หวย (Lottery) หุ้น (Stock) และ การเทรด (Trading) ต่างกันอย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร? หวย (Lottery) หุ้น (Stock) และ การเทรด (Trading) ต่างกันอย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร? อยากเริ่ม ลงทุน ใน ตลาดหุ้น ใน หุ้นไทย เทรดหุ้นต่างประเทศ หาเงิน เก็บเงิน งั้นลองไปศึกษา เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจอย่างไร หาเงินยาก ผู้คนอาจหันไปหาช่องทางหาเงินที่รู้สึกว่าง่ายกว่า อย่างการเทรด ไม่วากับ โบรคเกอร์ (Broker) ในไทย หรือ ต่างประเทศ อย่าง fbs, iq options, xm, forex,forek, etf, bybit, etrades, olymp trades , tickmill, เป็นต้น

หวย (Lottery) หุ้น (Stock) และ การเทรด (Trading) ต่างกันอย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร?

เราอาจจะรู้จักคุ้นเคยกับ “หวย” หรือ “สลากกินแบ่งรัฐบาล” (Lotteries) ดีพอสมควร แต่ ในทางกลับกัน ในเรื่อง “หุ้น” (Stocks) และ “การเทรด” (Tradings) อาจจะเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องทำความเข้าใจสำหรับใครหลายๆคน เช่นกัน

แต่ สิ่งหนึ่งสำคัญ (Keywords) อย่างหนึ่งที่เหมือนกัน ก็คือ “วัตถุประสงค์” (Objectives) ผู้ที่ตัดสินใจทำกิจกรรมทั้ง 3 อย่างนี้ คือ เพื่อความ “มีชีวิตที่ดีขึ้น” “มีความมั่งคั่ง” (Wealth) หรือ “อยากรวย” (Be a Millonnare) เป็นพื้นฐาน

แต่ มันจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ แล้วทั้ง 3 อย่างนี้ มันคืออะไร แล้วมันมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร เราจะมั่งคั่งจากมันมันได้อย่างไรบ้าง ไปเริ่มศึกษากันเลย..


สารบัญ

หวย (Lotteries) คืออะไร
หุ้น (Stocks) คืออะไร
การเทรด (Tradings) คืออะไร
มารู้จัก TFEX  หรือ Thailand Futures Exchange กัน
ข้อดี ของ ตราสารทางการเงิน แต่ละชนิด
ข้อจำกัด หรือ ข้อเสีย ของ ตราสารทางการเงิน แต่ละชนิด


หวย (Lotteries) คืออะไร


ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่มีทั้ง ชนิดที่ออกและจัดจำหน่ายสลาก และ ประกาศผลรางวัลโดย หน่วยงานของรัฐบาล เรียกว่า “สลากกินแบ่งรัฐบาล” (Government Lottery) หรือเรียกว่า “หวยรัฐบาล” หรือ “หวยบนดิน” โดยมี “ตัวแทนจำหน่าย” (Distributors) หรือ “ยี่ปั๊ว” กระจายตัวอยู่ตัวประเทศ

โดยมีหลักฐานการทายผล คือ “สลาก” ที่ใช้การ ทายผลแบบ “เดาสุ่มตัวเลข” เพื่อชิงรางวัล หรือ ผลตอบแทนต่างๆ โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการ และประชาชนหรือผู้ถือฉลากก็สามารถมีช่องทางที่หลากหลายในการ ตรวจหวย หรือ ตรวจผลรางวัลนั่นเอง

หรือ แม้แต่ “สลากออมสิน” (Government Savings Bank Lottery) ซึ่งถือว่า เป็นสลากที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ นอกจากเพื่อ “จูงใจ” (Incentives) ให้คนออมเงินมากยิ่งขึ้น ยังมีโอกาสได้รางวัลจากการประกาศผลรางวัลจากหมายเลขอ้างอิง “หน่วยลงทุน” (Investment Units) อีกด้วย เป็นต้น

แน่นอน มีหวยบนดิน แล้วก็ต้องมี “หวยใต้ดิน” ที่มีการ ทายผล โดยใช้ ผลสลากฯ เดียวกับสลากกินแบ่งรัฐบาล เพียงแต่ว่า “เจ้ามือ” (Hosts) เป็นผู้ที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐบาล เป็นประชาชนทั่วไป อาทิ หวยลาว หวยเขมร หวยฮานอย หรือ หวยใต้ดินที่มีการประกาศผลรางวัลของตนเอง เป็นต้น

หรือแม้กระทั้ง “หวยหุ้น” ที่มีการทำนายผลจาก ตัวเลข “ดัชนีตลาดหลักทรัพย์” (SET Index) ซึ่งขึ้นอยู่กับ “ผู้ให้บริการ” (Providers) หรือ “เจ้ามือ” (Hosts) ว่าจะเล่นกันที่ตัวเลขดัชนีตัวไหน อาทิ ดันชีตลาดหุ้น วันนี้ เปิดทำการ 10.03 น. ด้วยดัชนี 1623.42 จุด การทายผลเลขท้าย 2 ตัว  อาจจะเป็น 23 หรือ 42 เป็นต้น หรือ อาจจะอ้างอิงจากตัวเลข ดัชนี (Index) อื่นๆได้เช่นกัน


หุ้น (Stocks) คืออะไร


สำหรับหุ้น มีบทความที่ทางเราได้อธิบายไว้แล้ว ทุกท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความภายในเว็บไซต์ ในส่วนบทความนี้จะข้ออธิบายสรุปโดยคร่าวๆอีกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ต่อเนื่อง

“ตราสารทางการเงิน” หรือ “หลักทรัพย์” ชนิดหนึ่ง ที่ให้ “ผลตอบแทน” ได้ 2 แบบ คือ “ส่วนต่างราคา” (Capital Gian) และ “เงินปันผล” (Dividend Yield) โดยผู้ที่ลงทุนในหุ้น จะมีสิทธิเป็น “เจ้าของ” (Holders) และ สามารถซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนได้

โดยมีหน่วยงานที่กำกับดูแล คือ “สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” หรือ ก.ล.ต. และ ผู้ที่ให้บริการเป็นตัวการในการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน คือ “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” (Stock Exchange of Thailand)

อ่านเพิ่มเติม: เรื่อง หุ้น
หุ้น คืออะไร? แล้วเราจะได้อะไรจากการเล่นหุ้นบ้าง?
หุ้น เล่นยังไง? .. วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเจ้าการลงทุนตัวนี้กัน
เลือกหุ้น ให้เหมือนเลือกคู่ชีวิต (สำหรับนักลงทุนแบบ VI)
รีวิว ผลตอบแทน จากการลงทุน ด้วยกลยุทธ์ จัดพอร์ตการลงทุน H1/2020


การเทรด (Tradings) คืออะไร


การเทรด หรือ Tradings เป็นการซื้อขาย-แลกเปลี่ยน หลักทรัพย์ หรือ ตราสารทางการเงินชนิดต่างๆ อาทิ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สัญญาสิทธิต่างๆ อนุพันธ์ต่างๆ โดย เป็นต้น ผู้ลงทุน ถือครอง ได้มา จะได้รับผลตอบแทนในรูป “ส่วนต่างราคา” (Capital Gain) จากมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไปของตราสารทางการเงินนั้น

ซึ่ง หุ้น ก็ถือเป็น “การเทรด” ได้เหมือนกัน หรือที่เราจะได้เห็นคำว่า “เทรดหุ้น” โดยทั่วไป เพราะ ในการลงทุนหุ้น ก็มีการสร้างผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาเช่นเดียวกัน อาทิ นักลงทุนหุ้นแบบรายวัน (Day-Trade Investors) ที่มีการลงทุนในหุ้น เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยอาศัยพื้นฐานความรู้ต่างๆ เพื่อคาดการณ์แนวโน้ม (Trends) หรือ ทิศทางของกราฟ เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะสั้น ได้เช่นเดียวกัน

“อนุพันธ์” (Derivatives) คือ “สัญญาทางการเงิน” (Financial Contracts) ที่ทำขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตกลง “ซื้อขาย” หรือ “ให้สิทธิ” ในการซื้อขาย “สินค้าอ้างอิง” (Underlying Assets) อาทิ ทองคำ น้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน สินค้าเกษตร รวมถึง หุ้นสามัญ อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ในอนาคต

กล่าวคือ “ผู้ซื้อ” (Buyers) และ “ผู้ขาย” (Providers) ทำสัญญาตกลงกันวันนี้ ว่าจะซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิง จำนวนกี่หน่วย ที่ราคาเท่าใด แล้วจะส่งมอบและชำระราคากันเมื่อใด

โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) และ 2. สัญญาสิทธิ (Options)

Futures (ฟิวเจอร์ส) หากจะอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างง่าย คือ หมายถึง “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ที่ ผู้ซื้อและผู้ขายทำข้อตกลง หรือ สัญญาร่วมกัน ว่าจะซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิง จำนวนกี่หน่วย ที่ราคาเท่าใด แล้วจะส่งมอบและชำระราคากันเมื่อใด

โดยตัวสัญญานี้ ผู้ที่ถือสัญญาไม่จำเป็นต้องถือไปจนครบกำหนด สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในตลาดที่ให้บริการได้ สำหรับประเทศไทย คือ ตลาด TFEX  โดยเมื่อครบตามกำหนดสัญญาระบุไว้ ผู้ที่ถือหรือผู้ที่ได้มาสัญญานั้นๆ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามที่สัญญาระบุไว้นั่นเอง

อาทิ SET 50 INDEX Futures, Interest Rate Futures, Gold Futures, USD Futures, Single Stocks Futures เป็นต้น

ในมุมมอง ผู้ที่ลงทุน เราคาดการณ์ว่าราคาทองใน “ตลาดกลางซื้อขายทองคำ” (Gold Spot) จะขึ้นไปแพงกว่านี้ เราจึงตกลงทำสัญญาซื้อขายที่จะซื้อที่ราคาหนึ่ง เพื่อ “ผลประโยชน์” เมื่อ “ราคาทอง” (Gold Prices) มีการปรับตัวขึ้นไป เราก็ยังสามารถจะได้ซื้อในราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้า เมื่อครบกำหนดสัญญานั่นเอง

Options (ออปชัน) คือ “สัญญาสิทธิ” เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อหรือผู้ถือออปชันได้รับ “สิทธิซื้อ” หรือ “สิทธิขาย” สินทรัพย์อ้างอิงตามราคา จำนวน และระยะเวลา ที่ระบุไว้จากผู้ขาย โดย ผู้ซื้อ ต้องจ่าย “ค่าพรีเมียม” (Premium) ซึ่งผู้ถือออปชันสามารถเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายมี “ภาระผูกพัน” ต้องปฏิบัติตามสัญญา หากผู้ซื้อขอใช้สิทธิ  ซึ่งปัจจุบันออปชันที่ซื้อขายในตลาด TFEX มีเพียง SET50 Index Options ตัวอย่าง สัญลักษณ์ S50Z19C800 เป็นต้น รวมถึง “บริษัทหลักทรัพย์” (Broker) เอกชนอื่นๆ ก็มีบริการให้นักลงทุนที่ต้องการลงทุนได้เช่นกันขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทฯ

เราสามารถแบ่ง “ออปชัน” ตามลักษณะการใช้สิทธิได้ 2 แบบ คือ คอลออปชัน และพุทออปชัน

  • กลยุทธ์ตลาดขาลง คาดว่าตลาดอยู่ในภาวะขาลงและสินค้าอ้างอิงจะมีราคา “ลดลง” ซึ่งกลยุทธ์ที่ เหมาะสมในภาวะเช่นนี้ตลาดขาลง คือ ขายฟิวเจอร์ส (Short Futures) ซื้อพุทออปชัน (Long Put Options)
    หรือขายคอลออปชัน (Short Call Options)
  • กลยุทธ์ตลาดขาขึ้น คาดว่าตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้นและสินค้าอ้างอิงจะมีราคา “เพิ่มขึ้น” ซึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะสมในภาวะตลาดขาขึ้น คือ การซื้อฟิวเจอร์ส (Long Futures) ซื้อคอลออปชัน (Long Call Options)
    หรือขายพุทออปชัน (Short Put Options)

Warrants หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ ความหมาย คือ สิทธิในการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ออกใหม่ โดยบริษัทจดทะเบียนนั้นๆเป็นผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิงนี้ให้แก่ผู้ลงทุน ผู้ซื้อ ผู้ถือหุ้นในบริษัท หรือ หุ้น หรือ หลักทรัพย์ดังกล่าว  โดยต้องทำใช้ซื้อ-ขายตามระยะเวลาที่กำหนด ด้วยราคาที่เป็น “ราคาใช้สิทธิ” (Exercise Price) รวมถึงจำนวนที่ได้รับสิทธิ ที่กำหนดเป็นอัตราส่วน

Derivative Warrants (DW) หรือ “ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” ความหมายก็คือ สิทธิในการซื้อหรือขายในสินค้าอ้างอิง ณ ราคาที่กำหนดในอนาคต โดยผู้ถือจะไม่ได้รับสินค้าอ้างอิงนั้นๆ แต่จะได้รับ “ส่วนต่างราคา” (Capital Gain) เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา

โดยที่ที่จะสามารถออกหลักทรัพย์ลักษณะ DW แบบนี้ได้ จะต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ หรือ บริษัทที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. โดยจะเป็นบุคคลที่ 3  เป็นผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิงนี้ ไม่ใช่ตัวบริษัทจดทะเบียน สามารถแบ่ง ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ได้เป็น 2 ประเภท คือ “สิทธิในการซื้อ” (Call DW) และ “สิทธิในการขาย” (Put DW)


มารู้จัก TFEX  หรือ Thailand Futures Exchange กัน


TFEX  หรือ Thailand Futures Exchange คือ “ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”  กล่าวคือ ตลาดกลางในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ตราสารทางการเงินต่างๆ อาทิ สัญญาล่วงหน้าสินค้าประเภททอง (Gold Futures) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Futures) เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เปิดให้บริการ ก็มีหลักๆด้วยกัน ดังตัวอย่าง

SET INDEX FUTURES โดยถือเป็นหลักทรัพย์หลักๆของตลาด ที่เราได้ยิน ได้เห็นกันบ่อยๆ ที่มีการซื้อขายกันก็คือ SET50 Index Futures กล่าวคือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่อ้างอิงจาก ตัวเลขดัชนี SET 50 ที่ถูกจัดหมวดหมู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

SET 50 Options หรือ รูปแบบสัญญาจะมีสองลักษณะคือ Call Options (C) หรือ “สัญญาล่วงหน้าแสดงสิทธิในการขาย” และ Put Options (P) หรือ “สัญญาล่วงหน้าแสดงสิทธิในการซื้อ”

นอกจาก สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบดันชีรวมแล้ว ยังมีสัญญาย่อยลงไปถึง ระดับหมวดอุตสาหกรรม (Sectors) หรือ ลงไปถึง ระดับหุ้นรายตัว กล่าวคือ เมื่อมีการคาดการณ์ว่า ราคาหุ้น a อาจมีการปรับตัว นักลงทุนจึงทำการซื้อ “สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหุ้นรายตัว” (Single Stock Futures) เพื่อผลประโยชน์ในการลงทุน

 

ส่วนคำว่า FOREX (ฟอเร็กซ์) คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวข้องกับ “ค่าเงิน” หรือ “สกุลเงิน” (Currency) และ “อัตราแลกเปลี่ยน” (Exchange Rate) เช่น USD Futures โดยมีชื่อเรียกเต็มๆว่า “Foreign Exchange Futures/Options” หรือ “สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ” หรือ ที่มีนักลงทุนเรียกว่า “เทรดฟอเร็กซ์” กล่าวคือ เหมือนมีการคาดการณ์ว่า อัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้ นักลงทุนจะทำการซื้อ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า “การเทรด” (Tradings) จะเหมือนการ “เดิมพัน” (Bet) อยู่กลายๆ ระหว่าง มีโอกาสเกิดอีกทาง หรือ เป็นไปตามที่เราคาดการณ์เอาไว้ พูดง่ายๆก็ คือ “กำไร” (Profit) หรือ “ขาดทุน” (Loss)

ในส่วนต่างๆนี้ ขออธิบายแบบคร่าวๆถึงลักษณะของการลงทุนประเภทต่างๆเพียงเท่านี้ เพื่อให้เนื้อหาไม่ตึงเครียดจนเกินไป และง่ายต่อการเข้าใจของผู้อ่าน หากผู้อ่านต้องการความหมาย หรือความเข้าใจเพิ่มเติม ผู้เขียนจะขอยกไว้อธิบายในบทความถัดๆไป เพราะในบทความนี้จะวิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างกระชับ ข้อดี-ข้อเสียให้ผู้อ่านทุกท่านได้เห็นในภาพรวมของการลงทุนในแต่ละประเภท เป็นความรู้ประกอบการตัดสินใจลงทุน .. เอาหล่ะ มาพูดถึง ข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภทกันบ้าง ..


ข้อดี ของ ตราสารทางการเงิน แต่ละชนิด

  • ประโยชน์ของหวย (Lottery) คือ เม็ดเงินสำหรับนำไปพัฒนาประเทศในส่วนอื่นๆ กล่าวคือ สลากกินแบ่งรัฐบาลถูกออกแบบมาให้เข้าถึงกลุ่มคนหรือ ประชากร ในประเทศให้ได้มากที่สุด และถูกออกแบบมาให้สามารถชิงรางวัลได้ง่าย กฏเกณฑ์ กติกาต่างๆ ไม่ยากเกินความเข้าใจ มีเพียงการซื้อเลขที่ชอบ เลขที่ใช่ เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปเป็น เงินของรัฐบาล โดยล่าสุด มีการออกแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลลูกแบบใหม่ คือ “สลากทายผลแบบราศีต่างๆ” จะชี้ให้เห็นได้อย่างเด่นชัดถึง “การออกแบบ” เพราะคนทุกคนรู้จักและเข้าใจราศีต่างๆเป็นอย่างดี ไม่ยากเกินความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ โดยฉลากที่ออกจำหน่าย อาจจะสลับราศีไปมา คล้ายกับ “เครื่องสล็อต” (Sloth Machine) ทำให้ง่ายต่อการที่คนจะหันมาสนใจลุ้นผลสลากที่ออกแอบมาใหม่นี้ และดึงเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ
  • ประโยชน์ของหุ้น (Stocks) คือ มีผลตอบแทนได้ทั้ง 2 ทาง คือ “ส่วนต่างราคา” และ “เงินปันผล” กล่าวคือ คุณสามารถถือครองหลักททรัพย์ไว้รับ “ปันผล” หรือ เลือกทำการขาย หรือ แลกเปลี่ยน เพื่อรบผลตอบแทนแบบ “ส่วนต่างราคา” ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะมีทางเลือกได้มากกว่า หลักทรัพย์ประเภทอื่นๆ ทำให้มีทางเลือกในการบริหารความเสี่ยงได้มากกว่า รวมถึง “สิทธิประโยชน์” จากส่วนต่างราคา ที่ละเว้นการเก็บภาษี กล่วาคือ ไม่เสียภาษีจากการขายหุ้น และ กรณี “เงินปันผล” แม้จะเสียภาษีตามกฏหมาย แต่กฏหมายก็ให้สิทธิ สามารถใช้เป็น “เครดิตภาษี” (Credit Tax) ได้ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกและวางแผนภาษีได้ว่า ต้องการเลือกเสียภาษีเงินปันผลแบบหัก ณ ที่จ่าย หรือ ต้องการนำเงินปันผลนั้นมาคำนวณเป็นเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษี
  • ประโยชน์จของการเทรด (Tradings) คือ มีทางให้เราเลือก 2 ทาง กล่าวคือ มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า หากตีเป็นตัวเลขก็อยู่ที่ใกล้เคียงร้อยละ 50 หรือ “ครึ่งต่อครึ่ง” ซึ่งยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงมาก เช่น หากถือหลักทรัพย์นั้นไว้ มีโอกาสที่จะได้กำไรมากกว่านี้ หรือ มีโอกาสขาดทุนมากกว่านี้ หรืออธิบายเพิ่มเติมไปอีก จงใจหรือตัดสินใจขายเพื่อเอากำไรตอนนี้ หรือจะรอให้ ราคา (Price) หรือ มูลค่าตลาด (Market Values) เพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้ จะมีโอกาสได้กำไรมากกว่า แต่ก็มีโอกาสที่ราคาและมูลค่าจะลดลงไปหรือทำให้ได้กำไรน้อยกว่าปัจจุบัน หรือ มีโอกาสที่จะขาดทุนได้เช่นกัน
  • ประโยชน์ของการใช้ “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” (Forward Futures/Options) คือ สามารถประกันความเสี่ยงได้ จาก “ราคาของสินค้า” ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ อาทิ ราคาทองคำ (Gold Prices) ราคาน้ำมัน (Oil Prices) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commudities Prices) หรือแม้กระทั่ง สินค้าเกษตร (Argicultures Prices)  เป็นต้น กล่าวคือ สินค้าเหล่านี้ มีหลายปัจจัย (Factors) ที่ส่งผลต่อราคาโดยตรง ดังนั้น ผู้ที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กับสินค้าประเภทเหล่านี้ได้เช่นกัน การบริหารความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้า ทำให้เราสามารถประเมินและรักษากรอบความเสี่ยงไว้ใน “ระดับ” (Level) ที่เราสามารถรองรับได้ และประโยชน์อีกอย่างคือ มีโอกาส ร้อยละ 50% เพราะ มีแค่ถูกทาง กับ ผิดทาง เท่านั้น หรือแม้กระทั่ง โดยปกติ การลงทุนในสิทรัพย์บางอย่าง อาทิ หุ้น มีความผันผวน การทำการซื้อขายอนุพันธ์ หรือสัญญาล่วงหน้า หรือ สัญญาสิทธิต่างๆ ควบคู่ไปกับการลงทุนหุ้นด้วย จะช่วยทำให้เราป้องกันความเสี่ยงได้ หรือ ช่วยลดความสุญเสียในการลงทุนได้
  • ประโยชน์ของการเทรดอุนพันธ์ต่างๆ นอกจากจะใช้บริหารความเสี่ยงแล้ว ยัง สามารถหากำไรและผลตอบแทนได้จากทั้ง “กราฟขาขึ้น” (Upside Trends) และ “กราฟขาลง” (Downside Trends) เช่น การขายชอร์ตหุ้นขาลง (Short Selling) โดยการขายหุ้นในช่วงขาลง เพื่อหวังว่าหุ้นตัวนั้นจะราคาลงไปอีก และหวังว่าจะได้ “ส่วนต่างราคา” เป็นผลตอบแทน โดยบางครั้งอาจจะมีการ “ยืมหุ้น” หรือ “Securities Borrowing and Lending” (SBL) ผู้อื่นมาทำในลักษณะดังกล่าว และ รวมไปถึงบางครั้ง ใช้เงินจำนวนน้อยกว่า แต่สามารถสร้างผลกำไรได้มากกว่า เพราะ โดยส่วนใหญ่การลงทุนในสินทรัพย์ลักษณะนี้ จะเป็นบัญชีที่ไม่จำเป็นต้องชำระเงิน หรือ วางหลักทรัพย์ล่วงหน้า หรือ ถือว่าเป็น “การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์” (Credit Balance) หรือเรียกอีกอย่างว่า “บัญชีแบบมาร์จิ้น” (Margin) ให้คุณสามารถใช้เงิน หรือวางหลักทรัพย์จำนวนที่น้อยกว่า แต่สามารถลงทุนใน “วงเงิน” (Credit Limit) ที่สูงกว่า เช่น ผู้ลงทุนวางหลักทรัพย์ 100,000 บาท สมมติได้รับอนุมัติ “อัตรามาร์จิ้น” (Initial Margin) ที่ 50% ก็สามารถมีเงินในการซื้อขายเพิ่มอีก 100,000 บาท รวมเป็น 200,000 บาท สามารถนำไปลงทุนให้ หุ้น a เพื่อสร้างกำไรได้มากกว่า เมื่อขาดทุนหรือสูญเสีย จึงค่อยมีการ “บังคับขาย” (Forced Sell) ภายหลัง เพื่อชำระหนี้สิน หรือ ให้คุณวางเงินประกันในส่วนนี้เพิ่มเติมภายหลัง และมีการคำนวณอัตราดอกเบี้ย และอัตรามาร์จิ้นที่เหมาะสม (Multiple Margin Rate) และ มีหลักเกณฑ์ รวมถึงข้อกำหนดหลักทรัพย์ต่างที่นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ไว้ด้วย อาทิ รายชื่อหุ้นที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นๆอนุญาตให้ซื้อขายแบบมาร์จิ้นได้ เนื่องจาก มีโอกาสที่กำไรและขาดทุน รวมถึงส่งผลต่อสภาพคล่องของทั้งผู้ลงทุนและบริษัทหลักทรัพย์ด้วยนั่นเอง

ข้อจำกัด หรือ ข้อเสีย ของ ตราสารทางการเงิน แต่ละชนิด

  • ข้อจำกัดของหวย คือ การทายผลรางวัล เป็นการคาดเดา เดาสุ่มตัวเลข และโอกาส แะลความน่าจะเป็นที่จะถูกรางวัลมีน้อยกว่า ร้อยละ 50 พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ผลรางวัลจะออกเลขไหน ตัวเลขผลรางวัลสามารถเป็นตัวเลขอะไรก็ได้ ทำให้ผู้ที่เลือกลงทุนต้องเผชิญกับ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ ต้องซื้อจำนวนหลายครั้ง หรือ ใช้เงินปริมาณเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ จำนวนเงินรางวัลรวมที่ได้มา
  • ข้อจำกัดของหุ้น คือ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างสูง และตลาดมีความผันผวนอย่างมาก และต้องอาศัยการตัดสินใจเลือกในการลงทุนอย่างละเอียดรอบคอบ
  • ข้อจำกัดของการเทรด คือ ในระยะสั้นมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์นั้นๆมากมาย ทำให้เกิดความผันผวนสูง รวมถึงทำให้เกิดสิ่งที่เหนือความคาดหมายหรือการประเมินความเสี่ยงของเราได้ อาทิ อัตราแลกเปลี่ยน ที่มีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่บางครั้งเราไม่สามารถประเมินเพื่อรับประกันความเสี่ยงได้ล่วงหน้า ตื่นเช้าวันใหม่อาจจะเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา
  • ข้อจำกัดของ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ อนุพันธ์ต่างๆ ส่งผลต่อราคาในสินทรัพย์หลักได้เช่นกัน เพราะแน่นอนว่าการทำย่อมทำให้ เกิดการซื้อขายในสินทรัพย์หลักที่ใช้อ้างอิงด้วย เพราะทุกคนย่อมต้องการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนของตนเอง และไม่มีใครอยากเป็นผู้แพ้ ถือเป็น “เกมการเงิน” (Money Game) อย่างหนึ่ง ผู้ที่เลือกซื้อสัญญาต่างกัน ย่อม “กระทำ” (Action) ต่อตลาดต่างกัน ส่งผลต่อภาพรวมของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ รวมถึงทิศทางของตลาด เรียกว่า เป็น “รูปแบบผลกระทบแบบต่อเนื่องเป็นเครือข่ายวงกว้าง” หรือ เกี่ยวข้องกับ “ทฤษฏีผีเสื้อขยับปีก” (The Butterfly Effects) หรือ ในสำนวนไทย คือ “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”อีกทั้ง “สัญญามีระยะเวลาจำกัด” กล่าวคือ นอกจากนักลงทุนต้องบริหารความเสี่ยงเพื่อผลตอบแทนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงระยะเวลาอายุของหลักทรัพย์อีกด้วย แน่นอนเมื่ออายุของหลักทรัพย์ลดลง มูลค่าของมันย่อมลดลงเป็นธรรมดา เพราะคงไม่มีใครอยากถือ หรือ อยากเก็บของหมดอายุ หรือ ใกล้หมดอายุไว้กับตนเอง

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย


โดยสรุป : ตราสารทางการเงินในแต่ละชนิด มีทั้งข้อดีและข้อเสียหรือข้อจำกัด โดยหากเรามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น เราสามารถใช้ตราสารทางการเงินต่างๆเหล่านี้ เป็น “เครื่องมือทางการเงิน” ในการ “บริหารความเสี่ยง” หรือ “บริหารพอร์ตการลงทุน” หรือ รักษาระดับผลตอบแทนโดยรวมของเราได้เช่นกัน

แต่หากเราลงทุนไปโดยความไม่รู้และความไม่เข้าใจในการลงทุนในตราสารทางการเงินนั้นๆแล้ว อาจส่งผลทำให้เราตัดสินใจผิดพลาด หรือ ตัดสินใจตรงข้ามกับความเป็นจริง รวมถึงตัดสินใจด้วยการคาดคะเน นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยงของการลงทุนแล้ว ยังอาจทำให้เราเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นกว่าเดิม ในการสูญเสียเงินทุนของเราในจำนวนมากได้เช่นกัน เพราะ ทุกอย่างมี “ต้นทุนทางการเงิน” ทั้งทีเรามองเห็นเป็นตัวเลขเด่นชัด และตัวเลขแฝงที่มองไม่เห็น ด้วยกันทั้งสิ้น

และถ้าหากมีเทคนิคทำให้รวยจริงๆ ทำแบบเดียวกัน ก็ต้องได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันสิ แต่ในความเป็นจริง มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น มีปัจจัยทั้งภายนอกและภายในที่มากกว่านั้น ที่ส่งผลกับการลงทุนของเรา และอาจจะเรียกได้ว่า ทุกคนมีผลต่อตลาดด้วยกันทั้งสิ้น การกระทำทุกอย่างมีผลกับตลาดทั้งหมด เหมือนกับ “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” รวมถึง “ไม่มีใครอยากแพ้ในตลาดการเงินหรือเกมการเงิน”  ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ตัวเราเอง ที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจให้สามารถเอาตัวรอดในตลาดการเงินได้

อ้างอิง :
SET.or.th
Settrade.com
tfex.co.th