พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน จำนวนเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท หลักล้านล้านบาท รัฐบาล กู้เงินมาจาก สถาบันการเงิน ใดบ้าง มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร มีความเสี่ยง ผลกระทบ อย่างไร นโยบายที่เยียวยา ผลกระทบ จาก โควิด19 (COVID-19)นโยบานการเงิน และนโยบายการคลัง กับ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน (Emergency Decree Raise Loans) หรือบางสื่อใช้ว่า พรก. กุ้เงิน เกี่ยวข้องกับ ผู้ประกันตน สมาชิกกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มากน้อยเพียงใด

พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน หลักล้านล้านบาท รัฐบาล อาจกู้เงินมาจากสถาบันการเงินใดได้บ้าง

การอ่าน พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงินของรัฐบาล เหมือนกับ การอ่านรายงานประจำปี และ งบการเงิน หรือ รายงานทางการเงินของนักลงทุน ในการลงทุนใน หุ้น เพราะ มันเกี่ยวข้องกับตัวเราทั้งทางตรง-ทางอ้อม จากการเชื่องโยงกันของ สถาบันการเงิน

แจมเพย์ และ สรุปเนื้อหา7บรรทัด ทำหน้าที่สืบค้น ค้นคว้า ตรวจสอบข้อมุล และ สรุปข้อมูลมาให้ทุกท่านได้อ่านกันเพลินๆ โดยจะพยายามอธิบายให้ง่ายที่สุด เห็นภาพที่สุด หรือ หากต้องการเนื้อหาสรุป ผู้อ่านสามารถ กดที่สารบัญนำทางไปยัง “สรุปเนื้อหา7บรรทัด โดย แจมเพย์” ได้ทันที


สารบัญ

พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท
พ.ร.ก. สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 5 แสนล้านบาท
พ.ร.ก. รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน  กองทุนรวมตราสารหนี้ (BSF) 4 แสนล้านบาท
รัฐบาล อาจกู้เงินจากสถาบันการเงินใดได้บ้าง
ข้อดี-ข้อเสีย ของ การดำเนินนโยบาย พ.ร.ก. กู้เงิน และนโยบายเสริมสภาพคล่อง
สรุปเนื้อหา7บรรทัด โดย แจมเพย์


แจ้งผู้อ่าน: แจมเพย์ และ สรุปเนื้อหา7บรรทัด ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงบุคคลใด หรือ มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองใดๆ แต่ การพูดถึงพระราชกำหนดฉบับใดนั้น จำเป็นต้องเอ่ยถึง รัฐบาลในขณะนั้น เพราะเกี่ยวข้องกับ วัตถุประสงค์ของการลงมติ เพื่อออกพระราชกำหนดนั้นๆ โดย แจมเพย์ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอเพียงห้อข้อ วัตถุประสงค์ พระราชกำหนดต่างๆ อาจกู้เงินจากสถาบันการเงินใดบ้าง ซึ่ง แจมเพย์ เองมีความสงสัยเช่นเดียวกับทุกท่าน และ นำเสนอข้อมูล เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษาแก่ผู้อ่าน

1. พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท โครงการ เยียวยาผลกระทบจาก โควิด19 (COVID-19) และดูแลเศรษฐกิจ รัฐบาลสมัย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 

พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท มีชื่อเต็ม คือ “พระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา ฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโคโรนาไวรัส ปี 2563 (2020)”

“Emergency Decree Authorising the Ministry of Finance to Raise Loans to Solve Problems, to Remedy And Restore the Economy And Society as Affected by the Coronavirus Disease Pandemic, B.E. 2563 (2020)”

พรก. กู้เงิน, emergency decree, government, loan, รัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้, BSF, ธปท

วัตถุประสงค์ ของ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจฯ กู้ยืมเงิน 1 ล้านล้านบาท มีดังนี้ 

  • แก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • ช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และ ผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

มาตรการของ พ.ร.ก หรือ พระราชกำหนด ดังกล่าว ประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก คือ

1.1 แผนงานสาธารณสุขและแผนงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ วงเงินรวม 6 แสนล้านบาท

  • เยียวยาประชาชน เกษตรกร และ ผู้ประกอบการ วงเงิน 555,000 ล้านบาท
  • ดูแลด้านสาธารณสุข วงเงิน 45,000 ล้านบาทพรก. กู้เงิน, emergency decree, government, loan, รัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้, BSF, ธปท

1.2 แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงินรวม 4 แสนล้านบาท

โดยครอบคลุมโครงการดูแลสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ ได้แก่ สนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชน และสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับพื้นที่


2.พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย เสริมสภาพคล่องด้วย สินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด (Soft Loans) แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) และภาคธุรกิจ วงเงิน 5 แสนล้านบาท


ถือเป็นการดึงสภาพคล่องจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาใช้ ในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่าง โควิด19 (COVID-19) ที่จำเป็นต้องเสริมสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ แต่อาจจะติดกฏเกณฑ์เดิมเกี่ยวกับการคงอัตราเงินคงคลัง เงินสดสำรองไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ของธนาคารพาณิชย์

จึงมีนโยบายให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย ปล่อยสินเชื่อแก่ธนาคารพาณิชย์ ด้วยดอกเบี้ยระหว่างกัน ร้อยละ 0.01 ต่อปี ผ่านตั๋วสัญญาใช้เงิน ภายในวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท จากนั้น ธนาคารพาณิชย์ก็จะไปปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) อีกทอดหนึ่ง ในอัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน ร้อยละ 2 ต่อปี (จากรูป มาตรา9 ด้านล่าง) เป็นการเสริมการลงทุนภาคเอกชนไปในตัวด้วยเช่นกัน

กล่าวคือ ในความเข้าใจของแจมเพย์ ยกตัวอย่างสมมติเช่น ธนาคารพาณิชย์ ควรมีเงินสดสำรองตามกฏหมาย ร้อยละ 10 จากทั้งหมด ไว้กับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน และปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ) โดยเงินเหล่านี้จะจัดอยู่ในหมวดหนี้สิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เตรียมพร้อมรับฝาก-ถอนออก เมื่อมีการดำเนินนโยบายทางการเงิน

ในสถานการณ์แบบนี้ ต้องนำเงินออกมาเพื่อเสริมสภาพคล่องในเศรษฐกิจ จึงออกพระราชกำหนด ให้นำเงินส่วนนี้ออกมาได้มากกว่าที่ควรจะเป็นตามกฏเกรณฑ์เดิม หรือ ลดสัดส่วนเงินสดสำรองลง นำมาดำเนินนโยบายภายในประเทศ ผ่าน สถาบันการเงินในประเทศ

และแทนที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) จะจำไปแจกเงินนี้กับประชาชนโดยตรง ซึ่งไม่ใช่อำนาจหน้าที่ จึงปล่อยสภาพคล่องออกไป ผ่านสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ด้วยรูปแบบสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loans) จะเป็นตัวที่ช่วยสร้างการหมุนเวียนทางการเงินให้แก่สถาบันการเงินจากปริมาณเงินที่มีอยู่ได้มากกว่า

พรก. กู้เงิน, emergency decree, government, loan, รัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้, BSF, ธปท

รวมถึง นโยบายการชะลอการชำระหนี้ โดยให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย สั่ง ธนาคารพาณิชย์ ชะลอการชำระหนี้และดอกเบี้ยของผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินในแต่ละแห่งไม่เกิน 100 ล้านบาท  โดยมิให้ถือว่าเจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ หรือ ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้


3.พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลัง ร่วม ธนาคารแห่งประเทศไทยออก มาตราการดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน ตั้ง กองทุนตราสารหนี้ (BSF) วงเงิน 4 แสนล้านบาท


พรก. กู้เงิน, emergency decree, government, loan, รัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้, BSF, ธปท

จากบทความ “สหกรณ์ออมทรัพย์ มีความเสี่ยง-ได้รับผลกระทบ หรือไม่ อย่างไร?” แจมเพย์ได้นำเสนอเรื่อง ตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่อาจมีผลกระทบและความเสี่ยง แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์จำนวนมาก แต่ไม่ได้ให้วิตกกังวลขนาดนั้น เพราะ สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ มีสถานะเป็น เจ้าหนี้ แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ การแห่ถอนเงินออกจากสถาบันการเงิน ด้วยความไม่เข้าใจต่างหาก

อีกทั้ง แจมเพย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้ จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตลาดหุ้นไทย ที่ออกวางจำหน่าย ในช่วงปี 2557 ถึง 2559 มากมาย ที่กำลังจะครบกำหนดการชำระคืนแก่เจ้าหนี้ ช่วงปี 2563 ถึง 2565 ซึ่งในบทความดังกล่าว แจมเพย์ ใช้คำว่า “จังหวะนรก” ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น

ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ การที่เราวางแผนไว้แล้วว่า ถ้าเราได้เงินก้อนนี้คืน เราจะนำไปทำอะไรบ้าง และต้องการใช้เงินก้อนนั้น ในขณะที่ ลูกหนี้ไม่มีเงินมาคืนเราตามกำหนด ถึงแม้ว่านำมาคืนแล้วเราอาจจะให้ยืมเงินต้นต่อเนื่องต่อไปและนำมาเฉพาะผลตอบแทนก็ตาม (ตาม มาตรา 14 วงเล็บ 1) แต่ตามมารยาทควรจะคืนให้ครบตามกำหนดก่อน เป็นต้น

และหากไม่มีการออกพระราชกำหนด เพื่อรักษาเสถียรภาพและสภาพคล่องในตลาดการเงิน อย่างตลาดตราสารหนี้ไว้ อาจส่งผลกระทบและสร้างความเสียหาย กับระบบการเงินของประเทศได้  เพราะ มีสถาบันการเงินในประเทศ นักลงทุนรายย่อย ประชาชน ลงทุนอยู่ใน ตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้ ในตลาดตราสารหนี้จำนวนมาก มูลค่ารวมกันหลักล้านล้านบาท และมีกองทุนตราสารหนี้บางกองทุนเปิดบางส่วน ต้องปิดตัวลงไปบางส่วน จากความต้องการถือเงินสด หากปล่อยให้เป็นแบบนั้นไปเรื่อยๆ สถานการณ์จะไม่ต่างอะไรกับการล้มของระบบการเงิน และบริษัทจดทะเบียน ในท้ายที่สุดก็จะมากระทบการจ้างงานของบริษัท และตัวเราทุกคนอยู่ดี

(ตอนนี้ แจมเพย์ กำลังเขียนบทความ ตราสารหนี้ และ สลากออมทรัพย์ ซึ่งจะเผยแพร่หลังจากบทความนี้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น ผู้อ่านสามารถติดตามอัพเดต ได้ที่ เว็บไซต์แจมเพย์ หรือ สรุปเนื้อหา7บรรทัด หรือ Jampay ใน Facebook)

จากบทสัมภาษณ์ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน ในรายการกาแฟดำ ทางช่อง MCOT HD ตอน เปิดเงื่อนไขมหาโหดกองทุน BSF ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ..

กองทุน BSF ทำหน้าที่เหมือน สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ในตลาดเงินฝาก ที่ดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในแก่นักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เพราะสิ่งที่น่ากลัวคือ การที่ประชาชนแห่ถอนเงินออกจากสถาบันการเงิน เพราะต้องการถือเงินสด นโยบายเป็นเหมือน “หลังพิง” เพื่อที่ให้บริษัทจดทะเบียนพยายามอย่างเต็มที่ก่อน การช่วยเหลือจากกองทุนเป็นสิ่งสุดท้าย และเตรียมพร้อมไว้รองรับสถานการณ์ในอนาคต โดยปัจจุบันกองทุนฯ ยังมิได้ดำเนินการซื้อตราสารหนี้ใดเลย และสถานการณ์ความเชื่อมั่นในตลาดตราสารหนี้เริ่มกลับมาดีขึ้น


รัฐบาล กู้เงินจากไหน หรือ จากสถาบันการเงินใดได้บ้าง


หลังจากพยายามหาเอกสาร ข้อมูลการกู้เงินของพระราชกำหนดนี้ ตามแผนงาน ยังไม่พบข้อมูล แต่ในมุมมอง แจมเพย์ ให้ความเห็นว่า .. ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนๆ ก็ตาม อาจกู้มาจาก “สถาบันการเงินในประเทศ” น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องกู้จากต่างประเทศ ก็สามารถทำได้

ยกตัวอย่าง เงินจาก กองทุนประกันสังคม ที่ถูกพูดถึงอย่างมาก แค่กองทุนเดียว มีเม็ดเงินรวมจำนวนกว่า 2.1 ล้านล้านบาท สมมติว่า แปรสินทรัพย์ทั้งหมดเป็น เงินสด และไม่ได้นำเงินสดนั้นไปลงทุนใดๆ เงินสดจาก กองทุนประกันสังคม เพียงกองทุนเดียวก็เพียงพอสำหรับการกู้ในครั้งนี้

ยังมี กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมระยะยาว และกองทุนต่างๆ ที่พร้อมลงทุนในระยะยาว รวมจำนวนกันมีหลักหลายล้านล้านบาท

แต่ตามนโยบายหรือแผนงาน คงมีการกระจายกู้ยืมจากหลายๆ กองทุน หรือ สถาบันการเงิน โดยไม่ให้กองทุนใดกองทุนหนึ่ง หรือ สถาบันการเงินใด ถูกกู้ยืมเงินในสัดส่วนที่มากเกินไป เพื่อไม่ให้สถาบันการเงินหรือกองทุนขาดสภาพคล่อง

และอาจไม่จำเป็นต้องระบุว่า รัฐบาลไทย กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ สถาบันใดบ้าง เพื่อป้องกันความวิตกกังวล และความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินนั้นๆ คล้ายกับ เหตุการณ์ที่เมื่อ ประชาชนทราบข่าวว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ของตน ถือหุ้นกู้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ Thai Airways (THAI) แล้วแห่กันไปไถ่ถอนเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ของตนออกมาจนหมด เพราะ เกรงว่าตนจะสูญเสียเงินต้น หรือ เงินออมทรัพย์สะสมของตน นั่นเอง

สถาบันการเงินในประเทศ มีใครบ้าง 

ข้อมูลจาก ประกาศ กำหนดนิยาม ผู้ลงทุนสถาบัน ผุ้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และ ผู้ลงทุนรายใหญ่  โดย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้กำหนด สถาบันการเงินในประเทศ ดังนี้

พรก. กู้เงิน, emergency decree, government, loan, รัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้, BSF, ธปท

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารพาณิชย์
  • บริษัทเงินทุน
  • บริษัทประกันชีวิต
  • กองทุนประกันสังคม
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนรวม ที่ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
  • สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
  • อื่นๆ

ลองนึกภาพง่ายๆ ตามในบทความ “ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม ได้รับผลกระทบอะไร?” แจมเพย์ ได้ทิ้งท้ายคำถามไว้ว่า .. การที่ให้ สำนักงานประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ สถาบันการเงินอื่นๆ นำเงินทั้งหมดมาแจกเงินคืน หรือ ปล่อยกู้ กับสมาชิก ประชาชน หรือ ผู้ประกันตน โดยตรง อาทิ เงินประกันสังคม จำนวน 2.1 ล้านล้านบาท เงินสำรองธนาคารพาณิชย์ เงินสำรองธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

หรือ นำเงินจำนวนดังกล่าว ให้รัฐบาลกู้เงิน ประกันสังคม หรือ สถาบันการเงินอื่นๆ ไป ดำเนินนโยบาย ไม่ว่าจะแจกเงินเยียวยา เงินเยียวยาเกษตรกร ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า พันธบัตร ตั๋วเงิน หรือ เครื่องมือทางการเงินอื่นๆ แล้วให้สถาบันเหล่านี้รับผลตอบแทนในระยะยาวไปเรื่อยๆ การตัดสินใจเลือกแบบใด จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่ากัน แบบไหนมีความเสี่ยงได้เงินคืนมากกว่ากัน

ในสถานการณ์ที่ความสามารถในการชำระหนี้ในระบบเศรษฐกิจอาจลดต่ำลงในสภาวะเช่นนี้ ที่แจมเพย์ได้อธิบายไว้ในบทความ “ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

กล่าวคือ รัฐบาล กู้เงินผ่านสถาบันการเงินในประเทศ เพื่อนำเงินไปดำเนินนโยบายการคลัง แทนที่สถาบันการเงินจะแจกเงินกับประชาชนโดยตรง ก็ให้รัฐบาลกู้ยืมเพื่อดำเนินนโยบายการใช้จ่ายจากภาครัฐต่างๆ เพื่อสร้างการหมุนเวียนเงินในระบบการเงินและสถาบันการเงิน อีกทั้ง สถาบันการเงินเหล่านั้น ได้รับผลตอบแทนในระยะยาว


ข้อดี (Pros) ของนโยบาย การใช้จ่ายของรัฐ (G) ในสถานการณ์ โควิด19 จาก พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน และ เสริมสภาพคล่อง

1.เงินถึงมือประชาชนโดยตรง โดยไม่ผ่านใครเลย จากนโยบายเยียวยา และ เสริมสภาพคล่องในระบบการเงินและเศรษฐกิจ จากธนาคารแห่งประเทศไทย

1.1 แม้ว่า แจมเพย์ จะไม่ค่อยเห็นด้วยกับนโยบายการแจกเงิน แต่ในสถานการณ์แบบนี้ นโยบายจะทำให้มีเงินสดถึงมือประชาชนโดยตรง วงเงิน 5 แสนล้าน โดยที่เงินไม่ผ่านมือใครเลย ก็ช่วยลดการทุจริตระหว่างขั้นตอนไปได้บ้าง

1.2 นโยบายการเงิน เกี่ยวข้องกับ การเพิ่มปริมาณเงินเข้ามาในระบบเพื่อการเสริมสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ โดย การปล่อยเงินออกสู้ธนาคารพาณิชย์ และ คำสั่งชะลอการชำหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ส่งเสริมภาคการลงทุนจากเอกชน ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

2.ในมุมมองแจมเพย์ มองว่า ไม่ต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ สามารถกู้ได้จากสถาบันการเงินในประเทศ

แม้จะยังไม่สามารถสิบค้นเอกสาร หรือ แผนงานการกู้เงินได้ แต่มองว่า จากตัวเลขมูลค่าเม็ดเงินโดยรวมของ สถาบันการเงินภายในประเทศไทย มีเงินเพียงพอให้รัฐบาลไทยกู้ยืมเงินเพื่อนำไปดำเนินนโยบายการคลัง

โดยอนุมานจาก กรณีว่า หาก แปรสาพภาพสินทรัพย์ทั้งหมด เป็นเงินสด และไม่ลงทุนใดๆเลย เพื่อนำมาให้รัฐบาลไทยกู้ผ่านเครื่องมือทางการเงิน ยกตัวอย่าง กองทุนประกันสังคม จาก สำนักงานประกันสังคม ที่มีมูลค่าประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท เป็นต้น เพียงแค่กองทุนเดียว ก็มีเพียงพอกับการกู้เงินหนึ่งล้านล้านบาทได้แล้ว

3.สถาบันการเงินได้รับผลตอบแทนระยะยาว

หากรัฐบาลไทยกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยเป็นหลัก นอกจากจะสร้างการหมุนเวียนเงินในระบบการเงิน ยังจะทำให้สถาบันการเงินในประเทศ ได้รับผลตอบแทนในระยะยาว จากดอกเบี้ยในการกู้ยืมครั้งนี้ โดยสถาบันต่างๆ ยังคงมีเงินต้น จำนวนเท่าเดิม

ยกตัวอย่างเช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนรวมระยะยาว บริษัทประกันภัย เป็นต้น ทำให้กองทุนหรือสถาบันการเงินเหล่านี้มีผลตอบแทน และเงินเพียงพอสำหรับดำเนินการเกี่ยวกับสมาชิก หรือ ผู้ประกันตน ได้ในระยะยาว

ข้อกำจัด (Cons) ของนโยบาย การใช้จ่ายของรัฐ (G) ในสถานการณ์ โควิด19 จาก พ.ร.ก.กู้เงิน และ เสริมสภาพคล่อง

1.แผนงานที่อาจไม่ตรงเป้าหมาย หรือ อาจไม่เกิดประโยชน์งอกเงย จากนโยบายการใช้เงินของรัฐบาล

นโยบายเยียวยาแจกประชาชน ถึงมือประชาชนโดยตรง มีกรอบวงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่า ประชาชนจะจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยเพียงใด มีรอบการหมุนเวียนมากน้อยเพียงใด

รวมถึง นโยบายการเงิน ด้วยการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อนำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และ กองทุนตราสารหนี้ก็มีข้อบังคับการลงทุนในตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้ อย่างชัดเจน (ภาพด้านบน – หมวดที่ 2 กรอบการลงทุน) ชัดเจนว่านำเงินไปทำอะไร หรือ รองรับอะไรบ้าง

แต่ นโยบายที่ควรเป็นที่ถกเถียงและวิตกกังวลจริงๆ คือ นโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจ 4 แสนล้าน (ข้อ 1.2) เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่างหาก ที่น่าติดตามและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เพราะ หลายๆ ท่านให้ความเห็นว่า ระยะเวลาที่จะสร้างสรรค์โครงการใหม่ต่างๆ มีจำกัด อาจทำให้โครงการต่างๆ ดำเนินไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และ ไม่สามารถฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตรงจุด

ยกตัวอย่าง การจัดทำนโยบายต่างๆ กิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการ มีความคุ้มค่า ผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการเป็นอย่างไร มีประสิทธิภาพอย่างไร สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด มีผลลัพธ์ที่จับต้องได้เป็นรูปธรรมมากน้อยเพียงใด เป็นช่องว่างที่เอื้อให้มีการทุจริตหรือไม่ เป็นต้น


สรุปเนื้อหา7บรรทัด โดย แจมเพย์ | เรื่อง พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน รัฐบาล อาจกู้มาจากสถาบันการเงินใดบ้าง 

พระราชกำหนด กู้เงิน, พรก. กู้เงิน, emergency decree, government, loan, รัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้, BSF, ธปท, เงินกู้ 1.9 ล้านล้าน, เงินกู้ 1 ล้านล้าน, หนี้สาธารณะ, กองทุน bsf, กองทุน bsf คือ, bsf ธปท, มาตรการ bsf, bsf คืออะไร, พร ก bsf, กองทุน bsf คือ อะไร, bsf ย่อมาจาก, มาตรการเยียวยา, มาตรการเยียวยา 5000 บาท, ตรวจสอบสถานะเราไม่ทิ้งกัน, www.เราไม่ทิ้งกัน.com ลงทะเบียน, www.เราไม่ทิ้งกัน.com เช็คสิทธิ์, www เราไม่ทิ่งกัน com, เราไม่ทิ้งกัน www.com เช็คสถานะ, www.เราไม่ทิ้งกัน.com ลงทะเบียนรับเงิน 5 000 คลิกที่นี่, เช็คสถานะเงินเยียวยา, เงินชราภาพประกันสังคม 2563, เช็คเงินประกันสังคม, เช็คเงินชราภาพประกันสังคม, เงินสมทบประกันสังคม, คืนเงินประกันสังคม, เบอร์ประกันสังคม, เช็คเงินออม ประกันสังคม, เช็ค เงินสมทบประกันสังคมเกิน, เงินประกันสังคมเข้าวันไหน, สถาบันการเงิน, ความสําคัญของสถาบันการเงิน, สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร, ตัวอย่างสถาบันการเงินในท้องถิ่น, สถาบันการเงิน เนื้อหา, สถาบันการเงินเฉพาะกิจ, ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน, สถาบันการเงิน ภาษาอังกฤษ, หากประเทศไทยไม่มีสถาบันการเงินจะมีผลอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ, มาตรการเยียวยา เอาเงิน, กระตุ้นเศรษฐกิจ
สรุปเนื้อหา7บรรทัด ขอสรุปให้ดังนี้ว่า ..

พระราชกำหนด หรือ พ.ร.ก. กู้เงิน ให้อำนาจกระทรวงการคลังฯ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ดำเนินนโยบายการคลัง เช่น การเยียวยาประชาชน การดูแลระบบสาธารณสุข รวมประมาณ 6 แสนล้านบาท การทำโครงการต่างๆ สนับสนุนและฟื้นฟูเศรษฐกิจ วงเงินรวม 4 แสนล้านบาท

เนื่องจากยังไม่มีเอกสารแผนงาน และสถาบันการเงินที่รัฐบาลไทยจะกู้ยืมเงิน แต่ในความเห็นและความเข้าใจจากการค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อ สถาบันการเงิน ของ แจมเพย์ และ สรุปเนื้อหา7บรรทัด มองว่า รัฐบาลไทย สามารถกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศไทยได้ อาทิ กองทุนระยะยาวต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าเม็ดเงินรวมกันเพียงพอ และเป็นการสร้างการหมุนเวียนเงินในระบบการเงินได้มากกว่า

ส่วนอีก 9 แสนล้านบาท เป็นนโยบายเกี่ยวกับการเสริมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นแก่สถาบันการเงิน นักลงทุน และประชาชน โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านเครื่องมือทางการเงิน และนโยบายการเงิน

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จาก แจมเพย์ (Jampay)

, เงินกู้ 1.9 ล้านล้าน, เงินกู้ 1 ล้านล้าน, หนี้สาธารณะ, กองทุน bsf, กองทุน bsf คือ, bsf ธปท, มาตรการ bsf, bsf คืออะไร, พร ก bsf, กองทุน bsf คือ อะไร, bsf ย่อมาจาก, มาตรการเยียวยา, มาตรการเยียวยา 5000 บาท, ตรวจสอบสถานะเราไม่ทิ้งกัน, www.เราไม่ทิ้งกัน.com ลงทะเบียน, www.เราไม่ทิ้งกัน.com เช็คสิทธิ์, www เราไม่ทิ่งกัน com, เราไม่ทิ้งกัน www.com เช็คสถานะ, www.เราไม่ทิ้งกัน.com ลงทะเบียนรับเงิน 5 000 คลิกที่นี่, เช็คสถานะเงินเยียวยา, เงินชราภาพประกันสังคม 2563, เช็คเงินประกันสังคม, เช็คเงินชราภาพประกันสังคม, เงินสมทบประกันสังคม, คืนเงินประกันสังคม, เบอร์ประกันสังคม, เช็คเงินออม ประกันสังคม, เช็ค เงินสมทบประกันสังคมเกิน, เงินประกันสังคมเข้าวันไหน, สถาบันการเงิน, ความสําคัญของสถาบันการเงิน, สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร, ตัวอย่างสถาบันการเงินในท้องถิ่น, สถาบันการเงิน เนื้อหา, สถาบันการเงินเฉพาะกิจ, ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน, สถาบันการเงิน ภาษาอังกฤษ, หากประเทศไทยไม่มีสถาบันการเงินจะมีผลอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ, มาตรการเยียวยา เอาเงิน, กระตุ้นเศรษฐกิจ

แจมเพย์ วิเคราะห์บนพื้นฐานเอาตัวเองไปมองภาพรวมทั้งหมดในประเทศ โดยปราศจากทัศนคติด้านการเมือง ว่า .. สิ่งนี้ทำได้หรือไม่ ทำแล้วดีหรือไม่ อะไรที่เป็นความเสี่ยง ตามหลักการแล้วสามารถทำได้หรือไม่ เป็นต้น คล้ายกับว่า อาจารย์ให้นิสิตค้นคว้าว่า พ.ร.ก. มันกู้มาจากสถาบันใดได้บ้าง มีข้อดี-ข้อเสีย มีความเสี่ยง จุดที่ควรสังเกตอย่างไร ซึ่งบทความจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา

รัฐบาล จะเป็นอย่างไร จะดีหรือไม่ดี เราต้องมั่นตรวจสอบ การดำเนินการและนโยบายต่างๆ และเป็นเรื่องของรัฐบาล  การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี ถ้าเรารู้ว่า เราสามารถใช้หนี้สินคืนได้ ไม่จ่ายดอกเบี้ยมหาโหดจนเกินไป สามารถติดตามตรวจสอบได้ ถ้ารัฐบาลไม่ดี การเลืองตั้งสมัยหน้าก็เปลี่ยนผ่าน ด้วยเครื่องมือที่เรีกยว่า การเลือกตั้ง และ ระบบรัฐสภา

แต่สถาบันการเงินต่างๆ ที่กล่าวไป ยังคงต้องมีอยู่ต่อไปเพื่อประเทศชาติและประชาชน และก่อตั้งมาเป็นเวลานาน ผ่านมาทุกยุค ทุกรัฐบาล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือแม้แต่ บริษัทประกันภัย เป็นต้น เรื่องนี้ผู้อ่านต้องแยกแยะให้ออก และเข้าใจเรื่อง นโยบายการเงิน และ นโยบายการคลัง

สถานการณ์แบบนี้ เหมือนเรามีกระสุนที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจที่จำกัด การกู้เงินเป็นสิ่งที่กระทำได้ มันเป็นเรื่องปกติ ใครๆ ก็น่าจะทำ แต่ครั้งนี้ เราจำเป็นต้องใช้กระสุนนั้นให้คุ้มค่าที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และเราต้องการคนที่เข้าใจมาบริหาร แผนคืออะไร อีกทีมเข้ามาควบคุม ตรวจสอบ ดูแลให้กระสุนนั้นลงไปทั่วทั้งเศรษฐกิจของประเทศ ตรงจุดจริงๆ ไม่ใช่ยิงไปไหนก็ไม่รู้ก็ไม่คุ้มค่า เป็นต้น อยากให้เงินนี้มันถูกใช้ไปอย่างคุ้มค่าจริงๆ 🧡

ยกตัวอย่าง บทความ วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร? ที่ว่า แจมเพย์ อธิบายว่า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยอาจกำลังมีปัญหา และไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

และสมมติว่า ผู้ประกอบวิสาหกิจ  ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) นำเงินที่ได้บางส่วนไปโฆษณาออนไลน์ในแพลตฟอร์มโดยตรง เงินนั้นก็จะไหลออกจากระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยไปง่ายๆ แจมเพย์ ได้อธิบาย และแนะนำแนวทางไว้ในบทความ “Influencer Marketing กับ เศรษฐกิจไทย

อ้างอิง:
– รายงานประจำปี 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทย
พระราชกำหนด กู้เงิน 2563 กรณีสถานการณ์โรคระบาดโคโรนาไวรัส โควิด19 (COVID-19)(ฉบับภาษาอังกฤษ)
พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบ การเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๓
https://www.facebook.com/patricia.mongkhonvanit/posts/10158627599852280
เปิดเงื่อนไขมหาโหดกองทุน BSF