เพลง และ มิวสิควิดีโอ น่าสนใจอย่างไรในการโฆษณาสินค้า? “เพลง” และ มิวสิควิดีโอ (Music Video:MV) กับ “การโฆษณา” มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร และมันมีความน่าสนใจอย่างไร และทำไมเราถึงเขียนบทความในเรื่องนี้ ไปเริ่มกันเลย

ผลงาน เพลง (Music) และ มิวสิควีดีโอ (Music Video) สำคัญอย่างไรกับ ฝั่งแบรนด์ (Brand)?

ผลงานเพลงหรือมิวสิควิดีโอ ถือเป็น เนื้อหา (Contents) ที่เกิดการฟังซ้ำบ่อยๆได้ดีที่สุด ในบรรดาเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งการฟังเพลง ผู้สนับสนุน (Sponsorships) หรือ ผู้ลงโฆษณา (Advertisers) ย่อมได้ประโยชน์จากการตัดสินใจมากที่สุด

กล่าวคือ มีโอกาสสูงที่จะเกิดการเข้าชมแบบซ้ำๆ หรือโอกาสในการเข้าชมของผู้ใช้รายใหม่ๆ แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (Organic Reach and Re-Targeting) ซึ่งวิธีการแบบนี้มีมานานแล้ว หรือ อาจจะเรียกว่า “การตลาดด้วยเพลง” หรือ “Music Marketing”

รวมถึงในปัจจุบัน เพลง และ มิวสิควิดีโอ สามารถเผยแพร่และเข้าถึงครอบคลุมผู้คนทั่วโลก (Worldwide) อีกสามารถ ฟังเพลงฟรี หรือ ฟังออนไลน์ หรือแบบ สตรีมมิ่ง (Streaming) ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere, Anytime) ซึ่งจะต่างจากอดีตที่อาจจะทำได้แค่ภายในประเทศ หรือ ภูมิภาค เท่านั้น ทำให้มีโอกาสทางการตลาด ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง



การสร้างการรับรู้ (Brand/Product Awareness) คืออะไร?

การสร้างการรับรู้ ไม่ว่าจะเป็น “สินค้าและบริการ” (Goods and Services) หรือแม้กระทั่ง ตราสินค้า (Logo and Trademask) หรือ แบรนด์ (Brand)

หากจะให้ #แจมเพย์ นิยามและอธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย คือ “การสื่อสาร ไปยัง “กลุ่มเป้าหมาย” (Target Group) หรือ กลุ่มที่มีแนวโน้มว่าคล้าย หรือ จะเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Lookalike) ว่า .. มีสิ่งนี้ มีสินค้าและบริการนี้เกิดขึ้นนะ” ถือเป็นการบอกเล่าให้รับทราบ

แต่ “วิธีการสร้างการรับรู้” ก็มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับ เทคนิค วิธีการของแต่ละท่าน ที่จะส่งผลที่ดีต่อภาพรวมของแบรนด์ ทั้งการทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง สร้างความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์เพื่อครองใจลูกค้าเป็นต้น

มองในมุม “แพลตฟอร์ม” (Platforms) กับกลยุทธ์ (Strategies) และประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)

มาเริ่มมองมุมมองของฝั่ง ผู้ให้บริการ บ้าง .. แพลตฟอร์มเองต้องการให้ผู้ใช้งานอยู่ในแพลตฟอร์มของตน ดังนั้น เนื้อหาไหนที่สามารถรักษาฐานผู้ชมไว้ได้เหนียวแน่น หรือ ระยะเวลานานกว่า ย่อมได้รับการมองเห็นที่มากกว่า ผู้เผยแพร่ หรือ ครีเอเตอร์ (Creatos) รายอื่นๆ ซึ่งก็คือ “คุณภาพของเนื้อหา” นั่นเอง เพื่อประโยชน์ในภาพรวมธุรกิจของแพลตฟอร์ม

อ่านเพิ่มเติม : ขายของออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ ทำไมถึงยากขึ้นเรื่อยๆ | การตลาดเจาะกลุ่มคนเหงา

และ “เพลง” หรือ “มิวสิควิดีโอ” เป็นเนื้อหาที่ “รักษาผู้ใช้งาน” ไว้ในแพลตฟอร์มได้ดีที่สุด รวมถึงมีอัตราการรักษาผู้ใช้งานในแพลตฟอร์ม ใกล้เคียง 100% มากที่สุด

กล่าวคือ ผู้ใช้งาน ย่อมฟังเพลงตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่ออกจากการฟังเพลงนั้นตลอดเพลง ไม่เหมือนกับเนื้อหาประเภทอื่น ที่อาจจะรับชม รับฟัง ช่วงเวลาหนึ่งแล้วออกจากเนื้อหาไป

ซึ่งทำไมแพลตฟอร์มต้องรักษาผู้ใช้เอาไว้ .. อ่านเพิ่มเติมที่ : Business Trend 2019


มองในมุม ผู้เผยแพร่โฆษณา (Publishers) หรือ ศิลปิน (Band) ผู้ทำเพลง

แน่นอนว่า ศิลปิน หรือ ผู้เผยแพร่ ย่อมได้รับประโยชน์เต็มๆ นอกจาก “รายได้” ที่ได้รับ ยังมีโอกาสได้รับผลประโยชน์อื่นๆอีก เพราะ มีโอกาสที่แบรนด์จะประชาสัมพันธ์ “ผลงานเพลง” ของตนตามช่องทางต่างๆ เพิ่มขึ้น

ทำให้ฝั่งศิลปินได้รับประโยชน์จากโอกาสที่จะได้รับ กลุ่มแฟนเพลงใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเป็นแฟนเพลงเพิ่มขึ้น จากการสร้างการรับรู้ในช่องทางอื่นๆด้วยนั่นเอง

รวมถึงเป็นผลดีกับเศรษฐกิจในประเทศ กล่าวคือ แทนที่ ผู้ลงโฆษณา หรือ แบรนด์ จะลงชิ้นงานโฆษณาในช่องของตนเองเพียงอย่างเดียว จากนั้นก็ทุ่มงบโฆษณาไปในแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างการรับรู้ ด้วยเม็ดเงินมหาศาล

ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็น สนับสนุนศิลปินและการสร้างสรรค์ผลงานแทน และใช้ฐานแฟนเพลงที่มีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ซึ่งสามารถกำหนดเป็นตัวเลขขั้นต่ำอย่างง่ายได้ง่ายกว่า และเป็นตัวกลางในการสร้างผู้ชม ช่วยลดโอกาสของเม็ดเงินไหลออกได้ด้วยเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม : วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?

เกี่ยวข้องกับ “การตลาดแบบล่องหน” (Stealth Marekting) ไหม?

ตัวอย่าง การสร้างการรับรู้แบบซ้ำบ่อยเกินไป หรือ Re-Targeting ซึ่งนั่น เป็นการรบกวนผู้ใช้งานมากจนเกินไป บ่อยครั้งมากเกินไป จากที่ควรจะได้รับการรับรู้ที่ดี ผลลัพธ์ที่ดี แต่กลับได้ผลทางด้านลบ คือ ผู้ใช้มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อแบรนด์หรือสินค้าไปเลย

ซึ่งผู้อ่านนึกออกทันที่ว่าเป็น โฆษณาอะไร แบรนด์อะไร ให้คำตอบมันอบอวลในใจผู้อ่าน

ซึ่งกรณีของ “เพลงและมิวสิควิดีโอ” .. บางครั้ง แบรนด์ ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อแบรนด์หรือชื่อสินค้าลงไปตรงๆในเนื้อหานั้น ซึ่งอาจจะทำให้ขัดอารมณ์และความรู้สึกของแฟนเพลงเกินไป และส่งผลด้านลบต่อแบรนด์ได้

โดยอาจจะสื่อสารอยู่ในเนื้อหา MV หรือ “คำพูด” หรือ “เนื้อร้อง” บางส่วนบางท่อน หรือ องค์ประกอบต่างๆ ภายในเนื้อหา ที่สื่อถึงสินค้าและบริการ รวมถึงแบรนด์ ซึ่งไม่รบกวนผู้ใช้จนเกินไป และได้รับผลดี รวมถึง “สร้างการจดจำที่ดี” และเมื่อเปิดเพลงนี้ หรือ มีโอกาสได้ฟังเพลงนี้อีกครั้ง ไม่ว่าจะด้วยช่องทาง (Channel) ใดก้ตาม “ตัวเพลง” ก็จะทำหน้าที่เป็น “สื่อกลาง” แทน “นักการตลาด” ที่ทำให้ ผู้คน นึกถึง “สินค้าและบริการ” รวมถึง “แบรนด์” ขึ้นมาได้

ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง “การตลาดแบบล่องหน” (Stealth Marketing) ที่ทรงพลัง ที่อาศัยการแฝงโดยไม่รบกวนกลุ่มเป้าหมาย และทำให้กลุ่มเป้าหมายจดจำได้อย่างไม่รู้ตัว โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำการโฆษณาซ้ำ แต่ยังทำให้ “นึกถึง” เป็น”อันดับแรก” รวมถึงสร้างผลลัพธ์ที่ดี

อ่านบทความเพิ่มเติม : โฆษณาแฝง กับ Steath Marketing ที่คุณอาจไม่รู้ตัว


ตัวอย่าง และ กรณีศึกษา ของการใช้ “เพลง” และ “มิวสิควิดีโอ” ในการ “สื่อสารทางการตลาด”

เป็นต้น


โดยสรุป : เพลง และ มิวสิควีดีโอ ถือเป็น เนื้อหาที่ผู้ชม ผู้ฟัง ให้ความสนใจตลอดเนื้อหา หรือ อยู่กับเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ รวมถึงมีประโยชน์กับผู้ใช้บริการ หรือ แพลตฟอร์ม ในการรักษาผู้ใช้ไว้ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งด้วยลักษณะข้อได้เปรียบเช่นนี้เอง เป็นประโยชน์กับแบรนด์ในการลงโฆษณาหรือสร้างการรับรู้ของแบรนด์ นอกจากนั้น การลงโฆษณาในเนื้อหาเช่นนี้ แบรนด์ไม่จำเป็นต้องสื่อสารตรงๆ นั้นทำให้ไม่เป็นการรบกวนผู้เข้าชมเนื้อหามากจนเกินไป จนสร้างความรู้สึกในด้านลบกับสินค้าและบริการ หรือ แบรนด์ ในทางกลับกัน กลับสร้างการจดจำและความรู้สึกต่อแบรนด์ที่ดี รวมถึงผลลัพธ์ทางอ้อมที่ทำให้ผู้คนนึกถึงแบรนด์นั้นๆได้นั่นเอง

 

หมายเหตุ : บทความนี้ เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวมุมมองหนึ่งในการวิเคราะห์เท่านั้น และยังเป็นเพียงมิติเดียว ณ ปัจจัยอื่นๆ คงที่เท่านั้น ในความเป็นจริงทุกๆอย่างจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน

หากต้องการนำไปอ้างอิงประกอบการศึกษา สามารถทำได้ โดยผู้อ่านสามารถค้นหาบทความอื่นๆจากหลายๆแหล่งที่มาเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน รวมถึงการศึกษาไม่มากก็น้อย 

อ้างอิง :
Stealth Marketing
โฆษณาแฝง ที่คุณอาจไม่รู้ตัวด้วย Stealth Marketing ที่ Tie-in เข้าถึงและทรงพลัง!

ผุ้สนับสนุนบทความนี้

เพลง, Sponsorships, Jampay, Jampay Thailand, แจมเพย์, แจ่มใส, jamsai, jamplay