Dark Mode เขาทำมาเพื่ออะไรกันนะ? ไม่ว่าจะเป็น ดาร์กโหมด โหมดกลางคืน ของ เฟชบุ๊ค Facebook ทวิตเตอร์ (Twitter) อินสตาแกรม (Instagram, IG) แอปเปิ้ล (Apple) ไอโฟน (iPhone) แพลตฟอร์มอื่นๆ iOS Android หรือ อาจเป็น กลยุทธ์ทางการตลาด หรือ กลยุทธ์ในการรักษาผู้ใช้งาน หรือ แย่งผู้ใช้งานระหว่างกัน
Dark Mode เขาทำมาเพื่ออะไรกันนะ?
หลังจากเปิดตัว iOS 13 ไปเป็นที่เรียบร้อย จากค่ายฝั่ง Apple และการเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ ก็มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ หลายอย่าง หนึ่งในนั้นที่ถูกพูดถึงกันมากก็คือโหมด โทนสีมืด หรือ ดาร์กโหมด ซึ่งในฝั่งระบบปฏิบัติการอื่นๆ (OS) อื่นๆ อาจจะเปิดตัวไปนานแล้ว
แล้วมันสำคัญอย่างไร? เขาทำมันออกมาเพื่ออะไร? แล้วมันมีประโยชน์อย่างไร? วันนี้แจมเพย์จะลองมาวิเคราะห์ให้ผู้อ่าน ได้รับมุมมองอีกมุมมองหนึ่งที่กว้างขึ้น ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาได้นั่นเอง เอาหล่ะ เราไปเริ่มวิเคราะห์กันเลย
- Work From Home Platform | “แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน” สัญชาติไทย
- แจมเพย์ (Jampay) เปิดพื้นที่ให้ธุรกิจต่างๆ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ฟรี!
- Digital Marketing สำคัญกับธุรกิจอย่างไร?
เริ่มต้นกันด้วยแนวคิด “ธรรมาภิบาล” (Corporate Governance) ก่อน
ในหลักธรรมาภิบาล จะมีการพูดถึง “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร” (Stakeholders) ที่มีหลักๆด้วยกัน 6 ด้าน คือ 1.กิจการบริษัทฯ (Corporate) 2.ผู้ถือหุ้น (Shareholders) 3.เพื่อนพนักงาน (Staffs) 4.ลูกค้า ผู้บริโภค หรือลูกหนี้การค้า (Clients, Users)5. คู่ค้า หรือ เจ้าหนี้การค้า (Acc.Payable) 6.สังคมและชุมชน รวมถึงประเทศ (Social)
ซึ่งในภาพรวมถือว่าธุรกิจต้นน้ำ (Upstream) , ธุรกิจกลางน้ำ (MidStream) และ ธุรกิจปลายน้ำ (Downstream) และหลักใหญ่นี้เองจะทำให้เราต้องคำนึงไปถึงอีกสองหลักใหญ่ คือ “นโยบายบริหารความเสี่ยง” และ “นโยบายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน” ซึ่งเป็นปกติของ บริษัทจำกัดมหาชน ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องคำนึงที่เรื่องเหล่านี้
เจ้า “ดาร์กโหมด” เกี่ยวอะไรกับ หลักธรรมาภิบาล ด้วยหรือ?
ที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า .. ระยะเวลารวมของ ผู้ใช้งาน (Users) ในแต่ละแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตัวเลขชั่วโมงการใช้งานต่อวัน หรือ ค่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นมาก นั่นแสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมของผู้ใช้งาน (Users Behaviors) ที่ใช้เวลากับ สมาร์ทโฟน อยู่บนแพลตฟอร์มต่างๆเป็นเวลานาน
ซึ่งนั่นย่อมส่งผลเสียกับ สภาพร่างกาย อย่างเช่น ดวงตา เป็นต้น หรืออาจจะกระทบกับจิตใจของผู้ใช้ หรือ ลูกค้า ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปสู่มิติทางด้านสังคม จึงทำให้ธุรกิจบริการสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ การทำ “ดาร์กโหมด” ในมิติหนึ่ง
ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายบริการที่มอบ “คุณค่าด้านความใส่ใจ” ให้กับผู้ใช้งาน ให้ผู้ใช้ได้ใช้งานอย่างสบายสายตา หรือ เรียกว่า “โหมดถนอมสายตา” หรือ ใช้งานได้ในที่มีมีแสงน้อย หรือ เวลากลางคืน หรือเป็นนโยบายตอบแทนสังคม หรือ ที่เราได้ยินกันบ่อย คือ นโยบาย CSR (Corporate Social Responsibilities) และเป็นนโยบายด้านความยั่งยืนด้วยนั่นเอง
แล้ว Dark Mode มีประโยชน์อะไรที่น่าสนใจมากกว่านั้นไหม?
แน่นอน หลักการธรรมภิบาล คือ ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดขององค์กร เมื่อดูแล ฝั่งลูกค้า หรือ Users ไปแล้ว ก็ต้องหันมาดูแลฝั่งผู้ถือหุ้น (Shareholders) และตัวกิจการของบริษัท (Brand/Operations) เองด้วยเช่นกัน
กล่าวต่อจากย่อหน้าที่แล้ว “ผู้ใช้งาน” (Users) อาจจะใช้เวลาอยู่ในแพลตฟอร์มหนึ่งนานเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นผลมาจาก กลยุทธ์รักษาฐานผู้ใช้งานไว้ในแพลตฟอร์ม
ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มต้องการดึงผู้ใช้งานไว้ในแพลตฟอร์มของตนให้นานที่สุด อาทิ คอนเทนต์แบบ Exclusive ที่นี่ที่เดียว หรือ คอนเท็นที่น่าสนใจ หรือ คอนเท็นต์ที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมด้วยมากๆก็จะได้รับการแสดงมากกว่า ซึ่งจะส่งผลดีกับตัวธุรกิจและรายได้ของกิจการ ซึ่งสงครามการแย่งผู้ใช้อย่างดุเดือดนี้ ย่อมส่งผลด้านลบด้วยเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม: กลยุทธ์การรักษาผู้ใช้งาน
–Business Trend 2019
–ธุรกิจ Freemium Model รายได้มาจาก Premium Users มากที่สุดจริงหรือ?
–Lazada vs Shopee ศึก 11.11 และ 12.12 บอกอะไรเรา? มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
–การสร้างแบรนด์ ด้วย Content Marketing ทำอย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
–Podcast คืออะไร? .. แล้วทำไมถึงควรมีเอาไว้?
ซึ่งการจะทำให้ผู้ใช้งาน สามารถอยู่ในแพลตฟอร์มได้นานขึ้นนั้น Keywords หรือ Key-Success สำคัญ คือ การทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้ใช้สามารถอยู่กับแพลตฟอร์มของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หรือ “มีร่างกายที่จะใช้งานได้ไปนานๆ” ก็ต้อง “ช่วยรักษาสุขภาพร่างกายของผู้ใช้งาน” ให้ได้มากที่สุด ถือเป็นนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความยั่งยืนในฝั่งผู้ใช้นั่นเอง
ซึ่งส่วนตรงนี้ บางแพลตฟอร์มได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว อาทิ YouTube , Facebook Instagram และ Twitter ได้ทำส่วน “โหมดโทนสีมืด” หรือ “ดาร์กโหมด” นี้ไปแล้ว
โดย YouTube จะเรียกว่า “ธีมสีเข้ม” และยังมีแท็บ “เวลาที่ใช้ในการดู” และ “เตือนให้ฉันพักสายตาบ้าง ทุกกี่ชั่วโมง” ส่วน Twitter และ Facebook Messenger มีการปรับเป็น “ธีมสีเข้ม” รวมถึง “เวลาที่ใช้บน Facebook”, และ “แจ้งเตือนความจำรายวัน” สำหรับเตือนเมื่อใช้งานผ่านไปเท่าไหร่ตามระยะเวลาที่เรากำหนด เป็นต้น
ตัวอย่าง เฟซบุ๊ก ดาร์กโหมด (Facebook Darkmode) บน PC
ตัวอย่าง Darkmode หรือ Nightmode จาก iOS
มาถึงฝั่งผู้ให้บริการด้านสมาร์ทโฟนอย่าง Apple บ้างก่อนหน้านี้ iOS 12 อาจจะมี Night Mode คือการตัดแสงสีฟ้าของหน้าจอ ที่ส่งผลเสียโดยตรงต่อดวงตา เมื่อ Apple หันมาทำ iOS 13 ที่มี “ดาร์กโหมด” โหมดกลางคืน ของ ไอโฟน เพิ่มเข้ามา
โดยที่ผ่านมาเก็บข้อมูลภาพรวมเวลาการใช้งาน และแบ่งสัดส่วนว่าเราใช้อะไรไปเท่าไหร่ อาทิ สังคมออนไลน์ ความบันเทิง และ อื่นๆ เป็นต้น รวมไปถึงการแจ้งเตือนยอมการใช้งาน และ การแจ้งเตือนให้พักสายตาระหว่างวัน ซึ่งสอดคล้องและส่งผลดีโดยตรง กับการเพิ่มบริการ Apple TV+ และ Apple Arcade เข้ามานั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม
– iPhone จากค่าย Apple กับ กลยุทธ์การตั้งราคา
และอย่างลืม Key Success ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ยุคนี้คนที่มีข้อมูล (Big Data) คือ ผู้ที่มีอำนาจและจะเป็นผู้ที่จะสามารถชนะตลาดได้ รวมถึงนักการตลาด ผู้ประกอบการเอง ก็ต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลการใช้งานที่เป็นประโยชน์พวกนี้ได้ด้วยเช่นกัน
เพราะบริษัท Apple .,Inc. หรือแม้กระทั่งบริษัทอื่นๆ ที่กล่าวมา เป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา นั่นหมายความว่า แอปเปิ้ล เป็นบริษัทมหาชน ที่ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรทั้งหมดด้วยนั่นเอง นั่นคือ นอกจา่กจะคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลักแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสังคม ผู้ถือหุ้น และส่วนอื่นๆด้วยเช่นกัน การทำ Dark Mode นอกจากจะเป็น CSR แล้ว ยังถือเป็นประโยชน์กับกิจการของบริษัทที่ทำให้ผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานไปได้ในระยะยาว หรือ นโยบายด้านความยั่งยืนนั่นเอง
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นเพียงมุมมองหนึ่งเท่านั้นในการวิเคราะห์ ผู้อ่านสามารถอ่านบทความจากหลายๆแหล่งที่มาประกอบการตัดสินใจ
อ้างอิง:
–สูจิบัตรรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น ปี 2562 โดย สถาบัน ป๋วย อึ๊งภากรณ์
-หนังสือ สุดยอด CEO ของ อาจารย์พันธ์ศักดิ์ ลีลาวรรณกุลศิริ