Alternative Choices) ให้กับ “ผู้ชม” (Audiences) แต่ก็ไม่ใหม่เสียทีเดียว โดยความหมายนั้น Audio Books คือ สื่อกลางที่นำเสนอเนื้อหาสาระต่างๆในรูปแบบเสียง
ซึ่งหากมองให้เข้าใจอย่างง่าย คือ การนำเอาหนังสือ มาบันทึกและถ่ายทอดผ่านรูปแบบ “การอ่าน” และ “เสียง” ตามตัวษรในหนังสือเล่มนั้นอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ เพื่อเผยแพร่ หรือ จัดจำหน่าย ซึ่งจะแตกต่างไปจากรูปแบบของ การพูดคุยจัดรายการ หรือ วิทยุออนไลน์
เอาหล่ะ เริ่มพอมองเห็นภาพแล้ว เราไปต่อกันเลย ..
- แจมเพย์ (Jampay) เปิดพื้นที่ให้ธุรกิจต่างๆ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ฟรี!
- Work From Home Platform | “แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน” สัญชาติไทย
- Dark Mode เขาทำมาเพื่ออะไรกันนะ?
“คนไทยอ่านหนังสือน้อย” คำกล่าวนี้ เราได้ยินกันมานาน แต่ เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ลองไปวิเคราะห์กันเลย
หลายๆ ท่านอาจจะเคยเห็นผ่านตามาบ้างว่า “มหกรรมหนังสือแห่งชาติ” (Book Expo Thailand) หรือ ที่นิยมเรียกสั้นๆว่า “งานหนังสือ” ทำไมคนเดินน้อยลง มันแสดงให้เห็นว่า “คนไทย” อ่านหนังสือน้อยลงจริงๆ หรือ ? ..
ผู้เขียนได้เคยอธิบายไว้ใน บทความ “Podcast คืออะไร? .. แล้วทำไมถึงควรมีเอาไว้?” แล้วว่า พฤติกรรมของผู้คน (Comsumer Bahaivor) เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
อธิบายให้เห็นภาพอีกครั้ง ว่า บางปัจจัยทำให้ เราไม่สะดวกในการไปงานหนังสือ หรือ บางส่วนลดการอ่านหนังสือเป็นเล่มลง หรือ คนบางกลุ่มเขาก็อ่านจะชอบ “เรียนรู้” ด้วยวิธีอื่นๆได้เช่นกัน แต่ถามว่า คุณค่าของการอ่านหนังสือเป็นเล่มได้ลดน้อยลงไปหรือไม่ คำตอบก็คือ “ไม่” เพียงแค่มี “พฤติกรรม” บางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป
แล้วหนังสือประเภทไหนที่คนไทยค้นหามากที่สุดใน Google
จากตัวเลขการค้นหาในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (2561) จากการสำรวจ ด้วยเครื่องมือการค้นหา ของ กูเกิล พบว่า ประเภทของเนื้อหาสำหรับอ่าน ที่คนไทยค้นหามากที่สุด ที่ระดับ 1 ล้านครั้งต่อเดือนขึ้นไป คือ นิยาย การ์ตูน ข่าว ผี และ หุ้น เป็นต้น จึงถือว่า เป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ แต่ก็มีผู้เล่น ผู้แข่งขัน (Competitors) ในตลาดค่อนข้างมาก เช่นกัน
หากจะกล่าวว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง คงไม่ถูกหนัก เพียงแต่ประเภทของหนังสือที่อ่าน จะอยู่ในรูปแบบ “ความบันเทิง” (Entertainments) มากกว่าประเภทอื่นๆ อาทิ นิยาย เรื่องเล่าสยองขวัญ โดย “ลอยชาย.” ที่ได้รับความนิยมในตอนนี้ ดังนั้นผู้เขียนมองว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการนำเสนอสื่อการอ่านเพื่อความบันเทิง ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ออนไลน์ ด้วยรูปแบบ “ฟรีเมียม” (Freemium) อาจเป็นหนทางที่เข้าถึงกว่ามาก
ข้อดี และ ข้อจำกัด ของหนังสือทั้ง 3 รูปแบบ ดังนี้
1.) Book หรือ หนังสือ
- จัดพิมพ์เป็นครั้งคราว กล่าวคือ พิมพ์ครั้งที่ 1 เป็นต้น
- สามารถเก็บไว้กับตนเองที่บ้านได้ “จับต้องได้” (บางท่านรู้สึกอย่างนั้น)
- ต้องใช้สายตาในการรับรู้สาร
- ไม่สามารถปรับขยายขนาดตัวอักษรได้
- ไม่สามารถปรับเพิ่ม/ลดความสว่างของหนังสือได้
- การเปิดให้ “ทดลองอ่าน” นอกจากจะเสียหนังสือไป 1-2 เล่มแล้ว ไม่สามารถเก็บข้อมูลผู้แวะมาอ่าน (Visitors) ได้
- ต้องหามุมที่แสงเข้าหนังสือ หรือ ที่ที่สว่างพอในการอ่าน
2.) e-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
- ผลิตครั้งเดียว สร้างรายได้ไม่ไม่จำกัด
- สามารถขายได้ด้วยโมเดล Freemium และ “ทดลองอ่าน” ได้ดีกว่า และสามารถเก็บข้อมูลได้
- สามารถเปลี่ยนแปลงเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ได้ง่าย
- ปรับขยายขนาด หน้า ตัวอักษร รูปแบบตัวอักษรได้
- ปรับเพิ่ม/ลดความสว่างของหน้าจอแสดงผลได้ รวมถึงปัจจุบันมีบริการ “Darkmode” จากผู้ให้บริการ
- ประหยัดพื้นที่ในการเก็บรักษา
- ต้องใช้สายตาในการรับสาร
- สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานได้ดีกว่า
3.) Audio Books หรือ หนังสือเสียง
- ผลิตครั้งเดียว สร้างรายได้ไม่ไม่จำกัด
- สามารถขายได้ด้วยโมเดล Freemium “ทดลองฟัง” ได้ดีกว่า และสามารถเก็บข้อมูลได้
- สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานได้ดีกว่า
- สามารถรับสารด้วยวิธีแบบ “กระทำอยู่พื้นหลัง” (Background-Tasking) หรือ “แบ่งครึ่งหน้าจอ” (Split Screen) หรือ “กระทำหลายอย่างพร้อมกัน” (Multi-Tasking) ในอุปกรณ์ที่รองรับ
- ไม่จำเป็น ต้องใช้สายตาในการรับสาร สามารถ นอน หรือ นั่งเอนหลังได้ระหว่างการเรียนรู้ เป็นการผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนชอบมากเป็นการส่วนตัว เพราะใน ชีวิตประจำวัน (Lifestyle) ของผู้เขียนมีการ เขียนบทความ (Content Writing) อ่านหนังสือ (Textbook) หรือ รับรู้ข่าวสารใหม่ๆ ตลอดเวลา แต่ผู้เขียนยังชอบที่จะเรียนรู้อยู่ จึงชอบการนั่งฟัง “พอดแคสต์” (Podcast) หรือ เนื้อหาที่เป็นเสียงบรรยาย อาทิ หนังสือเสียง (Audio Books) เป็นการพักสายตาได้เป็นอย่างดี รวมถึงทำให้เราสามารถ จดจ่อ (Focus) หรือ มีสมาธิ (Concentrate) ในการตั้งใจรับสารนั้นๆได้ดียิ่งขึ้น
แล้วธุรกิจเกี่ยวกับหนังสือ จะเป็นอย่างไร?
การทำธุรกิจ ย่อมมีการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ และมองหาโอกาสใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตและอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ผู้เคยมองว่า ผู้คนยังชอบอ่านหนังสืออยู่เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเพื่อความรู้ หรือ วิชาการ หนังสือเพื่อพัฒนาตนเอง หนังสือเพื่อความบันเทิง ที่ได้แสดงในเห็นไปก่อนหน้านี้
เพียงแต่รูปแบบของการรับรู้ รับสารเปลี่ยนแปลงไป และเป็นรูปแบบของการ “ทำน้อยได้มาก” (Do Less, Get More) ที่สำคัญ กล่าวคือ ทำออกมาครั้งเดียว สามารถขายได้ตลอดไป ไม่จำเป็นต้องสั่งพิมพ์กับ “โรงพิมพ์” (Printeries) ในจำนวนที่มากเพื่อให้ได้ต้นทุนถูก และบางธุรกิจก็อาจจะถูกการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ธุรกิจไม่สามารถไปต่อไป
ในความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้น ย่อมส่งผลด้านลบให้ธุรกิจหนึ่งหายไป หรือถูกลดบทบาทลง ในทางกลับกัน ย่อมส่งผลให้มีหนึ่งรูปแบบธุรกิจเกิดขึ้นมาใหม่ เป็นของธรรมดา แต่เราสังเกตเห็นได้ว่า “นักเขียน” (Writers) และ “ผู้อ่าน” ยังอยู่เหมือนเดิม ยังอยากสนับสนุนเนื้อหาสาระเหมือนเดิม อาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ “รูปแบบของเนื้อหา” (Type of Content) และ ตัวกลางในการ “การเผยแพร่” (Publishing) และ “การจัดจำหน่าย” (Distribution) ต่างหาก
แต่ต้องอย่าลืมความสำคัญข้อหนึ่งไป .. เมื่อใครๆก็สามารถเข้ามาในตลาดนี้ได้ ยิ่งทำให้มันยากขึ้นตอดเวลาๆ ส่งผลให้ เหลือผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้นที่อยู่รอดในตลาด อาทิ “นักเขียนอิสระ” (Individual Writers) ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ขายของออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ .. ทำไมยากขึ้นเรื่อยๆ?
โดยสรุป : รูปแบบพฤติกรรมของคน (Behaviors) หรือ ผู้ใช้ (Users or Audiences) เปลี่ยนไป รูปแบบของตัวแทนจำหน่าย (Distributors) ก็เปลี่ยนไป ช่องทางสร้างรายได้ (Revenue Channel) บางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้าง เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในรูปแบบใหม่ๆอยู่เสมอ
แต่การที่ผู้เขียนอธิบายไว้เสมอ ไม่มีใครสามารถอยู่บนโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลา ดังนั้น การที่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม สามารถเข้าใจ และปรับตัวในรูปแบบ “สินค้าและบริการ” (Goods and Services) ของตน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ ย่อมดีกว่า การมีรูปแบบเดียว และการมีสินค้าและบริการรูปแบบเดียว ย่อมเสี่ยงเกินไปสำหรับธุรกิจ ที่มีโอกาสถูกการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อภาพรวมของธุรกิจ
การสร้างความแข็งแกร่ง หรือ จุดแข็ง (Strength) ให้ธุรกิจด้วยรูปแบบหนึ่งก่อน เป็นสิ่งสำคัญ หลังจากนั้นจึงดำเนินการขยาย และต่อยอดในด้านอื่นๆเพื่อเสริมทัพให้กับธุรกิจของตน จะเห็นว่าบางธุรกิจเริ่มจากออฟไลน์ พัฒนาสู่ ออนไลน์ ในขณะที่บางธุรกิจเติบโตจากออนไลน์ ก็พัฒนาด้านออฟไลน์ด้วย เช่นเดียวกัน
ดังเช่น ธุรกิจหนังสือ (Book Industries) ธุรกิจร้านขายหนังสือ หรือ ธุรกิจสำนักพิมพ์ ซึ่งหากมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสำนักพิมพ์บางสำนัก ที่ผันตัวเองมาเป็น ผู้จัดทำเนื้อหาออนไลน์ โดยวางจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มตัวกลางต่างๆ ผู้ให้บริการสิ่งพิมพ์ออนไลน์มากขึ้น ในขณะที่ก็ยังขายหนังสือเป็นเล่มควบคู่กันไป การทราบถึงข้อดี และข้อจำกัดของหนังสือแต่ละรูปแบบจึงช่วยทำให้เราเข้าใจและวางแผนการดำเนินธุรกิจได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง เพราะ “ผู้อ่าน” กับ “ผู้เขียน” ยังอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ “ตัวกลางทางการตลาด” (Market Intermediaries) อาจเปลี่ยนแปลงไป และ “ส่วนแบ่งรายได้” (Revenue Sharing) จากตัวกลางในการจำหน่าย ก็แตกต่างออกไป
อ้างอิง :
Naiin.com
Matichonbook.com
Se-ed.com
Ookbee.com
Amazon.com
ผู้สนับสนุนบทความนี้