iPhone (ไอโฟน) จากค่าย Apple (แอปเปิ้ล) กับ กลยุทธ์การตั้งราคา iPhone (ไอโฟน) จาก Apple (แอปเปิ้ล) กับ กลยุทธ์การตั้งราคา (Pricing).. หลังจากที่ ได้เปิดตัว รุ่นใหม่ ไปเมื่อวาน (10 กันยายน 2019) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อัพเดต ไอโอเอส (iOS) .. หรือ ไอโฟน se เปิดตัว 2020 (iPhone SE) iPhone 8
iPhone จากค่าย Apple กับ กลยุทธ์การตั้งราคา
หลังจากที่ iPhone (ไอโฟน) ได้เปิดตัว รุ่นใหม่ iPhone 11 ไปเมื่อวาน (10 กันยายน 2019) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับดีไซน์และคุณสมบัติก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ระหว่างผู้ใช้และนักวิเคราะห์ รวมข้อมูลของไอโฟนในด้านต่างๆ อาทิ ความหวือหวา ความแปลกใหม่ หรือมีนวัตกรรมอะไรใหม่เพิ่มเติมหรือไม่ รวมถึงความคุ้มค่า ไปจนถึง การเปรียบเทียบคุณสมบัติในรุ่นต่างๆของไอโฟน เป็นต้น
ซึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยที่จะไม่พูดถึง รวมถึงเป็นสิ่งหนึ่งที่พูดถึงและเฝ้ารอกันเป็นอย่างมาก ก็คือ “จะเปิด iPhone 11 ราคา จะเท่าไหร่?” สำหรับปีนี้เปิดตัวที่ “ราคา” (Prices) ไม่ต่างจากเดิม เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหล่ะ?
- อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร
- อยาก “รักษ์โลก” ทำไมมันลำบากจังครับ
- ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม ได้รับผลกระทบอะไร?
เปี้ยง! การปล่อยสินค้าออกมา 3 รุ่น พร้อมกัน พร้อมกับราคาที่ต่างกัน
ทำไมถึงเป็นนั้นหล่ะ .. มีทั้ง ไอโฟน 11, ไอโฟน 11 โปร, ไอโฟน 11 โปร แม็กซ์ ออกมาให้เลือก ในเรืองนี้ สามารถอธิบายได้ด้วย กลยุทธ์การตั้งราคา แบบ Decoy Pricing โดยที่ผู้ขายตั้งใจพุ่งเป้าไปที่ตัวใดตัวหนึ่งใน 3 ตัวนี้ เพื่อให้เป็นตัว “เรือธง” หรือ “สินค้าสร้างยอดขาย” ในการสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งโดยปกติ “การตั้งราคา” (Pricing) ด้วยโมเดลนี้ ใช้สินค้าอย่างน้อย 3 แบบขึ้นไปหรือเทียบเท่าในการวางโมเดล (Model) กล่าวคือ เป็นแบบ พื้นฐาน, มาตรฐาน และ พรีเมียม ตามลำดับ โดยราคาและฟีเจอร์ของทั้ง 3 อย่างนี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ราคาจะมีช่วงที่ต่างกันไม่มากนัก
หลายคนอาจจะเคยคุ้นตากับการตั้งราคาแบบนี้ จากบริการ “สตรีมมิ่ง” (Streaming) ทั่วไป คือ รับชมแบบ SD, HD และ Ultra HD ที่ช่วงราคาที่ห่างเท่าๆกัน .. มันก็จะทำให้คุณจะรู้สึกว่า ยอมจ่ายซื้อแบบ พรีเมียม (Premium) ไปเลยดีกว่า ราคาหากจากแบบปกติไม่เท่าไหร่ แถมได้ ฟีเจอร์ (Features) ครบถ้วนอีกด้วย และดูไม่สมเหตุสมผล กับ “ราคาแบบ SD” ที่ไม่ได้อะไรเพิ่มเติมเลย แถมช่วงราคาก็ไม่ห่างจาก Ultra HD มากนัก
ในกรณีของ แอปเปิ้ล เห็นได้ชัดเจนกว่าฝั่งผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง (Streaming Platforms) มาก ตัวอย่างเช่น ไอโฟน 11 ราคา 699$, ไอโฟน 11 โปร ราคา 999$, ไอโฟน 11 โปร แม็กซ์ ราคา 1099$ ในทางกลับกัน คนที่ไม่ไหวก็เลือกที่ ไอโฟน 11 หรือ ไอโฟน 8 ไปแทนเลย .. เล่าแบบในมุมของผู้ซื้อให้เห็นภาพเลยแล้วกัน ..
“.. อยากได้ไอโฟนใหม่จังเลย เอ๊ะ ไอโฟน XI 699$ แต่ไอโฟน XI โปร มีฟีเจอร์ดีกว่านะ ราคา 999$ แต่เอ๊ะ เพิ่มอีก 100$ ก็ได้ ไอโฟน XI Pro Max แล้วนะ แถมเขายังให้สามารถจ่ายแบบผ่อนชำระรายเดือนได้อีกด้วยนะ งั้นยอมจ่ายซื้อสินค้า Premium ไปเลยดีกว่า ..”
แล้ว Apple ได้อะไรจากการตั้งราคาแบบนี้?
แม้ว่าทาง แอปเปิ้ล จะมีผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าที่เป็น “เรือธง” (Flagship) ของปีนี้ หรือ ปีใดๆก็ตาม ที่หวังใน “การเพิ่มยอดขาย” แต่ไม่ว่าคุณจะซื้อรุ่นไหนระหว่าง ไอโฟน 11, ไอโฟน 11 โปร, ไอโฟน 11 โปร แม็กซ์ หรือแม้กระทั่ง ไอโฟน 8, iPad Pro, iPad Gen7 เป็นต้น
ทางบริษัท ก็จะได้ประโยชน์ทั้งหมด ด้วยการวางทิศทางการเติบโตของบริษัทไว้ ดังที่จะอธิบายในหัวข้อ ความยืดหยุ่นต่ออุปสงค์ต่อราคา และ ทิศทางในอนาคตของ Apple นั่นเอง
ซึ่งยังไม่รวมทฤษฏี “พฤติกรรมผู้บริโภค” (Consumer Behavior) หรือ ผู้ซื้อมี “ความพึงพอใจ” (Utilities) ที่จะ “ยอมจ่าย” (Wiiningness to Pay) มากกว่า กล่าวคือคือ บางคนยอมซื้อ ในราคาเริ่นต้น หรือ ราคาเปิดตัว
เพื่อจะได้เป็นเจ้าของสินค้าก่อนใครอีกด้วย อย่าง ไอโฟน 11 โปร แม็กซ์ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ก็มีผู้บริโภค หรือ ผู้ซื้อ ที่สามารถรอจนราคาสินค้าปรับตัวลดลงมาได้จึงค่อยซื้อ อย่าง ไอโฟน 8 ซึ่งราคาแตกต่างกันอย่างต่ำถึงกว่า 8,000 บาทขึ้นไป ซึ่งบริษัทก็ได้ประโยชน์ทั้งคู่ ทั้งยอดขาย (Total Sales)และกำไร (Net Profit)
อธิบายได้ด้วยหลักความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand)
อธิบายให้เห็นภาพอย่างง่ายๆ ว่า ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละเท่านี้ และทำให้ “ปริมาณความต้องการซื้อ” (Demand) เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง เป็นร้อยละเท่าไหร่ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเดิม ซึ่งสามารถดูได้ว่า สินค้ากลุ่มใดมีความยืดหยุ่นสูง (Elastic) และความยืดหยุ่นต่ำ (Inelastic)
ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับ “รายรับโดยรวม” (Total Revenue) ของผู้ขายด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ขายที่มีความรู้ความเข้าใจในสินค้าของตัวเองว่า “มีความยืดหยุ่นต่ำ” จะสามารถวางแผนการเพิ่มราคาสินค้า โดยยังสามารถรักษาระดับ หรือเพิ่มระดับรายรับรวมของธุรกิจได้ด้วยเช่นกันนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น สินค้า A ที่มีความยืดหยุ่นต่ำ ผู้ซื้อมี “ความภักดีต่อแบรนด์ หรือ บริษัท” (Brand Loyalty) สูง กล่าวคือ การเพิ่มขึ้นของราคา มีผลกระทบต่อความต้องการซื้อน้อย
ปี 2018 ราคา 699$ จำนวน 1,000 ชิ้น ยอดขายรวมอยู่ที่ 699,000$
ปี2019 ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 899$ จำนวนชิ้นขายลดลงไป10% เหลือ 900 ชิ้น แต่ยอดขายรวมกลับเพิ่มขึ้นไปที่ 809,100$
จะเห็นได้ว่า แม้เพิ่มราคาสินคาขึ้นมา ถึงเกือบ 30% แต่ทำให้ยอดขายลดลงเพียง 10% แต่ทำให้ยอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 15%
หากอธิบายต่อจากข้อ การตั้งราคา แม้ว่ารุ่นพรีเมียมจะมีจำนวนชิ้นที่ขายได้ลดลง แต่ก็ยังส่งผลดีต่อยอดขายโดยรวมนั้นเอง
ความรู้เพิ่มเติม : แล้วทำไมเมื่อ ไอโฟน เข้าไทยแล้วราคาถึงสูงขึ้นมาก .. “ทำไมในไอโฟนในไทยแพง”
“ทำไมในไอโฟนในไทยแพง” คำถามยอดนิยม .. นั่นก็เป็น เพราะ มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ด้วย “ภาษี” (Taxes) นั่นเอง เพราะประเทศไทยของเรา ยังไม่สามารถเป็น “ผู้ผลิตนวัตกรรม” เหล่านี้เป็นของตัวเองได้ เราจึงจำเป็นต้อง “นำเข้าสินค้าและบริการ” แบบนี้จากต่างประเทศอยู่
ซึ่งแน่นนอน มันส่งผลกระทบกับเม็ดเงินดุลการค้าของประเทศ หากเรามีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศมากเกินไป ลองคิดภาพตามว่า ประเทศไทยเรามีสินค้าบางอย่างที่มีผู้ผลิตในประเทศขายอยู่ แล้ววันหนึ่งมีสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดและขายแข่งกับผู้ผลิตในประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องย่อมทำหน้าที่ปกป้องสิทธิประโยชน์ให้ผู้ผลิตภายในประเทศก่อนเป็นอันดับแรก
ด้วยนโยบายเหล่านี้ ถือเป็นการจำกัดปริมาณการใช้จ่ายไปกับสินค้าและบริการจากต่างประเทศนั่นเอง จะสังเกตได้จากสิ่งรอบๆตัว เช่น รถหรู กระเป๋า สินค้มหรูหรา หรือ ฟุ่มเฟือยต่างๆ หรือแม้กระทั่ง การ Pre-Oder หรือ การหิ้วสินค้าจากต่างประเทศ หรือ การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ
ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะได้เห็นข่าว ที่จากหน่วยงานเริ่มเข้ามาจัดเก็บภาษีส่วนตรงนี้เพิ่มขึ้นแล้ว นั่นก็เพราะ เหตุผลด้านมาตรการกีดกันสินค้าจากต่างประเทศด้วย รวมถึง ลองนึกภาพว่า คุณเป็นผู้นำเข้าแบบเสียภาษีถูกกฏหมาย แล้วนำมาวางจำหน่ายภายในประเทศในราคาหนึ่ง แล้ววันหนึ่งมีกลุ่มคนเดินทางไปต่างประเทศ แล้วนำสินค้ากลับมาขายในคนในประเทศในราคาที่ไม่มีภาษี ซึ่งราคาถูกกว่าของคุณ คุณจะดำเนินพิธีศุลกากร ดำเนินการเอกสารต่างๆไปทำไม ในเมื่อคุณกลุ่มนั้นไม่ต้องทำอะไรเลย แถมไม่ต้องเสียภาษีอีกต่างหาก
– จบเนื้อหาส่วน กลยุทธ์การตั้งราคา –
ความรู้เพิ่มเติม : คำถามสำคัญ คือแล้ว Apple กำลังจะไปทิศทางไหน?
แน่นอนว่า Apple (แอปเปิ้ล) กำลังตั้งเป้า เพิ่มยอดผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ด้านบริการ ของตนให้เพิ่มขึ้นอย่างมากนั่นเอง ซึ่งไม่ใช่อาศัยเพียงตลาดและรายได้จากสมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือ ยอดขายจากตัวเครื่อง เพียงอย่างเดียว และยังไม่รวมกลยุทธ์ “ราคานักศึกษา”
แต่มองว่า แอปเปิ้ล กำลังก้าวไปสู่บริษัทเทคโนโลยีบริการแบบเต็มรูปแบบ จะเห็นได้จากการเปิด Apple TV+ , Apple Arcade, Apple Card, iTunes, Apple Music, iCare ซึ่งกำลังจะก้าวไปสู่ “สินค้าและบริการ” (Goods and Services) แบบ ฟรีเมี่ยม (Freemium) ด้วยนั่นเอง
ซึ่งแน่นอน การพึ่งพายอดขายจากผลิตภัณฑ์ด้านสินค้าของแอปเปิ้ล (Apple Products) เพียงอย่างเดียว จะทำให้รับรู้รายได้ยอดขายละกระแสเงินสดเป็นรายปี หรือ เงื่อนไขเครเดิต จากตัวแทนจำหน่ายจากต่างประเทศ แต่ การเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ด้านบริการ รวมไปถึง “แก็ดเจ็ต” (gadgets) ต่างๆ เข้ามา
จะทำให้บริษัทฯ มีรายได้และกระแสเงินสดตลอดเวลา จากทั้งบริการแบบรายเดือน รายปี ของ Apple TV+ บริการแบบฟีเจอร์ส่วนเพิ่ม (Features) ของ Apple Arcade จากเกมส์ และบริการต่างๆ และแน่นอนจะขาดไม่ได้ คือ Apple Card ที่ถือว่าเป็น “บริการด้านการชำระเงิน” (Payment Service) จะช่วยทำให้บริษัทมี สินทรัพย์ที่เป็นฐานข้อมูล (Data Assets) เพิ่มเข้ามา
โดยล่าสุด (2019) มีการดำเนินนโยบาย ให้ลูกค้าสามารถซื้อ ไอโฟน แบบผ่อนชำระรายเดือน ได้แล้ว และราคาเปิดตัวก็ไม่ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่ง ทางบริษัทฯ ต้องการ เพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้บริโภค ในการเหลือไว้ซื้อผลิตภัณฑ์บริการของบริษัทฯ เพื่มเติม
และ การันตีว่า ผู้ใช้จะยังใช้สินค้าจากบริษัทไปอีกหลายเดือนจนกว่าจะผ่อนชำระจนหมด เพื่อประโยชน์ด้านการรักษายอดผู้ใช้งาน ทั้งตัวเครื่องและบริการใหม่ๆที่เพิ่มเติมเข้ามา ทดแทนการทุ่มงบการโฆษณาและประชาสัมพันธ์บริการที่เปิดตัวใหม่นี้นั่นเอง
รวมถึงทำให้ผู้คนเข้าถึง ไอโฟน ได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการปล่อย ไอแพด (iPad) ในราคาย่อมเยาว์ออกมา รวมถึง กลยุทธ์เจาะตลาดกลุ่มนักศึกษาด้วยราคานักศึกษา เพื่อสร้างฐานลูกค้าหรือผู้ใช้ที่ต่อยอดไปยังผลิตภัณฑ์บริการของตนเองที่จะเพิ่มขึ้นต่อไป
โดยแม้จะไม่สามารถเพิ่มยอดขาย Products ได้มากนัก แต่การรักษาระดับฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ให้ได้ ก็ยังทำให้มีรายได้อยู่ตลอดเวลาจากรายได้แบบเดบิตเทอม (Debit Terms) กล่าวสรุปสั้นๆ คือ สร้างรายได้จากลูกค้า Products เดิม และ สร้างรายได้เพิ่มเติมจากรายได้แบบรายเดือนด้วย Services
เราจะได้เห็นว่า ผู้ที่ซื้อ ไอโฟน 11 รุ่นล่าสุด จะได้รับสิทธิ์ดู Apple TV+ 1 ปีเต็ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นานมากสำหรับ โมเดล ฟรีเมียม (Freemium Model) ซึ่งโดยปกติ เราจะเห็นยักษ์ใหญ่ในตลาด ให้บริการฟรี หรือ ทดลองฟรี อยู่ที่ 30-90 วันเท่านั้น
แต่มองว่า บริษัทฯ ต้องการดึงผู้ใช้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้งานให้หลงไหลในตัวบริการ สตรีมมิ่ง (Streaming) ของตนจนรู้สึกขาดไม่ได้โดยสิ้นเชิงหลังจากผ่านไป 1 ปี เสมือนเป็นการล้มยักษ์เจ้าตลาดไปในตัว ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ใช้ เมื่อเจ้าใหญ่หันมาแข่งขันกันนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม
–Freemium คืออะไร? ดีอย่างไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน
–ธุรกิจ Freemium Model รายได้มาจาก Premium Users มากที่สุดจริงหรือ?
หากมองให้ลึกไปถึง “ปัจจัยเสี่ยง” (Risk Factors) ส่วนหนึ่งของบริษัทฯ จะพบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้า รวมถึงการพัฒนาในส่วนต่างๆ จะขึ้นอยู่กับ “ผู้ผลิต” (Manufacturers) รวมถึงจาก “ตัวแทนจำหน่าย” (Distributors) หรือ การเปิดสาขาในต่างประเทศ (Apple Store) เช่น Apple Japan, Apple Thailand เป็นต้น
หรือแม้แต่บริการต่างๆ ซึ่งถือเป็น “บุคคลที่สาม” หรือ 3rd-Party Companies จากประเทศนั้นๆเป็นหลัก ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการจัดการต่อยอดขายโดยรวม รวมถึงต้นทุนการผลิต และการบริหารต่างๆ ดำเนินการในผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้า ที่ยังไม่รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากค่าเงินในระหว่างปี จากยอดขายทีต้องแปลงกลับมาเป็น “ดอลลาร์สหรัฐ”
การเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ด้านบริการของบริษัทฯ จะช่วยบริหารความเสี่ยงของภาพรวมธุรกิจตรงนี้ได้มากพอสมควร เนื่องจากทุกอย่างได้รับการดูแลจากบริษัทฯ โดยตรง การรับรู้รายได้ทันทีแบบเดบิต รวมถึงเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดความเสี่ยงในด้านการการจัดการและการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งมีทั้งเรื่องมาตรการภาษี กีดกันการค้าระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นๆ เป็นต้น
ซึ่งแนวคิดนี้ สามารถอ้างอิงได้จาก จากตัวเลขผลประกอบการในรายงานทางการเงินรวมไตรมาสที่สาม (Q3) แสดงให้เห็น สัดส่วนยอดขายระหว่างสินค้า (Products) และบริการ (Services) ในปี 2019 อยู่ที่ 82.77% และ 17.23% ตามลำดับ ในขณะที่ ปี 2018 อยู่ที่ 85.61% และ 14.39% ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า สัดส่วนของยอดขายบริการปรับเปลี่ยนไปเกือบ 3 % เมื่อเทียบกับปีก่อน
และยอดขายบริการปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน แม้ยอดขายผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าจะลดลงถึง 6.9% ก็ตาม แต่ก็ช่วยทำให้ยอดขายโดยรวมลดลงเพียง 3.35% เท่านั้นเมื่อเทียบกับปีก่อน แถมต้นทุนการขายต่อยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทบริการยังอยู่ในสัดส่วนที่น้อยมาก นั่นทำให้ศักยภาพการทำกำไรในอนาคตมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกมากด้วยเช่นกัน
โดยกลุ่มผู้ซื้อสูงสุดยังเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา สัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 44.6%, ยุโรป 23.11% , จีน 16.6%, ญี่ปุ่น 8.42%, และภูมิภาคเอเชีย 7.2% (รวมประเทศไทย) โดยยอดขายภายในประเทศยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ยอดขายในประเทศจีนลดลง
แต่ในภูมิภาคเอเชียมียอดขายที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2018 ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนหนึ่งอันเป็นผลมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน รวมถึง ญี่ปุ่น-เกาหลี แต่จะสังเกตว่าเศรษฐกิจสหรัฐ และกำลังซื้อในประเทศยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง หากอนุมานว่า หุ้นแอปเปิ้ล ถือว่าอยู่ในกลุ่มหุ้นนำตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง
จากที่กล่าวมา เราต้องการจะบอกอะไร?…
การทำธุรกิจ ทุกธุรกิจต้องการความยั่งยืน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องมาจากยอดขายและรายได้ที่สม่ำเสมอ และ หากเราลองสังเกตตัวธุรกิจของเราดีๆ รายได้ส่วนใหญ่ของเรามักจะมาจาก “ลูกค้าประจำ”
ซึ่งอาจจะเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับลูกค้าทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายถึง การหาลูกค้าใหม่นั้นไม่จำเป็น และการจะให้ลูกค้าประจำของแบรนด์ ซื้อตัวเครื่องใหม่บ่อยๆ ย่อมทำได้ยาก ซึ่งอาจส่งผลต่อรายได้ต่อปีที่อาจลดลง หากพึ่งพายอดขายจากตัวเครื่องเพียงอย่างเดียว
แต่เมื่อเราทราบข้อมูลดีว่า ลูกค้าที่สร้างรายได้ให้เราส่วนใหญ่ เป็นลูกค้าภายในประเทศ และ กำลังซื้อของคนในประเทศยังเติบโตต่อเนื่อง การต้องเผชิญกับปัจจัยระหว่างประเทศ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ หรือ ปัจจัยอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงกระทบธุรกิจ
แล้วอะไรที่จะสามารถทำได้ คำตอบก็คือ “การสร้างรายได้แบบรายเดือน” ด้วย “ผลิตภัณฑ์ประเภทบริการ” จาก “กลุ่มลูกค้าประจำ” อาทิ เกมส์ ซีรีส์ สื่อ ทีวี ความบันเทิง หนังสือ วิทยุ พอดแคสต์ ระบบคลาวด์ (iCloud) เป็นต้น
และที่ขาดไม่ได้เลย คือ ต้องชื่นชมการวางรากฐาน Apple ID หรือ “ระบบสมาชิก” (Memberships) ไว้ตั้งแต่แรก จึงสร้างรากฐานข้อมูลผู้ใช้ และสามารถนำมาต่อยอดในสินค้าด้านบริการของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี
อ่านเพิ่มเติม :
–Dark Mode เขาทำมาเพื่ออะไรกันนะ?
โดยสรุป แบบ Shortcut ในส่วนทิศทางในอนาคตของบริษัทฯ
“ .. มองว่า Apple ต้องการเปลี่ยนจากรายได้รายปีรายไตรมาส มาเป็น รายได้รายเดือน รายวันแทน โดยตั้งใจจะสร้างฐานผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านบริการของตน ซึ่งเน้นสร้างจากฐานลูกค้าผลิตภัณฑ์สินค้าเดิมที่มีตนเองมี Assets อยู่ก่อนแล้วเป็นหลักก่อน และพุ่งเป้าเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ด้วย ..”
บทวิเคราะห์ โดย Jampay Thailand ทั้งนี้เป็นเพียงมุมมองหนึ่งเท่านั้น
หากชอบบทความเชิงวิเคราะห์แบบนี้ สามารถช่วยแชร์เป็นกำลังใจให้เราสร้างสรรค์ผลงานต่อไป
และ สามารถติดตา่ม Jampay ได้ในทุกช่องทาง และร่วมแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ว่าอยากให้เรานำเสนอเรื่องอะไรต่อไป
อ้างอิง:
–Apple