“อุตสาหกรรมดิจิทัล” (Digital Industries) คือ อะไร ธุรกิจใดบ้าง ธุรกิจดิจิทัล ..มีข้อดี (Pros) ข้อเสีย (Cons) ต่อ เศรษฐกิจ (Economy) วิกฤตเศรษฐกิจ (Crisis) ของ ประเทศไทย (Thailand) อย่างไร ยกตัวอย่าง สถานการณ์ โควิด19 (COVID-19) หรือ รองรับ ผลกระทบจาก โควิด19 ได้อย่างไร ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) นอกจากมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจ .. ชิมช้อปใช้ ลงทะเบียนว่างงาน ลงละเบียนคืนเงิน ลงทะเบียนรับเงิน รับเงินคืน บัตรคนจนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เราจะไม่ทิ้งกัน เน็ตฟรี ลงทะเบียนอินเตอร์เน็ตฟรี และ การลงทะเยียน เว็บไซต์ www.ไทยชนะ.com สแกนผ่านคิวอาร์โค้ด (QR CODE)
อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างไร
หลังจากที่ได้เขียนบทความ “วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย จะไปต่ออย่างไร?” และ “ผลกระทบ โควิด19 ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย” ที่ได้อธิบายถึง ผลกระทบระยะสั้น และ ผลกระทบระยะยาวกันไปบ้างแล้ว
ทำให้ แจมเพย์ นึกถึง “อุตสาหกรรมดิจิทัล” (Digital Industries) หรือ “ดิจิตอล” ขึ้นมา ว่าจริง ๆ แล้ว นอกจากจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึง อาจมีส่วนช่วยสำคัญ ให้ประเทศรอดจากสภาวะวิกฤตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาคอย่าง โควิด19 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในปี 2019 -2020 ไปได้ แต่มันจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ไปติดตามกันพร้อมกันเลย ..
- อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร
- อยาก “รักษ์โลก” ทำไมมันลำบากจังครับ
- ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม ได้รับผลกระทบอะไร?
สารบัญ
–อุตสาหกรรมดิจิทัล คืออะไร
–ข้อดี ของ อุตสาหกรรมดิจิทัล ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย
–ข้อจำกัด ของ อุตสาหกรรมดิจิทัล ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย
–สรุป: อุตสาหกรรมดิจิทัล ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย
อุตสาหกรรมดิจิทัล คือ อะไร
อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industries) คือ อุตสาหกรรมการผลิต และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลหรือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล
แบ่งออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ กลุ่มฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Hardware & Smart Device), กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software), กลุ่มอุตสาหกรรมด้านการสื่อสาร (Communications), กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล (Digital Service) และ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)
(DEPA, 2019)
บางท่านยังเข้าใจว่า “ธุรกิจออนไลน์” (Online Business) กับ “ธุรกิจดิจิตอล” หรือ “ดิจิทัล” นั้นเหมือนกัน แต่อย่างที่ผู้เขียนได้เคยอธิบายไปในบทความ “Digital Marketing สำคัญกับธุรกิจอย่างไร?” ว่าทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งมีอะไรมากกว่าการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือ สังคมออนไลน์เพียงอย่างเดียว
ไม่ใช่เพียงแค่การโพสต์ขายของใน Facebook Line หรือ Instagram เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อุตสาหกรรมดิจิตอล ยังมีองค์ประกอบจำนวนมากที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้
ดังนั้น การจะเรียนรู้ ความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรมดิจิตอล-ดิจิทัล และ การใช้เทคโนโลยี ผู้เขียนจำเป็นต้องยกตัวอย่าง ผู้ให้บริการจากต่างประเทศ เพื่อให้ผู้อ่านเจ้าใจและง่ายต่อการเห็นภาพ
ข้อดี ของ อุตสาหกรรมดิจิทัล ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย
1.เทคโนโลยีบล็อกเชน (BlockChain Technology)
1.1 เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าถึงและได้รับข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้องครบถ้วน อาทิ ตัวเลขผู้ป่วย ผู้ที่เข้าข่ายความเสี่ยงในพื้นที่ต่างๆ จำนวนหน้ากากอนามัย เป็นต้น
ข้อดี คือ เพื่อประเมินความสามารถในการรับมือสถานการณ์และการให้การรักษาที่รวดเร็ว แม่นยำ และช่วยลดการแพร่กระจายของโรคระบายได้อย่างรวดเร็ว
หรือ แม้แต่การเปิดรับบริจาคต่างๆ ไม่วาจะเป็นการรับบริจาคเงิน บริจาคหน้ากาอนามัย บริจาคอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ จะเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ ด้วย“ฐานข้อมูลออนไลน์ขนาดใหญ่” (Big Data) ที่ขับเคลื่อนด้วย “เทคโนโลยีบล็อกเชน”
ข้อดี คือ หากเทียบให้ผู้อ่านทุกท่านเห็นภาพก็มีลักษณะเดียวกับ ระบบ e-Tracking ของการส่งพัสดุ ที่เราทุกคนสามารถเช็คเลข ems ได้ว่า เงินบริจาคของเรา มีสถานะอย่างไร ได้รับการจัดส่งไปยังผู้รับบริจาคอย่างไร ได้รับพัสดุเรียบร้อยแล้วหรือไม่ เป็นต้น
1.2 เทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ถูกใช้ในบริการทางด้านการเงิน ยกตัวอย่าง “อาลีเพย์” (Alipay) และ “แอนท์ ไฟแนนเชียล” (Ant Financial) แพลตฟอร์มการเงินระหว่างบุคคล จาก “Alibaba Group”
ข้อดี คือ ทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งเงินระหว่างบุคคลด้วยกันเอง ได้อย่างง่ายดายมากขึ้นในช่วงเวลาที่ยากลำบากแบบนี้ ลดการใช้เงินสด หรือ ธนบัตร ลดโอกาสในการสัมผัสระหว่างกัน
แม้แต่แพลตฟอร์มด้านการเงิน สำหรับ “ซัพพลายเชน” (Supply Chain) อย่าง “Ant Duo-Chain” เป็นพัฒนาโดย แอนท์ ไฟแนนเชียล เช่นกัน อาศัยการขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยีบล็อกเชน
ข้อดี แพลตฟอร์มดังกล่าว ช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอี (SMEs) จำนวนมากสามารถยื่นขอเงินกู้จากธนาคาร โดยใช้บัญชีลูกหนี้จากองค์กรขนาดใหญ่ได้ทันที ช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอี แก้ไขปัญหาข้อจำกัดทางการเงินของธุรกิจที่เกิดขึ้นในช่วงของการแพร่ระบาดแบบนี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปที่สาขาของธนาคาร ลดการสัมผัสระหว่างเอกสาร บุคคล และ ธนบัตร ที่อาจเป็นตัวกลางก่อให้เกิดการแพร่เชื้อ
2.เทคโนโลยีตัวช่วยอัจฉริยะ (AffIliate Intelligence Technology, AI)
2.1 เทคโนโลยีตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติ ถูกติดตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ เช่น รถไฟใต้ดิน สถานีรถไฟ สนามบิน และศูนย์บริการหรือหน่วยงานของภาครัฐ เป็นต้น เพื่อระบุและติดตามบุคคลที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ และช่วยในการดำเนินการที่จำเป็น ระบบอัตโนมัตินี้ มีประโยชน์อย่างมากในการคัดกรองบุคคลที่อาจติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
2.2 เทคโนโลยีตรวจจับเสียง และ สั่งการด้วยเสียง (Voices) ลดการสัมผัสปุ่่มกด สามารถสั่งการระยะไกล ตัวอย่างเช่น การขึ้นลิฟท์ การอนุมัตคำสั่งแบบลงชื่อในเอกสาร เป็นต้น
2.3 เทคโนโลยีในการประเมิน และประมวขผลฐานข้อมูลขนาดใหญ่
3.คิวอาร์โค้ด (QR CODE)
3.1 เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR CODE) ในการระบุตัวตน ข้อดี คือ เพื่อลดขั้นตอนในการตรวจประเมินจากเจ้าหน้าที่ โดยให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเข้ามูลเข้าระบบบล็อกเชน ในข้อที่ 1.) และประเมินความเสี่ยงด้วยตัวช่วยอัจฉริยะ ในข้อที่ 2.)
1.เพื่อให้ประชาชนสามารถได้รับคิวอาร์โค้ดประจำตัว หรือ หลักฐานยืนยันอ้างอิงอื่นๆ เพื่อยืนยันการประเมินเบื้องต้น สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อไปยังสถานที่ต่างๆ แสดงว่า “ปลอดภัย” หรือ “มีความเสี่ยง” เป็นต้น
2.เพื่อช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน แบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ที่อยู่ทัพหน้า ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อโดยตรง อาจช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มได้ รวมถึงช่วยลดจำนวนครั้งในการเข้ารับการตรวจจากเจ้าหน้าที่ของผู้คนลงได้
4.หุ่นยนต์และโดรน (Robotics and Drones)
4.1หุ่นยนต์ตรวจแทนเจ้าหน้าที่ โดยผสมผสานเทคโนโลโลยีจาก ข้อ 2.) และ 3.) พร้อมกัน รวมถึงการใช้หุ่นยนต์ในการส่งอาหาร ยา และสิ่งของไปยังแผนกที่ถูกแยกออกไป หลังจากได้รับคำสั่งจากผู้ควบคุมเครื่องที่อยู่ห่างไกลภายในโรงพยาบาล สถานพยาบาล
ข้อดี ลดโอกาสในการสัมผัสโรคโดยตรง เมื่อต้องพบเจอกับผู้ที่ต้องสงสัยว่ามีโอกาสติดเชื้อ โดยให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ควบคุมจอแสดงผลอยู่ในระยะที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงแก่บุคคลากรทางการแพทย์ ลดภาระหน้าที่ให้แก่บุคคลากรทางการแพทย์
4.2 ธุรกิจขนส่งแบบไร้คนขับโดยใช้โดรน (Drones Express) ของ “Amazon” ในต่างประเทศกันมาบ้างแล้ว หรือ การใช้โดรน (Drones) ออกไปเตือนผู้คนจากประเทศจีน เราอาจจะได้เห็นคลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์กันมาแล้ว ที่มีการใช้โดรนออกไปประกาศเตือนประชาชนห้ามออกจากบ้าน
ข้อดี ลดการสัมผัสระหว่างบุุคล ลดข้อจำกัดในการเดินทางต่าง ลดการใช้เจ้าหน้าที่เกินความจำเป็น คงเหลือเจ้าหน้าที่ไว้สำหรับรองรับสถารการณ์ฉุกเฉิน
5.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Quantum Computing)
ในการประมวนผลฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้สามารถประมวลผลออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ผิดพลาดน้อยที่สุด และ ประมวลผลออกมาได้รวดเร็วที่สุด จำเป็นต้องอาศัยศักยภาพของเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องมือธรรมดาทั่วไป เช่น การประกาศเปิดตัวผลการดำเนินการ Quantum Computing ของ Google ที่ให้ข้อมูลว่ามีประสิทธิภาพสูงที่สุด ณ เวลานี้
ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Quantum Computing) จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญในอุตสาหกรรมดิจิตอลในยุคสมัยใหม่ มีสามารถนำไปใช้ประมวลผล หรือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ในแขนงต่างๆ เป็นต้น
ยกตัวอย่าง “Tencent” เปิดให้ใช้งานระบบซูเปอร์คอมพิวติ้งของบริษัทฯ รวมถึงคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำการคำนวณได้รวดเร็วกว่าพีซีทั่วไปหลายเท่า เพื่อช่วยให้นักวิจัยคิดค้นวิธีการรักษาโรค โดยร่วมมือกับสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
โดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค การตรวจคัดยา การตรวจจับและวิเคราะห์ทางจีโนมิกส์ จัดหาทรัพยากรด้านซูเปอร์คอมพิวติ้ง เพื่อช่วยเหลือบุคลากรด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการจัดลำดับยีน การพัฒนาวัคซีน การตรวจคัดยา และการคาดการณ์เกี่ยวกับการกลายพันธุ์
ข้อดี ของ “ซูเปอร์คอมพิวเตอร์” (Quantum Computing) ตัวช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ผล ประเมินผลที่รวดเร็ว ช่วยให้เกิดการประมวลผลที่ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว ระยะเวลาในการดำเนินการมีความสำคัญ เช่น การวินิจฉัน การวิเคราะห์วัคซีนที่จำเป็น วิเคราะห์ตัวยา เป็นต้น
6. บริการสนับสนุน อื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง (Other Relatived Support Services)
6.1 บริการส่งคน-ส่งของ (Express Services Providers)
ผู้เขียนสัมผัสกับประสบการณ์นี้โดยตรง ได้พูดคุยกับผู้สูงอายุบางท่าน ไม่มีลูกหลานอยู่ใกล้ชิด ไม่มีรถเดินทางมายังโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์หรือตรวจรักษาตามนัดหมาย จำเป็นต้องจ้างผู้คนละแวกบ้าน ให้ช่วยพามาโรงพยาบาล
จากการสอบถามพบว่า ค่าบริกาารในการพาผู้สูงอายุเหล่านี้มายังโรงพบายาลอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับทั่วไป เพราะ ผู้ที่รับจ้างพามายังโรงพยาบาล ให้เหตุผลว่า ตนเสียโอกาสในการสร้างรายได้อื่น เนื่องจากต้องมานั่งรอจนกว่าจะเข้ารับการตรวจรักษาเสร็จสิ้นและพากลับบ้านด้วย รวมถึง โรงพยาบาล สถานพยาบาล มีรถที่ให้บริการอย่างจำกัด ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถให้บริการแก่ผู้เข้ารับการรักษาได้ทั้งหมด
คงจะดีไม่น้อย หากในสถานการณ์ปกติ ผู้ให้บริการต่างๆ จะมี Grab Care, foodpanda Care หรือ LINEMAN Care เป็นต้น ในการสนับสนุนทีมแพทย์และพยาบาล เพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ หรือ ผู้ที่ต้องการไปยังสถานพยาบาล สามารถเดินทางไป-กลับจากโรงพยาบาลได้อย่างราบรื่น รวมถึงราคาต่อหน่วยถูกลงเมื่อเทียบกับการที่ไม่มีบริการเหล่านี้ และให้ผู้รับจ้างเหล่านั้นเข้าระบบเป็นผู้รับจ้างแบบอยู่ในระบบ
และ ในช่วงที่มีวิกฤตโรคระบาค ยังสามารถช่วยจัดส่งบุคลากรทางการแพทย์ หรือ อุปกรณ์ สิ่งของต่างๆ ไปยังสถานที่ต่างๆ หากมีความจำเป็นต้องออกไป หรือ การส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆโดยใช้ โดรน (Drones) อย่่างที่พูดไปแล้วในข้อ 4.)
6.2 บริการช่วยสนับสนุนในการทำงานจากที่บ้าน (Working From Home)
การทำงานที่บ้าน (Working From Home) กลายมาเป็น ตัวแปรสำคัญ (Key-Driving Factors) ในการแก้ปัญหาช่วงเกิดระบาด ที่อาจช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างมีรูปธรรมมากขึ้น รวมถึง ทำให้ธุรกิจ กิจการต่างๆ จำเป็นปรับตัวสู่ยุคสมัยใหม่โดยปริยาย คือ การเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับหากภาวะวิกฤตเช่นนี้อีก ด้วยนโยบายการทำงานจากที่บ้าน
ยกตัวอย่าง Google Meet, Google Drive, Zoom, Eko , Slack, Workplace, Microsoft Team เป็นต้น คือ แพลตฟอร์มที่สนับสนุนการทำงานผ่านเครือข่ายออนไลน์ ทั้ง การวางแผนงาน กำหนดตารางงาน ตารางการประชุม การประชุมออนไลน์ การรวบรวมข้อมูลบริษัท บริการ Cloud การแลกเปลี่ยนไอเดีย ระบบจัดการเอกสารภายในบริษัท เป็นต้น
6.3 บริการคอนเทนต์ (Digital Content Providers)
เป็นยุคที่อยู่บ้านเฉยๆ ก็สามารถช่วยสังคมได้ ช่วยลดการระบาดของโรคได้ ดังนั้น การจะให้ผู้คนอยู่ที่บ้านได้ นอกจากจะมีอินเตอร์เน็ต ยังต้องมีเนื้อหาสาระ หรือ คอนเทนต์ต่างๆเพื่อให้ผู้คนสามารถอยู่ภายในที่อยู่อาศัยของตนได้ อย่างน้อยก็เพื่อช่วยลดภาวะเครียด ที่เกิดจากโรคระบาด ช่วยให้ผ่อนคลายในขณะที่ถูกกักบริเวณให้พื้นที่พักอาศัย ยกตัวอย่าง AIS PLAY, True ID, YouTube Premium, Netflix, WeTV, LINE TV, Apple TV+, Joox, Spotify เป็นต้น
6.4 โครงการสร้างพื้นฐานดิจิทัล-ดิจิตอล (Digital Infrastructures)
สิ่งที่พูดมาทั้งหมด จะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย หากขาดโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในอุตสาหกรรมดิจิตอล ซึ่งจำเป็นต้องมี อินเตอร์เน็ต (Internet) ที่มีประสิทธิภาพ เป็น โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastuctures) ที่สามารถเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และทำให้ประชากรส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลได้มากขึ้น อช่างเช่น ระบบเครือข่ายไร้สาย 5G เป็นต้น
รวมถึงอุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่กล่าวมา จำเป็นต้องมีการควบคุม สั่งการในระยะไกล ดังนั้น การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายอย่าง เครือข่าย 5G จึงความสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศไทย
การที่เทคโนโลยีบล็อกเชน การรับส่งข้อมูลระหว่างกัน หุ่นยนต์ โดรน หรือ อุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ในยุค “Internet of Things” (IoT) จะปฏิบัติงานตามคำสั่งในะระยะไกลได้ หรือ รับ-ส่งข้อมูลทางไกลได้ จำเป็นต้องเข้าถึงการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความเสถียร และมีประสิทธิภาพ
ข้อจำกัด ของ อุตสาหกรรมดิจิทัล ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย
1.การเปลี่ยนแปลงที่เร็วเกินไป ส่งผลในด้านลบ กับผู้คนและธุรกิจจำนวนมากได้เช่นกัน
แม้ว่า “อุตสาหกรรมดิจิทัล” (Digital Industry) จะมีข้อดีอย่างมาก อบ่างเช่นเทคโนโลยีบล็อกเชน และอาจช่วยให้เราสามารถช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจประเทศไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) หรือ วิกฤตโรคระบาด อย่างที่ได้อธิบายไปในบทความ “ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย” และ “วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?”
แต่จากข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ระบุว่า จำนวนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประชากรไทย จะมีมากกว่า จำนวนประชากร เกือบ 1 เท่า แต่ ประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังไม่เข้าใจ ไม่ให้ความสำคัญ ต่อ อุตสาหกรรมดิจิทัล ได้ดีเพียงพอ รวมถึง กำลังแรงงาน หรือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ สามารถทำงานในสายงานดิจิทัลหรือดิจิตอลได้ยังอยู่ในสัดส่วนที่น้อย จากรายงานของ สำนักงานข้อมูลสถิติแห่งชาติ ในบทความก่อนหน้านี้ ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการและภาคการเกษตร และยังเป็นกลุ่มที่ยังต้องอาศัยแรงงานในปัจจัยการผลิตอยู่
สิ่งที่จำเป็นมากที่สุด คือ การวางแผนการศึกษา รวมถึง การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจการด้านดิจิทัลเพิ่มเติม หรือ การปรับเปลี่ยนจากทักษะที่มีอยู่สู่ทักษะใหม่ๆ (Re-Skills) เพื่อช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ดิจิทัล หรือ ดิจิตอล มากขึ้นก่อน เพราะ การเปลี่ยนอย่างทันทีย่อมทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้างกับประชากรและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่า
2.การให้ความร่วมมืออย่างตรงไปตรงมา อาจถูกเพิกเฉย หรือ ละเลย
ยกตัวอย่าง การให้ข้อมูลเบื้องต้นที่ถูกต้องแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น การให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการประเมินเบื้องต้นอย่างข้อ 3.) เรื่อง คิวอาร์โค้ด เพื่อนำหลักฐานที่ใช้ระบุข้อมูลสุขภาพ อาจถูกละเลยเมื่อให้ประชาชนทำเอง ด้วยข้ออ้างไม่เข้าใจ ทำไม่เป็น ไม่อยากทำ หรือ เลือกที่จะไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ปฏิบัติตามอย่างลงใจ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
หรือ การไม่ให้ความร่วมมือในนโยบายหยุดการทำงานจากสำนักงาน และเปลี่ยนมาใช้วิธีการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ของธุรกิจ หรือ บริษัทต่างๆ แม้ว่ากิจการของตนจะสามารถใช้นโยบายดังกล่าวได้ก็ตาม
3.บริการต่างๆ ในอุตสาหกรรมดิจิทัล ในปัจจุบัน เป็น ธุรกิจจากต่างประเทศ
แม้ว่าบริการต่างๆจะช่วยให้ชีวิตของเราสะดวกสบายมากขึ้น ช่วยให้เราสามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ แต่ เม็ดเงิน รวมถึง ฐานข้อมูล (Big Data) จากค่าบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการเหล่านี้ ยังคงไหลออกสู่ต่างประเทศอย่างมหาศาล แม้ว่าจะเป็น Freemium Model สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปก็ตาม แต่สำหรับธุรกิจจำเป็นต้องมีการจ่ายค่าบริการรายเดือน หรือ รายปี เพื่อใช้บริการในองค์กรขนาดใหญ่
อย่างที่อธิบายไปแล้วในสองบทความก่อนหน้านี้ว่า สถานการณ์โรคระบาดไวรัส “โควิด19” (COVID-19) กระทบทั้งภาคการนำเข้าส่งออก ภาคการท่องเที่ยว รวมถึง การบริโภคภายในประเทศ ซึ่งทำให้เราไม่มีตัวที่ช่วยพยุงภาพรวมของเศรษฐกิจไทยได้เลย ซึ่งจะไม่เหมือนกัน สถานการณ์สงครามการค้า (Trade War) ที่การบริโภคภายในประเทศยังมีส่วนช่วยสำคัญ
ดังนั้น การที่เม็ดเงินภายในประเทศไหลออกจากประเทศไปในทุกวันๆ ทุกเดือนๆ ย่อมไม่ส่งผลดี ต่อ การหมุนเวียนเงินในะรบบเศรษฐกิจ และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยไปด้วยเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม:
–Work From Home Platform | “แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน” สัญชาติไทย
–True VWORK แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน ในกลุ่ม True Virtual World
–SEO และ Organic Search ข้อดี-ข้อเสีย ต่อ ธุรกิจ SMEs
–พระราชกำหนด กู้เงิน หลักล้านล้านบาท รัฐบาล กู้เงินจากสถาบันการเงินใดได้บ้าง
สรุป:อุตสาหกรรมดิจิทัล ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย
แม้ว่าก่อนหน้านี้อาจจะไม่พยายามที่ทำความเข้าใจ หรือ มีการเปลี่ยนแปลง หรือว่า รับรู้ว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ ยังไม่ได้ดำเนินการ หรือ ไม่สามารถดำเนินการได้เท่าไหร่นัก แต่ สถานการณ์โรคระบาดไวรัส โควิด19 ทำให้หน่วยงาน บริษัท ธุรกิจ กิจการต่างๆ รวมถึงประชาชนถูกบังคับอย่างจำยอมให้เข้าสู่ระบบดิจิตอลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวจะมีข้อดีมากเพียงใด แต่การเปลี่ยนแปลงในทันที อาจส่งผลกระทบมากกว่า เนื่องจากความไม่พร้อมของภาพรวมภายในประเทศ ด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศที่ยังพึ่งพาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสัดส่วนที่มากเกินไป เมื่อเกิดปัญหาจึงยากที่จะรับมือได้
และในทางกลับกัน การที่หน่วยงาน ธุรกิจ ประชาชนทั่วไป ไม่เรียนรู้และไม่เตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานไม่สนับสนุนให้เกิดความรู้ความเข้าใจใหม่ๆเสียที ทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงาน ธุรกิจ ทำให้เกิดภาะหยุดชะงัก ไม่สามารถไปต่อไป รวมถึงส่งผลให้การเติบโตของประเทศไม่ได้เติบโตอย่างที่ควรเป็นได้เช่นกัน
ดังนั้น การผลักดันให้เกิด ธุรกิจใหม่ๆ สัญชาติไทย หรือ หรือมีบริษัทสัญชาติไทยถือหุ้นร่วมอยู่ ในอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่มีความพร้อม ย่อมเป็นผลดีกับเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้ในระยะยาว การสนับสนุนธุรกิจเกิดใหม่ในอุตสาหกรรมนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
หมายเหตุ : บทความนี้ เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวมุมมองหนึ่งในการวิเคราะห์เท่านั้น หากต้องการนำไปอ้างอิงประกอบการศึกษาสามารถทำได้ โดยผู้อ่านสามารถค้นหาบทความอื่นๆจากหลายๆ แหล่งที่มาเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน รวมถึงการศึกษาไม่มากก็น้อย
สำหรับผู้ให้บริการ เทคโนโลยีต่างๆ หรือ สตาร์ตอัพ ของประเทศไทย ที่ต้องการให้พูดถึงในบทความ สามารถติดต่อมาโดยตรง เนื่องจากผู้เขียนอ้างอิงจากผู้ให้บริการขนาดใหญ่ของโลกที่เป็นที่รู้จัก เพื่อประกอบความเข้าใจแก่ผู้อ่านให้เห็นภาพมากที่สุด
อ้างอิง:
– สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) | ETDA
– สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
– เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECO)
– Alibabagroup: Business Overview
– Tencent Group: Business Overview
– Google Research: Quantum Computing