เงินบาทแข็งค่า เงินบาทอ่อนค่า
เริ่มกันที่ “เงินบาทแข็งค่า” หรือ “เงินบาทอ่อนค่า” คืออะไร?
ช่วงนี้หลายๆคน อาจจะได้อ่านข่าวว่า ค่าเงินบาทไทย (THB) แข็งค่าเพิ่มขึ้นในรอบหลายปี ทำให้เรื่อง “เงินบาทแข็ง” หรือ “เงินบาทอ่อน” ได้รับความสนใจอย่างมากจาก นักธรุกิจระหว่างประเทศ นักลงทุน บริษัท ผู้ประกอบการ หรือ ประชาชนทั่วไป
ผู้ที่ชื่นชอบการอ่าน หรือ ติดตามข่าวสาร เพราะ เรื่อง “เงิน” (Money) หรือ “ผลตอบแทน” (Yield) ในการ “แลกเงิน” หรือ “อัตราแลกเปลี่ยน” (Exchange Rates) ไม่เข้าใครออกใคร และจริงๆแล้ว มีใครบ้างที่ถูกใจ และไม่ถูกใจสิ่งนี้ หรือ เงินบาทแข็งค่า เงินบาทอ่อนค่า ใครได้ประโยชน์ หรือ ควรลงทุนอะไรดี เราไปติดตามกันเลย มาเริ่มอธิบายกับแบบเข้าใจง
“ค่าเงินบาทแข็งค่า” (THB Appreciation) คือ การที่เงินบาท มีมูลค่ามากขึ
้นในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้เราใช้เงินลดลง ในการแล กเป็นเงินสกุลอื่น “ค่าเงินบาทอ่อนค่า” (THB Depreciation) คือ การที่เงินบาท มีมูลค่าลดลงใ นช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้เราต้องใช้เงินมากขึ้น ในการแลกเป็นเงินสกุลอื่น
- อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร
- อยาก “รักษ์โลก” ทำไมมันลำบากจังครับ
- ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม ได้รับผลกระทบอะไร?
เงินบาทแข็งค่า vs เงินบาทอ่อนค่า .. ใครถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจสิ่งนี้? ใครได้ประโยชน์
ในที่นี้จะขอธิบายเพียงไม่กี่หัวข้อจากภาพ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพตัวอย่างได้อย่างง่ายที่สุด และตัวอย่างที่เห็นในชีวิตประจำวัน หรือตาม ข่าว และเพื่อให้บทความกระชับได้ใจความอีกทั้ง เหตุการณ์ต่างๆ ก็ส่งผลกลับกัน ดังนั้น ผู้อ่านก็คิดในมุมกลับกันได้ หลังจากได้อ่านตัวอย่างที่อธิบายต่อไปนี้ คือ กรณีที่ค่าเงินแข็งค่า เท่านั้น
ในกรณี เงินบาทแข็งค่า ..
ค่าเงินบาท กับ ผู้ส่งออก (Exporters) สินค้าและบริการ (Goods and Services) ไปต่างประเทศ
เมื่อเงินบาทแข็งค่า (↑) จาก 31 ไป 30 บาทต่อดอลลาร์ ตามภาพ ย่อมทำให้ผู้ประกอบการ ส่งออกได้ลดลง (↓) เนื่องจาก คู่ค้าต่างประเทศ หรือ ลูกค้าจากต่างประเทศ จะรู้สึกว่า สินค้าของเราแพงขึ้น 1 บาท
เนื่องจาก เขาสามารถ “แลกเงิน” ดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) เป็น บาทไทย (THB) ได้ลดลง ตัวอย่างเช่น กำหนดให้ อัตราแลกเปลี่ยน คือ 31 THB/USD สินค้า A ราคาเงื่อนไข FOB Price เท่ากับ 1,500 THB/CTN มูลค่าต่อหน่วย ที่ลูกค้าต่างประเทศต้องจ่ายใน LOT-A คือ 48.38 USD/CTN
ต่อมา อัตราแลกเปลี่ยน ปรับตัวไปที่ 30 THB/USD ทำให้มูลค่าต่อหน่วยต้องจ่ายใน LOT-B คือ 50 USD/CTN ผู้อ่านอาจจะรู้สึกว่ามัน แค่ 2 USD เท่านั้นเอง ไม่น่าจะมีผลอะไรหรอกนะ แต่หากเทียบเป็น เปอร์เซ็นต์ จะเท่ากับ 3.25% นั่นคือ ตัวเลข ที่ส่งผลต่อ ต้นทุนรวม (Total Costs) หรือ กำไรขั้นต้น (Gross Profits) ที่เพิ่มขึ้นลดลงของฝั่งลูกค้า และ การส่งออก สินค้าไปยังต่างประเทศ ไม่ได้ส่งออกกันที่ระดับพันบาทเท่านั้น แต่มูลค่าส่งออกกับระดับ ล้านบาท (Million THB) ขั้นไป
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น คือ ลูกค้าอาจจะไม่ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือไม่สั่งสินค้าของเรา แต่ อาจจะชะลอคำสั่งซื้ออกไป หรือ ชะลอการชำระค่าสินค้าออกไปก่อน หากผู้ประกอบการ เช่น SMEs ที่ไม่มีกระแสเงินสดหมุนเวียนในธุรกิจเพียงพอ หรือ ไม่ได้วางแผนรองรับ หรือ ทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน ในส่วนตรงนี้ไว้ ย่อมส่งผลทำให้เกิดสภาพคล่องของบริษัทได้เช่นกัน
หรือ ผลิตสินค้ามาแล้วพร้อมส่งตามกำหนด แต่ ลูกค้าชะลอหรือไม่ชำระเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือก่อนการส่งมอบ ในวันกำหนดชำระเงินส่วนที่เหลือ ซึ่ง เงินมัดจำล่วงหน้า (Paid Advance Amount) ที่ชำระก่อนหน้านี้ อาจจะ 31 THB/USD แต่พอจะชำระส่วนที่เหลือ อัตราแลกเปลี่ยนไปอยู่ที่ 30.8 THB/USD
ตัวอย่างเช่น เงื่อนไข FOB : T/T 50% Advance, 50% Against Shipment Docs เพราะการซื้อขายระหว่างประเทศส่วนใหญ่ ไม่มีใครยอมจ่าย 100% เพราะ ฝั่งลูกค้าก็ไม่มั่นใจผู้ขาย ผู้ขายก็ไม่มั่นใจลูกค้า ซึ่งตามเงื่อนไข ย่อมไม่สามารถจัดส่ง (Shipment) ให้ได้หากยังไม่ชำระ 50% ที่เหลือ ก็อาจจะมีปัญหาอื่นๆตามมาได้เช่นกัน
ค่าเงินบาท กับ นักท่องเที่ยวไทย (Thai Tourists) ไปท่องเที่ยวต่างประเทศ และ ผู้นำเข้า (Importers) สินค้าและบริการ (Goods and Services) จากต่างประเทศ
เมื่อ “เงินบาทแข็งค่า” หาก เทียบกับสกุลเงินอื่น สิ่งที่เราจะเห็นได้บ่อยครั้งที่สุด คือ โพสต์เกี่ยวกับ ค่าเงินบาท และเชิญชวนให้ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือ ในประเทศที่ค่าเงินของเขามีมูลค่าน้อยกว่าของเรา รวมถึง โปรโมชั่นขายตั๋วเครื่องบินต่างๆ หนึ่งในนั้น ที่เราจะเห็นบ่อยที่สุด คือ บาท (THB) แลกเป็น เยน (JPY) เพราะ คนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลังมานี้
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหล่ะ? .. เพราะ เมื่อเงินบาทมี แนวโน้มแข็งค่าขึ้น เป็นระยะเวลานานหลายเดือน หรือ มีมูลค่ามากขึ้น (↑) เมื่อเทียบกับสกุลอื่น หรือ แม้กระทั้ง เงินสกุลอื่นๆ มีมูลค่าลดลง (↓) จากปัจจัยภายในตัวเอง หรือ ปัจจัยอื่นๆก็ตาม จะทำให้ ผู้ที่วางแผนเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศถูกใจมาก
เพราะ ตัวเขาเองจะใช้เงินน้อยลง ในการแลกจาก บาท (THB) เป็น เยน (JPY) ตัวอย่างเช่น : สมมติให้ 1 บาท (THB) เท่ากับ 0.35 เยน (JPY) นักท่องเที่ยว A แลกเงิน 50,000 บาท ก่อนเดินทาง 3 เดือน
โดยอาจจะไป ธนาคาร หรือ สถาบันการเงินอื่นๆ อาจจะมีค่าดำเนินการต่างกันเล็กน้อย และในความเป็นจริง ค่าเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากในเวลาอันรวดเร็ว อาจจะเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ประมาณ 1-3% แต่ในที่นี้ขอแปลงอย่างง่าย เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพ
กล่าวคือ A จะได้ เงินเยน (JPY) ประมาณ 142,587 เยน (JPY) แต่หลังจากนั้น 2 เดือน คือ ก่อนเดินทาง 1 เดือน ค่าเงินเยน มูลค่าลดลง ด้วยปัจจัยภายใน ทำให้ค่าเงินบาท มีมูลค่ามากกว่า เงินเยน ด้วยมูลค่าเหลือ 0.28 เยน ต่อ บาทไทย
ซึ่งหากนาย A แลกในช่วงเวลานี้จะได้ เงินเยน ทั้งสิ้น 178,571 เยน (JYP) ซึ่งมากกว่ากัน ประมาณ ร้อยละ 25 (25%) หรือ ประหยัดไป 25% และในเวลาเดียวกันนั้นเอง .. ผู้ซื้อสินค้า หรือ นักช็อปปิ้งออนไลน์ สินค้าระหว่างประเทศ จะถูกใจมากๆ เมื่อสามารถใช้จ่ายซื้อ สินค้าและบริการ จากต่างประเทศได้มากขึ้น
สมมติจาก เงินบาทแข็งค่ามากขึ้น เมื่อเทียบกับ หยวน (CNY) หรือ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ก็จะเห็นคนสั่งของออนไลน์จากต่างประเทศ หรือ ซื้อบริการต่างๆ จากต่างประเทศในช่วงเวลานี้ด้วยนั่นเอง
เช่น ซื้อเกมส์ เติมเกมส์ หรือ ซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ e-commerce ที่ปัจจุบัน สามารถสั่งซื้อ-จัดส่งจากต่างประเทศได้แล้ว เป็นต้น หรือ แม้แต่ ผู้นำเข้าสินค้า (Importers) หลายใหญ่ๆเอง ก็ ชอบในการนำเข้าสินค้าเช่นกัน
ข้อสังเกต: “การไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
” .. เทียบได้กับ การนำเข้า (Importing) เพราะเรา นำเข้าบริการ (Services Importings) และเอาเงินออกไปใช้จ่ายนอกประเทศ เป็นเหตุผลที่บางประเทศ ให้การต้อนรับคนไทย เป็นพิเศษ “แรงงานไปทำงานต่างประเทศ” .. เทียบได้กับ การส่งออก (Exporting) เพราะถือว่าเรา ส่งออกบริการ (Services Exporting) และเอาเงินส่งกลับประเทศ และเป็นเหตุผลที่บางประเทศทำไมต้องเข้มงวดการเข้าออกขอ งแรงงาน
ค่าเงินบาท กับ นักลงทุน จากต่างประเทศ (Foreign Investors)
เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ ผู้เขียนอาจจะมองไม่เหมือนคนอื่นมากนัก .. โดยส่วนตัวมองว่า เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น (↑) นักลงทุนจากต่างประเทศมักจะไม่ชอบเข้ามาลงทุนเท่าไหร่นัก
แม้จะมีหลายท่านมองว่า ในระยะสั้น เม็ดเงินลงทุน (Funds Flow) จาก นักลงทุนจากต่างประเทศ จะสนใจเข้ามา เก็งกำไร (Taking Profits) ที่ได้เพิ่มขึ้นสองต่อจากค่าเงินที่ผันผวน นักลงทุนต่างชาติต้องชอบสิ ก็ตาม
ซึ่งต้องเรียนตามตรงว่า การเข้ามาทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติ เขาต้องมั่นใจว่า จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นไปได้อีกระยะหนึ่ง ถึงจะเข้ามาทำกำไร หรือ ลงทุน (Investment) ใน ตลาดเงิน ตลาดหุ้น (Stock Market)
ไม่ใช่ว่าเข้ามาแข็งค่ามากๆ แล้วจะสนใจเข้ามา เพราะ เขาเองก็เกรงว่า ค่าเงินอาจจะอ่อนค่าลง หรือ อาจมีมาตรการบางอย่างที่ทำให้ค่าเงินอยู่ในระดับเท่าเดิม ไม่แข็งค่าไปมากกว่านี้ และส่วนตัวกลับมองว่า .. ในมุมมอง นักลงทุนต่างชาติ จะเข้ามาในตลาดเงินในช่วงที่ เงินบาทอ่อนค่ามาก (↓) มากกว่า
เพราะ จะทำให้ กำลังซื้อของเขามีมากกว่าเดิม ประกอบกับช่วงที่ ราคาหุ้น (Stock Price) ปรับตัวลดลงมาก แถมยังมีโอกาสที่ค่าเงินสกุลนั้นๆ จะแข็งค่าขึ้นมาในระยะยาวมากกว่า ปลอดภัยกว่า
เช่น ในยุควิกฤติปี 40 ตอนนั้น ค่าเงินของประเทศ มีมูลค่าต่ำมาก ประมาณ 50 THB/USD และ ดัชนีหุ้น (SET INDEX) ราคาหุ้น ในช่วงนั้นก็ปรับตัวลดลงไปมาก หากผู้ที่มองออกจะทราบแล้วว่า การเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ ย่อมได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า ในจำนวนเงินที่เท่ากัน
เช่น 1 USD แลกได้ 50 บาท THB และ ราคาหุ้น A จาก เคย 20 บาทต่อหุ้น ลดลงไปเหลือ 5 บาทต่อหุ้น ด้วยเงิน 1,000,000 USD จะทำให้ แลกเป็นเงิน บาทไทย ได้ประมาณ 50,000,000 ล้านบาท ทำให้ซื้อ หุ้น A ที่ มูลค่าหุ้นละ 5 บาท ได้ทั้งสิ้นประมาณ 10 ล้านหุ้น จากเดิมที่ควรได้เพียง 2.5 ล้านหุ้น
นั่นทำให้ นักลงทุนต่างประเทศ ได้ หุ้นพื้นฐานดี ที่ราคาถูกมาก ไปโดยปริยาย จากประโยชน์ของ ค่าเงินบาท และสถานการณ์ในตอนนั้น สมมติ ผ่านมา 20 ปี หุ้นกลับไปราคาที่เดิมที่ 20 บาท ทำให้การลงทุนครั้งนี้มีมูลค่า 200 ล้านบาท ผู้ลงทุนต้องการขายทำกไรด้วย อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจับันที่ 1 USD ต่อ 30.5 บาท นักลงทุนจะแลกกลับเป็น สกุลเงินดอลลาร์ เท่ากับ 6.55 M.USD
แต่หาก อัตราแลกเปลี่ยนยังอยู่ที่เดิมที่ 50 THB/USD นักลงทุนท่านนี้จะแลกเงินได้เพียง 4 M.USD ดังนั้น ต้องมองแยกกันทั้ง จังหวะที่นักลงทุนเข้ามาลงทุน ทำกำไร รวมถึง นำกำไรหรือผลตอบแทนที่ได้ไปแลกกลับเป็นสกุลอื่นของตัวเอง นักลงทุนต่างชาติชอบให้ ค่าเงินในสกุลเงินที่ตนเองลงทุนเป็นอย่างไร เพราะ ตอนเข้ามาลงทุน ย่อมต้องการให้ค่าเงินสกุลนั้นๆอ่อนค่า หรือ มีมูลค่าน้อยกว่า สกุลเงินของตัวเอง
แต่เมื่อต้องการดึงเงินกลับ ย่อมต้องการให้ค่าเงินสกุลนั้นๆแข็งค่าขึ้นมา เพื่อจะได้แลกกลับเป็นเงินสกุลเงินตัวเองได้เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง และส่วนตัวยังมองอีกว่า เม็ดเงินที่เข้ามาลงของเขานี่แหละ ที่ทีส่วนอย่างมากทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไป
ดังนั้น การที่เขาเข้ามาตอนที่มันยังอ่อนค่ามากๆ ทำให้เขานำเงินเข้ามาได้มาก และเป็นประโยชน์ได้มากกว่า และค่าเงินมันก็จะกลับไปแข็งค่าเหมือนเดิม ซึ่งก็ทำให้นักลงทุนได้กำไรสองต่อนั่นเอง
และยังเป็นประโยชน์กับเขา มากกว่าการเข้ามาตอนที่มันมีแนวโน้มแข็งค่าอยู่แล้ว เพราะ นอกจากจจะมีช่องว่าง (GAP) ของผลตอบแทนที่ไม่มากเท่าไหร่นัก ยังอาจจะเป็นช่วงที่ ธนาคารกลาง หรือ แบงค์ชาติ ของประเทศนั้นๆ เริ่มออกมาตรการสะกัดกั้นเม็ดเงินลงทุนแล้ว ซึ่งก็ส่งผลโดยตรงกับ เม็ดเงินลงทุนและผลตอบแทน นั่นเอง
โดยสรุป : ไม่ว่าจะเป็น เงินบาทแข็งค่า หรือ เงินบาทอ่อนค่า ต่างก็มีผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในทางที่ดี และในทางที่ไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น โดยเหตุการณ์หนึ่ง อาจมีฝ่ายที่ได้รับผลดี แต่ก็จะมีอีกฝ่ายที่จะได้รับผลในทางตรงข้ามกัน (Vice Versa) นั่นทำให้ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ย่อมมีคนที่ถูกใจ และไม่ถูกใจ และมีคนได้ประโยชน์เสียประโยชน์ ดังตัวอย่างข้างต้นที่ได้อธิบายมาก่อนหน้านี้
หมายเหตุ : บทความนี้ เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวมุมมองหนึ่งในการวิเคราะห์เท่านั้น และยังเป็นเพียงมิติเดียว ณ ปัจจัยอื่นๆ คงที่เท่านั้น ในความเป็นจริงทุกๆอย่างจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
หากต้องการนำไปอ้างอิงประกอบการศึกษา สามารถทำได้ โดยผู้อ่านสามารถค้นหาบทความอื่นๆจากหลายๆแหล่งที่มาเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน รวมถึงการศึกษาไม่มากก็น้อย
อ่านเพิ่มเติม:
–ราคาทองคำ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอะไรได้บ้าง?
อ้างอิง:
–Facebook : Jampay
–YoTube Channel : Jampay Thailand
–Bank of Thailand