Influencer Marketing กับ เศรษฐกิจไทย .. กลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy) ที่อาศัย “อินฟลูเอนเซอร์” (Influencers) หรือ ผู้มีอิทธิพลทาง การตลาด ในการ ประชาสัมพันธ์ (PR) โปรโมท ธุรกิจ สินค้า สร้างการรับรู้ (Brand Awareness)
“การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์” (Influencer Marketing) กับ “เศรษฐกิจไทย” (Thailand Economy)
หลังจากที่ได้เขียนบทความเรื่อง “วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?” “ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย” “ขายของออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ .. ทำไมยากขึ้นเรื่อยๆ?” และ “อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร” ไปก่อนหน้านี้
จึงได้เล็งเห็นความสัมพันธ์ที่ดี และความสำคัญของการทำ การตลาด โฆษณา และ ประชาสัมพันธ์ ธุรกิจหรือสินค้า ในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ “การตลาดแบบ อินฟลูเอนเซอร์”
แล้วการ “การตลาดแบบ อินฟลูเอนเซอร์” คือ อะไร สามารถมองภาพร่วมกับ ระบบเศรษฐกิจไทย (Thailand Economy) ได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย ..
- แจมเพย์ (Jampay) เปิดพื้นที่ให้ธุรกิจต่างๆ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ฟรี!
- การเลือกตั้ง ส่งผลดีกับ เศรษฐกิจ อย่างไร?
- SEO และ Organic Search ข้อดี-ข้อเสีย ต่อ ธุรกิจ SMEs
สารบัญ
1.Influencer Marketing คือ อะไร
2.วิถีชีวิต (Lifestyle) และ การหมุนเวียนของเงิน (Velocity of Money) ในระบบ เศรษฐกิจ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
3.ข้อดี ของ Influencer Marketing ต่อ เศรษฐกิจไทย
4.ข้อจำกัด ของ Influencer Marketing ต่อ เศรษฐกิจไทย
5.สรุป:ภาพรวม Influencer Marketing กับ เศรษฐกิจไทย
Influencer Marketing คือ อะไร
อินฟลูเอนเซอร์ หรือ Influencer คือ “ผู้ที่มีอิทธิพลต่อผู้อื่น” ซึ่งในเชิงการตลาด ย่อมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับ บริษัทธุรกิจ แบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือ สินค้าและบริการ ที่จะสามารถบอกกล่าว โน้มน้าว สื่อสาร ไปยังกลุ่มเป้าหมาย หรือ ผู้บริโภค หรือ ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นกลุ่มลูกค้าของตน หรือ สร้างการรับรู้ภายในสังคมใดสังคมหนึ่งได้ โดยการอาศัยผู้ที่มีอิทธิพล หรือ อินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้เป็นช่องทางหนึ่งในการดำเนินการทางการตลาด
โดยอาจเป็นใครก็ได้ เช่น พนักงานที่สามารถโน้มน้าวลูกค้าได้อย่างอยู่หมัด ผู้พูดที่สามารถดึงความสนใจผู้ฟังได้ หากเป็น “อินฟลูเอนเซอร์บนสื่อสังคมออนไลน์” อาจถูกเรียกว่า “Social Media Influencers” หรือ ในประเทศไทย เรียกว่า “เน็ตไอดอล”
Influencer Marketing หรือ การตลาดแบบ อินฟลูเอนเซอร์ คือ กลยุทธ์การตลาดวิธีหนึ่งที่อาศัย ผู้ที่มีอิทธิพลต่อผู้อื่น หรือ อินฟลูเอนเซอร์ ในการสื่อสารทางการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายที่บริษัท ธุรกิจ หรือ แบรนด์สินค้า ต้องการจะสื่อสาร
วิถีชีวิต (Lifestyle) และ การหมุนเวียนของเงิน (Velocity of Money) ในระบบ เศรษฐกิจ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ รูปแบบการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป จากการมาถึงของ ธุรกิจสื่อสังคมออนไลน์ และ ธุรกิจดิจิทัล-ดิจิตอล และ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คน (Customer Behaviors) และ วิถึชีวิต (Lifestyle)
ยกตัวอย่าง “การโฆษณาในโทรทัศน์” (TV Advertising) ที่ในอดีต “ผู้ลงโฆษณา” (Advertisers) แบรนด์สินค้าและบริการเจ้าใหญ่ๆ มักลงโฆษณากับเจ้าของรายการ หรือ เจ้าของช่อง เรียกว่า “ผู้เผยแพร่” (Publishers)
ขณะที่แบรนด์เล็กๆ ที่ไม่สามารถลงโฆษณากับช่องทางหลักได้ อาจไปทำการตลาดในรูปแบบอื่นๆ เช่น ใบปลิว แผ่นผับ (Brochures) งานมหกรรมแสดงสินค้า (Exhibitions) หรือ ช่องทางออฟไลน์อื่นๆ ที่ผู้จะมีบริษัทที่ได้รับผลประโยชน์ เช่น บริษัทผลิตสื่อโฆษณาออฟไลน์ อย่าง โรงพิมพ์ ร้านป้ายไวนิล เป็นต้น
และ ผู้ชม (Audiences) สามารถรับชมสิ่งต่างๆ ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถ “กดข้ามโฆษณา” ทำได้เพียงการเปลี่ยนช่อง หรือ พักชมไปชั่วชณะหนึ่ง หรือ ไม่สามารถเลือกชมรายการได้ตามใจชอบ (On Demanding)
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, LINE และ Pantip เป็นต้น หรือ ผู้ให้บริการวิดีโอคอนเทนต์ เช่น YouTube, Netflix, LINE TV, WeTV, VIU เป็นต้น
เป็นผู้มีอำนาจต่อรอง และมีอิทธิพลต่อผู้ใช้งาน ในตลาดมากกว่า อุตสาหกรรมโทรทัศน์ เพราะ ผู้คนต่างใช้เวลาส่วนใหญ่ อยู่ในแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะธรรมดา สำหรับการเปลี่ยนแปลง ที่ผู้ผลิตเนื้อหาต่างๆ รวมถึง ผู้ผลิตชิ้นงานสื่อโฆษณาต่างๆ จำเป็นต้องย้ายตามฐานผู้ชมของตนไปยังแพลตฟอร์มเหล่านี้
แต่ สิ่งหนึ่งที่เราอาจจะไม่ได้คำนึงถึงนั่น คือ บริษัท ธุรกิจ นักการตลาด (Marketer) หรือ แบรนด์สินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ จำเป็นต้องแสวงหาหนทางใหม่ๆ ลงโฆษณากับแพลตฟอร์มต่างๆ
เพื่อการเข้าถึงผู้ใช้งาน (Reaching) หรือ การรับรู้และจดจำแบรนด์ของตน (Brand Awareness) ด้วย Branding Marketing เพื่อสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์หรือตราสินค้า (Brand Equity) หรือ สร้างกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Lead Generation) ด้วยเครื่องมือต่างๆ สิ่งเหล่านี้เอง เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายและงบประมาณต่างๆ ที่ถูกใช้จ่ายออกมา เป็นส่วนหนึ่งทำให้การหมุนเวียนของเม็ดเงินในประเทศเปลี่ยนไป
หรือ การรับชมแบบไม่มีโฆษณาด้วยโมเดล สมาชิกรายเดิอน (Premium Users) .. แน่นอนว่า สัดส่วนอาจจะไม่สูงมากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจไทยเช่นกัน
ซึ่งหาก เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้คน ธุรกิจ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จากออฟไลน์ สู่ ออนไลน์และดิจิทัล-ดิจิตอล ไปพร้อมกันทั้งหมด อาจจะไม่ได้มีปัญหากับภาพรวมของเศรษฐกิจภายในประเทศ
แต่ ประเทศไทยเอง แม้ว่า จะมีสัดส่วนผู้ใช้งานและระยะเวลาการใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก แต่ เราก็ยังคงเป็น “ประเทศผู้ใช้งาน” “จ่ายค่าบริการ” และ “จ่ายส่วนแบ่งทางการตลาด” อยู่เหมือนเดิม
ทำให้ยังขาด ผู้ให้บริการหรือธุรกิจใหม่ๆ รวมถึง ผู้มีความรู้ความสามารถ ใน อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industries) ที่จะมาเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง และ ทำให้เม็ดเงินสามารถหมุนเวียนในประเทศได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
และอะไรก็ตามที่ยังมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยและจำกัด ย่อมทำให้ อัตราราคาค่าบริการต่อหน่วยยังอยู่ในระดับที่แพงเมื่อเทียบกับความสามารถในการใช้จ่าย ก็ยังทำให้เข้าไม่ถึงกลุ่มผู้คนส่วนใหญ่เช่นกัน เช่น ตัวแทนผู้ให้บริการเกี่ยวข้องกับบริการดิจิทัลต่างๆ (Digital Agencies)
และ ด้วยแพลตฟอร์มเหล่านี้ รวมถึงแพลตฟอร์มผู้ให้บริการในด้านอื่นๆ เป็นแพลตฟอร์มระดับโลกจากต่างประเทศ ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น มีส่วนแบ่งในโครงสร้างต้นทุนสินค้าและบริการมากขึ้น เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในชีวิตมากขึ้น มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิด การไหลออกของเม็ดเงินภายในประเทศ (Cash Outflows)
นั่นเป็นคำตอบว่า ทำไม ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดทรัพย์ต่างประเทศ อาจจะชะลอตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากผลกระทบและความต้องการถือเงินสดในระยะสั้น เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว แต่ ภาพรวมในระยะยาวยังคงเติบโตอยู่ตลอดเวลา เพราะ ยังสามารถเข้าไปสร้างรายได้จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภายในประเทศของตนเองเท่านั้น
ดังนั้น ความเข้าใจในเรื่อง Money Multiplier Effect และ Velocity of Money ในทางเศรษฐศาสตร์ หรือ ความเข้าใจรูปแบบการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจรูปแบบเดิม อาจจะไม่เหมือนเดิม และจำเป็นต้องทำความเข้าใจใหม่ก็ได้เช่นกัน
เพราะ มาตราการในการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ การประเมินการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจอาจเปลี่ยนไป เช่น การลดสัดส่วนเงินสดสำรอง เพื่อเพิ่มปริมาณเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ การอัดฉัดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่รูปแบบของการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป มีตัวกลางในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในระบบเศรษฐกิจมากมาย กล่าวคือ ตัวกลางเหล่านี้ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามามีส่วนแบ่งในเม็ดเงิน ทดแทน ตัวกลางในประเทศอื่นๆ ในโครงสร้างภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น รอบของการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจอาจจะไม่เหมือนเดิม เช่น อาจประเมินจำนวนรอบของการหมุนเวียนเงินไว้ที่ 3 รอบ ก็อาจจะลดลงเหลือ 2 รอบ และ ศักยภาพที่จะสร้างผลตอบแทนแบบทวีคุณอาจะไม่เท่าเดิมได้เช่นกัน
ข้อดี ของ Influencer Marketing ต่อ เศรษฐกิจไทย
1.สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ผ่านการทำตลาด ด้วย อิทธิพลของ “อินฟลูเอนเซอร์” (Influencers) กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนสามารถเลือกรับชมที่สิ่งที่ตนเองสนใจได้ตามใจชอบ คนบางคน อาจจะไม่ดูรายการอื่นเลย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ชื่นชอบดูซีรีส์ ก็มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายในแพลตฟอร์มนั้นๆ บางคนดู Netflix แบบทั้งวันรวดเดียวจบ บางคนเข้า Facebook ไม่กี่ครั้งในหนึ่งวัน หรือ บางคนก็อยู่ในหน้า Facebook Watch ได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงผ่านการเลื่อนดูวิดีโอต่างๆ ไปเรื่อยๆ
เมื่อความสนใจของผู้คนแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้ที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้งาน จึงแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ยูทูบเบอร์ (Youtubers) นักแคสเกมส์ (Game Casters) บิวตี้บล็อกเกอร์ (Beauty Bloggers) เป็นต้น
หรือบางคน เมื่อบุุคลที่ตนเองติดตามลงรูป หรือ เนื้อหาใหม่ๆ มักจะมีความสนใจ (Interest) และมีส่วนร่วม (Engage) ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) มากกว่า คนอื่นๆ
นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้งานที่มีผู้ติดตาม สามารถกลายมาเป็น อินฟลูเอนเซอร์ เพื่อสร้างรายได้ได้เช่นกัน แม้จะไม่ได้มีเนื้อหาใดๆ เป็นของตนเอง
ในอดีต อินฟลูเอนเซอร์อาจจะเป็นดาราที่มีชื่อเสียง นักร้องดัง หรือ บุคคลในวงการบันเทิงที่เป็นที่รู้จัก เพียงอย่างเดียว แต่ ในปัจจุบัน อาจมีบุคคลที่มีอิทธิพลต่อผู้อื่นได้เช่นกันตัวอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว
การทำการตลาด เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจว่า “สิ่งใด” หรือ “บุคคลใด” ที่มีอิทธิพล (Influence) ต่อผู้ใช้งานหรือผู้ติดตามมากที่สุด และเลือกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำแผนการตลาด
อย่างที่ได้อธิบาย “ขายของออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ .. ทำไมยากขึ้นเรื่อยๆ?” และ “ธุรกิจ Freemium Model รายได้มาจาก Premium Users มากที่สุดจริงหรือ?” ไปแล้วถึงภาพรวมที่เกิดขึ้น
และ “อินฟลูเอนเซอร์” ย่อมได้รับค่าตอบแทนในรูป “ส่วนแบ่งค่าโฆษณา” และ “การสนับสนุนโดยตรง” จากแบรนด์ต่างๆ ที่มี งบประมาณในการโฆษณา
และ เมื่อมี อินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น ถือเป็น “การกระจายรายได้” (Income Distribution) ภายในประเทศ อย่างหนึ่ง มากกว่า การอัดฉัดเข้าแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งเพียงอย่างเดียว
2.อินฟลูเอนเซอร์ (Influencers) กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ ผู้ผลิตชิ้นงานโฆษณา (Ads Creators) เป็นส่วนหนึ่ง ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
อินฟลูเอนเซอร์ (Influencers) ใน Facbook, Twitter, Instagram หรือ ช่องทางอื่นๆ บางคนอาจจะถูกเรียก โดยใช้คำว่า “เน็ตไอดอล” ที่บางครั้ง ไม่ได้มีเนื้อหาเป็นของตนเอง ก็อาจจะได้รับมอบหมายให้ผลิตชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบของตนเองขึ้นมาพร้อมสินค้าและบริการที่ทางแบรนด์กำหนดและจัดส่งให้
นอกจากจะทำการ ตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) โดยตรงกับ ผู้ให้บริการ (Providers) ผู้ลงโฆษณายังสามารถใช้ “เนื้อหาจากผู้มีอิทธิพล” (Influencers)
เช่น การส่งสินค้าหรือบริการ ให้กับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เพื่อถ่ายรูปกับสินค้าหรือบริการเหล่านั้น ก่อนจะลงรูปภาพในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของตนเอง
ผู้ลงโฆษณาจะได้รับชิ้นงานโฆษณาที่แตกต่างออกไป ตามรูปแบบการนำเสนอ ความคิดสร้างสรรค์ ของอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้น แต่วัตถุประสงค์ในการโฆษณายังคงเหมือนเดิม นอกเหนือจากการจ้างบริษัทตัวแทนในการผลิตสื่อโฆษณาต่างๆ เป็น ชิ้นงานโฆษณา (Ads) เพื่อส่งให้อินฟลูเอนเซอร์ประชาสัมพันธ์
บางครั้ง อินฟลูเอนเซอร์เอง มีทีมงานสำหรับสร้างสรรค์เป็นของตนเอง ยกตัวอย่าง ยูทูบเบอร์ (Youtubers) ที่มีทีมผลิตสื่อภายในบริษัท (In-House Productions) สำหรับผลิตเนื้อหาเป็นของตนเอง ทำให้แบรนด์ (Brand) สามารถมอบโจทย์ที่อยากสื่อสารให้แก่ เหล่า อินฟลูเอนเซอร์ ไปสร้างสรรค์ผลงานกันเอง โดยยังคงรักษาโจทย์ที่ให้ไว้ และประหยัดเวลาในการดำเนินการ
แบบนี้ บริษัทผู้ผลิตสื่อก็หายไปหมดสิ หากให้อินฟลูเอนเซอร์ เป็นผู้ผลิตชิ้นงานขึ้นมาเอง ก็ไม่ต้องจ้างบริษัทผลิตสื่อแล้วสิ ..
.. การที่อินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ มีทีมสร้างสรรค์ผลงานเป็นของตนเอง ยิ่งเพิ่มความต้องการและการจ้างงานในระบบมากขึ้นไปอีก ยกตัวอย่าง Graphic Designer, Video Editor, Motion Graphic หรือ Account Exective เป็นต้น
ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตสื่อโฆษณาอาจไม่ได้หายไป แต่ อาจเปลี่ยนรูปแบบมาอยู่ภายในทีมของอินฟลูเอนเซอร์แบบครบวงจร แทนเลย แต่ งานผลิตสื่อโฆษณาที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญสูง หรือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยก็ยังจำเป็นต้องมีบริษัทต่างๆ ในการทำสิ่งเหล่านี้อยู่เช่นกัน
3. เพิ่มการจ้างงาน สร้างการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจ
แม้ว่า ผู้ผลิตเนื้อหาสาระ (Content Creators) จะสามารถมีรายได้จากส่วนแบ่งค่าโฆษณา ที่ได้จากแพลตฟอร์ม (Platforms) แต่ ปัจจุบันมีการปรับกฏและเงื่อนไขอยู่ตลอดเวลา และ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักหากท่านคิดว่ามันจะง่าย
จากบทความเรื่อง “ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย” และ “อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร” ที่ได้อธิบายไว้แล้ว ว่าเพราะอะไร
ดังนั้น การสนับสนุน “ผู้ผลิตเนื้อหาสาระ” (Content Creators) โดยตรง ทำให้อินฟลูเอนเซอร์ มีรายได้โดยตรงมากเพียงพอสำหรับผลิตเนื้อหาสาระ (Content) หรือ ชิ้นงานโฆษณา (Ads) และ ยังสามารถนำเสนอ “เนื้อหาสาระจากอนฟลูเอนเซอร์” (Influencer Content) ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้อื่นได้อยู่เช่นเดิม รวมถึง มีรายได้สำหรับจ้างทีมสร้างสรรค์ของตน อย่างที่ได้อธิบายไปในหัวข้อก่อนหน้านี้ และ มีรายได้สำหรับการใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน รวมถึง การกระจายเม็ดเงินสู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
รวมถึง การสร้างแรงจูงใจให้ เกิดอินฟลูเอนเซอร์ใหม่ๆ เข้ามายังระบบนิเวศ (Ecosystem) มากยิ่งขึ้น และถึงอย่างไร แพลตฟอร์มก็เป็นผู้ทำหน้าที่สนับสนุน แสดงโฆษณาคั่นระหว่างเนื้อหาจากอินฟลูเอนเซอร์ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง
ข้อจำกัด ของ Influencer Marketing ต่อ เศรษฐกิจไทย
ในความเป็นจริง ผู้เขียนยังนึกภาพไม่ออกทั้งหมดว่า มีข้อจำกัดอย่างไรในระบบเศรษฐกิจไทยบ้าง เพราะ ไม่ใช่เพียงแค่การมองข้อเสีย และ ข้อจำกัด ต่อธุรกิจ แบรนด์ หรือ สินค้าและบริการเท่านั้น ซึ่งจะสามารถระบุได้ทันที แต่เป็นการมองในภาพรวมของเศรษฐกิจ
รวมถึง “ข้อจำกัดของ การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ ต่อ เศรษฐกิจไทย” ยังไม่มีใครเขียนถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทำให้ผู้เขียนต้องใช้ความคิดเห็นส่วนตัว เพื่อแสดงความคิดเห็นในหัวข้อนี้ จนได้ข้อสรุปคร่าวๆ ออกมาได้ ดังนี้
1. ผู้คนอยากเป็น Influencer มากขึ้น แต่ ไม่ใช่ทุกคนจะเป็น Influencer ได้ อาจทำให้เม็ดเงินยังคงไหลออก (Cash Outflows)
เมื่อการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในสื่อสังคมออนไลน์ ได้รับค่าตอบแทนที่ ผู้คนย่อมให้ความสนใจ แต่มีส่วนไม่มากนัก ที่สามารถกลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือ มีอิทธิพลต่อผู้อื่นได้จริงๆ
1.1 อาจไม่ได้เป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) จริงๆ (NO Influencing Power)
ในอดีต ยอดผู้ที่กดไลค์ (Likers) ยอดผู้ติดตาม (Follower) ขึ้นได้ง่ายกว่า อัตราการมองเห็นและเข้าถึงได้ง่ายกว่า ผู้คนสามารถเห็นโพสต์หรือเนื้อหาต่างๆ ได้มากกว่า ปัจจุบันมาก
บางครั้ง บุคคลที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก แต่อาจจะไม่ได้มีอิทธพล (Influence) ในบางสินค้าและบริการ และไม่ได้ สร้างหรือทำให้เกิดผลลัพธ์ (Generate) ให้กับแบรนด์ได้ตามความต้องการ เช่น ทำให้เกิดยอดผู้ติดตามใหม่ ทำให้เกิดยอดผู้สมัครสมาชิกใหม่ หรือ ทำให้เกิดยอดขายประจำวัน (Everyday Purchasing)
แต่ อาจจะสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์ (Brand Awareness) ได้เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับการใช้ Influencer Marekting เท่าไหร่นัก
หรือ การสร้าง หรือ ปั้มจำนวนผู้ติดตาม เพื่อเป็น “Fake Influencers” นอกจาก ทำให้แบรนด์ได้รับปฏิสัมพันธ์ที่คุณภาพต่ำ อาจทำให้แบรนด์เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ และ ไม่ได้สร้างหรือทำให้เกิดผลลัพธ์ (Generate) ที่ดีแก่ธุรกิจในระยะยาว
หรือ บางครั้ง แบรนด์ ยังคงต้องโปรโมทโพสต์ในแพลตฟอร์มจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ไปพร้อมๆ กัน หรือ บางครั้ง อินฟลูเอนเซอร์ก็โปรโมทโพสต์ของตนเองเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ติดตามให้เพิ่มขึ้น
สิ่งเหล่านี้ ยังมีส่วนทำให้เม็ดเงินไหลออกจากประเทศได้เช่นกัน เพราะ เป็นธรรมดาที่บางบุคคล ต้องอาศัยการโปรโมทโปรไฟล์หรือช่องทางของตนเองในแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ติดตามและจำนวนการมีส่วนร่วมต่างๆ
หรือ แปรสภาพจาก “นาโนอินฟลูเอนเซอร์” (Nano Influencers) มาเป็น “ไมโครอินฟลูเอนเซอร์” (Macro Influencers) น้อยคนที่จะสามารถเพิ่ม การเข้าถึงแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ (Organic Reach) ในเวลาอันรวดเร็ว กว่า การโปรโมทแบบเสียค่าใช้จ่าย
ในขณะเดียวกัน แบรนด์หรือนักการตลาดอาจเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนกับ อินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น แต่ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น มีความเสี่ยงที่สูง ที่จะส่งผลด้านลบมากกว่าผลลัพธ์ที่ดี ส่งผลต่อ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายของบริษัทต่างๆ ไม่ใช้จ่ายไปแล้วไม่ทำให้เกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น หรืออาจมีต้นทุนที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับช่องทางลงโฆษณาโดยตรง สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs)
ธุรกิจ บริษัท หรือ แม้แต่นักการตลาดส่วนใหญ่ในประเทศ อยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามโครงสร้างของประเทศไทย อาจไม่เข้าใจการใช้ รวมถึงภาพรวม Influencer Marketing เท่าที่ควร อาทิ ภาพรวมและระดับราคาของ Macro, Nano-Influencers บริเวณโดยรอบกลุ่มเป้าหมายของตนเอง อาจจะให้งบประมาณที่สูงเกินจริง หรือ อาจจะใช้งบประมาณที่น้อยเสียจนไม่จูงใจเหล่าอินฟลูเอนเซอร์
สิ่งเหล่านี้ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ บางครั้งการเลือกใช้ อินฟลูเอนเซอร์ที่ผิด อาจจะส่งผลเสียต่อสินค้าและบริการของแบรนด์ได้มากกว่าที่คิด และ แบรนด์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีเครื่องมือ (Tools and Solutions) ที่พร้อมในการติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับอินฟลูเอนเซอร์แต่ละราย หรือ ในภาพรวม
ดังนั้น จึงจำเป็นที่แบรนด์ หรือ นักการตลาด ต้องดูว่า ในปัจจุบัน อินฟลูเอนเซอร์ยังมีพลังในการโน้มน้าวอยู่หรือไม่ ในยุคที่อัตราการมองเห็นภายในแพลตฟอร์มเท่ากับศูนย์เปอร์เซ็นต์
แบรนด์จำเป็นต้องคำนึงถึง วิธีการวัดผล (Measurement) และบริหารจัดการ (Management) เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ในมือของตนเองที่มีทั้งหมด เพื่อ บรรจุวัตถุประสงค์ของแบรนด์ให้ได้ และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี
1.2 วัดผลลัพธ์และบริการจัดการได้ยากกว่า (Harder To Measurement and Management)
โดยส่วนใหญ่ อาจเข้าไม่ถึง Solutions การวัดผลและการบริหารจัดการ ทำให้มีต้นทุนแฝงที่เพิ่มขึ้นแก่ธุรกิจ โดยไม่จำเป็น หรือ เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
หากพูดถึง อินฟลูเอนเซอร์ในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Influencers) อาจแบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น Macro Influencers Micro Influencers และ Nano Influencers โดยแบ่งตาม ยอดผู้ติดตาม (Followers) และ พลังในการโน้มน้าวความคิด (Influencing Power)
หากไม่ได้ทำกับ Digital Agency หรือ Marketing Agency ที่มีการบริหารข้อมูล อินฟลูเอนเซอร์ และ ติดตามวัดผลลัพธ์อยู่อย่างสม่ำเสมอ (Track and Monitor) ที่มีการติดตาม Affiliate Marketing อย่างใกล้ชิดและวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ เป็น Inflencers ที่มีการวัดผลลัพธ์ของตนเอง จะทำให้การวัดผลเป็นไปได้ยากกว่า
รวมถึงการวัดผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ Returns on Investment (ROI) ที่อาจจะยังไม่เข้าใจว่าจะวัดผลจาก อินฟลูเอนเซอร์อย่างถูกต้องและแม่นยำ ได้อย่างไร
หากไม่สามารถเข้าถึงโซลูชันแบบมีค่าใช้จ่ายในการวัดผลลัพธ์ และ ยิ่งหากเป็นอินฟลูเอนเซอร์ขนาด ไมโคร และ นาโน อาจทำให้การวัดผลลัพธ์หรือผลตอบแทนเป็นไปได้ยากกว่า เมกาอินฟลูเอนเซอร์ หรือ แมคโครอินฟลูเอนเซอร์
หรือ เมื่อลงทุนกับค่าใช้จ่ายด้านอินฟลูเอนเซอร์แล้ว ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือยอดขายที่เพิ่มขึ้น ก็อาจจะมุ่งเน้นไปประชาสัมพันธ์ที่ช่องทางอื่น หรือ การโฆษณาโดยตรงกับแพลตฟอร์มเป็นส่วนใหญ่เหมือนเดิม เพราะวัดผลลัพธ์และติดตามผลลัพธ์ได้ง่ายและชัดเจนกว่า รวมถึง มีอิทธิพลกับผู้ใช้งานมากกว่า
2.และ ไม่ใช่ทุกแบรนด์จะสามารถใช้ Influencer Marketing ทั้งหมด หรือใช้ Influencers ทั้งหมดในการตลาดได้ อาจเกิด ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ (Imcome Inequality)
เมื่อทุกคนต้องการที่จะกลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อสร้างรายได้หลัก หรือ รายได้เสริมให้แก่ตนเอง และทำการลงต้นทุนไปกับการสร้างตัวตน
เพื่อให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่ยอมรับ มีชื่อเสียง เพิ่มการเข้าถึง เพิ่มผู้ติดตาม ไปกับการลงโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นการลงทุนเบื้องต้น
แต่ ตนเองไม่ได้มีอิทธิพลกับผู้อื่นจริงๆ หรือ อาจไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์หรือธุรกิจ ก็อาจเป็นไปได้สูงที่แบรนด์หรือธุรกิจ จะไม่เลือกกลุ่มคนเหล่านั้นเพื่อให้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจ
และ เมื่อจำนวนอินฟลูเอนเซอร์ในสื่อสังคมออนไลน์จริงๆ มีจำกัด หมายถึง “คนที่มีอิทธิพลต่อผู้อื่นจริงๆ มีจำนวนจำกัด” เมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งเหล่านี้ย่อมเข้าถึงได้จำกัด มีจำกัด ระดับราคาและต้นทุนต่อหน่วยย่อมปรับตัวสูงขึ้น หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า อินฟลูเอนเซอร์ ที่มีอิทธิพลจริงๆ จะได้รับรายได้ที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับ นาโนอินฟลูเอนเซอร์
และ แบรนด์หรือธุรกิจ ที่ทำการตลาดลักษณะนี้ได้อาจเป็นแบรนด์ที่มีงบประมาณด้านการตลาดที่เพียงพอ เมื่อมีจำนวนแบรนด์ที่น้อยกว่า ความต้องการใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่อาจน้อยกว่า จำนวนผู้คนที่ต้องการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ก็อาจจะทำให้ผู้คนที่เหลือไม่ได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง ก็อาจจะต้องออกจากอุตสาหกรรมนี้ไป
เพราะ อาจจะมีเพียงแบรนด์ระดับกลางขึ้นไป ที่สามารถทำการตลาดแบบนี้ได้ และเม็ดเงินอาจจะไหลมากองรวมกันที่จุดใดจุดหนึ่ง เพราะ คนที่มีอิทธิพลกับผู้อื่น ย่อมเป็นที่ต้องการของแบรนด์ต่างๆ
และ ยิ่งเพิ่มความเป็นอินฟลูเอนเซอร์เข้าไปจนอาจจะกลายเป็นอินฟลูเอนเซรอ์ในระดับที่เพิ่มขึ้นได้โดยปริยาย รวมถึงส่งผลต่อ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ในระบบเศรษฐกิจได้ช่วยเช่นกัน
3.จำนวนแรงงานในอุตสาหกรรมอื่นๆ ลดลง ส่งผลต่อภาพรวมปัจจัยทางด้านแรงงานและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมื่อความสนใจในการประกอบอาชีพอิสระเพิ่มมากขึ้น หรือ อาจจะย้ายจากอุตสาหกรรมหนึ่ง ไปยังอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น อาทิ บิวตี้บล็อกเกอร์ ยูทูบเบอร์ บล็อกเกอร์ หรือ นักแคสเกมส์ และ อาชีพที่เกี่ยวเนื่องที่ได้กล่าวไปแล้ว
เราอาจจะลืมไปว่า ในอุตสาหกรรมอื่นๆ แทบจะทุกอุตสาหกรรม ยังจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยด้านแรงงานเข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะมีประชากรในกำลังแรงงานจำนวนไม่น้อยที่กำลังจะเกษียณอายุ หรือ ไม่มีประสิทธิภาพให้การทำงานให้เกิดประสิทธิผลแล้ว
ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ิอุตสาหกรรมเทคโลโลยี อุตสาหกรรมดิจิทัล-ดิจิตอล หรือ อุตสาหกรรมหรือบุคลากรทางการแพทย์
ล้วนแล้วแต่เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนประเทศในปัจจุบัน ยังคงต้องอาศัยบุคลากรหลักเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ด้วยเพราะ โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็ยอยู่ และยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสัดส่วนได้ในในระยะเวลาอันใกล้
อ่านเพิ่มเติม:
–พระราชกำหนด กู้เงิน หลักล้านล้านบาท รัฐบาล กู้เงินจากสถาบันการเงินใดได้บ้าง
สรุป:ภาพรวม Influencer Marketing กับ เศรษฐกิจไทย
ไม่ได้บอกว่าการทำตลาด จำเป็นต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แม้วิธีการในการโฆษณาออนไลน์จะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด รวดเร็วที่สุด และ วัดผลได้ดีที่สุด สำหรับทุกคน แต่ สิ่งเหล่านี้ก็มีผลในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึง การหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจ
ดังนั้น การบริหารและวางแผน กลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy) แผนทางการตลาด (Marketing Plan) แผนกลยุทธ์ (Strategic Planing) โดย นักวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planner) จึงมีส่วนสำคัญอย่างมาก
เพื่อให้มีช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โปรโมท สร้างการรับรู้ ในหลากหลายช่องทาง และ แบ่งงบประมาณไปตามสัดส่วนช่องทางต่างๆ บริหารเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับธุรกิจหรือองค์กรของตนเอง และ อีกหนึ่งเหตุผลหนึ่ง คือ ผู้ที่มีอิทธิพลกับผู้ใช้งาน ในแต่ละกลุ่ม แต่ละคม ไม่เหมือนกันด้วยนั่นเอง
เราจะเห็นว่า .. ธุรกิจ หรือ แบรนด์ใหญ่ๆ มักจะมีการทำตลาดในทุกรูปแบบ แม้ว่าตนเองจะสามารถเลือกใช้วิธีการ หรือ เครื่องมือทางการตลาด แบบเข้าถึงผู้คนส่วนใหญ่ได้มากกว่าก็ตาม แต่ ยังคงมีการทำการตลาดช่องทางอื่นด้วยเช่นกัน และเพราะการทุ่มงบประมาณลงในช่องทางเดียว ย่อมไม่ส่งผลดีในภาพรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
แบรนด์ใหญ่อย่าง Shopee หันมาทำการตลาดผ่าน อินฟลูเอนเซอร์ ด้วยเช่นกัน หรือแม้แต่ การถ่ายทอดสดผ่าน ช่องทางโทรทัศน์ ช่อง 7HD ในช่องมหกรรมลดราคาสินค้า เพื่อสร้างการรับรู้ในช่องทางใหม่ๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ หรือ การโฆษณาในดิจิทัลบิลบอร์ด (Digital Billboard) ตามพื้นที่เป้าหมายต่างๆ ตามพื้นที่ออฟไลน์ต่างๆ
รวมถึง Lazada มีการทำการตลาดผ่านผู้ใช้งานทั่วไป ด้วยระบบ Affiliate Marketing ที่ให้ผู้ใช้งานเชิญชวนเพื่อน หรือผู้ใช้งานอื่นๆ ผ่านลิงค์เพื่อเข้าไปใช้งานยังเว็บไซต์ของตน และจะได้รับรางวัลเป็นเงินสดมูลค่าที่ได้กำหนดไว้ หรือ การทำการตลาดผ่าน ผู้เผยแพร่อื่นๆ เป็นต้น
นอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้แบรนด์ของท่านประสบความสำเร็จในตลาด รวมถึง บรรลุผลลัพธ์ทางการตลาดที่ต้องการแล้ว สิ่งเหล่านี้ยังเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยได้ด้วยเช่นกัน
เพราะ การอัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์ หรือ งบประมาณที่เกี่ยวข้อง เข้าสู่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งเพียงอย่างเดียว ทำให้เงินไม่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเหมือนเดิม
เพราะเม็ดเงินมีการไหลออกอยู่ตลอดเวลา และจะส่งผลต่อ ภาพรวมธุรกิจ และกำลังซื้อของผู้คนในระยะยาว ลองคิดภาพว่า ประชาชนไม่มีเงิน ไม่มีกำลังซื้อ จะสามารถนำเงินกำลังทรัพย์ที่ไหนมาซื้อสินค้าของทุกท่านได้ในระยะยาว และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของท่านจะได้ผลตอบรับที่ดีหรือไม่ในระยะยาว
สิ่งสำคัญ คือ ส่วนแบ่ง “กำลังซึ่อ” (Purchasing Power) และ “ความสนใจและระยะเวลาของผู้ใช้งาน” (Users Time Spending) ที่มีต่อ ธุรกิจ หรือ สินค้าและบริการ (Products an d Services) ของท่าน
หมายเหตุ: เป็นเพียง ความเห็น การวิเคราะห์ และมุมมองส่วนตัวมุมมองหนึ่งเท่านั้น รวมถึง ยังไม่เคยมีการเขียนถึงหัวข้อนี้ หากต้องการนำไปอ้างอิงประกอบการศึกษาสามารถทำได้ โดยศึกษาจากข้อมูลในหลายๆ แหล่งที่มาประกอบ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่น การศึกษาและธุรกิจของท่านไม่มากก็น้อย
อ้างอิง:
–https://en.wikipedia.org/wiki/Influencer_marketing