บำนาญ-สวัสดิการ ของ งานราชการ-บริษัท อาจอาจมีปัญหา เราเตรียมตัวอย่างไร? บางท่านอาจคิดว่าตนเองมีความมั่นคงสูง มี ETF RMF LTF SSF มีเงินเดือนเพียงพอ แม้ว่า เศรษฐกิจของประเทศไทย จะเป็นอย่างไร แต่จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจ covid-19 จาก สถานการณ์โควิด ทั้งด้านการท่องเที่ยว ส่งออก นำเข้า เกษตรกร การบริโภค ธุรกิจ บริษัท การลงทุน หุ้น ตลาดหุ้น หุ้นไทย การหางาน การจ้างงาน .. ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs).. ทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้น อยู่ดีๆ ก็ตกงาน พักงาน ว่างงาน จำเป็นต้อง ลงทะเบียนว่างงาน ลงละเบียนคืนเงิน รับเงินประกันสังคมคืน อาจสงสัยว่า เงินประกันสังคม หายไปไหน ทำไมเรายังไม่ได้รับ เงินประกันสังคมว่างงานไม่เข้า เงินประกันสังคมหมด หรือไม่ ลงทะเบียนรับเงิน รับเงินคืน หรือจำเป็นต้องใช้เงินจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ชิมช้อปใช้ และ เราจะไม่ทิ้งกัน

บำนาญ และ สวัสดิการ ของ งานราชการและงานบริษัท อาจมีปัญหา เราควรเตรียมตัวอย่างไร?

เป็นธรรมดา ที่คนเราทุกคนย่อมมองหา “งาน” (Jobs) ที่ดี  อยากสมัครงานบริษัทที่ดี มี “อาชีพ” (Career) ที่ดี หรือ บางท่านอยากทำงานราชการ (Government Jobs) อยากเป็น “ข้าราชการ” (Civil Servant) กับองค์กรต่างๆของรัฐ เพราะหวังจะได้งานที่มั่นคง อยากทำงานรับใช้ประชาชนและประเทศชาติ และอยากมี “เงินบำนาญ” (Pensions) รวมถึง “สวัสดิการ” (Welfares) หรือ องค์กร “รัฐวิหสาหกิจ” (Government-Owned Compamy) ที่ได้ บำเหน็จ และสวัสดิการต่างๆ ในวัยเกษียณ หรือ บั่นปลายชีวิต

แต่หากอนาคตอันใกล้ .. สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นอย่างที่หวัง ด้วยปัจจัยต่างๆมากมาย หากว่า เมื่อวันนั้นมาถึง แล้วระบบบำนาญและสวัสดิการที่ทุกท่านเฝ้ารอ เกิดล้มลงต่อหน้าต่อตา ท่านจะรับมือกับมันอย่างไร

วันนี้ “แจมเพย์” จะมาชวนคิด และหาแนวทางในการรองรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเหล่านั้นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็น นักเรียนนักศึกษา พนักงานใหม่ (First Jobbers) ข้าราชการ พนักงานบริษัท ผู้บริหาร หรือ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว .. สามารถอ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมตัวรับมือได้เช่นกัน ตามแนวคิดหลักของเรา “Everyone Can Learn” ไปเริ่มกันเลยย ..


สารบัญ

“บำนาญ” (Pension) และ “สวัสดิการ” (Welfare) คือ อะไร
ความเสี่ยง (Risks) ที่อาจส่งผลต่อระบบ บำนาญ (Pensions) และ สวัสดิการ (Welfare)  .. ทำไมเราถึงมองเช่นนั้น ?
เราควรเตรียมตัวอย่างไร? หากระบบ บำนาญ (Pension) และ สวัสดิการ (Welfare) อาจจะมีปัญหา


“บำนาญ” (Pension) และ “สวัสดิการ” (Welfare) คือ อะไร?

 “บำนาญ” (Pension) คือ “เงินตอนแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน” – กรมบัญชีกลาง  กล่าวคือ เมื่อทำงานตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดครบวาระ เมื่อพ้นสภาพการทำงานจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือน

“สวัสดิการ” (Welfare) คือ “สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นอกเหนือจาก เงินตอบแทน” – กรมบัญชีกลาง

เป็นคำจำกัดความ ที่ทุกท่านเข้าใจความหมายกันดีอยู่แล้ว  แต่ทุกท่านอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นัก ถึงวิธีการบริหารจัดการเม็ดเงินเหล่านี้ เพื่อนำมาบริหารให้กับผู้ประกันตน รวมถึงบริหารจัดการภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในที่นี้ ขอพูดถึง “สวัสดิการ ที่เกี่ยวข้องในรูปของเงินตอบแทนอื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือน”

แล้วเขานำเงินจากไหนมาเป็นเงินบำนาญและสวัสดิการให้เรา

คำตอบ คือ บางส่วนจากงบประมาณประจำปี และ บางส่วนจากเงินสมทบส่วนหนึ่ง ที่ได้จากสมาชิกของสถาบันนั้น ๆ นำมาบริหารจัดการ เพื่อให้องค์กรหรือสถาบันดังกล่าว สามารถบริหารงานและดำเนินการไปได้อย่างยั่งยืน รวมถึง สร้างผลตอบแทนที่เพียงพอให้แก่สมาชิกของสถาบันด้วยนั่นเอง

เพราะฉะนั้น เราจะเริ่มมองเห็นว่า “ปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนที่สำคัญ” (Key-Driving Factors)  คือ “จำนวนคนทำงานที่สามารถจ่ายเงินในส่วนนี้ได้” (Employment Rate) ควรจะมีมากกว่า หรือ เพียงพอ กับ จำนวนคนที่ต้องการใช้สิทธิ

แต่หากอาศัยเพียงจำนวนสมาชิกเพียง และเงินสมทบกับจำนวนสมาชิกอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะสามารถดำเนินการได้ เพราะแนวโน้มของผู้ที่เข้าเกณฑ์การใช้สิทธิ หรือ ผู้ที่เกษียญอายุงาน จะมีมากกว่า ผู้ที่จ่ายเงินสมทบ หรือ ผู้ทำงาน ในอนาคตอันใกล้ ทำให้สถาบันต่าง ๆ จำเป็นต้องนำเงินจากสมาชิกที่ได้ไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน  นำมาบริหารจัดการภายในองค์กร หรือ สถาบันนั่นเอง

แต่การบริหารจัดการของสถาบันการเงินมีความเสี่ยง หรือ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลหรือไม่ .. ลองไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย ..


ความเสี่ยง (Risks) ที่อาจส่งผลต่อระบบ บำนาญ (Pensions) และ สวัสดิการ (Welfare)  .. ทำไมเราถึงมองเช่นนั้น ?

1. ประชากรที่ลดลง กระทบ ระบบบำนาญ สวัสดิการ 

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากร กำลังส่งผลกับ ระบบบำนาญทั่วโลก แต่เพราะอะไรกันนะ .. ทำไมประชากรที่ลดลง ถึงส่งผลต่อระบบบำนาญและสวัสดิการ

ลองนึกภาพ ผู้คนจำนวน 30% รับภาระ คนอีกจำนวน 70% ไว้ กล่าวคือ มีคนต้องการใช้เงินบำนาญพร้อม ๆ กัน 70 คน ในขณะที่มีคนจ่ายเงินเข้าระบบเพียง 30 คน เท่านั้น

แค่ปัจจัยแรกก็ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องได้แล้ว เพราะ จำนวนของผู้มีงานทำ และผู้เกษียณควรจะสอดคล้องและสัมพันธ์กัน (อ่านต่อ ข้อ 4.3.2)

นอกจากนั้น การที่ประชากร และ อัตราการเกิดลดลง (ข้อที่ 2) ยังส่งผลกระทบต่อ ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย เพราะ จะมีกำลังแรงงานที่สามารถทำงานได้ในระบบลดลง ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ การเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมาก รวมถึง ส่งผลต่อรายได้ของรัฐบาล หรือ “ภาษี” นั่นเอง

แม้ว่า สถาบันการเงินเหล่านี้ จะมีการบริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน มีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องมากแค่ไหน มีการบริหารความเสี่ยงและกระจายความเสี่ยงของการลงทุนดีและเป็นประโยชน์อย่างมากแค่ไหนก็ตาม

แต่สิ่งสำคัญ คือ สถาบันการเงินเหล่านี้ มีหน้าที่สำคัญจริงๆ คือ การจ่ายเงินตอบแทนให้แก่สมาชิกที่ครบวาระตามสิทธิพึ่งมีตามเงื่อนไข และ การแปลงสภาพจากสินทรัพย์ที่ลงทุนต่าง ๆ เพื่อเป็น “เงินสดสำรอง” เพื่อรองรับการจ่ายออกไป เป็นสิ่งที่ถือเป็น “ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง” (Liquidity Risk) และความท้าทายอย่างมากเช่นกัน เพราะ หาก สมมติว่า สถาบันการเงินไม่ต้องมีการจ่ายเงินออก การบริหารทางการเงินลักษณะแบบนี้ จะถือเป็นการบริหารพอร์ตการลงทุนที่ดีมากอย่างหนึ่ง

1.1 อัตราการเกิดที่ลดลง สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลต่อ กำลังแรงงานและระบบสวัสดิการ 

ยังเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมปัจจุบันว่า การที่พ่อแม่มีลูก นั้นมีจุดประสงค์อย่างไร บางท่านให้ความเห็นว่า เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ บ้างว่า พ่อแม่บางท่านมีลูก เพราะ หวังอยากให้ลูกเลี้ยงตนเองยามแก่

แต่ด้วยปัจจัยในเชิงโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ และ อีกหลาย ๆ ปัจจัยที่ทำให้ผู้คนไม่อยากมีลูก แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายเกี่ยวข้องกับภาษีที่จูงใจให้ประชากรที่ลูกเพิ่มขึ้น

แต่ยังมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้การมีลูก และสร้างครอบครัวก็ยังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้คนในสังคมปัจจุบัน บ้างก็ให้ความเห็นว่า รู้สึกสงสารลูกที่ต้องเกิดมา หรือ ไม่อยากมีลูกในตอนที่ตนเองยังไม่พร้อม และด้วยความกดดันต่าง ๆ อาทิ ผู้หญิงควรมีลูกตอนที่อายุยังไม่เกิน 35 ปี ผุ้ชายควรมีอายุ 40 ปี เป็นต้น บางท่านให้ความเห็นว่า ฉันจะไม่มีลูก ฉันสามารถเลี้ยงตัวเองได้ตอนวัยเกษียณ

ขออธิบายในมุมมององค์รวมของประเทศว่า “การไม่มีลูก” ส่งผลในระยะยาวอย่างไรเพราะ ถึงแม้ว่าตัวเราไม่มีลูก ไม่ใช่ลูกของเราที่เลี้ยงดูเรา

หากเราอยู่ตัวคนเดียวในวัยเกีษณ ก็เป็นวัยทำงานที่เป็นลูกคนอื่นที่ต้องทำงาน แบกรับภาระเลี้ยงดูเราด้วยในวันที่เราเกษียณ และตรงนี้เองที่กระทบกับระบบสวัสดิการ ซึ่งจากข้อมูลที่แพร่หลาย ประชากรวัยเกษียณเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่สามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในบั้นปลายชีวิต สัดส่วนที่เหลือยังคงต้องทำงานดิ้นรนเลี้ยงชีพอยู่

1.2 การแก้ปัญหากำลังแรงงาน จากปัญหาจำนวนประชากรที่ลดลง ส่งผลต่อ ระบบเศรษฐกิจและความเลื่อมล้ำ

วิธี หรือ กลยุทธ์ อย่างหนึ่งที่เราเห็นกันจากข่าวสารในปัจจุบัน คือ การขยายอายุงานออกไป เช่น เกษียณ 60 ปี ขยายเป็น 63-65 ปี มากกว่าการรับสมัคร หรือ หาคนใหม่เพิ่ม เป็นต้น เพราะ ขาดบุคลากรมาทำหน้าที่แทน

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ .. สมมติ ประชากร 100 คน บุคลากรด้านฝ่ายปฏิบัติการ 50-60 คน บางคนอาจจะไม่อยากรับผิดชอบในหน้าที่ที่มากกว่าเดิม อยากทำงานอยู่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ หรือ คุณสมบัติไม่ผ่านการคัดเลือก

ทำให้เหลือผู้ที่สามารถเป็นตำแหน่ง ผู้จัดการ (Manager) หรือ ผู้บริหารระดับต้น ได้ 10-20 คน ผู้บริหารระดับกลาง 10-20 คน  ดังนั้น ผู้ที่เป็นผู้นำองค์กร หรือ ผู้บริหารระดับสูง (C-Level) ได้จะเหลือเพียง 2-3 คน

ในขณะที่องค์กรมีมากมาย และยังต้องการบุคลากรในทุกระดับ เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ เข้าไปเป็นผู้ที่บริหารงาน รวมถึง ผู้บริหารระดับสูงที่จะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

เพราะมีหลากหลายปัจจัย ที่ส่งผลให้บุคลากรที่มีความสามารถอยู่เดิมในองค์กรต่าง ๆ ลดลง เช่น ปัจจัยด้านอายุ ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาส่วนตัว ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นต้น ทำให้จะเหลือประชากรที่อายุมาก จำนวนไม่มากที่สามารถทำงานได้ ดังนั้น การขยายอายุงาน อาจจะไม่ตอบโจทย์ในปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม

ข้อจำกัด ของวิธีการขยายอายุงาน คือ ค่าตอบแทนต่อบุคลากร ย่อมสูงขึ้น เพราะแน่นอนว่า ผู้ที่มีอายุงานที่มาก ย่อมได้รับสิทธิในค่าตอบแทนที่มากขึ้นเช่นกัน จากคุณวุฒิ วัยวุฒิ และ ประสบการณ์ ที่สะสมมา และตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำทางรายได้ได้ด้วยเช่นกัน

และในขณะเดียวกัน ข้อจำกัดอย่างหนึ่ง คือ การปรับตัว (Adaptive) ต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน จะทำได้ยากกว่า ซึ่งอาจส่งผลต่อการเติบโตของประเทศ และ ประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ

มองในความเป็นจริง หากอยู่ในรูปของบริษัทเอกชน อาจจะพิจารณาปลดคนด้วยซ้ำไป เพราะ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเพิ่มขึ้น โดยที่บริษัทไม่ได้มีผลประกอบการที่ดีขึ้น หรือ บางตำแหน่งงานสามารถนำเทคโนโลยีมาทดแทน ทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การผลิต หรือ การปฏิบัตการต่าง ๆ เป็นต้น แต่หากถามว่าบริษัทยังต้องการใช้มนุษย์อยู่หรือไม่ ตอบเลยว่า “ยังจำเป็น” ตำแหน่งงานไม่ได้หายไปไหน แต่เปลี่ยนรูปแบบไป ปรับเปลี่ยนเพิ่มตำแหน่งใหม่ และเพิ่มทักษะความสามารถใหม่ ๆ เข้ามาเท่านั้น เช่น การบริหารจัดการโลจิสติกส์  เป็นต้น

อีกข้อสังเกตหนึ่ง คือ ผู้คนอายุมากขึ้น มีแนวโน้มจะเสี่ยงกับการใช้ชีวิตน้อยลง ออมเงินมากกว่า จับจ่ายใช้สอย ออกมาในระบบเศรษฐกิจ ถึงแม้ผู้ที่มีอายุงานที่มากเหล่านี้ จะมีรายได้ที่สูง และอาจมองว่าจะสามารถใช้ตรงนี้เป็นช่องทางในการเก็บภาษีเงินได้เข้าสู่รัฐ แต่อย่างที่อธิบายไปข้างต้นแล้วว่า ไม่ใช่คนทุกคนจะสามารถเป็นผู้บริหารระดับสูงได้ ขนทำให้มีรายได้สูง และตัวเลขยังถูกลดทอนจากปัญหาสุขภาพหรือปัญหาส่วนตัวอีก จากตัวเลข ข้อ 4.3.2) ที่เพิ่มสูงขึ้น การที่จะหวังเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลกลุ่มนี้ จึงอาจไม่ตอบโจทย์ ช่องทางรายได้เข้าสู่ในรูปเงินภาษีคืนสู่ประเทศก็เป็นได้

หรือแม้แต่ กรณีของการบริหารองค์กรในระบบราชการ ที่มีระบบอายุงาน ที่ขาดบุคลากรจริงๆ บางครั้งจำเป็นต้องให้ผู้ที่มีอายุงานน้อยกว่า อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า หรือระดับหัวหน้างาน ทั้งที่ อายุงาน และ ฐานเงินเดือนน้อยกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงบางครั้งผู้ที่ทำงานมานาน มีแนวโน้มที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ แล้ว อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น เช่น ตำแหน่ง สังกัด สถานที่ เป็นต้น กล่าวคือ ไม่อยากย้ายสถานที่ทำงาน ไม่อยากมีตำแหน่งที่สูงกว่านี้แล้ว  ส่งผลให้เกิดความไม่สอดคล้องกันของระบบฐานเงินเดือน ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ ความถึงคุณค่าของบุคลากร เกิดความเลื่อมล้ำซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อกำลังใจในการทำงานได้่ด้วยในอีกมิติหนึ่ง


2. ดอกเบี้ยที่ต่ำ (Falling Interest rates Wreak) กระทบระบบสวัสดิการ 

“ดอกเบี้ยที่ต่ำ” (Lower Interest Rate) กระทบ อัตราผลตอบแทนในตราสารทางการเงิน และ การลงทุน

เพราะ ระบบสวัสดิการ โดย สถาบันการเงินต่าง ๆ ของรัฐ จำเป็นต้องนำเงินทุนและเงินสมทบของสมาชิกบางส่วนไปลงทุน ในตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงของสถาบัน และ บริหารผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสมาชิก และเพราะ การอาศัยเพียงจำนวนเงินสมทบจากสมาชิกเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ

ซึ่งทำให้หนีไม่พ้นเรื่อง “ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ย” โดย แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ บางสถาบันการเงิน อาจจะยังสามารถบริหารได้จากการปรับพอร์ตการลงทุน ให้ลงทุน หรือ กู้ยืมจากสถาบันภายในประเทศ มากกว่า ลงทุนในต่างประเทศ ก็ยังสามารถทำให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่เผชิญกับความเสี่ยงนี้

อัตราดอกเบี้ยลดลงได้อย่างไร? .. เนื่องจาก ปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย เช่น การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อหวังอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อ ภาพรวมอัตราดอกเบี้ยในระดับโลกจะอยู่ในระดับที่ต่ำ เป็นต้น ดำเนินนโยบายเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในระบบเศรษฐกิจใช้จ่ายมากกว่าออมเงิน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยการหดตัวของประชากรและกำลังซื้อนั่นเอง

ตรงนี้ยังเป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตว่า .. ระดับดอกเบี้ยทั่วโลกที่ลดต่ำลงจนเข้าใกล้ ร้อยละ  0 ในขณะที่ ดอกเบี้ยนโยบาย ของประเทศไทยยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่ง ที่ทำให้เม็ดเงินจากต่างประเทศ ไหลเข้าประเทศอย่างมหาศาล จากความต้องการถือสินทรัพย์ในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาหรือไม่

.. เพราะสถาบันการเงินต่างประเทศต่าง ๆ ก็ต้องหาแหล่งลงทุนใหม่ ในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ที่สร้างผลตอบแทนให้ตนเองได้มากกว่าที่ตนเองมีอยู่ เพื่อบริหารสถาบันการเงินในประเทศของตนเอง

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งถึงส่งผลต่อ “ค่าเงินบาท” ทำให้ ค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลกระทบต่อ ภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศ ที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งสถาบันการเงินเองก็ลงทุนในตราสารทุน หรือ ตลาดหุ้น ภายในประเทศด้วยเช่นกัน แน่นอนว่า หากเศรษฐกิจไทยชะลอตัว ย่อมแสดงสัญญาณให้เห็นใน ตลาดหุ้น และ กำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ข้อ 3) เป็นต้น  ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ยากมากในการดำเนินนโยบาย เพราะ “ได้อย่าง เสียอย่าง” (Trade-off)


3. กำลังซื้อ (Purchasing Power) ที่ลดลง กระทบระบบสวัสดิการ 

“กำลังซื้อ” (Purchasing Power) เกี่ยวข้องกับ การเติบโตของเศรษฐกิจ และการเติบโตของบริษัท ซึ่งมีส่วนอย่างมากในตลาดตราสารทุน หรือ หุ้น และ ตลาดหุ้น

จากตัวเลข “หนี้ครัวเรือน” (ข้อ 4.3) และ “ปัญหาความเลื่อมล้ำ” ที่ส่งผลกระทบต่อ “กำลังซื้อ” และ “การเติบโตของระบบเศรษฐกิจ” จากปัจจัยต่าง ๆ

หากประชากรในประเทศมีกำลังซื้อลดลง ส่งผลโดยตรงต่อ ผลประกอบการ  และ กำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึง บริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ห้างร้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน

การที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีผลประกอบการที่ลดลง ย่อมส่งผลให้ “เงินปันผล” หรือ “ผลตอบแทน” และ “อัตราการเติบโต” (Growth Rate) ในด้านราคาต่อหุ้น อาจลดลงไปด้วยเช่นกัน ส่งผลโดยตรงต่อ ผลการดำเนินการของสถาบันการเงิน หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เพราะ สถานบันการเงินเหล่านี้ นอกจากจะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำแล้ว ยังต้องลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงด้วยบางส่วนเช่นกัน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มากเพียงพอ สำหรับใช้ในการดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร


4.กิจกรรมที่ส่งผลต่อเกิดการเติบโตกับประเทศในระดับที่น้อย กระทบ การเติบโตของประเทศ และ ระบบเศรษฐกิจ

4.1 องค์กรข้าราขการที่ขยายตัวขึ้น (Expansion Government Organization)

เป็นธรรมชาติ ที่ทุกคนต่างทำงานเพื่อเลี้ยงปากท้องของตนเองเป็นปัจจัยแรก เมื่อชีวิตมีความมั่นคง เริ่มมีทุกอย่างพร้อม จึงเริ่มคิดที่จะทำเพื่อคนอื่น แน่นอนว่าทุกคนหวังที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชการ เพื่อให้ได้สวัสดิการ บำเหน็จ บำนาญ เพื่อชีวิตที่มีงานและเงินเดือนมั่นคง สวัสดิการต่างๆ เป็นต้น โดยเหตุผลด้านความต้องการสร้างการเติบโตให้กับประเทศ การรับใช้ประชาชน อาจจะเป็นปัจจัยรอง

กล่าวคือ หากเรามองภาพรวมเป็นแผนภูมิวงกลม สัดส่วนของประชากรไม่ตรงตามความต้องการของเศรษฐกิจ เพราะหน้าที่ของข้าราชการส่วนใหญ่ จะเป็นฝ่ายสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศ เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการ การดำเนินการเอกสารและกฏหมายต่างๆ เป็นต้น รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัตหน้าที่เป็นประจำ หากไม่ปฏิบัติเป็นประจำอาจก่อให้เกิดความเสียหาย มากกว่าการ สร้างการเติบโต

หากเทียบเป็นพอร์ตการลงทุน คือ พอร์ตที่มีความเสี่ยงน้อย และ ผลตอบแทนน้อยด้วยนั่นเอง โดยเทียบได้จาก สัดส่วนจาก รายจ่ายประจำ ใน โครงสร้างงบประมาณของประเทศ ประจำปี 2563 ที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 73.7 (ข้อ 4.2)

ข้อสังเกต ยิ่งมีหน่วยงานเยอะมากขึ้นเท่าไหร่ จำเป็นต้องมีบุคลากรในส่วนนี้มากขึ้นเท่านั้น หากมองภาพในมุมกว้าง จะทำให้งบประมาณของประเทศที่ถูกจัดสรรลงสู่แต่ละหน่วยงาน อยู่ในสัดส่วนที่น้อยลง เพราะด้วยจำนวนหน่วยงานที่มีมาก

หรือ หากเป็นในรูปบริษัท หรือกิจการ การเพิ่มอัตราเงินเดือนให้ใครสักคนหนึ่ง เราจำเป็นต้องการหวังผลตอบแทน หรือ ผลลัพธ์จากประสิทธิภาพการทำงานของเขาด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่อายุงานเท่านั้น เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายในการขาย เงินเดือนพนักงาน เงินเดือนฝ่ายขาย เงินเดือนผู้บริหาร หากเพิ่มขึ้น สิ่งที่ควรจะเพิ่มตามคือ ผลประกอบการของกิจการที่ดีขึ้นด้วย จึงจะถือว่าเป็นการจ่ายที่คุ้มค่า เป็นต้น

4.2 งบประมาณรายปีของประเทศ (Monetary and Fiscal Policies)

เงินเดือน เปรียบกับ การขึ้นเงินเดือนของบริษัทเอกชน ที่การจ่ายเพิ่มควรจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน อาทิ ผลประกอบการบริษัท สัดส่วนกำไรที่เพิ่มขึ้น การบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งหากการจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการเหล่านั้นแล้วทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ย่อมสมควรจ่าย

จากตัวเลขประมาณการ งบประมาณของประเทศ ประจำปี 2563 จากสำนักงบประมาณ สัดส่วนอย่างง่ายของ โครงสร้างรายจ่ายของงบประมาณ  1.) รายจ่ายประจำ ประมาณร้อยละ 73.7 กล่าวคือ  เกี่ยวข้องกับแผนงานบุคลากรภาครัฐ หรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆเกี่ยวกับบุคลากรของรัฐ หรือ เปรียบเทียบง่าย ๆ คือ เงินเดือนข้าราชการ เงินประจำตำแหน่ง เงินพิเศษ สวัสดิการต่าง ๆ ค่าตอบแทน บำนาญ เงินในการดำเนินการ เช่น ค่ารับรอง ค่ากิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ที่กระจายอยู่ในแผนงานของงบประมาณของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เป็นต้น และ 2.) รายจ่ายด้านการลงทุน ร้อยละ 21.3  3.) รายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง ร้อยละ 2.0 และ 4.) รายจ่ายชำระคืนเงินกู้ ร้อยละ 2.7

4.3 การใช้จ่ายในรูปของการก่อหนี้ ส่งผลต่อ การเติบโตเศรษฐกิจ

บางท่านอาจสงสัยว่า การที่เงินเดือนข้าราชการอยู่ในสัดส่วนสูงขนาดนี้ ถือว่าดีไม่ใช่หรือ? เพราะประชากรจะได้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เสียภาษีเยอะขึ้น มีการหมุนเวียนเศรษฐกิจมากขึ้นไม่ใช่หรือ? .. ไปลองวิเคราะห์พร้อมๆกันเลย

จากตัวเลข สภาวะการทำงาน ประจำเดือน ตุลาคม 2562  จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมีทั้งสิ้น 56.66 ล้านคน

  • 4.3.1) ประชากรผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 37.44 ล้านคน  คิดเป็นสัดส่วน “ผู้มีงานทำ” 37.00 ล้านคน (100.00%)  แบ่งได้ ดังนี้ หมวดเกษตรกรรมกว่า 11.5 ล้านคน (31.081%) หมวดบริหารราชการเพียง 1.58 ล้านคน (4.27%)  เช่น ข้าราขการ ผู้บริหารระดับต้น ข้าราชการระดับสูง ผู้บัญญัติกฏหมาย เป็นต้น  รวมลูกจ้างรัฐบาลจะอยู่ประมาณ 3.4 ล้านคน (9.18%) ตัวเลขนี้ คือ ตัวเลขแสดงสัดส่วนที่ได้สัดส่วนของเงินงบประมาณประจำปี ร้อยละ 73.7 ลูกจ้างเอกชน 14.8 ล้านคน (40.00%) ผู้ที่ทํางานให้ครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง 6.03 ล้านคน (16.29%)
  • 4.3.2) ประชากรผู้อยู่นอกกำลังแรงงาน 19.22 ล้านคน เป็นผู้ที่เรียนหนังสือ 4.3 ล้านคน ทำงานบ้าน 5.6 ล้านคน เด็กและผู้ชราที่ไม่สามารถทำงานได้ 7 ล้านคน พิการและเกษียณราชการ 2.1 ล้านคน

จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ครึ่งปีแรก (H1) ประจำปี 2562 ค่าใช้จ่ายครัวเรือนและหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ เฉลี่ยทั่วทั้งประเทศ เท่ากับ 200,268 บาท และ 167,913 บาท ตามลำดับ

รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพมหานนคและปริมณฑล และ เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ เดือนละ 38,234 บาท และ 26,316  บาท ตามลำดับ

โดยตัวเลขการก่อหนี้ ที่สูงที่สุด 2 อันดับแรก คือ 1.) หนี้สินเพื่อการอุปโภคและบริโภค ร้อยละ 38.4  2.) หนี้สินเพื่อการอยู่อาศัย ร้อยละ 37.3

กล่าวคือ ผู้คนก่อหนี้เพื่อดำรงชีพ รวมถึงประชากรบางกลุ่ม เมื่อมีรายได้มากขึ้น มีสัดส่วนในการซื้อสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากกว่า เช่น ซื้อ/เช่า ที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโดมิเนียม ยานพาหนะ รถยนต์ เป็นต้น

ทั้งสองปัจจัยดังกล่าวมาสู่ปัญหาในการก่อหนี้เกินตัว และปัญหาการขาดกำลังซื้อของประชากรนั่นเอง รวมถึงคำว่า “ครัวเรือน” อาจหมายถึง การรวมบุคคล 1-3 คน หรือ หนึ่งครอบครัว หรือไม่ก็ได้ เพราะจากตัวเลข มีประชากรที่ทำงานให้กับครอบครัวที่ไม่มีรายได้กว่า 6 ล้านราย จาก 37 ล้านราย ยกตัวอย่างเช่น ภรรยาที่เป็นแม่บ้าน เป็นต้น

หากอธิบายอย่างง่าย คือ คนที่มีรายได้ปานกลาง (Middle Class) ส่วนมากมักนำเงินไปก่อหนี้กับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง มากกว่านำมาบริโภค โดยที่ระดับรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ยังไม่สามารถมีกำลังมากเพียงพอในการชำระหนี้สินได้ รวมไปถึง การที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จนกลายเป็น “หนี้เสีย” (Non-Perforning Loan, NPL) ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

อีกทั้งทำให้ตนเองขาดสภาพคล่องและขาดกำลังซื้อ ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ที่มีรายได้ต่ำ หรือ ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการตามชุมชนและท้องถิ่น จึงขาดผู้ซื้อ ขาดรายได้ ขาดกำลังซื้อ อาจส่งผล ทำให้เรารายได้ไม่ส่งสู่ระดับเศรษฐกิจขนาดย่อมอาจก่อให้เกิดการก่อหนี้เพื่อการดำรงชีพ  ส่งผลกระทบต่อประเทศด้วยกันทั้งสิ้น

รวมถึง หากดูจากรายงาน 4.3.2) จะพบว่า ผู้พิการและเกษียณราชการ และผู้ชราที่ไม่สามารถทำงานได้ คำนวณอย่างง่าย มีมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งจำนวนผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานของรัฐบาล ทั้งข้าราชการ และลูกจ้างรัฐบาลอยู่ที่ 3.4 ล้านคน (หากนับเฉพาะข้าราชการที่จะได้รับสิทธิในอนาคต ก็จะเหลือ 1.58 ล้านคน) แน่นอนว่าตัวเลขเหล่านี้ แสดงให้เห็นผลกระทบที่จะเกิดกับระบบสวัสดิการในอนาคตอันใกล้ เพราะ ผู้ที่ต้องการใช้เงินเกษียณราชการ มีมากกว่า ผู้ที่จ่ายเงินสมทบเข้าระบบสวัสดิการของราชการ รวมถึงมีแนวโน้มประชากรที่ลดลง ไม่เพียงแต่ระบบสวัสดิการของรัฐบาลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กรณีเองอาจเกิดขึ้นกับระบบสวัสดิการของบริษัทเอกชนได้ด้วยเช่น เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกันนั่นเอง

อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อ 1.2 ) ก่อนหน้านี้ว่า นโยบายในการแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรในภาพรวมของประเทศ คือ การขยายอายุการทำงานของบุคลากรออกไป นอกจากทำให้ค่าตอบแทนต่อหัวอยู่ในสัดส่วนที่สูง หากเทียบกับผลลัพธ์ในการดำเนินงานที่ได้ ยังเป็นการส่งผลทางอ้อมให้เกิดความเลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย ส่วนหนึ่งทำให้เกิดปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคมได้ด้วยเช่นกัน เพราะ แรงงานรุ่นใหม่ ที่มีศักยภาพก่อให้เกิดการเติบโตของประเทศต่อไปได้ อาจจะได้รับค่าตอบแทนในสัดส่วนที่น้อยกว่า รวมถึงกระทบกำลังซื้อในข้อ 3. ด้วยเช่นกัน

4.4 การใช้จ่ายภาครัฐ (G) และ ระดับหนี้สาธารณะ 

จาก 4.2) งบประมาณประจำปี 2563 เท่ากับ 3.2 ล้านล้านบาท ในขณะที่ประมาณการรายได้ประจำปี 2563 จากหน่วยงานของรัฐ  2.75 ล้านล้านบาท  โดยรัฐบาลดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล 450,000 ล้านบาท

กล่าวคือ สัดส่วนการจ่าย มากกว่า รายได้  หรือ ภาษีที่เก็บได้ ทำให้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้หนี้สาธาณะของเราปรับตัวสูงขึ้น เพราะ รัฐบาลจำเป็นต้องไปทำรายการกู้เงินจากสถาบันการเงิน มาเติมในส่วนที่ขาดหายไปนี้ เพื่อมาดำเนินนโยบายตามตัวเลขที่กำหนด

ข้อมูลหนี้สาธารารณะของประเทศไทย ประจำปี 2562 จาก สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

ข้อมูลหนี้สาธารณะคงค้าง ณ เดือน พฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ 6,945,348.42 ล้านบาท  คิดเป็นประมาณ ร้อยละ 41 ของประมาณการ GDP (หลักเกณฑ์ที่ควมคุม คือ ไม่เกิน ร้อยละ 60) โดยตัวเลขหนี้ที่อยู่ในสัดส่วนที่สูงที่สุด คือ เงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการบริหารหนี้ เท่ากับ 4,157,421.04 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 59.85 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด แสดงให้เห็นการดำเนินการด้วยนโยบายขาดดุลงบประมาณสั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นการกู้เงินเพื่อพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจเป็นสำคัญ และตัวเลขที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่ง คือ หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 803,016.21 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ  11.56 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด

ตัวเลขเงินกู้ ที่รัฐบาลกู้จากต่างประเทศจากรัฐบาลต่างประเทศ สัดส่วนที่สูงที่สุด คือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) 1,485.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ ธนาคารโลก (IBRD) 927.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ ธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) 279.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นอกจาก ทำหน้าที่บริหารหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับความเสี่ยงและต้นทุนที่เหมาะสมแล้ว ยังทำหน้าที่ระดุมทุน จากการออกพันธบัตรรัฐบาล เพื่อระดุมเงินให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ เพื่อนำมาใช้จ่ายชดเชยการขาดดุลงบประมาณ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่วงเงินสูง การกู้เงินเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนด นอกจากการระดมทุนให้ครบตามความต้องการกู้เงินในแต่ละปี

โดยความเสี่ยงของการใช้จ่ายภาครัฐและการก่อหนี้สาธารณะ .. หากเปรียบเทียบกับ “หนี้ครัวเรือน” หากนึกภาพว่า ประชาชน กู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้นมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น จะส่งผล ให้เรามีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ทำให้รายได้หลังการจ่ายภาระดอกเบี้ยลดลง แทนที่จะได้นำเงินตรงนี้ไปจับจ่ายใช้สอย เช่นเดียวกับ รัฐบาล หากมีภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่สามารถจัดเก็บรายได้เท่าเดิม หรือ ลดลง ก็ส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศลดลงเช่นกัน หรือ เมื่อได้มาก็ต้องนำไปชำระหนี้สินคงค้าง

ซึ่งประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ลดลง จากปัจจัยต่างๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือ โครงสร้างการจัดเก็บภาษี รวมถึง โครงสร้างความซับซ้อนของการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจ อาจจะเปลี่ยนไปแล้วในปัจจุบัน ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้าหมาย เป็นต้น ซึ่งหากรายได้จัดเก็บได้น้อยลง อาจส่งผล ทำให้รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นในระยะยาว รวมถึงดอกเบี้ยและต้นทุนทางการเงินต่อรายได้ของรัฐบาลเองก็เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง

รวมถึงการดำเนินนโยบายของการใช้จ่ายภาครัฐ ที่เน้นเงินโอนให้แก่ประชาชนโดยตรง ที่ส่งผลได้รวดเร็วมากกว่าในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และหวังว่า เงินโอนนี้ จะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในทันที แต่ นโยบายลักษณะดังกล่าว ไม่ได้ผลลัพธ์ที่เป็นผลตอบแทนด้านการเงินกลับคืนสู่รัฐบาล ในขณะที่รัฐบาลแบกรับต้นทุนทางการเงินนั้นไว้ ซึ่งหวังว่า รัฐบาล จะได้รายได้กลับคืนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีอื่นๆ เป็นต้น  ซึ่งจะแตกต่างจากการปล่อยสินเชื่อผ่านสถาบันการเงิน ในขณะที่รายได้หลักของรัฐได้มามากที่สุด มาจาก กรมสรรพากร ซึ่งหากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเก็บภาษีของรัฐบาลจากทั้งประชาชนและเอกชนก็จะอยู่ในะระดับต่ำตามไปด้วย (อธิบายไปแล้วข้างต้น) ก็จะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายด้านงบประมาณประจำปี และ การบริหารหนี้สาธารณะ

อ่านเพิ่มเติม :
ชิมช้อปใช้ .. มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?
วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?
พระราชกำหนด กู้เงิน หลักล้านล้านบาท รัฐบาล กู้เงินจากสถาบันการเงินใดได้บ้าง

รวมไปถึง การระดุมทุนจากพันธบัตรรัฐบาล เพื่อบริหารหนี้สาธารณะและงบประมาณประจำปี อาจส่งผลส่วนหนึ่ง ต่อ สภาพในตลาดการเงิน ซึ่งอาจจะมีผลต่อ ค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบกับเศรษฐกิจได้ด้วยเช่นกัน ก็จะกลับมามีผลกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้เช่นกัน

หากให้อธิบายให้เห็นภาพอย่างง่าย .. รัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศให้ไปในทิศทางที่ดี ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ  หากเศรษฐกิจยังเติบโตอยู่ในระดับที่ต่ำ เราก็ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบขาดดุลต่อไป หากการใช้จ่ายของรัฐ และการลงทุนของรัฐ ยังไม่สามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดได้ หรือ ลงทุน หรือ ใช้จ่ายไปแล้วไม่ก่อประโยชน์งอกเงย ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน ทำให้อาจจะไม่สามารถก้าวพ้นระดับรายได้ปานกลางไปได้ในอนาคตอันใกล้

4.5 การศึกษา (Education) และ ทักษะและความสามารถ (Skills) ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด

จากข้อมูลประจำปี 2562 พบว่า ประชากรที่อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป มีทั้งสิ้น 56.66 ล้านคน มีบุคลากรอยู่ในกำลังแรงงาน 37 ล้านราย อยู่ในภาคเกษตรกรรม 11.5 ล้านราย ภาคการค้าส่ง 6.5 ล้านราย ภาคการผลิต 6.1 ล้านราย

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรมขั้นต้น แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ สาขาวิชาอื่นๆ เป็นต้น ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ที่เติบโตขึ้นในปัจจุบัน ยังขาดผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้าไปร่วมงานกับบริษัท ทำให้กรวย (Funnel) ของผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านนี้ มีสัดส่วนน้อยกว่านั่นเอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำของประชากร เพราะ คนบางกลุ่มที่เป็นบุคลากรมีฝีมือที่มีจำนวนจำกัด จะได้รับการจ้างงานในอัตราเงินเดือนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับ บุคลากรในสายงานปกติทั่วไป และได้ยกตัวอย่างไปแล้วใน ข้อ 1.2)


5.การลงทุนในตลาดเงิน เพื่อบริหารองค์กรของสถาบันการเงินต่างๆ 

State Pensions (สวัสดิการของข้าราชการแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องผลตอบแทนในรูปตัวเงิน)

  1. กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการแห่งชาติ (กบข.)
  2. สถาบันการเงินอื่นๆ

มูลค่าในการลงทุน ของ กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการแห่งชาติ หรือ กบข. (2561) รวมทั้งสิ้น 382,118.14 ล้านบาท ซึ่งเงินที่นำมาลงทุน มาจาก “สมาชิกกองทุน” โดยหักจาก “เงินเดือน” และได้ “เงินสมทบ” ส่วนหนึ่งจ่ายเพิ่มจาก รัฐบาล

โดยแจมเพย์ขอนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย สัดส่วนการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ของกองทุนฯ ดังนี้

  1. ตราสารหนี้ของรัฐ คือ พันธบัตรรัฐบาล
  2. ตราสารหนี้ระยะสั้น
  3. ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทย
  4. ตราสารทุนไทย
  5. ตราสารทุนโลกประเทศพัฒนาแล้ว

มีนโยบายลงทุน 4 ประเภท และสัดส่วนการลงทุนจริง (2561) ดังนี้

  1. กลุ่มรับมือการถดถอย (Safety Assets) ร้อยละ 48.04
  2. กลุ่มกระจายความเสี่ยง (Diversifiers Assets) ร้อยละ 21.00
  3. กลุ่มรับมือเงินเฟ้อ (Inflation Sensitive Assets) ร้อยละ 11.98
  4. กลุ่มรองรับการขยายตัว (Growth Assets) ร้อยละ 18.98

จากการตรวจสอบ รายงานประจำปี (Annual Report) และ ผลการดำเนินงาน (Performance Report) ของ กองทุนฯ พบว่า ความเสี่ยงหลักของกองทุนฯ คือ ความเสี่ยงในด้านการลงทุน และ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องในช่วงเดือน กันยายนของทุกปี ก่อนช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้เกษียณ

และแม้ว่า ผลการดำเนินการของกองทุนจะอยู่ในระดับที่ดี แต่ กองทุน หรือ สถาบันการเงินต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ผลตอบแทนสูงในสัดส่วนที่สูงได้ เพราะมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน สามารถลงทุนได้เพียง กลุ่มรับมือการถดถอย (Safety Assets) ที่มีสัดส่วน ร้อยละ 48

อ่านเพิ่มเติม:
– กบข. ขาดทุน? .. ผลตอบแทน กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เป็นอย่างไรบ้าง
สหกรณ์ออมทรัพย์ มีความเสี่ยง-ได้รับผลกระทบ หรือไม่ อย่างไร?

Private Pensions (สวัสดิการของพนักงานเอกชน ที่เกี่ยวข้องผลตอบแทนในรูปตัวเงิน)

  1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  2. สำนักงานประกันสังคม (หน่วยงานของรัฐ)
  3. สถาบันการเงินอื่นๆ 
เงินประกันสังคม หายไปไหน, ประกันสังคม, เงินประกันสังคม,

ข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม

เงินประกันสังคม หายไปไหน, ประกันสังคม, เงินประกันสังคม,

ข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม

ขออธิบายตรงนี้สั้นๆ ว่าด้วยสมมติฐาน บทพื้นฐานที่ว่า สถาบันทางการเงินเหล่านี้ มี ผู้จัดการกองทุน (Funds Manager) ที่เก่งระดับหัวกะทิของประเทศ บริหารและดำเนินการภายใต้ผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนหรือสมาชิกและองค์กรเป็นสำคัญ แต่เราควรมองความเสี่ยงเหล่านี้ไว้บ้าง เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือ และสร้างความมั่นคงได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน

เพราะ ข้อ 1 – 4 ที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่งผลกระทบต่อ การลงทุนของสถาบันด้วยกันทั้งสิ้น เพราะ แม้ว่าสถาบันการเงินเหล่านี้ ดำเนินนโบายในการลงทุน ด้วยการกระจายความเสี่ยงไปยังหลักทรัพย์หลาย ๆ กลุ่ม และแม้ว่าผลการดำเนินงานในปัจจุบันยังเป็นที่น่าพอใจ แต่ในทุกหลักทรัพย์ที่ลงทุน มีปัจจัยเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น อาทิ ประชากรที่ลดลง ส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในระยะยาว ตัวอย่างเช่น ส่งผลต่อกำลังซื้อ ส่งผลต่อกำลังคนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ส่งผลต่อตลาดการเงิน ส่งผลต่อการลงทุน ดังนั้น เป็นเหตุให้สิ่งเหล่านี้ ส่งผลต่อความเสี่ยงในการบริหารงานสถาบันการเงินด้วยเช่นกัน และในขณะที่ผลการดำเนินการของสถาบันการเงินต่าง ๆ อยู่ในระดับที่ไม่ดี ประชากรก็ยังลดลงต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อจำนวนที่ผู้สามารถจ่ายเงินสมทบในส่วนนี้ได้มีน้อยกว่า ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิในสวัสดิการส่วนนี้ รัฐบาลก็มีการก่อหนี้สาธารณบางส่วนเพื่อเป็นการใช้จ่าย อีกทั้งยังต้องมีการชดเชยแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานหรือสถาบันทางการเงินล้ม ในช่วงปี 2540 อันจะสร้างความเสียหายแก่ประเทศ ซึ่งเรามีหนี้สินในครั้งนั้นอยู่ประมาณ 1.14 ล้านล้านบาท หากคิดเป็นดอกเบี้ยต่อปี เราจะเสียดอกเบี้ยราวๆ หลักหมื่นล้านบาทต่อไป และคาดว่าต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจนหมด

เราจะเห็นได้ว่า สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น ส่งผลซึ่งกันและกัน และอย่าลืมคำนึงไปว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ต้องการใช้สิทธิสวัสดิการเหล่านี้ (Beneficiary) มากกว่า ผู้ที่เป็นกำลังแรงงานในปัจจุบัน (Worker) อยู่เกือบเท่าตัว ยกตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2030 อัตราส่วนระหว่างคนทำงานต่อผู้รับประโยชน์ (Worker : Beneficiary ) จะเท่ากับ 2 : 1 และ อาจส่งผลกับระบบสวัสดิการของประเทศเขา ซึ่งจะแตกต่างกับกรณีประเทศไทย ที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มรูปแบบในอีกไปกี่ปีนี้ นั่นหมายความว่า อัตราส่วนของประเทศไทย อาจจะเป็น 1 : 2  แม้ว่าในกรณีที่ดีที่สุด ที่ผู้จัดการกองทุนจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากเพียงใด แต่ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ สถาบันมีการจ่ายเงินเหล่านี้ออกไปจากสถาบันตลอดเวลา และที่สำคัญกว่านั้น คือ ผู้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ บำนาญ (Beneficiary) มีมากกว่า คนทำงาน (Worker) จำเป็นต้องคำนึงอย่างมากว่า จำเป็นต้องลงทุนอย่างไร  เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ได้ผลตอบแทนมากแค่ไหน จึงจะเพียงพอต่อความต้องการ


เราควรเตรียมตัวอย่างไร? หากระบบ บำนาญ (Pension) และ สวัสดิการ (Welfare) อาจจะมีปัญหา 

1. พัฒนาตนเอง

งานที่การเงินและสวัสดิการมั่นคง อาจจะหมดไปในอนาคตอันใกล้ จากปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น การพัฒนาตนเองที่ดีที่สุด เรียกว่า Re-skills หรือ การปรับเปลี่ยนทักษะและความสามารถ ที่ตนเองมีจากด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว ให้มีทักษะและความสามารถเพิ่มอีกด้านหนึ่ง หรือ หลาย ๆ ด้านมากขึ้น

เพื่อทำให้ตนเองได้มีโอกาสได้ทำงานในสายงานที่มีผลตอบแทนสูง หรือ มีความสามารถที่เพิ่มขึ้นเพียงพอ เหมาะสมกับการได้รับค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น เหมาะสมในการที่เราจะสามารถอยู่รอดได้หากมีการเปลี่ยนแปลง

2. เริ่มต้นออมเงินและลงทุนด้วยตัวเองด้วย

พอเริ่มมีโอกาสที่ทำให้มีรายได้เยอะขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นข้าราชการ พนักงานบริษัทเอกชน หรือ ผู้อยู่นอกกำลังแรงงาน ให้เพิ่มจำนวนเงินที่ออมและลงทุนเพิ่มตามขึ้นไปด้วย

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนเพื่อสร้างวินัยกับตัวเอง เพราะ คนเรามีความพิเศษอย่างหนึ่ง คือ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น เรามักสามารถเพิ่มรายจ่ายตามขึ้นมาให้เท่ากับรายได้ ได้เช่นกัน

เรามีโอกาสได้นั่งพูดคุยกับคนที่ใช้เงิน 10 ล้านบาท ที่พ่อแม่ให้เป็นของขวัญวันแต่งงาน จนหมดภายใน 2 ปี มาแล้ว ในขณะที่พ่อแม่ใช้เวลาหามาทั้งชีวิต

เราเห็นเศรษฐีใหม่ใช้เวลาไม่ถึง 10 ปี ในการสร้างตัวเองจากศูนย์ ขึ้นมาเป็นธุรกิจ 100 ล้านบาทได้

เราเห็นคนที่พ่อแม่มีทรัพย์สมบัติมากมาย ถึงรุ่นลูกขายทรัพย์สมบัตินนั้น ขายที่ดิน จนตอนนี้ก็เปลี่ยนจากคนที่เคยมั่งมี มาเป็นสถานะปานกลาง

ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้หมด ดังนั้น ต้องเริ่มต้นใช้ชีวิตที่เห็นคุณค่าของการออมและการสร้างมูลค่าจากสิ่งที่ตนเองมีอยู่ และไม่ประมาทกับชีวิตจนเกินไป

ข้อดี ของการเริ่มต้นออมเงินและลงทุนด้วยตัวเอง คือ เราไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินออกไป เหมือนกับสถานบันการเงินเหล่านี้ แม้ว่าผลการดำเนินการ หรือ ผลตอบแทนของเราจะไม่สูงอย่างนักบริหารกองทุนมืออาชีพก็ตาม

อ่านเพิ่มเติม :
วางแผนการเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างไร?
เก็บเงินแสนแรก 100,000 ++ (HOW TO)
การบริหารเงินสด-สภาพคล่อง สำคัญอย่างไรกับชีวิต-ธุรกิจ-การลงทุน?
ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม ได้รับผลกระทบอะไร?
กองทุนประกันสังคม ซื้อหุ้นแพง จนขาดทุน จริงหรือไม่?
รีวิว ผลตอบแทน จากการลงทุน ด้วยกลยุทธ์ จัดพอร์ตการลงทุน H1/2020

3. มองภาพและเป้าหมายระยะยาว 

การมองความเสี่ยง ถือ เป็นส่วนหนึ่งของการมองภาพระยะยาว เพื่อหาวิธีการต่างๆ เพื่อรองรับว่าเราควรรับมืออย่างไร หากเกิดสถานการณ์ต่างๆ ขึ้นมา ถึงวันนั้นเราจะทำอย่างไร

และจำเป็นอย่างมาก ต้องคำนึงถึงว่าในระยะยาวเราจะเป็นอย่างไร ในวัยเกษียณเราจะใชัชีวิตอย่างไร เราควรสุขสบายตอนไหน บางท่านให้ความเห็นว่า เราใช้เงินตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความสุขในตอนนี้เลย หาเงินมาได้ก็ใช้เลย

แต่อยากให้ความเห็นว่า จริง ๆ แล้วเราควรวางแผนชีวิตของเรา ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร เราวางแผนการเงินอย่างไร ให้มีความสุขในทุกช่วงเวลา รวมถึงมองไปในอนาคต ตอนที่เราไม่สามารถหาเงินได้แล้ว เราจะเป็นอย่างไร จะมีช่องทางไหนในการสร้างรายได้ เราจะนำเงินส่วนไหนมาเลี้ยงชีพตนเอง

จะหวังพึ่งอื่นให้มาดูแลตนเองอย่างนั้นหรือ อยากเป็นพ่อแม่ที่ทิ้งหนี้สิน มอบความลำบากให้ลูกอย่างนั้นหรือ หากเป็นบุคคลที่อยู่ตัวคนเดียวจะให้ใครมาดูแลเราหรือ ญาติพี่น้องหรือ

ดังนั้น เรื่องการวางแผนการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะน้อยคนที่จะเข้าใจมันอย่างจริงจัง และไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องพูดถึงเรื่องนี้

ห้ามคิดว่า พ่อแม่เรารวย มีเงินให้เราใช้ไปได้ตลอด หากวันหนึ่งพ่อแม่เราล้มละลาย พ่อแม่ถูกเลิกจ้างกระทันหัน หรือ พ่อกับแม่ไม่เคยบอกเราตรง ๆ เลยว่ามีหนี้สินอยู่เท่าไหร่ แล้วเราไม่ได้มีภูมิคุ้มกันทางการเงินมาเลย ไม่มีภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตมาเลย วันที่เราได้สิ่งเหล่านั้นมาอยู่ในมือ เราอาจจะไม่เห็นคุณค่าของมัน หรือไม่รู้วิธีจัดการกับมัน กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว

อ่านเพิ่มเติม:
วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?
ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

“แจมเพย์” (Jampay) เขียนบทความนี้ขึ้นมา ไม่ได้ต้องการให้เกิดความวิตกกังวล ความหวาดกลัวจนเกินไปในเรื่อง ของ บำเหน็จบำนาญ หรือ สวัสดิการ และไม่ได้บอกว่า ไม่ควรสมบทบเข้ากองทุนประกันสังคม หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ เงินที่เราลงทุนไปจะสูญเปล่าหรือไม่

แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเสี่ยง และ อาจได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งนั้น แม้ว่าจะเป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีผู้เชียวชาญบริหาร ก็ยังต้องเผชิญความเสี่ยงเช่นกัน และแนะนำว่า เรายังคงควรมีสัดส่วนของการสมทบกองทุนประกันสังคม กองทุนฯ ต่างๆ รวมถึง มีการบริหารจัดกการการเงินของตนเองไว้บ้าง เช่น การมีเงินฝากประจำ ทองคำ หรือ สินทรัพย์อื่นๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดนขึ้นในอนาคต อย่าหวังพึ่งน้ำบ่อเดียว ตะกร้าใบเดียว

ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องทำหน้าที่ในการวางแนวทางพัฒนา ป้องกัน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และ แนวทางที่สนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนภายในประเทศ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เพราะ บางปัจจัยเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ บางปัจจัยเราก็สามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง เราทำหน้าที่ดูแลจัดการตัวเองในระดับหนึ่งก่อนในปัจจัยเหล่านั้น แล้วเราจะอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน


บทความนี้เป็นบทความต้นฉบับ เป็นมุมมองและความคิดเห็นส่วนตัวมุมมองหนึ่งเท่านั้น เป็นบทความที่เขียนอธิบายได้ยากมากที่สุด และใช้เวลาเขียนนานที่สุดกว่า 1 เดือน เนื่องจาก ผลของการที่กิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลต่อกันแบบใยแมงมุม ทำให้ต้องอธิบายกลับไป – กลับมา รวมถึง ต้องอาศัยมุมมองจากมหภาคไปสู่จุลภาค และ จุลภาคกลับขึ้นมาสู่มหภาค ใช้พลังสมองค่อนข้างอย่างมาก ด้วยความประสงค์ดีที่ต้องการชี้ให้เห็นภาพกว้างและสื่อความหมายในการเตรียมพร้อมในการรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้อ่าน ไม่ว่าผู้อ่านจะเป็นข้าราชการ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน หรือใครก็ตาม โดยการวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานความเป็นจริง หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ทีนี้

สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปประกอบเพื่อการศึกษาสามารถทำได้ โดยอาศัยการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆประกอบด้วย เพื่อมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบทความนี้ไม่มากก็น้อย 

อ้างอิง:
บำเหน็จบำนาญ กรมบัญชีกลาง
กรมบัญชีกลาง
สำนักงานประกันสังคม
รายงานผลสถานะการลงทุนกองทุนประกันสังคม Q3/2019
งบแสดงสถานะทางการเงินกองทุนประกันสังคม ปี 2560
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
สำนักงบประมาณ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เศรษฐศาตร์แรงงาน
US Pension Crisis
ธนาคารแห่งประเทศไทย