ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) (Impact) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ผลกระทบทางเศรษฐกิจ covid-19 จาก สถานการณ์โควิด ทั้งด้านการท่องเที่ยว ส่งออก นำเข้า เกษตรกร การบริโภค ธุรกิจ บริษัท การลงทุน ตลาดหุ้น หุ้น ไทย การหางาน การจ้างงาน .. ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการเยียวยา .. ลงทะเบียนว่างงาน ลงละเบียนคืนเงิน ลงทะเบียนรับเงิน รับเงินคืน บัตรคนจนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เราจะไม่ทิ้งกัน เน็ตฟรี ลงทะเบียนอินเตอร์เน็ตฟรี.. etf rmf ltf ssf ผู้คนอาจหันไปหาช่องทางหาเงินที่รู้สึกว่าง่ายกว่า อย่างการเทรด ไม่วากับ โบรคเกอร์ (Broker) ในไทย หรือ ต่างประเทศ อย่าง fbs, iq options, xm, forex,forek, etf, bybit, etrades, olymp trades , tickmill เป็นต้น

ผลกระทบ จาก โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

“ระบบเศรษฐกิจ” (Economy) และ “โครงสร้างเศรษฐกิจ” (Economy Structure) ของประเทศไทย พึ่งพาการบริโภคภายใประเทศ และ พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว เป็นหลัก โดยได้อธิบายไว้ในบทความ “วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย จะไปต่ออย่างไร?” ก่อนหน้านี้

โดยหากท่านได้ทำการบทความดังกล่าวมาก่อนแล้ว คงพอจะทราบและทำความเข้าใจได้ว่า โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นอย่างไร และมี ความเสี่ยง (Risk) อย่างไร ซึ่งมองว่าเป็นผลกระทบในระยะยาว (Long-Term) ต่อ ระบบเศรษฐกิจ

โดยในบทความดังกล่าว ยังไม่ได้รวมปัจจัยจากโรคระบาด ซึ่งมองว่า “โควิด 19” หรือ โรคระบาดอื่น ๆ ส่งผลกระทบ (Impact) ในระยะสั้น (Short-Term) ถึง ระยะกลาง

กล่าวคือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ จาก โควิด19 (COVID-19)  อาจส่งผลกระทบเป็นระยะเวลา 6-18 เดือน หรือมากกว่า ซึ่งกระทบกับทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ จึงขอทำการแยกออกมาเป็นอีกหนึ่งบทความ

ซึ่งสถานการณ์โควิด (COVID-19) ที่กำลังระบาด อาจส่งผลกระทบกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ  อะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย ..

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ โครงสร้างเศรษฐกิจไทย
วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?


สารบัญ

ผลกระทบทางตรง จาก โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย (ในระยะสั้น)
ผลกระทบทางอ้อม หากเศรษฐกิจของประเทศไทยชะลอตัว (Recession) นานกว่าที่คิด หลังจากการระบาด โควิด19 (COVID-19)
สรุปภาพรวม: ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย


ผลกระทบทางตรง จาก โควิด19 (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย (ในระยะสั้น)

1.การท่องเที่ยวที่หดหาย (Decreasing Tourists Rate)

การปิดประเทศ-ปิดเมือง (Lockdown) จาก นโยบายของรัฐบาลในแต่ละประเทศ เพื่อวางมาตรการป้องกันและต่อสู้กับการระบาดในครั้งนี้  ทำให้ ผู้ที่เดินทางทั้งที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศ หรือ นักท่องเที่ยว หรือ แรงงาน  ไม่สามารถเดินทางเข้า-ออก ประเทศที่มีนโยบายดังกล่าวได้ รวมถึงคำแนะนำการเดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่สุ่มเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการรับเชื้อ

ส่งผลโดยตรงต่อ “ธุรกิจสายการบิน” (Airline Industries) รวมถึง ส่งผลกระทบต่อไปยัง “ธุรกิจโรงแรม” (Hotel Industries)  และ “ธุรกิจร้านอาหาร” (Restuarants Industries) ร้านกาแฟ ค่าเฟ่ สถานบันเทิง ทั้งที่มีกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ และ ลูกค้าในประเทศ หรือ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Relative Industries)

รวมถึง การเว้นระยะห่างทางสัมคม (Social Distancing) การประกาศเคอร์ฟิว และ การประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ที่กระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด ส่งผลต่อ ภาคการท่องเที่ยวในประเทศ งานกิจกรรมต่างๆ ด้วยเช่นกัน

บางกิจการ ที่มีการ “บริหารเงินสด” และ “บริหารสภาพคล่อง” ภายในกิจการได้ดี อาจจะอยู่รอดได้ไปอีก 6 เดือน บางกิจการ อาจจะอยู่ไปอีก 3 เดือน หรือ บางกิจการต้องปิดตัวลง และ เลิกจ้างพนักงาน

2.การนำเข้า-ส่งออกชะลอตัว (Lower Importing-Exporting Rate)

แน่นอนว่า “การส่งออก” (Exporting) คือ การส่งสินค้าไปขายยังประเทศต่างๆในโลก ซึ่งหากประเทศคู่ค้าทางธุรกิจของผู้ส่งออก ประสบปัญหาภายในประเทศเช่นเดียวกัน นั่นย่อมทำให้เกิดการชะลอการสั่งซื้ออกไปแบบไม่มีกำหนด

อาจทำให้บางบริษัทเกิดการขาดสภาพคล่อง เงินทุนหมุนเวียน และส่งผลต่อการจ้างงานในภาคการส่งออก แม้ว่าค่าเงินบาทของประเทศไทยจะอ่อนค่าลง และทำให้ประเทศคู่ค้าใช้เม็ดเงินน้อยลงในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทย ซึ่งเป็นผลดีกับภาคการส่งออกก็ตามที

สำหรับ “การนำเข้า” (Importing) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Current Exchange Rate) ของประเทศไทยมีมูลค่าลดลง หรือ “ค่าเงินบาทอ่อนค่า” (THB Depreciation)

อย่างที่ได้อธิบายไปในบทความเรื่อง “ค่าเงินบาท” ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเป็นผลกระทบเชิงลบต่อ ผู้นำเข้า เพราะจะต้องใช้เงินบาทในจำนวนมากขึ้นในการนำเข้าวัตถุดิบ หรือ สินค้าต่างๆ มาเพื่อการผลิตและจำหน่าย

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ค่าเงินบาท
– เงินบาทแข็งค่า เงินบาทอ่อนค่า ใครถูกใจสิ่งนี้?

3.ลดการจ้างงาน การว่างงานที่เพิ่มขึ้น ความเลื่อมล้ำทางรายได้ กระทบ กำลังซื้อ และการบริโภคภายในประเทศ (Increasing Income Inequality Rate)

เมื่อธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับ ผลกระทบ โควิด19 เกิดการหยุดชะงักทั้งหมด แน่นอนว่า ย่อมเกิดการเลิกจ้างหรือชะลอการจ้างงานมากขึ้น เมื่อกำลังแรงงานไม่มีรายได้ ผู้คนขาดรายได้ ย่อมส่งผลต่อกำลังซื้อ และภาพรวมการบริโภคในประเทศย่อมลดลง และแม้จะมีการพักชำระหนี้ก็ตาม แต่ประชากรขาดรายได้เป็นระยะเวลานาน ความสามารถในการชำระหนี้สินลดลง ส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมระบบเศรษฐกิจไทย

ประชากรที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมบริการ (Service Industry) อยู่ในสัดส่วนที่สูง ในโครงสร้างกำลังแรงงาน และ แม้ว่าจะมีการลงทะเบียนว่างงาน จาก สำนักงานประกันสังคม และ กรมจัดหางาน เพื่อรองรับผู้ประกันตนในกรณีว่างงาน แต่ ผู้ประกันตนสามารถรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น หรือ แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แจกเงิน “เราไม่ทิ้งกัน” ลดภาษี หรือ มาตรการเสริมสภาพคล่องต่างๆ นับเป็นการบรรเทาในระยะสั้นเท่านั้น และ ถือเป็นการขาดรายได้ของผู้คนในระยะกลาง

และแม้ว่าบางธุรกิจจะยังไม่ได้รับผลกระทบในตอนนี้ หรือ ยังไม่ประเมินความเสี่ยงและบริหารสภาพคล่องบริษัทไว้บ้าง อาจสายเกินไป เพราะ การที่ผู้คนส่วนใหญ่ขาดรายได้ เขาจะเอากำลังซื้อที่ไหนมาซื้อ มาใช้ สินค้าและบริการของกิจการเหล่านั้น

แม้ว่าตัวเลข อัตราว่างงาน จะแสดงเพียง ร้อยละ 1.1 (%) จากผู้ใช้แรงงานทั้งหมด อ่านแล้วผู้อ่านอาจจะมีความคิดเห็นว่าอยู่ในสัดส่วนที่น้อย แต่ หากเราอ่านรายงานจากสำนักงานสถิติจะทราบการนับ “ผู้มีงานทำ” และ “ผู้ที่ว่างงาน” อย่างไร

ทำให้ยังมีประชากรจำนวนมากที่มีรายได้ หรือ สิทธิประโยชน์ ไม่เพียงพอในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือ อาจถือได้ว่าเป็น ผู้ที่มีรายได้น้อย

ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์ มีแนวโน้มว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจต่อไปอีกสักระยะ แม้ว่าการระบาดของโรคจะสิ้นสุดลง และต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ การว่างงาน
การบริหารเงินสด-สภาพคล่อง สำคัญอย่างไรกับชีวิต-ธุรกิจ-การลงทุน?
บำนาญ-สวัสดิการ ของ งานราชการ-บริษัท อาจมีปัญหา เราเตรียมตัวอย่างไร?
ประกันสังคม ขาดทุน? เงินหาย? .. สํานักงานประกันสังคม ได้รับผลกระทบอะไร?
พระราชกำหนด กู้เงิน หลักล้านล้านบาท รัฐบาล กู้เงินจากสถาบันการเงินใดได้บ้าง

4.ภาคการเกษตรชะลอตัว 

หลายท่านอาจจะให้ความเห็นว่า เมื่อสถานการณ์แบบนี้ ผู้คนออกจากเมืองหลวงเพื่อกลับถิ่นฐานบ้านเกิด (Outflows) ไปปลูกผักปลูกหญ้า ใช้ชีวิตที่ชนบทอย่างเรียบง่ายและสุขสบาย นั้นเป็นความคิดที่มองโลกในแง่ดีและด้านเดียวเกินไป

มองไปถึงว่า การเดินทางกลับบ้านเพียงเพื่อแบ่งปันอาหารกันรับประทานในครอบครัว ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลง มากกว่าการออกไปสร้างรายได้ในชุมชนของตนเอง หรือ พื้นที่สวนไร่นาของตนเอง เพราะ ถ้าสุขสบายอยู่ที่ชนบท มีที่ดินทำกิน มีที่นาให้ทำนา ผู้คนคงไม่เคลื่อนย้ายเข้ามาหางานในเมืองหลวงขนาดนี้

.. เพราะ ข้อสังเกตที่สำคัญ จาก ข้อมูลการถือครองที่ดินในประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินของตนเอง หรือ เพื่อใช้สำหรับการเกษตร จำเป็นต้องมีการเช่าที่ดินเพื่อทำอาชีพเลี้ยงปากท้อง เช่น การเช่าที่เพื่อทำนาข้าว เป็นต้น

แม้ว่าอุตสาหกรรมการเกษตรจะเป็น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิต ไม่สามารถเว้นระยะห่างทางสัมคม (Social Distancing) หากจำเป็นต้องทำการผลิตจากผู้ผลิต หรือ เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น

แต่ ภาคการเกษตรส่วนใหญ่ที่มีรายได้ เป็นระบบ “เกษตรกรพันธะสัญญา” (Contract Farmers) กล่าวคือ เกษตรกรเหล่านี้มีผู้ซื้อของตนประจำอยู่แล้ว และ ยอดการสั่งซื้อ มักขึ้นอยู่กับผู้รับซื้อ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าคนกลาง หรือ โรงงานผู้ผลิต (Manufacturers) ซึ่งหากยอดขายของผู้ผลิตลดลง การสั่งซื้อวัตถุดิบทางการเกษรย่อมลดลงในระยะสั้น

5.สินค้าฟุ่มเฟือยชะลอตัว

“สิ่งของอื่นคือ มายา ข้าวปลาคือของจริง” คำพูดที่เรามักได้ยินในช่วงเวลาวิกฤตต่างๆ เพราะ การเอาตัวรอดเมื่ออยู่ในสภาวะวิกฤตเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด

ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่เป็น สินค้าฟุ่มเฟือย ไม่ใช่สินค้าจำเป็น อาจต้องทำในใจช่วงเวลาวิกฤตแบบนี้ เพราะ ผู้คนจะหันไปสนใจกับ “ของจริง” เช่น “อาหาร น้ำดื่ม และ ยารักษาโรค เป็นต้น มากกว่า การไปซื้อ เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้าน เครื่องสำอางค์ เสื้อผ้า หรือ รวมไปถึงขนม หรือ แม้แต่ทรัพย์สินมีค่าต่างๆ เป็นต้น หากไม่จำเป็นต้องซื้อจริงๆ

และ เพราะสินค้าจำเป็น และ สินค้าฟุ่มเฟือย ถูกกำหนดด้วยปัจจัยด้านรายได้ เมื่อมีรายได้ลดลง หรือ ขาดรายได้ จึงส่งผลต่อการตัดสินใจของประชากรด้วยนั่นเอง

6.ธุรกิจออนไลน์ ขายของออนไลน์ ชะลอตัว

สิ่งแรกและอุตสาหกรรมแรกที่ผู้คนจะหลั่งไหลเข้ามาหลังจากประสบปัญหา คือ “อุตสาหกรรมออนไลน์”  เพื่อความอยู่รอด แต่เราพยายามบอกว่า มันไม่ได้ง่ายดายขนาดนั้น เพราะ ต้องอาศัยต้นทุนในการเริ่มต้นด้วยกันทั้งสิ้น

ส่วนหนึ่งมาจาก ระยะเวลาของผู้ใช้งานมีที่จำกัด ความสนใจที่มีจำกัด และ ด้วยนโยบายการดึงฐานลูกค้าระหว่างกันของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ลดลงเช่นกัน แม้จะยังไม่ได้รวมปัจจัยนโยบายการดึงกำลังซื้อระหว่างกันจากแบรนด์ใหญ่ ๆ ในตลาด ดังนั้น ผู้คนไม่สามารถนำมาซื้อสินค้าและบริการของทุกท่านได้ทั้งหมดแน่นอน

อีกส่วนหนึ่ง ธุรกิจออนไลน์ พึ่งพารายได้จาก รายได้จากผู้สนับสนุน หรือ สปอนเซอร์ทางธุรกิจ หรือ แบรนด์ต่างๆ และ รายได้จากโฆษณา

ซึ่งหากอยู่ในช่วงวิกฤต หรือ ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย แบรนด์ต่างๆ เองจะทำการลดสัดส่วนรายจ่ายทางด้านการโฆษณาลงในช่วงนั้นเช่นกัน แม้ว่าจะเป็นแผนงบประมาณรายไตรมาส หรือ รายปีที่ได้วางไว้แล้วก็ตาม ไม่ว่าจะทั้งการสนับสนุน “ผู้สร้างสรรค์” (Content Creators) โดยตรง หรือ การลงโฆษณาผ่านเครือข่ายโฆษณาของผู้ให้บริการ (Ads Network)

หรือ หลังจากเหตุการณ์ดีขึ้น ทุกธุรกิจที่มีกำลังจะเริ่มกลับมาอัดงบโฆษณาออนไลน์ตามช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อเร่งยอดขาย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เงินไหลออกไปจากระบบระหว่างทาง ไม่ลงไปถึงด้านล่างของพีระมิด และยังเป็นการไปดึงเงินจากด้านล่างขึ้นมา

และ อาจลืมไปว่า ด้านล่างเองไม่มีเงินอยู่ในมือ ไม่มีกำลังซื้อ ดังนั้น อาจทำให้ ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เกี่ยวกับโฆษณาของธุรกิจ ประสิทธิภาพลดลง หรือ บางธุรกิจซื้อโฆษณาไปแล้ว แต่โฆษณาไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้แก่ธุรกิจได้ และคงไม่ต้องพูดถึงการลงทุนอื่นๆ จากภาคธุรกิจ ต้องชะลอออกไปก่อน

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ขายของออนไลน์และธุรกิจออนไลน์
ขายของออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ .. ทำไมยากขึ้นเรื่อยๆ?
ธุรกิจ Freemium Model รายได้มาจาก Premium Users มากที่สุดจริงหรือ?
Lazada vs Shopee ศึก 11.11 และ 12.12 บอกอะไรเรา? มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
Work From Home Platform | “แพลตฟอร์ม สำหรับทำงานที่บ้าน” สัญชาติไทย
– SEO และ Organic Search ข้อดี-ข้อเสีย ต่อ ธุรกิจ SMEs
Influencer Marketing กับ เศรษฐกิจไทย

7. ตลาดเงิน-ตลาดทุน เติบโตลดลง หรือ อาจถดถอย

การชะลอตัวของเศรษฐกิจ หรือ สภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ทำให้เกิดการคาดการณ์ถึง ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ว่าจะอยู่ในระดับที่แย่กว่า (Outperforming) เมื่อเทียบกับที่ผ่านมา ส่งผลโดยตรงต่อ ภาพรวมผลตอบแทน

รวม ถึงบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ อาจเกิดปัญหาสภาพคล่องและเงินหมุนเวียนภายในกิจการ ดังนั้น จึงเกิดนโยบายการพักชำระหนี้ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อ รายได้หลักสถาบันการเงิน ในระยะกลาง

สถาบันการเงินเอง บางส่วนลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนเพื่อผลการดำเนินการที่ดีและเพียงพอ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่ดีของสถาบัน

นักลงทุน (Investors) หรือ ประชาชน ขายสินทรัพย์ที่มูลค่า เพื่อถือเงินสดสำรองในการอยู่รอดในสภาวะวิกฤต ทำให้สถาบันการเงินบางส่วนจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่าออกเพื่อ นำเงินสดมาให้กับนักลงทุนในสถานการณ์ดังกล่าว

หรือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ผู้คนจำนวนมาก ตกงานงานพร้อมๆ กัน อย่างกรณีไวรัสระบาด โควิด19 (COVID-19) ที่เปิดขึ้นช่วงปี 2020 มีผู้ต้องการใช้สิทธิประโยชน์พร้อมกัน  อาจส่งผลกระทบต่อ สถาบันทางการเงินที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานประกันสังคม เป็นต้น

เพราะ โดยปกติ สถาบันทางการเงิน มักจะไม่คงสัดส่วนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดไว้มากนัก โดยนำเงินสมทบส่วนใหญ่ที่ได้มา ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อสร้างผลตอบแทน ในการนำมาบริหารสถาบันฯ และ เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้สมทบเงินทุน โดยมีสัดส่วนเงินสดเพียงพอต่อผู้ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ในสถานการณ์ปกติเท่านั้น

หากในสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้ แม้จะเป็นระยะสั้น ถึง ระยะกลาง แต่มีความต้องการใช้สิทธิจำนวนมาก ดังนั้น การแปรสภาพจากสินทรัพย์มาเป็นเงินสด ในเม็ดเงินจำนวนมหาศาล เป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลา ในการเปลี่ยนมือผู้ถือ เพราะ ต้องอาศัยผู้ที่ต้องการซื้อสินทรัพย์นั้นๆด้วยเช่นกัน และ ย่อมส่งผลกระทบในตลาดเงิน-ตลาดทุนไม่มากก็น้อย อาทิ ตลาดหุ้น ตราสารหนี้ เป็นต้น

เป็นการส่งผลต่อกันแบบห่วงโซ่ ที่จะทำให้ภาพรวมของ ตลาดการเงิน และ ตลาดทุน อยู่ในสภาวะถดถอยไปสักระยะหนึ่ง และในระยะยาว ระบบสวัสดิการของประเทศ ยังมีปัจจัยที่ท้าทายอื่นๆ รออยู๋เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ภาพรวมของตลาดเงิน และ ตลาดทุน
การบริหารเงินสด-สภาพคล่อง สำคัญอย่างไรกับชีวิต-ธุรกิจ-การลงทุน?
บำนาญ-สวัสดิการ ของ งานราชการ-บริษัท อาจมีปัญหา เราเตรียมตัวอย่างไร?
กองทุนประกันสังคม ซื้อหุ้นแพง จนขาดทุน จริงหรือไม่?
กบข. ขาดทุน? .. ผลตอบแทน กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เป็นอย่างไรบ้าง
– สหกรณ์ออมทรัพย์ มีความเสี่ยง-ได้รับผลกระทบ หรือไม่ อย่างไร?
รีวิว ผลตอบแทน จากการลงทุน ด้วยกลยุทธ์ จัดพอร์ตการลงทุน H1/2020

8. การลงทุนจากภาคธุรกิจเอกชนลดลง หรือ อาจถดถอย

การลงทุนจากภาคธุรกิจ และภาคเอกชน จำเป็นต้องอาศัยเงินทุนที่มี โดยอาจมาจาก กำไรสุทธิในกิจการ กำไรสะสม หรือ การกู้ยืมเพื่อการลงทุน ในสถานการณ์ปกติ บางกิจการอาจมีกำไรสะสมเพียงพอต่อการลงทุนใหม่ๆ เช่น ลงทุนในเครื่องจักรใหม่ ขยายโรงงาน ขยายกำลังการผลิต หรือ เพิ่มทีมงานในฝ่ายต่างๆ เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต เป็นต้น

แต่เราจะเห็นได้ว่า ผลกระทบในช่วงวิกฤต โควดิ19 (COVID-19) ทำให้ บางบริษัทขาดรายได้ หรือ รายได้เป็นศูนย์ ทำให้บางบริษัทที่พอจะมีเงินทุนสำรอง มีกำไรสะสม หรือ บางกิจการที่เป็นเงินทุนหมุนเวียน ต้องมีการนำเงินเหล่านั้นออกมาใช้ก่อน

ส่งผลให้ เงินทุน-กำไรหดหาย เพราะ ธุรกิจนำเงินที่มีอยู่ทั้งหมดที่ควรเก็บไว้ขยายกิจการหรือลงทุนใหม่ๆ ถูกนำมาจุนเจือ มาบรรเทาวิกฤต เอามาจ่ายให้กับพนักงาน หรือ บริหารกิจการ เพื่อให้รอดพ้นช่วงเวลาเหล่านี้ไปได้ บางกิจการที่ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ย่อมล้มหายตายจากไปจากตลาด และเผชิญสภาวะที่เจ็บหนัก

และอีกเหตุผลหนึ่ง ถึงแม้ว่าบางกิจการ จะยังมีเงินลงทุนเหลือในกิจการ แต่ เป็นธรรมดาของคนที่กำลังเจอกับวิกฤต ย่อมไม่อยากทำอะไรที่เจ็บตัวเพิ่ม หรือ ลงทุนใหม่ๆ เพราะว่า ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า จำนวนเงินที่เสียไปจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ลงทุนไปแล้วจะได้อะไรกลับคืนมา จะจำหน่ายสินค้าและบริการได้คุ้มกับที่ลงทุนไปหรือไม่ ในเมื่อสถานการณ์รอบข้างยังไม่ได้ดีขึ้นมาในเวลาอันสั้น

ซึ่งแน่นอนว่า การลงทุนจากภาคเอกชนที่ลดลง จะส่งผลกับ อัตราการจ้างงาน ภาคธุรกิจออนไลน์ ตลาดทุนและตลาดเงิน ด้วยเช่นกัน เพราะ แม้ว่า สถานการณ์จะดีขึ้น แต่ธุรกิจยังคงเจ็บหนัก และต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูทั้งสภาพกิจการและสภาพจิตใจของผู้ประกอบการด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อ ภาคการลงทุนใหม่ๆ ของธุรกิจ ที่จะส่งผลดีในเศรษฐกิจ อาจต้องชะลอ ออกไปก่อน ในระยะกลางได้เช่นกัน


ผลกระทบทางอ้อม หากเศรษฐกิจของประเทศไทยชะลอตัว (Recession) นานกว่าที่คิด หลังจากการระบาด โควิด19 (COVID-19)

1.ผู้คนลดการบริโภค จับจ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็นมากขึ้น

จากการที่อธิบายไปใน ข้อ 5.) และ 6.) ในหัวข้อ ผลกระทบทางตรงฯ ว่า “พฤติกรรมของผู้คน” (Customer Behaivors) ย่อมเปลี่ยนไปเมื่อเกิดสภาวะวิกฤตเช่นนี้

ดังนั้น การหลั่งไหลเข้ามาในตลาดออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ และ จำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็น อาจไม่ใช่ทางเลือกที่จะประสบความสำเร็จได้ง่ายนักในช่วงเวลาแบบนี้

(อัพเดต พฤษภาคม 2563) .. เหตุการณ์ โควิด19 (COVID-19) นี้ ทำให้การบริโภคและการเดินทางทั่วโลก ลดลงพร้อมกัน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ อุตสาหกรรมน้ำมัน เนื่องจาก ความต้องการใช้น้ำมันที่หดหาย ในขณะปริมาณที่ผลิตได้ยังคงมีเท่าเดิม หรือ อาจมีมากกกว่าเดิม

ส่งผลต่อ เหตุการณ์ ราคาน้ำมันดิบ ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ลดลงไปติดลบได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เนื่องจากไม่มีใครต้องการใช้สิทธิซื้อน้ำมันในช่วงนี้ แม้ว่าราคาจะลดลงมามากก็ตามที รวมถึง การเก็งกำไรจากนักลงทุนระยะสั้น (ซึ่งจะไปส่งผลกระทบกับ ข้อ 7 ตลาดเงิน-ตลาดทุน ในหัวข้อด้านบน และ ข้อ 3.5 หัวข้อ การเทรดอนุพันธ์ต่างๆ) รวมถึง บางบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหล่านี้เริ่มทะยอยยื่นขอล้มละลาย

ราคาน้ำมัน ถือเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งของราคาสินค้าต่าง ๆ และหากมีอัตราเงินเฟ้อติดลบ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในเดือนก่อนหน้า หรือ ปีก่อนหน้า ติดต่อกัน 3 เดือน จะเริ่มเข้าสู่สภาวะเงินฝืด ซึ่งมีผลกับ เศรษฐกิจของประเทศไทย ได้เช่นกัน

2.ผู้คนสูญเสียทรัพย์สิน จาก ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ขายหรือจำใจขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็น เพื่อ ถือครองเงินสด

ความกังวลเกี่ยวกับการชำระหนี้ การพักชำระหนี้ หรือ การถูกยึดทรัพย์สิน ในกรณีที่ไม่สามารถยนำเงินมาจ่ายให้กับเจ้าหนี้ได้ แม้ว่าจะมีการพักชำระหนี้

จากตัวเลข “หนี้ครัวเรือน” ของประเทศไทย ที่ได้อธิบายไปในบทความก่อน อยู่ในสัดส่วนที่สูง เมื่อเทียบกับรายได้ และเมื่อไม่มีรายได้ ความสามารถในการชำระหนี้ย่อมลดลง รวมถึงส่งผลกระทบต่อ การบริโภคภายในประเทศต่อเนื่อง

ผู้คนอาจจำใจต้องขายสินทรัพย์บางอย่าง หรือ อาจจะขายสินทรัพย์ฟุ่มเฟือย หรือไม่จำเป็นออกมา นอกจากจะไม่ซื้อใน ข้อ 1.) แล้วยังขายออกมา เพื่อที่จะมีเงินสดในการอุปโภคบริโภคก่อนในช่วงเวลาวิกฤต หรือ อาจจะลุกลามไปยังตลาดเงินและตลาดทุน เช่น การขายหุ้นออกมาเพื่อถือเงินสด การขายหน่วยลงทุนจากสถาบันการเงินออกมาเพื่อถือเงินสด เป็นต้น

และหากมีแต่ผู้ต้องการที่จะขาย แล้วใครจะซื้อ ในเมื่อกำลังซื้อของประชากรส่วนใหญ่กำลังลดลงในระยะสั้น และกำลังซื้อทั้งหมดไหลไปยังสินค้าที่จำเป็นมากกว่า

อ่านเพิ่มเติม:
ราคาทองคำ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอะไรได้บ้าง?

3.ผู้คนอาจหันมาสนใจ การพนัน แชร์ลูกโซ่ การหารายได้จากสิ่งผิดกฏหมาย หรือ สิ่งที่มีความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้น

ในเมื่อการหารายได้แบบปกติจะทำได้ยากมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่เป็นผลกระทบมาจากวิกฤตโรคระบาดเพียงอย่างเดียว แต่หากโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศยังเป็นแบบนี้ไปในระยะยาว ผู้คนอาจเลือกใช้วิธีหาเงินแบบรวดเร็วทันใจ อยากหาเงินได้ง่ายๆ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะผิดกฏหมายแล้วยังเป็นความเสี่ยงอย่างมากที่จะสุญเสียมากกว่าเดิม แต่มันแสดงให้เห็นว่า การสร้างรายได้ การหาเงิน และ การหมุนเวียนเงินในระบบเป็นไปได้ยากกว่าเดิม ในเมื่อมันหาเงินยาก ค้าขายก็ยากขึ้น ดอกเบี้ยก็อยู่ในระดับที่ต่ำ จะลงทุนปกติก็กลัวไม่ได้ผลตอบแทนที่ดี มีข่าวว่าตลาดหุ้นตกรุนแรง ผู้คนอาจเลือกวิธีการหาเงินแบบนี้

3.1 การพนันออนไลน์

ผู้คนไม่ได้สนใจว่าจะผิดกฏหมายหรือไม่ แต่ต้องการหาเงิน หารายได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องลำบากทำอะไร ไม่ได้สนใจว่าการเชิญชวนเล่นพนันออนไลน์เป้นสิ่งที่ผิดกฏหมาย แต่ทำไปเพราะต้องการเงินมาเพื่อดำรงชีพ

หวยใต้ดิน หวยหุ้น หวยลาว หวยฮานอย .. สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้มีระบบที่เชื่อถือได้ ขนาดสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นของรัฐบาล จับฉลากออกโทรทัศน์ โอกาสที่คุณจะถูกได้ยังมีความเป็นไปได้น้อยนิด แล้วนับประสาอะไรกับระบบออนไลน์ที่สามารถทำอะไรก็ได้ สามารถรับรู้ผู้เล่น และจับคู่การแทงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หรือ อย่าง “หวยหุ้น” ที่ดู ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Set Index) เป็นผลรางวัล เช่น สองตัวท้ายของดัชนี เป็นต้น ลักษณะคล้ายกับหวยใต้ดิน

หรือ เราจะเห็นได้จากโพสต์ต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์ ที่ผู้คนโพสต์รูป และมีคำบรรยายเชิงลักษณะเป็นเกมส์กีฬา เกมส์สนุกๆ พร้อมลิงค์ให้กดเข้าไปยังกลุ่มไลน์ หรือเว็บไซต์ต้นทาง

โดยการพนันพวกนี้ไม่ได้อาศัยการขายสินค้าหรือดำเนินการใดๆมากนัก อาศัยรายได้จากการจับคู่ผู้เล่นและรายได้จากส่วนต่าง จึงทำให้มีเงินหมุนเวียนจำนวนมาก เพียงพอที่จะทำการโฆษณาผ่านผู้คนที่มีผู้ติดตาม (Influencers) ได้

3.2 แชร์

เป็น วิธีการหาเงินนอกระบบการเงิน โดยผู้ที่ต้องการใช้เงินด่วนที่สุด ย่อมเสียผลประโยชน์ในรูปดอกเบี้ยมากที่สุด และผู้ที่ไม่ได้ต้องการใช้เงินอาจได้รับผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่ความเสี่ยงที่สุดของแชร์ คือ การโกงกันมากกว่า

3.3 แชร์ลูกโซ่

ที่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อจูงใจให้ผู้คนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมัน โดยอาจจูงใจด้วย “ผลตอบแทนที่ดี” หรือ “การการันตีผลตอบแทน” หรือ “ลงทุนโดยใช้ AI” ด้วยคำพูดจูงใจต่างๆนา  เราอยากจะบอกและเตือนแบบตรงๆ ว่า ..

“แม้แต่ผู้ที่เชียวชาญทางการเงิน หรือ ผู้จัดการสถาบันการเงิน หรือ นักลงทุนระดับโลก เขายังไม่ต้องการผลตอบแทนขนาดนั้นเลย เพราะ ด้วยการรักษาระดับผลตอบแทนในระดับให้คงที่ ก็ทำให้เป็นมหาเศรษฐีได้แล้ว พวกคุณเป็นใครกันหรอ ถึงมาการันตีผลตอบแทนที่มากขนาดนี้ ในระยะเวลาที่สั้นขนาดนี้ได้ ถ้าคุณมีช่องทางรวยแบบนั้นจริง คุณจะเก็บไว้คนเดียว หรือจะใจดีเอามาบอกคนอื่น”

เราจะสามารถพบเห็นได้ในข่าว เวลามีการฉ้อโกงเกี่ยวกับแชร์ลักษณะดังกล่าว มักจะมีผู้เสียหายออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลช่วยเยียวยา ทั้งที่ตอนตัดสินใจ ตัวเองเป็นคนตัดสินใจเอง และตอนที่ตัวเองได้ผลตอบแทนในระยะแรก ไม่เห็นออกมาพูดอะไร

3.4 สื่อลามกอนาจาร

การขายสื่อลามกอนาจารของผู้อื่น โดย การสร้างกลุ่มเพื่อรับคนเข้ากลุ่มเป็นสมาชิก หรือ แม้แต่การสร้างกลุ่มลับของ อินฟลูเอนเซอร์ (Influencers) เอง ในการเผยแพร่ภาพสด หรือ คลิปวิดีโอของตนเอง เก็บค่าเข้ากลุ่ม หรือ ให้มีการเปย์ (Pay) หรือการ “ขายบริการทางเพศ” ที่เกี่ยวเนื่อง โดยอาจจะใช้คำเลี่ยงต่างๆ เพื่อไม่ให้ตรงจนเกินไป

3.5 การเทรดตราสารทางการเงินต่างๆ

ตัวอย่างเช่น การเทรดเงินตราระหว่างประเทศ (Forex) การเทรดอนุพันธ์ เป็นต้น ทั้งที่ถูกกฏหมายและ บริษัทที่ผิดกฏหมายและใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่น

ซึ่งโดยหลักการของตราสารทางการเงินเหล่านี้ มีขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุน แต่ ปัจจุบันผู้คนนำมาเทรดกันอย่างไม่ได้สนใจจุดประสงค์ของการออกตราสารเหล่านี้ขึ้นมา แทงขึ้น แทงลง แทงสูง แทงต่ำ ทำให้สูญเสียมากกว่าได้ประโยชน์ เพราะแน่นอนว่า มีคนแทงขึ้น ก็ต้องมีคนแทงลง และมันกระทบกับความเคลื่อนไหวในตลาดการเงิน และ เพราะ ตลาดการเงิน ไม่เคยปราณีใคร

ถามว่า ที่พูดมาทั้งหมดเป็นการชี้นำหรือเปล่า ตอบว่า หากผู้อ่านเข้าใจ เท่าทัน และสามารถหลีกเลี่ยงได้  ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า  แต่ไม่ว่าจะเตือนอย่างไร ยังเป็นสิ่งที่ยากในการห้ามปรามผู้คนที่กำลังหมดสิ้นหนทาง หรือ เกิดความโลภ และคิดว่าหาเงินด้วยวิธีแบบนี้นั้นเป็นสิ่งที่ง่าย อันนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นๆเอง เพราะ ได้ตัดสินใจเลือกแล้ว ก็จงยอมรับผลที่ตนเองได้เลือกแล้ว

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลกระทบของการเทรดตราสารทางการเงิน
ราคาทองคำ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอะไรได้บ้าง?
หวย (Lotteries) หุ้น (Stocks) การเทรด (Tradings) มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร?

4. กักตุนสินค้า และ โก่งราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมากเกินความเป็นจริง

แน่นอนว่า อาหาร น้ำ และ ยารักษาโรค รวมถึงอุปกณ์ที่จำเป็นอื่นๆ เช่น หน้ากากอนามัย และ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เป็นต้น ย่อมเป็นที่ต้องการของผู้คน เนื่องจากเป็น สินค้าจำเป็น โดยผู้คนอาจจะรู้สึกว่า มันขาดแคลน หรือ ถูกทำให้รู้สึกว่ามันขาดแคลน ผ่านการกักตุน

หรือ ความรู้สึกที่ดูเหมือนว่า สินค้าจะขาดแคลน จากการเติมสินค้าบนชั้นวางไม่เพียงพอ ไม่ทันต่อความต้องการ เนื่องจาก มีปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลารวดเร็วในวันเดียว ในขณะที่กำลังการผลิตต่อวันจากผู้ผลิตไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ยังคงผลิตได้จำนวนเท่าเดิม พอวันใหม่สินค้าก็สามารถถูกส่งมาเติมบนชั้นวาง

และ การผลิตตามจำนวนและกำลังการผลิตปกติ ที่มีน้อยกว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน หรือ กักตุนสินค้าไว้ ไม่ส่งต่อไปยัง “ผู้จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า” (Distributors) ของผู้ผลิตบางราย  หรือ การกักตุนวัถตุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ก่อนส่งไปยังผู้ผลิต ของ คู่ค้าทางธุรกิจด้านจัดหาวัตถุดิบ (Suppiers, Vendors) หรือ การเพิ่มราคาขึ้นเองโดยผู้ขายเองเพื่อสร้างกำไร โดยอาจจะบอกว่าสินค้าแพงมาตั้งแต่ต้นทาง

ซึ่งเหล่านี้ มีโอกาสเกิดขึ้นและเป็นไปได้ทั้งหมด ใน โครงสร้างการตลาด (Marketing Structure) เพราะ ธุรกิจ เป็นเรื่องของการต่อรองและผลประโยชน์

แต่ เราจะสามารถเห็นผู้คนโพสต์ขายได้ตามช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของตนเองกันแพร่หลาย ในราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ เสมือนว่า สินค้าไม่ได้ขาดแคลนแต่อย่างใด มีของมาเติม มีของเข้ามาตลอดเวลา

ในช่วงเวลาวิกฤต มักมีผู้คนจำนวนหนึ่งที่มักฉวยโอกาส ทำนาบนหลังคน หากินกับความเดือนร้อนของผู้อื่นอยู่เสมอ เดิมทีผู้คนเทียบจะไม่มีกำลังซื้อ (Purchasing Power) อยู่แล้ว จากที่ได้อธิบายไปแล้วในหัวข้อที่กล่าวมา ยังต้องมาเผชิญกับการโก่งราคาอีก อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้คนส่วนหนึ่งเลือกที่จะไม่ซื้อ ไม่ป้องกัน ไม่สนใจ (แมร่ง)

แต่ สิ่งเหล่านี้ก็เหมือนเป็นเรื่องตลก .. ในช่วงเวลาที่วิกฤตใกล้จบลง ผู้ค้าต่างๆ มีปริมาณสินค้าที่ตนเองมีในมืออยู่ในปริมาณที่มาก หรือ สั่งซื้อสินค้าเข้ามาเพิ่มในจำนวนที่มากเพื่อทำกำไร ในขณะที่ความต้องการของผู้คนลดลงแล้ว ณ เวลานั้น ผู้คนเหล่านั้นจะต้องเผชิญกับเกิดความเสียหายอย่างหนัก ภาวะขาดทุนไปเอง ออกมาเรียกร้องอะไรก็คงไม่มีใครช่วยอะไรหรอก

สิ่งที่อยากบอก คือ การเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งที่ดีมาก ในการรับมือ  การเว้นระยะห่างทางสัมคม (Social Distancing) แต่ การตื่นตระหนัก (Panic) มากจนเกินไปเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และเราอาจถูกเอาเปรียบได้ในช่วงเวลาแบบนี้ ดังนั้น วางแผนสำรองอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือ สิ่งของจำเป็นให้อยู่ในความพอดี ไม่ใช่ว่าไม่วางแผนรับมือเหตุการณ์ในลักษณะนี้เลย อันนี้ก็ไม่ควร

5.ปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้น (Increasing Crimes Rate)

เมื่อผู้คนหมดหนทางในการหาเงิน หารายได้ และใช้ชีวิต หรือปัญหาที่มาจาก ข้อ 2.) ย่อมทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมตามมา ไม่ว่าจะเป็นการก่อเหตุร้าย หรือ การกระทำสิ่งผิดกฏหมายต่างๆ

มีงานวิจัยจากหลายแหล่ง ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การเติบโตทางเศรษฐกิจ และ อัตราการเกิดอาญชากรรม ระบุไว้ว่า เมื่อเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ตัวเลขอัตราการก่ออาญากรรมมักเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ และ สภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอัตราการเกิดอาญชากรรมได้อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

ด้วยปัจจัยทั้ง รายได้ (Income) การว่างงาน (Unemployment) ความเลื่อมล้ำทางรายได้ (Income Inequality) เป็นต้น

ในความเป็นจริง จากบรรยายของแจมเพย์ทั้งหมดในข้างต้น ผู้อ่านคงพอจะเห็นภาพและอนุมานได้ว่า ในสภาวะเศรษฐถดถอยอย่างยาวนาน มีโอกาสก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมในสังคมทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว มากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมได้มากขนาดไหน แต่ แจมเพย์ จำเป็นต้องนำแหล่งอ้างอิงที่เป็นผลการศึกษาจริงๆ มาประกอบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น

6.ผู้คนอาจกำลังเหงาเพิ่มขึ้น และอาจเสี่ยงอยู่ในภาวะซึมเศร้ามากขึ้น

จากเดิม ในบทความ “การตลาด “เจาะกลุ่มคนเหงา” .. โอกาสทางธุรกิจที่น่าจับตา” ที่อธิบายถึงว่า ประชากรไทยกำลังเหงากว่า 27 ล้านคน ในสภาวะปกติที่ไม่ได้มีโรคระบาดอย่างนี้ จากปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่าง

และเหตุการณ์นี้ อาจเพิ่มทวีความรุนแรงเหล่านั้นขึ้นไป จากการที่เคยได้ออกไปพบปะสังสรรค์ หรือ พบกันระหว่างบุคคล  เมื่อเกิดเหตุการณ์โรคระบาดอย่างนี้ ทำให้มีการจำกัดการเดินทาง หรือ การพบปะซึ่งกันและกัน

แฟนที่อาจไม่ได้เจอกัน ครอบครัวที่อาจจะต้องแยกกัน หรือ นโยบายที่ให้ทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) อาจทำให้มีผู้คนเหงาขึ้นไปมากกว่าเดิม มีโอกาสเสี่ยงอยู่ในสภาวะซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้น

ซึ่งสภาวะแบบนี้ไม่ได้เป็นผลดีกับภาพรวมของประเทศเท่าไหร่นัก บุคคลอาจมีความสามารถและประสิทธิภาพในการเรียน การทำงานลดลงได้ หรือ บางกรณีที่รุนแรง อาจจะไม่สามารถเรียน หรือ ทำงานได้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงและผลกระทบทางอ้อมอย่างหนึ่ง


สรุปภาพรวม: ผลกระทบ โควิด19 (COVID-19) ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทย


ในสถานการณ์ปกติ โครงสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย แม้ว่าจะพึ่งพาส่วนใดส่วนหนึ่งในอัตราส่วนที่สูง แต่หากเกิดปัญหาอย่าง สงครามการค้า (Trade War)  แม้ว่าจะกระทบภาคการส่งออก แต่อาจจะไม่กระทบลงไปถึงการบริโภคภายในประเทศที่มีสัดสูงสูงรองลงมาเท่าไหร่นัก ผู้คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก และยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แม้ว่าในระยะยาว ตัวที่ดึงรั้งความสามารถในการบริโภค หรือ กำลังซื้อของประชาชน คือ “หนี้ครัวเรือน” ซึ่งน่ากลัวไม่แพ้กัน เนื่องจากการขาดรายได้เป็นระยะเวลานาน ทำให้ความสามารถให้การชำระหนี้ต่ำลง

แต่ในสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้  แม้ว่า ผลกระทบ โควิด19 อาจจะเป็นผลกระทบในระยะสั้น ถึง ระยะกลาง แต่กระทบทั้งการส่งออกและการบริโภคระยะสั้น รวมถึงภาคการลงทุนของธุรกิจ ทำให้เกิดผลกระทบแบบห่วงโซ่ในภาพรวมของเศรษฐกิจต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลาที่นานกว่าที่คิดไว้

เนื่องจากการไม่แนะนำให้ออกจากบ้าน การเว้นระยะห่างทางสัมคม (Social Distancing) หรือ ไปอยู่ในสถานที่ชุมชน หรือมาตรการต่างๆ  ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในวงกว้าง และทวีความรุนแรงมากกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา เพราะ ไม่มีปัจจัยตัวใดที่จะสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไทยไว้ได้ในระยะสั้น และ แม้ว่าการระบาดจะหยุดลง แต่ ผลกระทบอาจจะยังคงหลงเหลือร่องรอยบาดแผลที่รอการเยียวยาและฟื้นฟูไว้อย่างน้อย 6 – 12 เดือน

และที่สำคัญ เราต้องไม่ลืมว่า ในระยะยาว .. ประเทศไทยยังมีปัจจัยเสี่ยง (Risk Factors) ที่ส่งผลต่อ (Impact) ระบบเศรษฐกิจ (Economy) ที่รอเราอยู่เช่นกัน

อุตสาหกรรมดิจิทัล มีข้อดี-ข้อเสีย ต่อ เศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร

หมายเหตุ : บทความนี้ เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวมุมมองหนึ่งในการวิเคราะห์เท่านั้น หากต้องการนำไปอ้างอิงประกอบการศึกษาสามารถทำได้ โดยผู้อ่านสามารถค้นหาบทความอื่นๆจากหลายๆ แหล่งที่มาเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน รวมถึงการศึกษาไม่มากก็น้อย 

อ้างอิง:
วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย .. จะไปต่ออย่างไร?
บำนาญ-สวัสดิการ ของ งานราชการ-บริษัท อาจมีปัญหา เราเตรียมตัวอย่างไร?
ลงทะเบียนว่างงาน กรมจัดหางาน
Deteminnants of the weighted Crime Rate in Thailand
Crime and Economic Growth in Developing Countries: Evidence from Pakistan