Business Trends 2019 หรือ “แนวโน้มทางธุรกิจ”

แล้ว “แนวโน้มทางธุรกิจ” ที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 นี้จะมีอะไรกันบ้างนะ? (Business Trends 2019)

Business Trends หรือ “แนวโน้มทางธุรกิจ” คือ สิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้น หรือ มีผลกระทบกับธุรกิจนั่นเอง โดยหากย้อนกลับไปในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา หรือแม้กระทั้ง ไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้ การพูดคุยถึงเรื่อง “การวางแผนธุรกิจ” (Business Planning) ที่สอดคล้องกับแนวโน้ม (Trends) นั้น  ก็คงจะไม่พ้นความรับผิดชอบของ “เจ้าของกิจการ” (Owners) หรือ “ผู้บริหาร” (Executives) จะต้องศึกษา และมีการวางแผนธุรกิจระยะ 5 ปี ถึง 10 ปีข้างหน้า

ว่าอยากจะให้ธุรกิจของตนนั้นดำเนินไปในทิศทางไหน ตามระยะเวลา (Phase) ที่วางเอาไว้ เพื่อเตรียมรับมือ “การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ” ที่อาจเกิดขึ้น .. แต่ในปัจจุบัน “แนวโน้มทางเศรษฐกิจ” เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก เรียกว่า มีการเปลี่ยนแปลงกันปีต่อปี

หรือ บางครั้ง “เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน” (Disruption) ซึ่งพอใกล้สิ้นสุดปีก็จะมี “นักวิเคราะห์” (Analysts) หรือทีมวิเคราะห์ออกมาบอกแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในปีถัดๆ ไป  จึงทำให้การวางแผนธุรกิจแบบ 3-5 ปีอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป บางองค์กรอาจมี “แผนการดำเนินธุรกิจ” (Business Plan) แบบปีต่อปีกันเลยทีเดียว  เพราะหากช้าไปเพียงก้าวเดียว อาจทำให้เราตามหลังความเปลี่ยนแปลง หรือ คู่แข่งไปแล้วก็เป็นได้ หากเป็นเช่นนั้น ลองไปศึกษา Business Trends 2019 กันเลยดีกว่า ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง..



4. ทุกคนต้องการมี e-Market Place Platforms เป็นของตนเอง

ในปี 2017-2018 ยังอยู่ในช่วงที่ทุกคนยังลังเล เกี่ยวกับการเข้าสู่ “ยุคดิจิตอล” (Digital Era) และให้เวลา 1-2ปี ในการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) หรือ บางครั้งรอดูสภาวะความเป็นไป แต่ในปีนี้ (2019) ทุกคนเห็นแล้วว่า การมีพื้นที่ขายของเป็นของตนเอง จะสร้างโอกาสใหม่ๆให้ธุรกิจของตนเองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งธุรกิจใดที่มี “เว็บไซต์” (Website) เป็นพื้นที่ของตนเอง ยิ่งได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าแบรนด์ต่างๆ เริ่มขยับเข้าสู่การมี “ร้านค้าออนไลน์” (Online Store) บนเว็บไซต์ของตัวเองเพิ่มมากขึ้น

ทำไมการทำ “เว็บไซต์” จึงได้เปรียบ ?  .. เพราะ เว็บไซต์สามารถ แปรสภาพ และ พัฒนา (Upgrade) เป็นพื้นที่ร้านค้า มีระบบจัดการหลังบ้าน ระบบบัญชี ระบบจัดการเอกสาร ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud ซึ่งสามารถศึกษาได้แบบไม่อยากแล้วในปัจจุบัน เพื่อช่วยลดการพึ่งพาพื้นที่ส่วนกลาง จากแพลตฟอร์มต่างๆ และ เพิ่มอำนาจต่อรองให้ตนเองได้ ซึ่งได้เปรียบกว่าผู้ที่ไม่มีนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม:
SEO และ Organic Search ข้อดี-ข้อเสีย ต่อ ธุรกิจ SMEs

3. ธุรกิจมีโอกาสจะพัฒนา e-Payment และ e-Wallet ของตนเอง

เมื่อมี “ระบบร้านค้า” ของตนเองภายในเว็บไซต์แล้ว ก็ต้องการมี “ระบบชำระเงิน” (Payment Services) ที่เป็นของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ง่าย และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เพราะจำเป็นอย่างมากใน “ระบบนิเวศ” (eco-system) ของโลกยุคดิจิตอล  

เช่น ก่อนหน้านี้ อาจจะเห็น “Paypal” และ “True Wallet” เป็นต้น และเริ่มเห็นบริการเดียวกันจากบริษัทใหม่ๆ เช่น “WitPay” , “Omise” เป็นต้น บางธุรกิจยังไม่เข้ามาพัฒนาระบบ “กระเป๋าตัง” (Wallet) มากนัก ยังอาศัยการชำระเงินผ่าน “คิวอาร์โค้ด” (QR CODE) แต่ในปีนี้มีโอกาสสูงมากที่แต่ละ ธนาคาร (Bank) และ สถานบันการเงิน (Financial Instutition) จะกระโดดลงมาเล่นในธุรกิจ “กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-wallet) และ “ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-payment) รวมไปถึง “แพลตฟอร์ม” (Platforms) ใหญ่ๆที่เรารู้จักด้วยเช่นกัน

เพิ่มเติม ตุลาคม 2562 : ความสนุก คือ ในวันที่เขียน (Feb 3, 2019) วิเคราะห์นั้นเป็นเพียงมุมมองหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบัน แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ อย่าง Facebook ประกาศเปิดตัว “สกุลเงิน” (Currency) ของตนเอง คือ “ลิบรา” (Libra) ซึ่งเหนือความคาดหมายของการวิเคราะห์ไปมาก จากเดิมที่มองไว้เพียง Facebook Pay นอกเหนือระบบการชำระเงินและระบบกระเป๋าเงิน แต่นั่นก็ถือเป็นความท้าทายใหม่ๆที่รอให้เราได้เรียนรู้เพิ่มเติม รวมถึงปัจจุบัน “รัฐบาลไทย” (Governmnet of Thailand) ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย (KrungThai Bank) ให้บริการ “เป๋าตัง” และ “ถุงเงิน” แล้ว

อ่านเพิ่มเติม:
ชิมช้อปใช้ .. มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?

2. ทุกภาคส่วนจะมุ่งหน้าสู่ e-Commerce อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อรองรับการเติบโต

คำว่า “ธุรกิจการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์” (E-Commerce)  ไม่ใช่เพียงแค่การมี “ร้านค้าออนไลน์” แต่ยังรวมไปถึงการมี “ระบบชำระเงิน” ของตนเอง ทั้งรูปแบบบัตร “เงินสด” และ “บัตรเครดิต” (Credit Card) การมี “ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน” (Logistics and Supply Chain) อย่างเช่น AliExpress และ Shopee Express มี “ระบบบริหารและวิเคราะห์ข้อมูล” (Data Analystics) เพื่อเข้าถึง “ผู้ใช้แบบรายบุคคล” (Personalization) มากขึ้นหรือ รวมไปถึงมี “แบรนด์สินค้า” (ฺBrand/Products) เป็นของตนเอง มี สินค้าในแบรนด์ของตนเอง (Private Label Products)

หรือแม้แต่ภาครัฐที่เริ่มมีการจัดตั้งกระทรวง กรม เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิตอลแล้วในปัจจุบัน เช่น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศ (Eco-System) ที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดดนี้ และ สามารถผลักดันธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ซึ่งเป็นกำลังหลักในประเทศได้ดียิ่งขึ้น การสนับสนุนจากภาครัฐเช่นนี้ จะยิ่งเป็นตัวผลักดันให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กก้าวเข้าสู่ ธุรกิจการค้าอิเล็กทรอนิกส์  (e-Commerce Businesses) อย่างเต็มรูปแบบได้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม:
True VWORK แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน ในกลุ่ม True Virtual World


1. แพลตฟอร์ม (Platforms) ต่างๆ มีโอกาสจะสร้าง “อาณาจักรผู้ใช้” (Universe) ของตัวเองแบบครบวงจร (Fullfillment)

ผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหา (Search Engine Platforms) เช่น Google, Wongnai

      Google (กูเกิล) เป็นที่รู้จักในธุรกิจ “เครื่องมือค้นหา” (Search Engine) ระดับโลก .. และต่อมาก็ใช้ประโยชน์จาก “ระบบการค้นหา” ของตนในการนำมาสร้าง “ระบบจัดการการโฆษณา” (Google Ads) เพื่อให้บริการเกี่ยวกับโฆษณาจาก “ผู้ลงโฆษณา” (Advertisers) ผ่าน “ตัวกลางเผยแพร่ต่างๆ” (Publishers) ให้ผู้คนไปยัง “เว็บไซต์ปลายทาง” ตามที่ผู้ลงโฆษณาต้องการ ด้วย “ฐานข้อมูลขนาดใหญ่” (Big Data) ที่ตนมีในมือได้อย่างมีมูลค่ามหาศาล  ในอนาคตอันใกล้ หากลองจินตนาการว่า Google (กูเกิล) พัฒนาให้มี e-Market Place และ e-Payment, e-Wallet ของตนเอง จบครบที่เดียวในหน้าแรกเลย เพื่อดึงผู้ใช้ไว้ในแพลตฟอร์มของตนหล่ะ (เพิ่มเติม ปัจจุบัน Google เปิดให้บริการ แท็บ Shopping, Lyrics, Karaoke แล้ว)

อ่านเพิ่มเติม:
Google และ Wongnai ให้คุณค่าอะไรกับเรา?

ผู้ให้บริการพื้นที่สังคมออนไลน์ (Social Media Platforms) เช่น Facebook, Instagram, Twitter

      Facebook (เฟชบุ๊ค) พัฒนา “ระบบพื้นที่ร้านค้า” (e-Marketplace) ของตนเอง และ มีแนวโน้มที่จะพัฒนาระบบการชำระเงินของตนเองอีกด้วย อย่าง “Facebook Pay” เราอาจจะเริ่มเห็นการจำกัดโพสต์ สำหรับลิงค์เว็บไซต์ออกไปภายนอกแพลตฟอร์ม ที่จะพา “ผู้คน” (Users) ออกไปนอกแพลตฟอร์มนั้นๆ เพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้คนให้อยู่ในแพลตฟอร์มของตัวเองนั่นเอง ซึ่งแพลตฟอร์มอื่นๆก็ได้ตอบรับด้วยการจำกัดโพสต์ที่มี “เว็บไซต์ปลายทาง” (Links) ออกสู่ภายนอกเช่นกัน

     Line (ไลน์) ปัจจุบันเราจะเห็น “ไลน์ (LINE) ผู้ให้บริการพื้นที่ให้บริการสนทนาระหว่างบุคคล (Chat Services) และยังมีบริการอีกหลายหลาย อาทิ  Line Square พื้นที่ชุมชน (Community) สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน หรือ LineTV พื้นที่สำหรับคนเท็นต์ในรูปแบบวิดีโอ ที่รองรับ ซีรีย์ ละคร รายการต่างๆ หรือ  Line Rabbit Pay ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และ “กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-wallet),  Line@ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Line Official Account หรือ Line OA พื้นที่สำหรับ บริษัท ร้านค้า ธุรกิจ ต่างๆในการประชาสัมพันธ์ พูดคุย ตอบรับลูกค้าของตน, Line Today พื้นที่สื่อ สำหรับข้อมูล ข่าว ข่าวสาร บทความ ต่างๆ

เพิ่มเติม :  ปัจจุบัน Line เปิดให้บริการ Line Ads Line Live และ Line Business แล้ว

มันอาจไม่ใช่เรื่องยากและไกลตัวอีกต่อไปที่ LINE (ไลน์) จะสร้างเครือข่าย “ร้านค้าออนไลน์” (e-MarketPlace) ของตนเองให้ ครบจบในที่เดียว คงไม่ยากที่จะมีการ “กู้ยืมเงินระหว่างบุคคล” (Personal Loans) กันผ่านไลน์ได้ โดยไลน์เป็นตัวกลางในการดำเนินการต่างๆ รวมถึง ซื้อสินค้าผ่านไลน์ส่วนตัว จ่ายครบจบที่เดียว

อ่านเพิ่มเติม:
ธุรกิจ Freemium Model รายได้มาจาก Premium Users มากที่สุดจริงหรือ?

ผู้ให้บริการระบบชำระเงิน (Payment Services)  เช่น SCB, BBL, K-Plus, TMB, KTC

เราเริ่มเห็นว่า ภายใน แอพพลิเคชั่น (Mobile Application) ของธนาคารเริ่มมีการให้ “สิทธิประโยชน์” (Benefits, Promotions) ต่างๆ และ การประชาสัมพันธ์ซื้อขายสินค้าภายใน แอพฯ ได้เลย นั่นก็เป็นหนึ่งในข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นภาพว่า สิ่งใดมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ้าง ใครจะรู้หล่ะ ในอนาคตอาจจะสามารถยืมเงินจากธนาคารแบบรายวันได้เลย หรือ ให้คนที่ใช้ธนาคารเดียวกัน สามารถผู้คุยกันได้ หรือ รวมไปถึง มีพื้นที่ให้เกิด “การกู้ยืมระหว่างบุคคล” (Presonal Loans) กันเองโดยธนาคารทำหน้าที่ รับประกัน และเก็บ “ค่าธรรมเนียม” (Operation Fees)  เพราะการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว

อ่านเพิ่มเติม:
อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร

ผู้ให้บริการพื้นที่ร้านค้าออนไลน์ (E-commerce Platforms) เช่น   Shoppee, JD Central, Lazada

หากลองย้อนกลับไปช่วง 1-3 ปีที่ผ่านมา หากเราจะหาสินค้าใดสินค้าหนึ่ง เราอาจจะไปค้นหาที่ Google (กูเกิล) ก่อน จากนั้นจึงค่อยเข้าชมไปยังเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเข้าซื้อ “สินค้าและบริการ” (Goods and Services) ต่างๆจากเว็บไซต์นั้นๆ แต่ปัจจุบัน หากเราต้องการซื้อสินค้าใดๆ เราอาจจะเข้าไปค้นหาที่เว็บไซต์ผู้ให้บริการ e-Commerce นั้นๆเลย ที่เราใช้บริการเป็นประจำ จึงมีโอกาสอย่างมากที่ e-Commerce จะพัฒนา “เครื่องมือค้นหา” (Search Engine) ภายในพื้นที่ของตนให้มีประสิทธิภาพสูงกว่านี้ รวมถึงระบบชำระเงินอเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ของตัวเอง หรือแม้กระทั่งมีสินค้าในแบรนด์ของตนเอง (House Brands) มันคงไม่ยากเกินศักยภาพของแบรนด์ระดับนี้

เพิ่มเติม : ปัจจุบันแพลตฟอร์มต่างๆ มีระบบ “เหรียญ” (Coins) “เครดิตเงินคืน” (Cashback) และ “ระบบผ่อนชำระ” แล้ว ซึ่งเป็นการเริ่มต้นมาจากการวางรากฐาน ด้าน “กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-wallet) และ “ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-payment) ทั้งสิ้น

อ่านเพิ่มเติม :
Lazada vs Shopee ศึก 11.11 และ 12.12 บอกอะไรเรา? มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
Cashback หรือ เครดิตเงินคืน คืออะไร? ยิ่งช้อป! ยิ่งได้เงินคืน! เขาทำได้อย่างไร? 
ขายของออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ .. ทำไมยากขึ้นเรื่อยๆ?

ผู้ให้บริการสื่อความบันเทิง (Entertainments) เช่น Joox.com และ Sanook.com

เราจะเริ่มเห็น Joox.com เปิดให้ผู้ใช้สามารถ “แสดงความคิดเห็น” (Comments) ใต้ “คอนเท็นต์” (Contents) ได้แล้ว หรือแม้กระทั้งการนำ Joox ไปเป็นส่วนหนึ่งในเว็บ Sanook.com เพื่อให้เกิด “การเดินทางของผู้ใช้” (Consumer Journey) อยู่ภายในเว็บไซต์ Sanook.com อ่านบทความไปด้วย ฟังเพลงไปด้วย เพราะ ปัจจุบันผู้คนมี “พฤติกรรม” (Behaviors) แบบทำหลายอย่างพร้อมกัน (Multi-Taskings) มากขึ้น นั่นก็คือ อยากอ่าน “บทความ” ไปพร้อมๆกับฟัง “เพลง”นะ มันคงจะดีถ้ามีบทความให้อ่าน มีเพลงให้ฟังด้วยเลย ไม่ต้องโยกไปมาระหว่าง แพลตฟอร์ม (Platforms)

หรือ แม้แต่ใน Joox เองเริ่มมี Live (ไลฟ์) ถ่ายทอดสดให้บริการ, มี Karaoke (คาราโอเกะ) ทั้งแบบเสียง (Voices)และแบบวิดีโอ (Videos) มีการให้คะแนน ให้รางวัล ให้เกิด ความมีส่วนร่วมระหว่างผู้ใช้ (Engagement) จนเกิดเป็น “ชุมชน” (Community) ระหว่างผู้คน และดึงผู้คนไว้ในแพลตฟอร์มนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม :
การตลาด “เจาะกลุ่มคนเหงา” .. โอกาสทางธุรกิจที่น่าจับตา
Freemium คืออะไร? ดีอย่างไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน
Work From Home Platform | “แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน” สัญชาติไทย


โดยสรุป: Business Trends 2019 กับ 4 แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นภายในปีนี้

Business Trends ในปี 2019-2020 นี้ ธุรกิจต่างๆที่มี “จุดเด่น” และ “จุดแข็ง” ของตนเอง หรือ รายใหญ่ระดับโลก มีแนวโน้มจะสร้างอาณาจักรของตนเอง ด้วยการพัฒนาในส่วนที่ตนยังไม่มี ที่ยังสามารถพัฒนาต่อได้ เพื่อใช้รักษาฐานผู้ชมไว้ในแพลตฟอร์มตนเองให้มากที่สุด เพื่อธุรกิจของตนเอง ใช้ข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ในมือให้เกิดประโยชน์สุงที่สุด

และใช้โอกาสเหล่านี้ในการสร้างรายได้จากส่วนอื่นๆได้อีกมากมาย รวมถึงอำนาจต่อรองทางธุรกิจสิ่งเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ช้าก็เร็ว ขอเพียงเราพยายามทำความเข้าใจและมองหาโอกาสใหม่ๆอยู่เสมอหากถามว่า ทุกวันนี้ผู้คนอยู่ที่ไหนกันนะ

ขอตอบว่า เขาก็อยู่ในที่ที่เขาชอบนั่นเอง ที่ไหนมีอะไรที่ให้เขามากกว่า เขาก็อยู่ที่นั่นแหละและเป็นที่แน่นอนว่า การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ จะต้องใช้เม็ดเงินในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ใช้อย่างมหาศาล นั่นเป็นประโยชน์อย่างสูงกับผู้ใช้ เพราะจะได้ โปรโมชั่นส่วนลด การแข่งขันด้านราคา การแข่งขันด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ

เพื่อดึงคนเข้ามาใช้บริการ ความดุเดือดนี้เองจะทำให้ผู้ใช้ได้สินค้าและบริการที่คุณภาพและราคาถูกลงนั่นเอง เหมือนกันกับโมเดลกรณีศึกษาตอนเริ่มธุรกิจ e-commerce ที่กระหน่ำแจกโปรโมชั่นเพื่อสร้างพฤติกรรมให้กับผู้บริโภคนั่นแอง

อ้างอิง:
ETDA
เศรษฐกิจดิจิตอล
รายงานประจำปี สพธอ. 2561 
เทรนด์ผู้ซื้อผู้ขายปี2562